ไต่สวนคดีเหมืองทองฟ้องไทยพีบีเอส พยานโจทก์ชี้สารโลหะหนักมีอยู่แล้ว-ไร้คนยันใครก่อผลกระทบ
Posted: 04 Oct 2016 04:17 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
เมื่อวันที่ 3 ต.ค.ที่ผ่านมา เว็บไซต์นักข่าวพลเมือง ThaiPBS รายงานว่า เวลา 9.30 น. ที่ห้องพิจารณาที่ 812 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก นัดไต่สวนมูลฟ้อง ครั้งที่ 5 คดีที่บริษัท ทุ่งคำ จำกัด เป็นโจทก์ฟ้องไทยพีบีเอสและบุคลากรของไทยพีบีเอสรวม 5 ราย ในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาและโทรทัศน์ พร้อมความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14 และ 16 เรียกค่าเสียหาย 50 ล้านบาท
สำหรับคดีดังกล่าว สืบเนื่องจาก การเผยแพร่ข่าวพลเมือง ตอนค่ายเยาวชนฮักบ้านเจ้าของไปในช่วงข่าวค่ำ เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 58 ผ่านทางไทยพีบีเอส ต่อมา เมื่อวันที่ 12 พ.ย.58 บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ผู้ประกอบการเหมืองแร่ทองคำใน จ.เลย ยื่นฟ้องไทยพีบีเอส ผู้ดำเนินรายการช่วงข่าวพลเมืองและผู้บริหารองค์กรรวม 5 คน ประกอบด้วย วิรดา แซ่ลิ่ม, ส.ส.ท., สมชัย สุวรรณบรรณ, ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์, โยธิน สิทธิบดีกุล เป็นจำเลยที่ 1-5 ตามลำดับ ในข้อหาหมิ่นประมาท
สรพงษ์ ลิมปัชโยพาส รักษาการกรรมการบริษัท ทุ่งคำ จำกัด พยานโจทก์คนที่ 1 ตอบคำถามทนายโจทก์ถามติง หลังทนายจำเลย 5 คนซักค้านไปก่อนหน้านี้ สรุปความได้ว่า ลำน้ำฮวยซึ่งถูกระบุในข่าวพลเมืองว่าได้รับการปนเปื้อนโลหะหนักจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำของโจทก์นั้นไม่ได้เชื่อมติดกับเหมืองทอง และมีภูเขากั้นไว้ การที่ลำน้ำฮวยต้นน้ำและท้ายน้ำมีสารหนูเกินมาตรฐานคุณภาพดิน เพราะเป็นพื้นที่แหล่งแร่โลหะ
การระเบิดหินเพื่อทำเหมืองเมื่อปี 2550 มีหน่วยงานจากภายนอกมาตรวจวัดทุก 3 เดือน พบว่าไม่มีผลกระทบเกินมาตรฐานกำหนดไว้
ข้อมูลปี 2551 ที่ระบุว่ามีสารไซยาไนด์กระทบต่อสุขภาพ ไม่ได้มีการระบุว่าเกิดจากการทำเหมืองแร่ทองคำ นอกจากนั้นในส่วนข้อมูลของสำนักงานสาธารณะสุขเกี่ยวกับสารโลหะหนักในน้ำห้วยเหล็ก ห้วยผุก และระบบประปาบาดาล รวมทั้งกรณีที่พบว่าหอยขมมีปริมาณสารหนูเกินมาตรฐาน ก็ไม่ได้มีการระบุว่ามาจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ของโจทก์
จากเหตุการณ์สันเขื่อนเก็บกักกากแร่ของบริษัทฯ ด้านทิศเหนือเกิดการทรุดตัวและพังทลายลง เมื่อปี 2555 ซึ่งน้ำจากบ่อกักเก็บการแร่ได้ทะลักลงสู่บ่อเก็บน้ำธรรมชาติซึ่งไม่มีการบดอัดดินก้นบ่อและไม่มีการปูวัสดุกันซึม เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2555 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดจึงมีหนังสือให้หยุดประกอบกิจการทำเหมืองโดยทันทีและให้แก้ไขให้แล้วเสร็จ เพราะโลหะหนักอาจรั่วซึมสู่ชั้นน้ำบาดาลได้
สรพงษ์ ระบุว่า หน่วยงานของรัฐได้เข้าไปตรวจสอบแล้วพบว่าไม่มีการปนเปื้อนออกนอกพื้นที่ ต่อมาเมื่อวันที่ 25 มี.ค.2556 อุตสาหกรรมจังหวัดได้มีหนังสือให้โจทก์เปิดดำเนินกิจการต่อไปได้
นอกจากนี้ทนายโจทก์ยังนำส่งเอกสารของสำนักปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมที่รายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดฯ ร้องเรียนผลกระทบจากกิจการของโจทก์ หลังจากบ่อเก็บกักกากแร่ทรุดตัวซึ่งระบุว่า ไม่มีการแพร่กระจายของสารโลหะหนักออกสู่ภายนอกพื้นที่ และผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำยังไม่พบการปนเปื้อนออกสู่สิ่งแวดล้อมนอกโครงการ
ส่วนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดฯ นั้นเป็นกลุ่มชาวบ้านที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อคัดค้านเหมืองโดยตรง ซึ่งมีผลกระทบกับการต่ออายุใบอนุญาตให้ใช้พื้นที่ของโจทก์ ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ในขณะนี้ เนื่องจากกฎหมายได้ระบุไว้ว่า “ต้องไม่มีข้อขัดแย้งกับคนในชุมชน”
พร้อมกันนี้ โจทก์ได้นำส่งเอกสารเพิ่มเติมอีก 1 ฉบับ โดยเป็นส่วนหนึ่งจาก EIA เกี่ยวกับการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมก่อนการทำเหมืองแร่ พบข้อมูลของกรมทรัพยากรธรณีเมื่อปี 2545 แสดงให้เห็นว่า จ.เลย มีการแพร่กระจายของสารหนูในธรรมชาติทั้งจังหวัดอยู่แล้ว และเอกสารยังระบุว่าปี 2539 มีค่าการปนเปื้อนสารหนูเกินอยู่แล้ว ส่วนไซยาไนด์เกินในบางจุด ที่ผ่านมาค่าการวิเคราะห์มีทั้งค่าสูงและต่ำ แต่ก็อยู่ในช่วงที่เคยตรวจพบก่อนหน้านั้น
สรพงษ์ ระบุด้วยว่า การเผยแพร่ภาพและเสียงผ่านทางโทรทัศน์และยูทูปของไทยพีบีเอสไม่เคยนำมาให้โจทก์ดูก่อน และทราบว่าก่อนหน้านี้โจทก์ได้แจ้งไปทางไทยพีบีเอสให้ยุติการออกอากาศ โดยเป็นการพูดคุยกับผู้บริหาร ไม่มีลายลักษณ์อักษร แต่ถึงขณะนี้พบว่ายังคงมีการเผยแพร่คลิปข่าวดังกล่าวอยู่ในยูทูป อย่างไรก็ตามเขาไม่ได้เป็นคนติดต่อเอง เพียงแต่ได้รับทราบว่ามีการติดต่อไปแล้ว
สำหรับการไต่สวนมูลฟ้องครั้งต่อไป ศาลนัดวันจันทร์ที่ 10 ต.ค. 2559 ตั้งแต่เวลา 9.00 น.สืบพยานโจทก์คนที่ 2 นายมุนาวุฒิ เศลาอนันต์ ซึ่งเดิมนัดหมายในวันนี้แต่ติดธุระด่วนไม่สามารถมาศาลได้ ทนายโจทก์จึงขอเลื่อนการสืบไปเป็นนัดหน้า
นอกจากคดีดังกล่าว จากกรณีเดียวกันบริษัทเหมืองทองยังดำเนินการยื่นฟ้องดำเนินคดีกับ พลอย เยาวชนนักข่าวพลเมือง อายุ 15 ปี จาก อ.วังสะพุง จ.เลย ซึ่งเป็นผู้ร่วมผลิตและนำเสนอข่าวพลเมืองตอนดังกล่าว ในคดีอาญาความผิดฐานหมิ่นประมาท ต่อผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดเลย และยังมีหมายเรียกลงวันที่ 14 ธ.ค. 2558 ของสถานีตำรวจนครบาลมีนบุรี ในคดีความอาญาที่ตัวแทนบริษัทฯ กล่าวหาเยาวชนนักข่าวพลเมืองว่าหมิ่นประมาท ซึ่งต่อมาสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดเลย มีหนังสือลงวันที่ 2 มิ.ย. 2559 ถึง เยาวชนนักข่าวพลเมือง ระบุมีความเห็นไม่อนุญาตให้ผู้เสียหายฟ้องน้องพลอยต่อศาลเยาวชนและครอบครัว
'ฟอร์ติไฟย์ไรท์' ร้องป้องเสรีภาพสื่อ-เลิกบทลงโทษหมิ่นประมาท
วันเดียวกัน (3 ต.ค. 2559) องค์กรฟอร์ติไฟย์ไรท์ องค์กรสิทธิมนุษยชนที่ทำงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยแพร่แถลงการณ์ฉบับภาษาไทยและอังกฤษ เพื่อเรียกร้องให้บริษัทเหมืองแร่ทองคำถอนข้อกล่าวหาทางอาญาต่อสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องในวันที่ 3 และ 10 ต.ค. 2559 นี้
(กรุงเทพฯ, 3 ตุลาคม 2559) - บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ซึ่งทำกิจการเหมืองทองคำในประเทศไทย ควรยุติกระบวนการทางกฎหมายอาญาใด ๆ ที่มีต่อองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท) (สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส) และผู้ถูกกล่าวหาทั้งสี่คน ทั้งที่เป็นและเคยเป็นพนักงานของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส, องค์กรฟอร์ติไฟย์ไรท์กล่าวในวันนี้ ศาลอาญากรุงเทพฯ มีกำหนดการพิจารณาไต่สวนมูลฟ้องคดีในวันนี้และวันที่ 10 ตุลาคม
บริษัท ทุ่งคำ จำกัด กล่าวหาสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสว่าสร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียงให้กับบริษัท เนื่องจากรายงานข่าวที่กล่าวหาว่ามีผลกระทบในทางลบด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจเชื่อมโยงกับการทำเหมืองทองคำในจังหวัดเลย ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ทางบริษัทเรียกค่าเสียหายจำนวน 50 ล้านบาท รวมทั้งร้องขอให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเป็นเวลาห้าปี
“เป็นเรื่องจำเป็นที่นักข่าวในประเทศไทยต้องสามารถทำงานของตน โดยไม่ต้องหวาดกลัวต่อการถูกตอบโต้และการคุกคามด้วยกฎหมาย” เอมี สมิธ (Amy Smith) ผู้อำนวยการบริหาร องค์กรฟอร์ติไฟย์ไรท์กล่าว “สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสให้บริการสำคัญต่อสาธารณะ สมควรรับการยอย่อง ไม่ใช่ถูกคุกคาม ข้อกล่าวหาเหล่านี้ไม่เป็นความจริง และควรมีการถอนข้อกล่าวหาโดยทันที”
การตั้งข้อกล่าวหาคดีหมิ่นประมาททางอาญาของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ละเมิดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพสื่อ องค์กรฟอร์ติไฟย์ไรท์กล่าว
สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพสื่อได้รับการคุ้มครองตามข้อ 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights) ซึ่งไทยเป็นรัฐภาคี
เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2558, สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสออกอากาศรายการนักข่าวพลเมือง เป็นรายงานข่าว เกี่ยวกับการจัดค่ายเยาวชน เพื่อสร้างจิตสำนึกเรื่องการปกป้องสิ่งแวดล้อมในอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เด็กนักเรียนหญิงอายุ 15 ปี ซึ่งเข้าร่วมในค่ายเยาวชน เป็นผู้บรรยายในรายงานข่าวของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส โดยระบุว่า หกหมู่บ้านในบริเวณเหมืองทองคำ “เป็นพื้นที่ได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำ” เธอได้กล่าวต่อไปว่า “ลำน้ำฮวยมีสารปนเปื้อน ทำให้ใช้ดื่มใช้กินไม่ได้”
ต่อมาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2558 บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ยื่นฟ้องข้อกล่าวหาในคดีหมิ่นประมาททางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญาและข้อกล่าวหาตามพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รวมทั้งข้อกล่าวหาอื่นต่อนางสาววิรดา แซ่ลิ่ม ผู้สื่อข่าว นายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสในขณะนั้น นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส นายโยธิน สิทธิบดีกุล ผู้อำนวยการสำนักโทรทัศน์และวิทยุ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเองด้วย โดยกล่าวหาว่า เนื้อหาของรายงานข่าวจากนักข่าวพลเมืองที่เผยแพร่ทั่วประเทศผ่านสื่อโทรทัศน์และสื่อออนไลน์ทำลายชื่อเสียงของบริษัท ทั้งนี้ ศาลจะมีการพิจารณาไต่สวนมูลฟ้องในวันนี้และวันที่ 10 ตุลาคม หลังการไต่สวนมูลฟ้องหลายครั้งก่อนหน้านี้
ทนายความสิทธิมนุษยชนจากมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน เป็นส่วนหนึ่งของทีมทนายความซึ่งเป็นผู้แทนทางกฎหมายให้กับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และพนักงานที่เกี่ยวข้องในคดีนี้
ที่ผ่านมา บริษัทเอกชนและหน่วยงานของรัฐได้ใช้กฎหมายหมิ่นประมาททางอาญา เพื่อปราบปรามเสรีภาพสื่อ และข่มขู่แกนนำชุมชนและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
ก่อนหน้านี้ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ฟ้องคดีหมิ่นประมาททางอาญาอีกหกคดีต่อสมาชิกกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ซึ่งเป็นกลุ่มชุมชนที่รณรงค์ให้ปิดเหมืองแร่ทองคำของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
ชาวต่างประเทศก็ตกเป็นเป้าคุกคามเช่นกัน เมื่อวันที่ 20 กันยายน ศาลอาญากรุงเทพใต้ ตัดสินว่านายอานดี้ ฮอลล์ (Andy Hall) นักวิจัยสัญชาติอังกฤษว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญา และละเมิดพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เนื่องจากการทำงานข้อมูลการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิแรงงานในประเทศไทย บริษัท เนเชอรัลฟรุต จำกัดฟ้องคดีต่อนายฮอลล์เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เนื่องจากการทำงานเก็บข้อมูลที่กล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิแรงงานของคนงานในโรงงานของบริษัทในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
องค์กรฟอร์ติไฟย์ไรท์เรียกร้องรัฐบาลไทยให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาททางอาญา และประกันว่าผู้สื่อข่าวมีเสรีภาพในการรายงานข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชน และปัญหาสิ่งแวดล้อม
“การหมิ่นประมาทไม่ควรเป็นคดีอาญา” เอมี สมิธกล่าว “รัฐบาลควรสนับสนุนชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่ ไม่ใช่บริษัท ซึ่งมุ่งปราบปรามไม่ให้ชุมชนส่งเสียงเรียกร้อง”
Posted: 04 Oct 2016 04:17 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
เมื่อวันที่ 3 ต.ค.ที่ผ่านมา เว็บไซต์นักข่าวพลเมือง ThaiPBS รายงานว่า เวลา 9.30 น. ที่ห้องพิจารณาที่ 812 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก นัดไต่สวนมูลฟ้อง ครั้งที่ 5 คดีที่บริษัท ทุ่งคำ จำกัด เป็นโจทก์ฟ้องไทยพีบีเอสและบุคลากรของไทยพีบีเอสรวม 5 ราย ในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาและโทรทัศน์ พร้อมความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14 และ 16 เรียกค่าเสียหาย 50 ล้านบาท
สำหรับคดีดังกล่าว สืบเนื่องจาก การเผยแพร่ข่าวพลเมือง ตอนค่ายเยาวชนฮักบ้านเจ้าของไปในช่วงข่าวค่ำ เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 58 ผ่านทางไทยพีบีเอส ต่อมา เมื่อวันที่ 12 พ.ย.58 บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ผู้ประกอบการเหมืองแร่ทองคำใน จ.เลย ยื่นฟ้องไทยพีบีเอส ผู้ดำเนินรายการช่วงข่าวพลเมืองและผู้บริหารองค์กรรวม 5 คน ประกอบด้วย วิรดา แซ่ลิ่ม, ส.ส.ท., สมชัย สุวรรณบรรณ, ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์, โยธิน สิทธิบดีกุล เป็นจำเลยที่ 1-5 ตามลำดับ ในข้อหาหมิ่นประมาท
สรพงษ์ ลิมปัชโยพาส รักษาการกรรมการบริษัท ทุ่งคำ จำกัด พยานโจทก์คนที่ 1 ตอบคำถามทนายโจทก์ถามติง หลังทนายจำเลย 5 คนซักค้านไปก่อนหน้านี้ สรุปความได้ว่า ลำน้ำฮวยซึ่งถูกระบุในข่าวพลเมืองว่าได้รับการปนเปื้อนโลหะหนักจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำของโจทก์นั้นไม่ได้เชื่อมติดกับเหมืองทอง และมีภูเขากั้นไว้ การที่ลำน้ำฮวยต้นน้ำและท้ายน้ำมีสารหนูเกินมาตรฐานคุณภาพดิน เพราะเป็นพื้นที่แหล่งแร่โลหะ
การระเบิดหินเพื่อทำเหมืองเมื่อปี 2550 มีหน่วยงานจากภายนอกมาตรวจวัดทุก 3 เดือน พบว่าไม่มีผลกระทบเกินมาตรฐานกำหนดไว้
ข้อมูลปี 2551 ที่ระบุว่ามีสารไซยาไนด์กระทบต่อสุขภาพ ไม่ได้มีการระบุว่าเกิดจากการทำเหมืองแร่ทองคำ นอกจากนั้นในส่วนข้อมูลของสำนักงานสาธารณะสุขเกี่ยวกับสารโลหะหนักในน้ำห้วยเหล็ก ห้วยผุก และระบบประปาบาดาล รวมทั้งกรณีที่พบว่าหอยขมมีปริมาณสารหนูเกินมาตรฐาน ก็ไม่ได้มีการระบุว่ามาจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ของโจทก์
จากเหตุการณ์สันเขื่อนเก็บกักกากแร่ของบริษัทฯ ด้านทิศเหนือเกิดการทรุดตัวและพังทลายลง เมื่อปี 2555 ซึ่งน้ำจากบ่อกักเก็บการแร่ได้ทะลักลงสู่บ่อเก็บน้ำธรรมชาติซึ่งไม่มีการบดอัดดินก้นบ่อและไม่มีการปูวัสดุกันซึม เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2555 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดจึงมีหนังสือให้หยุดประกอบกิจการทำเหมืองโดยทันทีและให้แก้ไขให้แล้วเสร็จ เพราะโลหะหนักอาจรั่วซึมสู่ชั้นน้ำบาดาลได้
สรพงษ์ ระบุว่า หน่วยงานของรัฐได้เข้าไปตรวจสอบแล้วพบว่าไม่มีการปนเปื้อนออกนอกพื้นที่ ต่อมาเมื่อวันที่ 25 มี.ค.2556 อุตสาหกรรมจังหวัดได้มีหนังสือให้โจทก์เปิดดำเนินกิจการต่อไปได้
นอกจากนี้ทนายโจทก์ยังนำส่งเอกสารของสำนักปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมที่รายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดฯ ร้องเรียนผลกระทบจากกิจการของโจทก์ หลังจากบ่อเก็บกักกากแร่ทรุดตัวซึ่งระบุว่า ไม่มีการแพร่กระจายของสารโลหะหนักออกสู่ภายนอกพื้นที่ และผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำยังไม่พบการปนเปื้อนออกสู่สิ่งแวดล้อมนอกโครงการ
ส่วนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดฯ นั้นเป็นกลุ่มชาวบ้านที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อคัดค้านเหมืองโดยตรง ซึ่งมีผลกระทบกับการต่ออายุใบอนุญาตให้ใช้พื้นที่ของโจทก์ ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ในขณะนี้ เนื่องจากกฎหมายได้ระบุไว้ว่า “ต้องไม่มีข้อขัดแย้งกับคนในชุมชน”
พร้อมกันนี้ โจทก์ได้นำส่งเอกสารเพิ่มเติมอีก 1 ฉบับ โดยเป็นส่วนหนึ่งจาก EIA เกี่ยวกับการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมก่อนการทำเหมืองแร่ พบข้อมูลของกรมทรัพยากรธรณีเมื่อปี 2545 แสดงให้เห็นว่า จ.เลย มีการแพร่กระจายของสารหนูในธรรมชาติทั้งจังหวัดอยู่แล้ว และเอกสารยังระบุว่าปี 2539 มีค่าการปนเปื้อนสารหนูเกินอยู่แล้ว ส่วนไซยาไนด์เกินในบางจุด ที่ผ่านมาค่าการวิเคราะห์มีทั้งค่าสูงและต่ำ แต่ก็อยู่ในช่วงที่เคยตรวจพบก่อนหน้านั้น
สรพงษ์ ระบุด้วยว่า การเผยแพร่ภาพและเสียงผ่านทางโทรทัศน์และยูทูปของไทยพีบีเอสไม่เคยนำมาให้โจทก์ดูก่อน และทราบว่าก่อนหน้านี้โจทก์ได้แจ้งไปทางไทยพีบีเอสให้ยุติการออกอากาศ โดยเป็นการพูดคุยกับผู้บริหาร ไม่มีลายลักษณ์อักษร แต่ถึงขณะนี้พบว่ายังคงมีการเผยแพร่คลิปข่าวดังกล่าวอยู่ในยูทูป อย่างไรก็ตามเขาไม่ได้เป็นคนติดต่อเอง เพียงแต่ได้รับทราบว่ามีการติดต่อไปแล้ว
สำหรับการไต่สวนมูลฟ้องครั้งต่อไป ศาลนัดวันจันทร์ที่ 10 ต.ค. 2559 ตั้งแต่เวลา 9.00 น.สืบพยานโจทก์คนที่ 2 นายมุนาวุฒิ เศลาอนันต์ ซึ่งเดิมนัดหมายในวันนี้แต่ติดธุระด่วนไม่สามารถมาศาลได้ ทนายโจทก์จึงขอเลื่อนการสืบไปเป็นนัดหน้า
นอกจากคดีดังกล่าว จากกรณีเดียวกันบริษัทเหมืองทองยังดำเนินการยื่นฟ้องดำเนินคดีกับ พลอย เยาวชนนักข่าวพลเมือง อายุ 15 ปี จาก อ.วังสะพุง จ.เลย ซึ่งเป็นผู้ร่วมผลิตและนำเสนอข่าวพลเมืองตอนดังกล่าว ในคดีอาญาความผิดฐานหมิ่นประมาท ต่อผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดเลย และยังมีหมายเรียกลงวันที่ 14 ธ.ค. 2558 ของสถานีตำรวจนครบาลมีนบุรี ในคดีความอาญาที่ตัวแทนบริษัทฯ กล่าวหาเยาวชนนักข่าวพลเมืองว่าหมิ่นประมาท ซึ่งต่อมาสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดเลย มีหนังสือลงวันที่ 2 มิ.ย. 2559 ถึง เยาวชนนักข่าวพลเมือง ระบุมีความเห็นไม่อนุญาตให้ผู้เสียหายฟ้องน้องพลอยต่อศาลเยาวชนและครอบครัว
วันเดียวกัน (3 ต.ค. 2559) องค์กรฟอร์ติไฟย์ไรท์ องค์กรสิทธิมนุษยชนที่ทำงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยแพร่แถลงการณ์ฉบับภาษาไทยและอังกฤษ เพื่อเรียกร้องให้บริษัทเหมืองแร่ทองคำถอนข้อกล่าวหาทางอาญาต่อสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องในวันที่ 3 และ 10 ต.ค. 2559 นี้
รายละเอียดแถลงการณ์ :
แถลงการณ์ องค์กรฟอร์ติไฟย์ไรท์
ประเทศไทย: ถอนข้อกล่าวหาทางอาญาต่อสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
รัฐบาลควรปกป้องเสรีภาพสื่อและยกเลิกบทลงโทษทางอาญาของกฎหมายหมิ่นประมาท
(กรุงเทพฯ, 3 ตุลาคม 2559) - บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ซึ่งทำกิจการเหมืองทองคำในประเทศไทย ควรยุติกระบวนการทางกฎหมายอาญาใด ๆ ที่มีต่อองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท) (สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส) และผู้ถูกกล่าวหาทั้งสี่คน ทั้งที่เป็นและเคยเป็นพนักงานของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส, องค์กรฟอร์ติไฟย์ไรท์กล่าวในวันนี้ ศาลอาญากรุงเทพฯ มีกำหนดการพิจารณาไต่สวนมูลฟ้องคดีในวันนี้และวันที่ 10 ตุลาคม
บริษัท ทุ่งคำ จำกัด กล่าวหาสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสว่าสร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียงให้กับบริษัท เนื่องจากรายงานข่าวที่กล่าวหาว่ามีผลกระทบในทางลบด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจเชื่อมโยงกับการทำเหมืองทองคำในจังหวัดเลย ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ทางบริษัทเรียกค่าเสียหายจำนวน 50 ล้านบาท รวมทั้งร้องขอให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเป็นเวลาห้าปี
“เป็นเรื่องจำเป็นที่นักข่าวในประเทศไทยต้องสามารถทำงานของตน โดยไม่ต้องหวาดกลัวต่อการถูกตอบโต้และการคุกคามด้วยกฎหมาย” เอมี สมิธ (Amy Smith) ผู้อำนวยการบริหาร องค์กรฟอร์ติไฟย์ไรท์กล่าว “สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสให้บริการสำคัญต่อสาธารณะ สมควรรับการยอย่อง ไม่ใช่ถูกคุกคาม ข้อกล่าวหาเหล่านี้ไม่เป็นความจริง และควรมีการถอนข้อกล่าวหาโดยทันที”
การตั้งข้อกล่าวหาคดีหมิ่นประมาททางอาญาของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ละเมิดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพสื่อ องค์กรฟอร์ติไฟย์ไรท์กล่าว
สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพสื่อได้รับการคุ้มครองตามข้อ 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights) ซึ่งไทยเป็นรัฐภาคี
เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2558, สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสออกอากาศรายการนักข่าวพลเมือง เป็นรายงานข่าว เกี่ยวกับการจัดค่ายเยาวชน เพื่อสร้างจิตสำนึกเรื่องการปกป้องสิ่งแวดล้อมในอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เด็กนักเรียนหญิงอายุ 15 ปี ซึ่งเข้าร่วมในค่ายเยาวชน เป็นผู้บรรยายในรายงานข่าวของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส โดยระบุว่า หกหมู่บ้านในบริเวณเหมืองทองคำ “เป็นพื้นที่ได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำ” เธอได้กล่าวต่อไปว่า “ลำน้ำฮวยมีสารปนเปื้อน ทำให้ใช้ดื่มใช้กินไม่ได้”
ต่อมาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2558 บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ยื่นฟ้องข้อกล่าวหาในคดีหมิ่นประมาททางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญาและข้อกล่าวหาตามพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รวมทั้งข้อกล่าวหาอื่นต่อนางสาววิรดา แซ่ลิ่ม ผู้สื่อข่าว นายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสในขณะนั้น นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส นายโยธิน สิทธิบดีกุล ผู้อำนวยการสำนักโทรทัศน์และวิทยุ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเองด้วย โดยกล่าวหาว่า เนื้อหาของรายงานข่าวจากนักข่าวพลเมืองที่เผยแพร่ทั่วประเทศผ่านสื่อโทรทัศน์และสื่อออนไลน์ทำลายชื่อเสียงของบริษัท ทั้งนี้ ศาลจะมีการพิจารณาไต่สวนมูลฟ้องในวันนี้และวันที่ 10 ตุลาคม หลังการไต่สวนมูลฟ้องหลายครั้งก่อนหน้านี้
ทนายความสิทธิมนุษยชนจากมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน เป็นส่วนหนึ่งของทีมทนายความซึ่งเป็นผู้แทนทางกฎหมายให้กับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และพนักงานที่เกี่ยวข้องในคดีนี้
ที่ผ่านมา บริษัทเอกชนและหน่วยงานของรัฐได้ใช้กฎหมายหมิ่นประมาททางอาญา เพื่อปราบปรามเสรีภาพสื่อ และข่มขู่แกนนำชุมชนและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
ก่อนหน้านี้ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ฟ้องคดีหมิ่นประมาททางอาญาอีกหกคดีต่อสมาชิกกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ซึ่งเป็นกลุ่มชุมชนที่รณรงค์ให้ปิดเหมืองแร่ทองคำของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
ชาวต่างประเทศก็ตกเป็นเป้าคุกคามเช่นกัน เมื่อวันที่ 20 กันยายน ศาลอาญากรุงเทพใต้ ตัดสินว่านายอานดี้ ฮอลล์ (Andy Hall) นักวิจัยสัญชาติอังกฤษว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญา และละเมิดพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เนื่องจากการทำงานข้อมูลการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิแรงงานในประเทศไทย บริษัท เนเชอรัลฟรุต จำกัดฟ้องคดีต่อนายฮอลล์เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เนื่องจากการทำงานเก็บข้อมูลที่กล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิแรงงานของคนงานในโรงงานของบริษัทในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
องค์กรฟอร์ติไฟย์ไรท์เรียกร้องรัฐบาลไทยให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาททางอาญา และประกันว่าผู้สื่อข่าวมีเสรีภาพในการรายงานข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชน และปัญหาสิ่งแวดล้อม
“การหมิ่นประมาทไม่ควรเป็นคดีอาญา” เอมี สมิธกล่าว “รัฐบาลควรสนับสนุนชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่ ไม่ใช่บริษัท ซึ่งมุ่งปราบปรามไม่ให้ชุมชนส่งเสียงเรียกร้อง”
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น