กสม.ไทยถูกลดสถานะ "อังคณา"โอดทำไทยเสียโอกาส ปม"พิชัย นริพทะพันธุ์"ถูกเรียกปรับทัศนคติ อาจเป็นปัจจัยหนึ่งของการถูกลดสถานะ
**********************************
สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ โอเอ็นซีเอชอาร์ ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ออกถ้อยแถลงระบุว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือ กสม.ของไทย ถูกลดสถานะจากสมาชิกภาพเต็มรูปแบบ เป็นเพียงผู้สังเกตุการณ์
.
โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2557 คณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ หรือ ไอซีซี ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาและประเมินการทำงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทั่วโลก แสดงความกังวลต่อกระบวนการคัดสรรคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ที่ขาดอิสรภาพในการทำงาน และล้มเหลวในการแก้ปัญหาประเด็นสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในระบอบการปกครองในปัจจุบัน
.
ไอซีซีให้ กสม.ของไทย ดำเนินมาตรการแก้ปัญหาดังกล่าวจนถึงเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว กระทั่งไอซีซีมีคำแนะนำให้ กสม.ของไทยถูกลดระดับจากเกรด A เป็นเกรด B หลังตรวจสอบว่า กสม.ไม่ได้ดำเนินการแก้ปัญหาข้อกังวลอย่างเต็มที่
.
ผลของการถูกลดชั้นจากเอ เป็นบี ทำให้สถานะของกสม.ไทย เป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ในการประชุมในระดับภูมิภาคและนานาชาติที่เกี่ยวข้อง กับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และจะไม่สามารถลงคะแนนเสียงในการประชุมของไอซีซี หรือสมัครเป็นคณะกรรมการ หรืออนุกรรมการของไอซีซีได้
.
นางลอเรนต์ เมลลาน รักษาการผู้แทนโอเอ็นซีเอชอาร์ ระบุว่า ความเป็นอิสระของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน มีส่วนสนับสนุนและปกป้องสิทธิมนุษยชน โอเอ็นซีเอชอาร์จะทำงานกับ กสม. รัฐบาล ประชาสังคม และนักวิชาการในไทย เพื่อสนับสนุนการดำเนินการปรับปรุงตามข้อแนะนำ
.
นางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนชุดปัจจุบัน ยอมรับว่าการถูกลดชั้นครั้งนี้ ทำให้โอกาสและความสง่างามของกรรมการสิทธิมนุษยชนไทยลดลงไปมาก
.
เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2558 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้แทนจาก UNHRC และนางสาวประทับจิต นีละไพจิต ได้เข้าพบนายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน คณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย หลังจากถูกเรียกปรับทัศนคติ เพื่อสอบถามรายละเอียดการละเมิดสิทธิมนุษยชน คาดว่าน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งของการที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของไทย ถูกลดชั้นอย่างเป็นทางการ
.
โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2557 คณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ หรือ ไอซีซี ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาและประเมินการทำงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทั่วโลก แสดงความกังวลต่อกระบวนการคัดสรรคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ที่ขาดอิสรภาพในการทำงาน และล้มเหลวในการแก้ปัญหาประเด็นสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในระบอบการปกครองในปัจจุบัน
.
ไอซีซีให้ กสม.ของไทย ดำเนินมาตรการแก้ปัญหาดังกล่าวจนถึงเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว กระทั่งไอซีซีมีคำแนะนำให้ กสม.ของไทยถูกลดระดับจากเกรด A เป็นเกรด B หลังตรวจสอบว่า กสม.ไม่ได้ดำเนินการแก้ปัญหาข้อกังวลอย่างเต็มที่
.
ผลของการถูกลดชั้นจากเอ เป็นบี ทำให้สถานะของกสม.ไทย เป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ในการประชุมในระดับภูมิภาคและนานาชาติที่เกี่ยวข้อง กับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และจะไม่สามารถลงคะแนนเสียงในการประชุมของไอซีซี หรือสมัครเป็นคณะกรรมการ หรืออนุกรรมการของไอซีซีได้
.
นางลอเรนต์ เมลลาน รักษาการผู้แทนโอเอ็นซีเอชอาร์ ระบุว่า ความเป็นอิสระของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน มีส่วนสนับสนุนและปกป้องสิทธิมนุษยชน โอเอ็นซีเอชอาร์จะทำงานกับ กสม. รัฐบาล ประชาสังคม และนักวิชาการในไทย เพื่อสนับสนุนการดำเนินการปรับปรุงตามข้อแนะนำ
.
นางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนชุดปัจจุบัน ยอมรับว่าการถูกลดชั้นครั้งนี้ ทำให้โอกาสและความสง่างามของกรรมการสิทธิมนุษยชนไทยลดลงไปมาก
.
เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2558 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้แทนจาก UNHRC และนางสาวประทับจิต นีละไพจิต ได้เข้าพบนายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน คณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย หลังจากถูกเรียกปรับทัศนคติ เพื่อสอบถามรายละเอียดการละเมิดสิทธิมนุษยชน คาดว่าน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งของการที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของไทย ถูกลดชั้นอย่างเป็นทางการ
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น