Posted: 03 May 2016 07:06 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
'นศ.สาวธรรมศาสตร์-ผู้ต้องหามี ขันแดง-จิตรา' เล่าประสบการณ์ถูกละเมิดระหว่ างรอประกันตัวในเรือนจำ ศูนย์ทนายสิทธิฯ ชี้ศาลพลเรือนไม่ต้องนำตัวไปปล่ อยที่เรือนจำ กระบวนการศาลทหารละเมิดต่อศักดิ ์ศรีความเป็นมนุษย์และข้ อกำหนดแมนเดลา อดีต รมช.แรงงาน จี้ประยุทธ์สั่งเลิกตรวจภายในผู ้ต้องโทษหญิง
3 พ.ค.2559 มติชนออนไลน์และเดลินิวส์ รายงานว่า ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่ าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ขอเรียกร้องไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่ งชาติ(คสช.)ให้สั่งยกเลิ กการตรวจภายในผู้ต้องโทษหญิงที่ ไม่ใช่คดียาเสพติดทันที แม้ว่าคดีจะสิ้นสุดแล้วหรือเป็ นการฝากขังชั่วคราวก็ตาม เนื่องจากการกระทำดังกล่าวเป็ นสิ่งเลวร้ายมากต่อผู้หญิงทุกคน และทราบมาอีกว่าเคยมีผู้ นำแรงงานหญิงคนหนึ่งเคยถูกสั่ งให้ถอดเสื้อผ้าแล้วให้ คลานไปเข้าห้องน้ำ เป็นการกระทำที่ไร้ซึ่งมนุ ษยธรรม ทั้งนี้การตรวจภายในคนที่ต้ องคดียาเสพติดก็ควรจะเป็นสถานที ่มิดชิด ไม่ให้อับอายและคนตรวจต้องเป็ นพยาบาลหรือผู้ช่วยพยาบาลของเรื อนจำเท่านั้น และควรทำตามอนุสัญญาระหว่ างประเทศด้วย
“รู้สึกเป็นห่วง 8 ผู้ถูกจับกุม และมีผู้หญิง 1 ใน 8 ที่ถูกจับและถูกกล่าวหาเรื่ องการเมืองล่าสุดที่ไม่ได้รั บอนุญาตให้ประกันตัวจะถูกล่ วงละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุ ษย์ พล.อ.ประยุทธ์ควรสั่งการให้ กรมราชทัณฑ์ระงับการกระทำใดๆ และแก้ไขระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 มาตรา 4 ที่บัญญัติว่าศักดิ์ศรีความเป็ นมนุษย์ต้องได้รับการคุ้มครอง เพื่อไม่ให้สังคมโลกตราหน้าว่ าประเทศไทยเหยียบย่ำศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ ละเมิดสิทธิมนุษยชน” ลดาวัลลิ์ กล่าว
นศ.ธรรมศาสตร์เล่าการตรวจช่ องคลอดในเรือนจำ
กรกนก คำตา หรือ ปั๊ป (ที่มาภาพ เฟซบุ๊ก Pup Kornkanok Khumta )
กรณีดังกล่าวถูกพูดถึงในสั งคมเนื่องหลังจาก กรกนก คำตา หรือ ปั๊ป นักศึกษารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำเลยคดีนั่งรถไฟจะไปตรวจสอบอุ ทยานราชภักดิ์ 7 ธ.ค.58 ซึ่งเมื่อวันที่ 25 เม.ย. ที่ผ่านมา กรกนกขึ้นศาลทหารและถูกนำตั วไปเรือนจำก่อนได้รับการประกั นตัวพร้อมผู้ต้องหาชายอีก 5 คน เวลา 20.20 น. หลังจากออกจากเรือนจำกรกนกได้ โพสต์เล่าการปฏิบัติของเรื อนจำในระหว่างที่เธอรอประกันตั วผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว และต่อมาเฟซบุ๊กแฟนเพจ 'Fahroon g Srikhao ฟ้ารุ่ง ศรีขาว' ได้สัมภาษณ์ พร้อมรายงานว่า ในระหว่างอยู่ ในเรือนจำ 14.00 น. – 20.00 น. เธอได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกั บนักโทษหญิงในเรือนจำ ถูกบอกให้ถอดเสื้อผ้าและใส่ผ้ าถุงผืนเดียวเพื่อเปลี่ยนเป็นชุ ดนักโทษ แต่ทุกครั้งที่ต้องรายงานตัวต่ อหน้าผู้คุมแต่ละแดน เธอจะถูกสั่งให้ลุกนั่งเพื่ อตรวจสอบว่าซ่อนยาเสพติดหรือไม่ โดยมีผู้คุมยืนจับผืนผ้าถุงที่ เธอสวมใส่ ขณะที่ผ้าถุงซึ่งล้อมตัวเธออย่ างหลวมๆ นี้ ก็ไม่ได้มิดชิดพอจะบังสายตาคนนั บร้อยในเรือนจำ
นอกจากนั้นยัง ถูกตรวจช่องคลอดเพื่อดูว่ามี การซุกซ่อนยาเสพติดหรือสิ่ งใดหรือไม่ ทั้งที่เป็นผู้ต้องหาคดีการเมื อง แต่เธอมองว่ามันไม่ควรเกิดขึ้ นกับใครไม่ว่าถูกดำเนินคดีอะไร เธอเตรียมร้องเรียนต่อเรื่ องราวที่เกิดขึ้น
ผู้ต้องหามีขันแดงก็โดนด้วย
วันนี้ (3 พ.ค.59) ศูนย์ทนายความเพื่อสิ ทธิมนุษยชน รายงานด้วยว่า ธีรวรรณ เจริญสุข ผู้ต้องหาในคดีขันแดง ข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ได้เปิดเผยกับศูนย์ทนายฯ ว่าเธอก็ได้รับการปฏิบัติในลั กษณะเดียวกันกับกรณีของนักศึ กษารายดังกล่าวเช่นกัน โดยเธอระบุว่าเมื่อวันที่ 29 มี.ค.ที่ผ่านา พนักงานสอบสวนได้นัดหมายเธอมาที ่ศาลทหาร เพื่อมาขออำนาจศาลฝากขัง และศาลทหารได้อนุญาตให้ฝากขังผู ้ต้องหาได้ จากนั้นเพื่อนของ ธีรวรรณ จึงได้ยื่นหลักทรัพย์ขอปล่อยตั วชั่วคราว และศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ ประกันตัวแล้ว แต่ขณะกำลังรอเจ้าหน้าที่ ศาลทำหมายปล่อยตัวอยู่นั้น ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจกลับจะพาตั วเธอไปยังเรือนจำ โดยระบุว่าต้องไปปล่อยตัวจากเรื อนจำ แล้วเจ้าหน้าที่ศาลจะนำหมายปล่ อยไปที่เรือนจำอีกที แม้เธอจะพยายามคัดค้าน แต่ก็ไม่เป็นผล
ธีรวรรณ ระบุว่า เธอถูกพาตัวไปยังทัณฑสถานหญิ งเชียงใหม่ แม้จะพยายามแจ้งเจ้าหน้าที่เรื อนจำแล้วว่าศาลมีคำสั่งให้ประกั นตัวแล้ว และกำลังรอหมายปล่อยตัวจากศาล แต่เธอกลับยังถูกนำตัวไปตรวจร่ างกายเพื่อเข้าเรือนจำ โดยมีการใช้ห้องเล็กๆ ห้องหนึ่ง ที่มีผู้คุมอยู่ด้วยสองคน ให้เธอถอดเสื้อผ้าทุกชิ้นออกทั้ งหมด และยังให้ทำกิริยานั่งแล้วลุก- นั่งแล้วลุกหลายต่อหลายครั้ง เพื่อตรวจดูว่ามีการซุกซ่อนสิ่ งใดไว้ในช่องคลอดหรือไม่ แต่กรณีของเธอ เจ้าหน้าที่ไม่ได้มีการล้วงเข้ าไปในช่องคลอด เนื่องจากเห็นว่ามีอายุมากแล้ว
เมื่อตรวจร่างกายเสร็จ ก็มีการให้เธอใส่ชุดผู้ต้องขัง และนำตัวเข้าไปส่วนทะเบียน เพื่อจัดทำประวัติ ปั๊มลายมือ ถ่ายรูป และแจกอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็ นบางส่วนสำหรับนักโทษ พร้อมกับให้แขวนป้ายสีเหลืองที่ แสดงถึงความเป็นนักโทษใหม่ ก่อนจะนำตัวเข้าไปภายในแดน 1 ซึ่งเป็น “แดนแรกรับ” อันเป็นแดนที่ผู้ต้องขังใหม่ จะเข้ามาก่อนเป็นแห่งแรก ธีรวรรณระบุว่าเธอถูกนำตัวเข้ าไปในเรือนจำราวชั่วโมงเศษ ทางเรือนจำก็มีการประกาศชื่ อเธอว่ามีหมายปล่อยตัวมาแล้ว จึงได้มีการคืนเสื้อผ้าชุดเดิม และให้เปลี่ยนจากชุดนักโทษได้
ธีรวรรณ ยังระบุว่า สภาพในเรือนจำมีการปฏิบัติต่อผู ้ต้องขังในลักษณะเหมือนนายกับบ่ าว โดยนักโทษจะต้องคลานเข่าเข้ าไปหาผู้คุมในเรือนจำ และต้องยกมือไหว้ขณะพูดคุยด้วย
เธอระบุความรู้สึกหลังจากถูกปฏิ บัติในลักษณะดังกล่าวว่า “ทำให้ เราสติแตก รู้สึกเหมือนกับเข้าไปในนรก เหมือนกับเป็นนักโทษไปแล้ว ไม่เคยคิดเลยว่าจะโดนแบบนี้ ทั้งที่เราก็ได้ประกันตัวอยู่ แล้ว” โดยขณะปล่อยตั วออกมาจากเรือนจำ เธอมีอาการร้องไห้เสียใจ และเพื่อนๆ ต้องพากันไปทำบุญรดน้ำมนต์ และสะเดาะเคราะห์ที่วัดในตัวเมื องเชียงใหม่อีกด้วย
สำหรับ ธีรวรรณ อายุ 54 ปี ก่อนหน้านี้เคยเข้าร่วมการเคลื่ อนไหวกับคนเสื้อแดงในเชียงใหม่ เธอถูกทหารกล่าวหาตามมาตรา 116 จากกรณีการถ่ายภาพคู่กับขันน้ ำสีแดง และภาพโปสเตอร์ซึ่งมีรูปภาพของ ทักษิณ และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ดูรายละเอียดเพิ่มเติม) คดีนี้ยังอยู่ในชั้นสอบสวน โดยพนักงานสอบสวนเพิ่ งขออำนาจศาลทหารฝากขังเป็นผัดที ่ 4
จิตรา เล่าประสบการณ์ในทัณฑสถานหญิงฯ ระหว่างรอประกัน
การปฏิบัติของเรือนจำต่อผู้ต้ องหาทางการเมืองในระหว่ างรอการประกันตัวในลักษณะดักล่ าวนอกจาก 2 รายข้างต้นยังมี กรณี จิตรา คชเดช นักกิจกรรมทางการเมืองและสังคม เจ้าหน้าที่และที่ปรึ กษาสหภาพแรงงานไทรอัมพฯ และผู้ประสานงานกลุ่มสหกรณ์ คนงาน TRY ARM ที่ถึงดำเนินคดีข้อหาฝ่าฝืนคำสั ่ง คสช. หลังจากเธอไม่สามารถกลั บมารายงานตัวตามคำสั่งคสช. ได้ทัน เนื่องจากติดภาระกิจอยู่ที่ ประเทศสวีเดน แม้จะรายงานตัวกับสถานเอกอั ครราชทูตไทย ประจำกรุงสต๊อคโฮล์มแล้ว แต่ก็ไม่เป็นผล โดยเมื่อเธอเดินทางกลั บมาประเทศไทยจึงถูกดำเนินคดี กักตัวที่ห้องขังกองปราบ 1 วัน และถูกส่งตัวไปที่ทัณฑสถานหญิงฯ เพื่อรอการประกันตัว เช่นกัน ซึ่งเธอเคยเปิดเผยประสบการณ์ดั งกล่าวกับประชาไท ไว้ตั้งแต่ ก.ย. 57 ด้วยว่า วันที่ส่งศาลทหาร หลังจากนั้ นเวลา 16.00 น. เจ้าหน้าที่นำตัวตนไปที่ทั ณฑสถานหญิงกลาง คลองเปรม เพื่อฝากขัง และรอคำสั่งศาลทหารว่าจะให้ ประกันตัวหรือไม่ จิตรา เล่าว่า ก่อนหน้านี้เคยถูกฝากขั งในศาลปกติของพลเรือนที่จะนำตั วไปไว้ห้องขังใต้ถุนศาลเพื่ อรอคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว รวมทั้งในกระบวนการปกติหากเป็ นชั้นตำรวจหรือพนักงานสอบสวนนั้ นหากให้ประกันตัวก็ปล่อยตัวได้ โดยไม่ต้องขังก่อน ซึ่งต่างจากกรณีนี้ที่นำตัวเข้ าทัณฑสถานหญิงฯ ก่อน
ภาพจิตรา หลังถูกปล่อยตัวจากเรือนจำ
“กลไกที่เข้าเรือนจำหรือทั ณฑสถานหญิงฯ นั้น กระทำกับเราเหมือนนักโทษ เรียกได้ว่ามีกระบวนการทำให้ กลายเป็นนักโทษ โดยปฏิบัติกับเราเท่ากับนั กโทษที่ถูกศาลสั่งจำคุกในคดี อาญาทั่วไปแล้ว” จิตรา กล่าว
พร้อมเล่าต่อว่า กระบวนการเหล่านั้นเริ่ มจากการตรวจร่างกาย ให้ถอดเสื้อผ้าหมดรวมทั้งชุดชั้ นในกลางวงผู้คุม เมื่ออยู่ในสภาพเปลือยก็ต้องหมุ นตัวให้ผู้คุมดู ตรวจนิ้วมือนิ้วเท้า ตรวจผม โดยผู้คุมจะยืนดูและมีนั กโทษในเรือนจำที่เป็นผู้ช่วยผู้ คุมคอยจัดการให้
หลังจากนั้นก็นุ่งผ้าถุง 1 ตัวที่เขาจัดให้ไปตรวจภายใน ตรวจช่องคลอด และต่อด้วยการทำประวัติสุขภาพ โดยจะเขียนน้ำหนักส่วนสูงที่ฝ่ ามือ หลังจากนั้นผู้คุมได้ให้คนนำเสื ้อมาให้ 1 ตัว และต่อด้วยการทำประวัตินักโทษ ในระหว่างนี้ตนได้ขอผู้คุ มสวมเสื้อชั้นในและกางเกงใน แต่กลับถูกปฏิเสธ โดยผู้คุมชี้แจงว่าเสื้อผ้ าและสิ่งของที่เอาเข้าไปนั้นไม่ สามารถใช้ได้เลย ต้องให้ญาติซื้อมาให้ภายหลัง ของที่ติดตัวมาทุกอยู่จะถูกเก็ บและทำบัญชีไว้ตั้งแต่แรก โดยมีเพียงใบรายการของติดตั วมาเท่านั้น
จิตรา เล่าต่อว่า หลังจากทำประวัตินักโทษเสร็จ มีคนรับตัวให้ไปที่แดนแรกรับ เมื่อถึงแดนแรกรับก็ต้องถอดเสื้ อผ้าทั้งหมดเพื่อให้ผู้คุมที่นั ่นดู หลังจากนั้นเขาให้ผ้าถุงเรา 1 ผืน เพื่อไปอาบน้ำโดยมีนักโทษคนหนึ่ งเฝ้า หลังจากอาบน้ำเสร็จให้เสื้อผ้า 1 ชุด โดยเขียนว่าแดนแรกรับ จากนั้นก็ทำประวัติที่แดนแรกรั บอีกครั้ง
ระหว่างการทำประวัติที่แดนแรกรั บนั้น เวลาเดินทำประวัติถูกห้ามไม่ให้ ยืน จึงต้องนั่งยองหรือถัดก้ นไปตามกระบวนการและต่อแถวนั กโทษคนอื่นๆประมาณ 10 กว่าคนที่ต้องทำประวัติขณะนั้น สิ่งที่ซักถาม เช่น มาจากศาลไหน คดีอะไร เพราะต้องแยกคดีของนักโทษ โดยตนอยู่ในกลุ่มนักโทษทั่วไป จากนั้นเขียนเลขที่หลังมือซึ่ งเป็นเบอร์ล็อคเกอร์ของตนด้วย
จิตรา เล่าอีกว่า จากนั้นผู้ช่วยผู้คุมจึงพาเข้ าเรือนนอนในห้องคดีทั่วไป ซึ่งมีคนอยู่ 69 คน มีหัวหน้าห้องที่เป็นนักโทษ เรียกตนไปสอบประวัติอีกครั้ งในห้อง คดีในนั้นส่วนมากเป็นคดีต่างด้ าว แรงงานข้ามชาติ คดีฉ่อโกง โดยเฉพาะคดีต่างด้าวที่พู ดไทยไม่ได้ก็มักถูกหัวหน้าห้ องหงุดหงิดใส่และถูกด่าทอ
มีกิจกรรมให้ผู้ที่อยู่ในห้องทั ้งหมดสวดมนต์ประมาณ 2 ชั่วโมง และเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี เสร็จให้ทุกคนผ่อนคลาย มีการเปิดทีวีละครและมิวสิควีดี โอเก่าๆให้ดู เริ่มแจกที่นอนซึ่งมีเพียงผ้าห่ มคนละ 1 ผืน โดยจะนำมาห่มหรือปูนอนหรือพั บเป็นหมอนก็ได้ ซึ่งคนที่อยู่มาก่อนหน้ าแนะนำให้พับหนุนหัวเพราะกลางคื นอากาศจะร้อน นอนกับพื้นที่ปูกระเบื้องธรรมดา และจัดระเบียบการนอนโดยแบ่งเป็น 3 แถว โดยด้านหนึ่งให้เอาหัวชนกัน อีกด้านเอาเท้าชนกัน ตอนนั้นเวลาประมาณ 21.00 น. และสักพักผู้คุมก็มาเรียกชื่ อตนเพื่อปล่อยตัว
หลังจากถูกเรียกปล่อยตัว ก็ต้องถอดเสื้อผ้าให้ผู้คุมดูอี ก 1 รอบ แล้วหลังจากนั้นได้รับผ้าถุง 1 ผืน เพื่อใส่และเดินถื อใบเอกสารออกไปที่ห้องปล่อยตัว โดยนั่งที่ห้องนั้นนานมาก จนกระทั่งมีคนเอาเสื้อผ้ าและของต่างๆที่ติดตัวมาแต่ต้ นมาให้ จึงได้ใส่เสื้อผ้าตรงนั้นท่ ามกลางผู้คุม ทรัพย์สินที่ถูกคืนมานั้ นมาตรวจภายหลัพบว่าจี้ของตนนั้ นหายไป
ขั้นตอนการผ่านด่านแต่ละครั้ งในการปล่อยตัวจะต้องมีรหั สปลดล็อค เช่น การถามชื่อ-นามสกุล ชื้อเพื่อนสนิท หมายเลขโทรศัพท์เพื่อสนิท ชื่อพ่อแม่ เป็นต้น ตามประวัติที่กรอกในรอบแรก เท่ากับว่าหากตอบผิดก็อาจจะไม่ ได้ออก เพราะเขาต้องการเช็คว่าเป็นตั วจริงหรือไม่
"ก่อนปล่อยตัวผู้คุมมาขอถ่ ายเอกสารและบอกด้วยว่าพึ่งเป็ นกรณีแรกที่มาจากศาลทหาร จึงเก็บข้อมูลไว้เป็นกรณีศึกษา" จิตรา กล่าวทิ้งท้าย
ศูนย์ทนายสิทธิฯ ชี้ขอประกันศาลพลเรือนไม่ต้ องนำตัวไปปล่อยที่เรือนจำ
ทั้งนี้ ศูนย์ทนายสิทธิฯ พบว่าแม้ระเบียบปฏิบัติของเรื อนจำหญิงทั่วประเทศ จะให้มีการตรวจค้นร่างกายของผู้ ต้องขังที่ถูกนำตัวมาจากศาลทุ กคน แต่โดยปกติในศาลพลเรือน กรณีผู้ต้องหาถูกฝากขังหรือถู กสั่งฟ้องคดีต่อศาล และอยู่ในระหว่างการทำเรื่ องขอประกันตัว จะมีการควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ที ่ห้องขังใต้ถุนศาล โดยไม่ได้มีกระบวนการตรวจร่ างกาย และหากได้รับการประกันตัว ก็จะมีการปล่อยตัวจากที่ศาล ไม่จำเป็นต้องนำตัวไปปล่อยที่ เรือนจำแต่อย่างใด
แต่ในกรณีของการพิ จารณาในศาลทหาร กลับมีการอ้างระเบียบว่าจำเป็ นต้องนำตัวผู้ต้องหาไปปล่อยตั วที่เรือนจำ แม้ผู้ต้องหารายนั้น ศาลจะอนุญาตให้ประกันตัวแล้วก็ ตาม ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุ ษยชนจากกระบวนการตรวจค้นร่ างกายก่อนเข้าเรือนจำในกรณี ของผู้ต้องหาหญิงหลายราย
ละเมิดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุ ษย์ ข้อกำหนดแมนเดลา
นอกจากนี้ ศูนย์ทนายสิทธิฯ เห็นว่าการค้นตัวผู้ต้องขังในลั กษณะดังกล่าวนั้น ละเมิดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุ ษย์และขัดต่อข้อกำหนดขั้นต่ ำขององค์การสหประชาชาติในการปฏิ บัติต่อผู้ถูกคุมขัง [United Nations Standard Minimum Rules for the Treatment of Prisoners (the Mandela Rules)] หรือ ‘ข้อกำหนดแมนเดลา’ ซึ่งได้รับการรับรองเป็ นมาตรฐานสากลใหม่ในการคุ้ มครองสิทธิผู้ถูกคุมขังทั่ วโลกเมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่สนั บสนุนข้อกำหนดดังกล่าว ข้อกำหนดดังกล่าวได้ กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการค้นตั วผู้ต้องขังว่า “จะต้องไม่ใช้การค้นเพื่อการคุ กคาม ข่มขู่ หรือเป็นการล่วงล้ำโดยไม่จำเป็ นต่อความเป็นส่วนตัวของผู้ต้ องขัง” และ “การค้นตัวที่ล่วงล้ำความเป็นส่ วนตัว รวมทั้งการค้นแบบถอดเสื้อผ้ าและการค้นตามซอกหลืบต่างๆ ของร่างกาย ให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่จำเป็ นอย่างยิ่งยวดเท่านั้น…ซึ่ งหากจำเป็นก็ต้องกระทำในที่ลับ” ซึ่งศูนย์ทนายสิทธิฯ เห็นว่าเราสามารถใช้วิธีการอื่ นในการตรวจสอบผู้ต้องขังโดยไม่ ละเมิดต่อความเป็นส่วนตัวของผู้ ต้องขังได้
ข้อกำหนดขั้นต่ำขององค์ การสหประชาชาติในการปฏิบัติต่ อผู้ถูกคุมขัง ระบุว่า
“ข้อกำหนด 51 จะต้องไม่ใช้ การค้นเพื่อการคุกคาม ข่มขู่ หรือเป็นการล่วงล้ำโดยไม่จำเป็ นต่อความเป็นส่วนตัวของผู้ต้ องขัง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักความรั บผิดชอบที่ตรวจสอบได้ผู้บริ หารเรือนจำจะต้องเก็บรักษาบันทึ กการค้นตัวอย่างถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะกรณีที่เป็นการค้ นแบบถอดเสื้อผ้าและการค้ นตามซอกหลืบต่าง ๆ ของร่างกาย และการค้นในห้องขัง รวมทั้งเหตุผลของการค้น ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ทำการค้ นและผลของการค้นตัว”
“ข้อกำหนด 52
- การค้นตัวที่ล่วงล้ำความเป็นส่
วนตัว รวมทั้งการค้นแบบถอดเสื้อผ้ าและการค้นตามซอกหลืบต่าง ๆ ของร่างกาย ให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่จำเป็ นอย่างยิ่งยวดเท่านั้น ผู้บริหารเรือนจำควรได้รั บการสนับสนุนให้มีการคิดค้ นและการใช้วิธีการที่เป็นทางเลื อกอื่นอันเหมาะสมกว่าแทนที่ จะใช้การค้นตัวที่ล่วงล้ ำความเป็นส่วนตัวของผู้ต้องขัง ซึ่งหากจำเป็นก็ต้องกระทำในที่ ลับ และให้ผู้ค้นเป็นเจ้าหน้าที่ ซึ่งผ่านการอบรมและมีเพศเดียวกั บผู้ต้องขังนั้น - การค้นตามซอกหลืบต่างๆ ของร่างกายให้กระทำได้
เฉพาะโดยบุคคลากรทางการแพทย์มี คุณสมบัติเหมาะสมเท่านั้น ไม่ใช่ผู้ที่รับผิ ดชอบการพยาบาลเบื้องต้น หรือโดยอย่างน้อยต้องเป็นเจ้ าหน้าที่ซึ่งผ่านการอบรมอย่ างเหมาะสมจากเจ้าหน้าที่ ทางการแพทย์ ให้เข้าใจถึงมาตรฐานด้านอนามัย สุขภาพ และความปลอดภัย”
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น