'สลัม4ภาค' ร้อง UN-ประยุทธ์ แก้ปัญหาที่อยู่คนจน ร้องกทม.ต้านรื้อป้อมมหากาฬ
Posted: 03 Oct 2016 05:47 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
ที่มาภาพ เพจ ข่าวสาร สลัมสี่ภาค
3 ต.ค.2559 เนื่องในวันที่อยู่อาศัยสากล สมาชิกเครือข่ายสลัมสี่ภาค และสหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ (สอช.) ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาชนที่ทำงานด้านที่อยู่อาศัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนจนเมืองทั่วประเทศ จำนวนประมาณ 1,000 คน ได้จัดตั้งขบวนที่ถนนราชดำเนิน หน้าองค์การสหประชาชาติ (UN) และอ่านแถลงการณ์ พร้อมกับยื่นหนังสือถึง บัน คี-มูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ โดยมีตัวแทนองค์การสหประชาติ ออกมารับมอบหนังสือ จากนั้นขบวน ได้เดินทางมาที่ประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยมีตัวแทนรัฐบาล ออกมารับหนังสือข้อเรียกร้อง
โดย ไมตรี อินทุสุต ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้ชี้แจงกับผู้ชุมนุมสลัม 4 ภาค ยืนยันว่า รัฐบาลจัดแผนที่อยู่อาศัย 10 ปี และรับปากไม่ทอดทิ้ง ประชาชน
ทั้งนี้ได้มีการจัดตัวแทน จำนวน 20 คน เข้าร่วมประชุมที่ห้องประชุม 2 ชั้น 2 สำนักงาน ก.พ. เพื่อหาแนวทางการสนับสนุนด้านที่อยู่อาศัย ความมั่นคงด้านที่ดิน และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเครือข่ายสลัม 4 ภาค โดยมี ผู้แทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, ผู้แทนกระทรวงการคลัง, ผู้แทนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน), ผู้แทนกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, ผู้แทนกระทรวงคมนาคม เข้าร่วมประชุม และ จิรชัย มูลทองโร่ย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุม
ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเรียกร้องของเครือข่ายสลัม 4 ภาค เพื่อให้มีการสนับสนุนด้านที่อยู่อาศัยของคนจน 3 ด้านหลักคือ 1.ด้านที่อยู่อาศัย คือ 1.1 โครงการของรัฐที่สนับสนุนการ พัฒนาด้านที่อยู่อาศัยโดยรัฐบาลต้องมีนโยบายให้การประปาและการไฟฟ้าดำเนินการต่อขยายระบบประปาและไฟฟ้าเพื่อให้บริการในพื้นที่โครงการโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายจากชาวบ้าน เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับคนจน ซึ่งประธานในที่ประชุมได้ขอให้กลุ่มส่งรายละเอียดข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทั้งในส่วนภูมิภาคและนครหลวง ส่งให้คณะกรรมการติดตามการดำเนินการ ที่มีภาครัฐ ภาคประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหา 1.2 โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบในด้านที่อยู่อาศัยต่อชุมชน ทางรัฐบาลต้องบวกงบประมาณในการดำเนินการในส่วนนี้เป็นต้นทุนของโครงการด้วยเช่นโครงการพัฒนาระบบรางในพื้นที่จังหวัดสงขลาที่ได้มีการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนที่ได้รับผลกระทบกับการรถไฟแห่งประเทศไทยและสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนซึ่งต้องนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีให้การสนับสนุนในการแก้ปัญหา ซึ่งมติที่ประชุม ให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการหาแนวทางแก้ไขปัญหา
2. ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิตคนจนเมือง คือ 2.1 ขอให้รัฐบาลผลักดันให้มีการออกกฎหมายบำนาญแห่งชาติ เพื่อให้ผู้สูงอายุครรภ์มีหลักประกันทางรายได้ขั้นพื้นฐานสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างไม่ยากลำบาก ซึ่งมติที่ประชุม รับข้อเสนอไว้เพื่อดำเนินการ 2.2 ขอให้รัฐบาลสนับสนุนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้โดยไม่เก็บค่ารักษาพยาบาลปลายทางและต้องพัฒนาระบบสุขภาพทุกระบบให้มีคุณภาพเท่าเทียมกัน โดยมติที่ประชุม รับข้อเสนอไว้เพื่อดำเนินการ 2.3 ระบบหลักประกันสุขภาพต้องให้สิทธิการรักษาพยาบาลครอบคลุมถึงกลุ่มที่ยังไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้โดยให้มีการจัดตั้งกองทุนรักษาพยาบาลสำหรับผู้เข้าไม่ถึงสิทธิ์ ซึ่งมติที่ประชุม รับข้อเสนอไว้เพื่อดำเนินการ
3. ด้านการแก้ไขปัญหาที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและทำกิน 3.1 ให้จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) และเดินหน้าการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินตามนโยบายโฉนดชุมชนโดยการส่งมอบพื้นที่นำร่องสำหรับชุมชนที่อยู่ในที่ดินสาธารณะที่ผ่านกระบวนการขั้นตอนพิจารณาของคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชนและเร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติสิทธิชุม ชนและการจัดการทรัพยากร มติที่ประชุม รับทราบ ความคืบหน้าการดำเนินการ
ร้องกทม.ต้านรื้อป้อมมหากาฬ
นอกจากนี้ เวลา 11.30 น. ผุสดี ตามไท รองผู้ว่า กทม. รักษาราชการแทนผู้ว่า กทม. ได้ลงมาพบปะกับกลุ่มผู้ชุมชน โดยตัวแทนชาวบ้านป้อมมหากาฬ ได้อ่านแถลงการณ์และมอบข้อเรียกร้องที่สำคัญ คือ 1.ให้ยุติการรื้อถอนบ้านที่ยังไม่รื้อย้ายในชุมชนป้องมหากาฬเอาไว้ก่อน 2.ขอให้มีการแต่งตั้ง “คณะกรรมการพหุภาคี” ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนภาครัฐ ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคประชาสังคม/เอกชน ชุมชน ภาควิชาชีพ และกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาให้คนอยู่กับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ได้ และเป็นการแก้ไขปัญหาชุมชนในเกาะรัตนโกสินทร์แนวใหม่ โดยนางผุสดี ได้รับหนังสือจากชาวบ้าน และได้กล่าวว่าตนไม่ได้รับผิดชอบเรื่องนี้ แต่จะนำเรื่องเข้าสู่การประชุมของคณะผู้บริหาร กทม.โดยเร็ว หลังจากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมจึงสลายตัว
เกษตรกรภาคใต้ร้องรัฐคุ้มครองสิทธิรวมกลุ่มเพื่อก่อตั้งชุมชนใหม่
ขณะที่ สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง สิทธิในที่ดินและสิทธิในการก่อตั้งชุมชนใหม่ของแรงงานไร้ที่ดิน เพื่อการอยู่อาศัย ทำมาหากินและสร้างสรรค์วัฒนธรรมร่วมกัน โดยแถลงการณ์ระบุว่า 3 ต.ค. 2559 เนื่องในวันที่อยู่อาศัยสากล โดยเริ่มตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1989 สหประชาชาติกำหนดให้ วันจันทร์แรกของเดือน ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันที่อยู่อาศัยสากล และเป็นวันสำคัญของมนุษยชาติ ชาว สกต. ผู้ใช้แรงงานและเกษตรกรทั้งหลายล้วนต้องการที่อยู่อาศัย รวมทั้งชนบางกลุ่มก็เพื่อตั้งรกรากใหม่ ชนกลุ่มนี้เคยเป็นแรงงานในที่ดินของตัวเอง แต่เมื่อเกิดความพ่ายแพ้ทางเศรษฐกิจ จากระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ที่มีการแข่งขันกันสูง ดังมีคำกล่าวไว้ว่า “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” ทำให้ผู้ที่อยู่ในชนบทและในชานเมือง ที่ขาดความรู้ความเข้าใจ ในระบบเศรษฐกิจแบบสมัยใหม่ จึงทำให้ที่ดินหลุดมือไป อันเป็นสาเหตุให้พวกเขาเหล่านั้นต้องกลายเป็นแรงงานตามเมืองหลวงเมืองใหญ่และหัวเมืองต่างๆ เมื่อการต่อสู้ขายแรงในเมืองระยะหนึ่งไม่สามารถตอบสนองต่อการดำรงชีพ หรือเมื่อถูกปลดออกจากงาน พวกเขาเหล่านั้นที่เคยอยู่ตามชนบทก็หันกลับไปสู่ถิ่นฐานเดิม แต่เมื่อกลับบ้านที่ชนบทก็มีที่ดินไม่เพียงพอหรือไม่มีเลยเพื่อจะทำการผลิตเลี้ยงชีพ เป็นสาเหตุให้ต้องดิ้นรนรวมตัวกันเพื่อต่อสู้เรียกร้องเรื่องที่ทำกินและก่อตั้งชุมชนใหม่เพื่อตั้งรกรากของพวกตน ส่วนพวกที่ยังไม่กลับชนบทก็รวมตัวกันอยู่อาศัยตามพื้นที่ต่างๆที่คนทั่วไปเรียกว่า “ สลัมหรือคนจนเมือง” พวกเขาเหล่านั้นต่อสู้เรียกร้องที่อยู่อาศัยเพื่อตั้งรกรากและชุมชนใหม่เช่นกัน วันนี้ประเทศต่างๆทั่วโลกได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและสนใจกับสถานการณ์ การมีที่อยู่อาศัยและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์นับเป็นเงื่อนไขความมั่นคงของทุกระบอบ และรวมถึงเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษยชาติ เมื่อมีความตระหนักและความรับผิดชอบร่วมกัน จึงมีการจัดการให้มนุษย์ทุกคนมีที่อยู่อาศัยทุกสังคมประเทศ
ทาง สกต. ขอเรียกร้องต่อรัฐบาลดังต่อไปนี้ 1) รัฐบาลต้องรับรองและคุ้มครองสิทธิของชุมชน หรือสถาบันเกษตรกรในการถือครองเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกันและการบริหารจัดการที่ดินร่วมกันเพื่อความมั่นคงยั่งยืน ให้กับชุมชนที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ และสนับสนุนให้พัฒนาได้ 2) รัฐบาลต้องรับรองและคุ้มครองสิทธิของเกษตรกรและแรงงานไร้ที่ดิน หรือคนจน ในการรวมกลุ่มเพื่อก่อตั้งชุมชนใหม่ การสร้างที่อาศัยที่มั่งคง เพื่อการตั้งรกรากใหม่ในที่ดินของรัฐที่เหมาะสมในการทำเกษตร ซึ่งถูกบุกรุกครอบครองโดยนายทุน บริษัทฯ โดยมิชอบด้วยกฎหมาย และเคารพชุมชนในรูปแบบ “สิทธิชุมชนหรือ โฉนดชุมชน”
3) รัฐบาลต้องจัดหาที่อยู่อาศัยให้ประชาชนในชาติอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม และ 4) รัฐบาลต้องชดเชยเยียวยาให้เหมาะสม ในการพัฒนาของรัฐที่มีผลกระทบต่อชีวิตชุมชน
"หวังว่ารัฐฯจะเล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นในข้อเรียกร้องตามสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ รวมถึงความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและการตั้งรกรากใหม่ จะได้รับการหนุนช่วยจากรัฐฯ" แถลงการณ์ สกต. ระบุ
ที่มา MGR Online และ คมชัดลึกออนไลน์
Posted: 03 Oct 2016 05:47 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
ที่มาภาพ เพจ ข่าวสาร สลัมสี่ภาค
3 ต.ค.2559 เนื่องในวันที่อยู่อาศัยสากล สมาชิกเครือข่ายสลัมสี่ภาค และสหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ (สอช.) ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาชนที่ทำงานด้านที่อยู่อาศัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนจนเมืองทั่วประเทศ จำนวนประมาณ 1,000 คน ได้จัดตั้งขบวนที่ถนนราชดำเนิน หน้าองค์การสหประชาชาติ (UN) และอ่านแถลงการณ์ พร้อมกับยื่นหนังสือถึง บัน คี-มูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ โดยมีตัวแทนองค์การสหประชาติ ออกมารับมอบหนังสือ จากนั้นขบวน ได้เดินทางมาที่ประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยมีตัวแทนรัฐบาล ออกมารับหนังสือข้อเรียกร้อง
โดย ไมตรี อินทุสุต ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้ชี้แจงกับผู้ชุมนุมสลัม 4 ภาค ยืนยันว่า รัฐบาลจัดแผนที่อยู่อาศัย 10 ปี และรับปากไม่ทอดทิ้ง ประชาชน
ทั้งนี้ได้มีการจัดตัวแทน จำนวน 20 คน เข้าร่วมประชุมที่ห้องประชุม 2 ชั้น 2 สำนักงาน ก.พ. เพื่อหาแนวทางการสนับสนุนด้านที่อยู่อาศัย ความมั่นคงด้านที่ดิน และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเครือข่ายสลัม 4 ภาค โดยมี ผู้แทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, ผู้แทนกระทรวงการคลัง, ผู้แทนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน), ผู้แทนกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, ผู้แทนกระทรวงคมนาคม เข้าร่วมประชุม และ จิรชัย มูลทองโร่ย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุม
ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเรียกร้องของเครือข่ายสลัม 4 ภาค เพื่อให้มีการสนับสนุนด้านที่อยู่อาศัยของคนจน 3 ด้านหลักคือ 1.ด้านที่อยู่อาศัย คือ 1.1 โครงการของรัฐที่สนับสนุนการ พัฒนาด้านที่อยู่อาศัยโดยรัฐบาลต้องมีนโยบายให้การประปาและการไฟฟ้าดำเนินการต่อขยายระบบประปาและไฟฟ้าเพื่อให้บริการในพื้นที่โครงการโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายจากชาวบ้าน เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับคนจน ซึ่งประธานในที่ประชุมได้ขอให้กลุ่มส่งรายละเอียดข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทั้งในส่วนภูมิภาคและนครหลวง ส่งให้คณะกรรมการติดตามการดำเนินการ ที่มีภาครัฐ ภาคประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหา 1.2 โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบในด้านที่อยู่อาศัยต่อชุมชน ทางรัฐบาลต้องบวกงบประมาณในการดำเนินการในส่วนนี้เป็นต้นทุนของโครงการด้วยเช่นโครงการพัฒนาระบบรางในพื้นที่จังหวัดสงขลาที่ได้มีการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนที่ได้รับผลกระทบกับการรถไฟแห่งประเทศไทยและสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนซึ่งต้องนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีให้การสนับสนุนในการแก้ปัญหา ซึ่งมติที่ประชุม ให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการหาแนวทางแก้ไขปัญหา
2. ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิตคนจนเมือง คือ 2.1 ขอให้รัฐบาลผลักดันให้มีการออกกฎหมายบำนาญแห่งชาติ เพื่อให้ผู้สูงอายุครรภ์มีหลักประกันทางรายได้ขั้นพื้นฐานสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างไม่ยากลำบาก ซึ่งมติที่ประชุม รับข้อเสนอไว้เพื่อดำเนินการ 2.2 ขอให้รัฐบาลสนับสนุนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้โดยไม่เก็บค่ารักษาพยาบาลปลายทางและต้องพัฒนาระบบสุขภาพทุกระบบให้มีคุณภาพเท่าเทียมกัน โดยมติที่ประชุม รับข้อเสนอไว้เพื่อดำเนินการ 2.3 ระบบหลักประกันสุขภาพต้องให้สิทธิการรักษาพยาบาลครอบคลุมถึงกลุ่มที่ยังไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้โดยให้มีการจัดตั้งกองทุนรักษาพยาบาลสำหรับผู้เข้าไม่ถึงสิทธิ์ ซึ่งมติที่ประชุม รับข้อเสนอไว้เพื่อดำเนินการ
3. ด้านการแก้ไขปัญหาที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและทำกิน 3.1 ให้จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) และเดินหน้าการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินตามนโยบายโฉนดชุมชนโดยการส่งมอบพื้นที่นำร่องสำหรับชุมชนที่อยู่ในที่ดินสาธารณะที่ผ่านกระบวนการขั้นตอนพิจารณาของคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชนและเร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติสิทธิชุม ชนและการจัดการทรัพยากร มติที่ประชุม รับทราบ ความคืบหน้าการดำเนินการ
ร้องกทม.ต้านรื้อป้อมมหากาฬ
นอกจากนี้ เวลา 11.30 น. ผุสดี ตามไท รองผู้ว่า กทม. รักษาราชการแทนผู้ว่า กทม. ได้ลงมาพบปะกับกลุ่มผู้ชุมชน โดยตัวแทนชาวบ้านป้อมมหากาฬ ได้อ่านแถลงการณ์และมอบข้อเรียกร้องที่สำคัญ คือ 1.ให้ยุติการรื้อถอนบ้านที่ยังไม่รื้อย้ายในชุมชนป้องมหากาฬเอาไว้ก่อน 2.ขอให้มีการแต่งตั้ง “คณะกรรมการพหุภาคี” ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนภาครัฐ ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคประชาสังคม/เอกชน ชุมชน ภาควิชาชีพ และกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาให้คนอยู่กับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ได้ และเป็นการแก้ไขปัญหาชุมชนในเกาะรัตนโกสินทร์แนวใหม่ โดยนางผุสดี ได้รับหนังสือจากชาวบ้าน และได้กล่าวว่าตนไม่ได้รับผิดชอบเรื่องนี้ แต่จะนำเรื่องเข้าสู่การประชุมของคณะผู้บริหาร กทม.โดยเร็ว หลังจากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมจึงสลายตัว
เกษตรกรภาคใต้ร้องรัฐคุ้มครองสิทธิรวมกลุ่มเพื่อก่อตั้งชุมชนใหม่
ขณะที่ สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง สิทธิในที่ดินและสิทธิในการก่อตั้งชุมชนใหม่ของแรงงานไร้ที่ดิน เพื่อการอยู่อาศัย ทำมาหากินและสร้างสรรค์วัฒนธรรมร่วมกัน โดยแถลงการณ์ระบุว่า 3 ต.ค. 2559 เนื่องในวันที่อยู่อาศัยสากล โดยเริ่มตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1989 สหประชาชาติกำหนดให้ วันจันทร์แรกของเดือน ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันที่อยู่อาศัยสากล และเป็นวันสำคัญของมนุษยชาติ ชาว สกต. ผู้ใช้แรงงานและเกษตรกรทั้งหลายล้วนต้องการที่อยู่อาศัย รวมทั้งชนบางกลุ่มก็เพื่อตั้งรกรากใหม่ ชนกลุ่มนี้เคยเป็นแรงงานในที่ดินของตัวเอง แต่เมื่อเกิดความพ่ายแพ้ทางเศรษฐกิจ จากระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ที่มีการแข่งขันกันสูง ดังมีคำกล่าวไว้ว่า “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” ทำให้ผู้ที่อยู่ในชนบทและในชานเมือง ที่ขาดความรู้ความเข้าใจ ในระบบเศรษฐกิจแบบสมัยใหม่ จึงทำให้ที่ดินหลุดมือไป อันเป็นสาเหตุให้พวกเขาเหล่านั้นต้องกลายเป็นแรงงานตามเมืองหลวงเมืองใหญ่และหัวเมืองต่างๆ เมื่อการต่อสู้ขายแรงในเมืองระยะหนึ่งไม่สามารถตอบสนองต่อการดำรงชีพ หรือเมื่อถูกปลดออกจากงาน พวกเขาเหล่านั้นที่เคยอยู่ตามชนบทก็หันกลับไปสู่ถิ่นฐานเดิม แต่เมื่อกลับบ้านที่ชนบทก็มีที่ดินไม่เพียงพอหรือไม่มีเลยเพื่อจะทำการผลิตเลี้ยงชีพ เป็นสาเหตุให้ต้องดิ้นรนรวมตัวกันเพื่อต่อสู้เรียกร้องเรื่องที่ทำกินและก่อตั้งชุมชนใหม่เพื่อตั้งรกรากของพวกตน ส่วนพวกที่ยังไม่กลับชนบทก็รวมตัวกันอยู่อาศัยตามพื้นที่ต่างๆที่คนทั่วไปเรียกว่า “ สลัมหรือคนจนเมือง” พวกเขาเหล่านั้นต่อสู้เรียกร้องที่อยู่อาศัยเพื่อตั้งรกรากและชุมชนใหม่เช่นกัน วันนี้ประเทศต่างๆทั่วโลกได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและสนใจกับสถานการณ์ การมีที่อยู่อาศัยและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์นับเป็นเงื่อนไขความมั่นคงของทุกระบอบ และรวมถึงเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษยชาติ เมื่อมีความตระหนักและความรับผิดชอบร่วมกัน จึงมีการจัดการให้มนุษย์ทุกคนมีที่อยู่อาศัยทุกสังคมประเทศ
ทาง สกต. ขอเรียกร้องต่อรัฐบาลดังต่อไปนี้ 1) รัฐบาลต้องรับรองและคุ้มครองสิทธิของชุมชน หรือสถาบันเกษตรกรในการถือครองเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกันและการบริหารจัดการที่ดินร่วมกันเพื่อความมั่นคงยั่งยืน ให้กับชุมชนที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ และสนับสนุนให้พัฒนาได้ 2) รัฐบาลต้องรับรองและคุ้มครองสิทธิของเกษตรกรและแรงงานไร้ที่ดิน หรือคนจน ในการรวมกลุ่มเพื่อก่อตั้งชุมชนใหม่ การสร้างที่อาศัยที่มั่งคง เพื่อการตั้งรกรากใหม่ในที่ดินของรัฐที่เหมาะสมในการทำเกษตร ซึ่งถูกบุกรุกครอบครองโดยนายทุน บริษัทฯ โดยมิชอบด้วยกฎหมาย และเคารพชุมชนในรูปแบบ “สิทธิชุมชนหรือ โฉนดชุมชน”
3) รัฐบาลต้องจัดหาที่อยู่อาศัยให้ประชาชนในชาติอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม และ 4) รัฐบาลต้องชดเชยเยียวยาให้เหมาะสม ในการพัฒนาของรัฐที่มีผลกระทบต่อชีวิตชุมชน
"หวังว่ารัฐฯจะเล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นในข้อเรียกร้องตามสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ รวมถึงความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและการตั้งรกรากใหม่ จะได้รับการหนุนช่วยจากรัฐฯ" แถลงการณ์ สกต. ระบุ
ที่มา MGR Online และ คมชัดลึกออนไลน์
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น