รัสเซียในสายตาอังกฤษ ภัยคุกคามหรือโอกาส ?
รัฐบาลอังกฤษต้องเผชิญภาวะก ลืนไม่เข้าคายไม่ออกมานานแล ้ว เมื่อต้องรับมือกับประธานาธ ิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซีย อังกฤษควรปฏิบัติต่อรัสเซีย ในฐานะภัยคุกคามมากเพียงใดแ ละถือว่ารัสเซียเป็นโอกาสทา งเศรษฐกิจมากแค่ไหน
บริดเจท เคนดัลล์ ผู้สื่อข่าวสายการทูตของบีบ ีซีวิเคราะห์ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเ ทศอยู่ในภาวะลุ่ม ๆ ดอน ๆ มานับตั้งแต่เกิดการฆาตกรรม นายอเล็กซานเดอร์ ลิตวิเนนโกเมื่อราวสิบปีก่อ น ตอนแรกรัฐบาลนายกอร์ดอน บราวน์ มีท่าทีแข็งกร้าว เช่น เนรเทศนักการทูตรัสเซีย จำกัดวีซ่าเจ้าหน้าที่รัฐบา ลรัสเซีย และแทบจะยุติความร่วมมือด้า นข่าวกรองระหว่างกัน ทั้งนี้เพื่อลงโทษรัสเซียที ่ไม่ร่วมมือในการสืบสวนการฆ าตกรรมนายลิตวิเนนโก ซึ่งดูจะสะท้อนความเชื่อของ อังกฤษว่า หน่วยงานด้านความมั่นคงของร ัสเซียอาจมีส่วนเกี่ยวข้องก ับการฆาตกรรมดังกล่าว
แต่ท่าทีเป็นปฏิปักษ์แบบเปิ ดเผยเปลี่ยนไปเมื่อนายเดวิด คาเมรอน ขึ้นเป็นผู้นำประเทศเมื่อปี 2553 เนื่องจากอังกฤษมีหนี้สินท่ วมตัวจากวิกฤตการคลังปี 2551 จึงให้ความสำคัญยิ่งกับโอกา สทางการค้ากับต่างประเทศ และหาทางปรับปรุงความสัมพัน ธ์กับรัสเซีย ถึงขนาดที่นายคาเมรอนเดินทา งไปเจรจากับประธานาธิบดีปูต ินที่รัสเซีย เรียกว่า "เก็บ" ข้อพิพาทไว้ก่อน เพื่อไม่ให้ขัดขวางความสัมพ ันธ์ และเชิญนายปูตินเป็นแขกส่วน ตัวในระหว่างที่นายปูตินมาก รุงลอนดอน เพื่อชมนักกีฬารัสเซียแข่งข ันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงลอนดอ นเป็นเจ้าภาพเมื่อปี 2555
ต่อมาเมื่อปี 2557 เกิดวิกฤตยูเครนขึ้น เมื่อผู้นำรัสเซียผนวกคาบสม ุทรไครเมียของยูเครนเข้าเป็ นส่วนหนึ่งของรัสเซีย โดยอ้างว่าไครเมียเป็นของรั สเซียมาแต่ครั้งประวัติศาสต ร์ ทั้งอังกฤษและมหาอำนาจตะวัน ตกต่างมองว่า การกระทำของรัสเซียไม่เคารพ อธิปไตยของยูเครน และเป็นการท้าทายความมั่นคง ของยุโรปด้วย
ความสัมพันธ์ร้าวฉานหนักยิ่ งขึ้น เมื่อนายปูตินประกาศสงวนสิท ธิ์ที่จะเข้าแทรกแซงในทุกที ่เพื่อคุ้มครองชาวรัสเซีย รวมทั้งในภาคตะวันออกของยูเ ครน โดยก่อนหน้านั้น ได้เกิดการสู้รบระหว่างทหาร ยูเครนกับกบฏในท้องถิ่น ที่ดูเหมือนจะได้รับความช่ว ยเหลือจากกองกำลังพิเศษของร ัสเซีย แต่รัสเซียปฏิเสธว่าไม่มีส่ วนเกี่ยวข้อง
ความสัมพันธ์อังกฤษ-รัสเซีย จึงเย็นชาอีกครั้ง อังกฤษกับรัฐบาลประเทศตะวัน ตกเริ่มพูดถึงรัสเซียภายใต้ การนำของนายปูตินว่า เป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อควา มมั่นคงของตน ขณะที่รัสเซียเริ่มตำหนิสหร ัฐฯ กับชาติตะวันตกว่าพยายามจุด ไฟเพื่อต่อต้านรัสเซีย
พอสถานการณ์มาถึงจุดนี้ เห็นได้ชัดว่ารัฐบาลอังกฤษเ ลิก “ดอง” คดีนายลิตวิเนนโกอีกต่อไป โดยได้ประกาศว่าจะมีการไต่ส วนถึงสาเหตุการเสียชีวิตของ นายลิตวิเนนโกอย่างเปิดเผย อย่างไรก็ตามขณะที่กำลังอยู ่ในขั้นตอนการไต่สวน บรรยากาศทางการทูตก็เปลี่ยน ไปอีกครั้ง ประเทศตะวันตกปรับท่าทีใหม่ เน้นความเหมาะสมในทางปฏิบัต ิ ในขณะที่รัสเซียก็เริ่มกังว ลเกี่ยวกับเศรษฐกิจของตนอีก ครั้ง
ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ชาติตะวันตกจึงค่อย ๆ เปลี่ยนท่าทีต่อนายปูติน จากการมองว่าเป็นภัยร้าย มาเป็นการยอมรับแบบไม่ค่อยเ ต็มใจว่า แม้ไม่ควรไว้วางใจ แต่ก็ไม่ควรตัดญาติขาดมิตรก ับเขาโดยสิ้นเชิง เพราะบทบาทของรัสเซียในระบบ เศรษฐกิจโลกนั้นสำคัญกว่าที ่จะเพิกเฉย
นอกจากนั้น ยังมีประเด็นเรื่องบทบาทด้า นบวกของรัสเซียในการเจรจาเก ี่ยวกับกิจกรรมนิวเคลียร์ขอ งอิหร่าน ซึ่งส่งผลให้มีการบรรลุข้อต กลง และยกเลิกการคว่ำบาตรอิหร่า นเกือบทั้งหมด ตลอดจนเรื่องซีเรีย ที่ประธานาธิบดีปูตินเข้าร่ วมสงครามเพื่อสนับสนุนกองกำ ลังของประธานาธิบดีอัสซาด ซึ่งทำให้มหาอำนาจตะวันตกที ่ยังคงระแวงรัสเซียตกใจ แต่ก็ต้องการเกลี้ยกล่อมให้ รัสเซียมีบทบาททางการทูตในซ ีเรีย และโน้มน้าวให้รัฐบาลนายอัส ซาดยอมประนีประนอม ซึ่งอาจจะยุติการสู้รบกับฝ่ ายกบฏและหันไปมุ่งโจมตีศัตร ูที่สำคัญกว่าคือกลุ่มนักรบ มุสลิมติดอาวุธ
เมื่อเดือนพ.ย. ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีอังกฤษกับประธา นาธิบดีรัสเซียได้จับมือกัน ในการประชุมสุดยอดกลุ่มประเ ทศจี 20 ที่ตุรกี ซึ่งบ่งบอกถึงความร่วมมือฉั นมิตร แต่รายงานการไต่สวนคดีนายลิ ตวิเนนโก ทำให้เกิดความเย็นชาอีกครั้ ง และอาจเลวร้ายกว่าที่เคยเป็ นมา อังกฤษกล่าวเป็นนัยว่า อาจพิจารณามาตรการเพิ่มเติม ในขณะที่ทางมอสโกก็เตือนว่า จะตอบโต้ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อความสัมพ ันธ์สองฝ่ายยิ่งขึ้น
แต่เรื่องที่รัฐบาลอังกฤษจะ ต้องตัดสินใจในเวลานี้ก็คือ จะเปิดช่องการติดต่อสื่อสาร กับนายปูตินต่อไปอีกนานเพีย งใด ในขณะที่จะต้องส่งสัญญาณถึง ผู้นำรัสเซียด้วยว่า ไม่ควรคิดว่าจะลอยนวลไปได้ ไม่ว่าจะในเรื่องใด โดยเฉพาะในเรื่องที่ดูเหมือ นว่า รัสเซียเกี่ยวข้องกับการก่อ อาชญากรรมบนแผ่นดินอังกฤษ #UKRussia #RussiaUK #Putin #Cameron #Assad #IranSanction #Litvinenko
ภาพประกอบ ภาพแรก นายกรัฐมนตรีคาเมรอนกับประธ านาธิบดีปูติน ในการพบหารือในระหว่างการปร ะชุมจี 20 ที่ตุรกีเมื่อเดือนพ.ย. 2558, ภาพ 2 ภาพวาดนายลิตวิเนนโก ที่ห้องแสดงภาพวาดแห่งหนึ่ง ในกรุงมอสโก, ภาพ 3 ประธานาธิบดีปูตินกับนายกรั ฐมนตรีคาเมรอน พร้อมกับผู้นำกลุ่มประเทศอุ ตสาหกรรมชั้นนำ จี 8 ในไอร์แลนด์เหนือเมื่อปี 2556, ภาพ 4 เรือลาดตระเวนมอสควาของรัสเ ซียในทะเลเมดิเตอร์เรเนีย นอกชายฝั่งซีเรีย
รัฐบาลอังกฤษต้องเผชิญภาวะก
บริดเจท เคนดัลล์ ผู้สื่อข่าวสายการทูตของบีบ
แต่ท่าทีเป็นปฏิปักษ์แบบเปิ
ต่อมาเมื่อปี 2557 เกิดวิกฤตยูเครนขึ้น เมื่อผู้นำรัสเซียผนวกคาบสม
ความสัมพันธ์ร้าวฉานหนักยิ่
ความสัมพันธ์อังกฤษ-รัสเซีย
พอสถานการณ์มาถึงจุดนี้ เห็นได้ชัดว่ารัฐบาลอังกฤษเ
ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ชาติตะวันตกจึงค่อย ๆ เปลี่ยนท่าทีต่อนายปูติน จากการมองว่าเป็นภัยร้าย มาเป็นการยอมรับแบบไม่ค่อยเ
นอกจากนั้น ยังมีประเด็นเรื่องบทบาทด้า
เมื่อเดือนพ.ย. ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีอังกฤษกับประธา
แต่เรื่องที่รัฐบาลอังกฤษจะ
ภาพประกอบ ภาพแรก นายกรัฐมนตรีคาเมรอนกับประธ
Loading video....
Posted by บีบีซีไทย - BBC Thai on Friday, January 22, 2016
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น