จดหมายชาตินิยมเหมืองทอง
Posted: 17 May 2016 10:22 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
นับว่าเป็นเรื่องเหนื อความคาดหมายอย่างยิ่งที่รั ฐบาลเผด็จการทหาร คสช. มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2559 สั่งให้หยุดดำเนินกิจการเหมื องแร่ทองคำของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) บริเวณรอยต่อ 3 จังหวัด พิจิตร เพชรบูรณ์และพิษณุโลก ในสิ้นปีนี้ และให้ยุติการอนุญาตอาชญาบัตรพิ เศษสำรวจแร่ทองคำและประทานบั ตรทำเหมืองแร่ทองคำ รวมถึงคำขอต่ออายุประทานบั ตรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพื้นที ่อื่น ๆ ของประเทศด้วย สร้างความฮือฮา ตื่นตกใจให้กับทั้งฝ่ายผู้ ประกอบการเหมืองและฝ่ายคัดค้ านการทำเหมือง
เนื้อหาของมติคณะรัฐมนตรีที่ ปรากฎอยู่ในเอกสารข่ าวของกระทรวงอุตสาหกรรม และหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรั ฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0505/16885 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2559 สอดรับกัน โดยแบ่งเป็นข้อ ๆ ดังนี้
1. ยุติการอนุญาตอาชญาบัตรพิ เศษสำรวจแร่ทองคำและประทานบั ตรทำเหมืองแร่ทองคำ รวมถึงคำขอต่ออายุประทานบัตรด้ วย
2. ในกรณีของบริษัทอัคราฯ เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้ อนของพนักงาน และเพื่อเตรียมการเลิกประกอบกิ จการ จึงเห็นควรให้ต่ออายุใบอนุ ญาตประกอบโลหกรรมไปจนถึงสิ้นปี 2559 เพื่อให้สามารถนำแร่ที่เหลืออยู ่ไปใช้ประโยชน์ได้ พร้อมทั้งให้บริษัทอัคราฯเร่ งดำเนินการปิดเหมืองและฟื้นฟูพื ้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองให้เป็ นไปตามเงื่อนไขการอนุญาต
3. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดู แลประชาชนและบรรเทาปัญหาที่ อาจจะเกิดขึ้นภายหลังสิ้นสุ ดการประกอบกิจการเหมืองแร่ และโลหกรรมของบริษัทอัคราฯ โดยให้กระทรวงอุ ตสาหกรรมและกระทรวงทรั พยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้ อมกำกับดูแลการปิดเหมืองและฟื้ นฟูพื้นที่ กระทรวงสาธารณสุขดูแลสุ ขภาพของประชาชนในพื้นที่อย่างต่ อเนื่อง และกระทรวงแรงงานดูแลพนักงานที่ ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการ
ส่วนเอกสารข่าวของกรมอุ ตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้ขยายความเข้าใจต่อผลที่จะเกิ ดขึ้นจากมติ ครม. ดังกล่าวในส่วนของพื้นที่อื่น ๆ ดังนี้
1. ยุติการอนุญาตอาชญาบัตรพิ เศษสำรวจแร่ทองคำ ซึ่งปัจจุบันมีคำขออาชญาบัตรพิ เศษสำรวจแร่ทองคำ จาก 12 บริษัท ครอบคลุมพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ พิจิตร จันทบุรี ระยอง พิษณุโลก ลพบุรี สระบุรี สระแก้ว นครสวรรค์และสตูล จำนวน 177 แปลง พื้นที่ประมาณ 1,539,644 ไร่
2. ยุติการอนุญาตประทานบัตรทำเหมื องแร่ทองคำ ซึ่งปัจจุบันมีคำขอประทานบั ตรทำเหมืองแร่ทองคำเพียงบริษั ทเดียว คือ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ที่จังหวัดเลย จำนวน 107 แปลง พื้นที่ประมาณ 28,780 ไร่
3. ยุติการอนุญาตคำขอต่ออายุ ประทานบัตร ซึ่งปัจจุบันมีคำขอต่ออายุ ประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำเพี ยงบริษัทเดียว คือ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนน 1 แปลง พื้นที่ 93 ไร่
ทั้งหมดคือเอกสารที่เกี่ยวกั บมติ ครม. เท่าที่มีอยู่ในตอนนี้ โดยเฉพาะหนังสือสำนักเลขาธิ การคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0505/16885 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2559 ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนังสือแจ้ งมติ ครม. อย่างเป็นทางการแล้วก็ตาม แต่ยังขาดเอกสารที่เกี่ยวข้ องสองชิ้นที่ทำให้หนังสือแจ้ งมติ ครม. อย่างเป็นทางการยังไม่สมบูรณ์ คือ เอกสารรายงานการตรวจสอบข้อเท็ จจริงและการแก้ปัญหาสุขภาพและสิ ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่ ของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ของกระทรวงอุตสาหกรรม และเอกสารมติการประชุมเมื่อวั นที่ 29 เมษายน 2559 ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุ ตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุ ข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิ ทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และตัวแทนรัฐมนตรีว่ าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะต้องเอามาดูประกอบว่ ารายละเอียดที่ ครม. มีมติรับทราบตามเอกสารสองชิ้นนั ้นมีเนื้อหาลงรายละเอียดอย่ างไรบ้าง
แต่ด้วยกระแสข่าวและความคิดเห็ นต่าง ๆ ในโลกของการสื่อสารออนไลน์ที่ พากันชื่นชมการตัดสินใจของรั ฐบาลในครั้งนี้มีแนวทางที่ผิ ดเพี้ยนและไม่ถูกต้องพอสมควร อาทิเช่น การขุดคุ้ยว่าเหมืองทองแห่งนี้ ‘เปิดโดยรัฐบาลทักษิณ ปิดโดยรัฐบาลประยุทธ์’ เพื่อที่จะเปรียบเทียบ เยินยอ ตอกย้ำและผลิตความคิดให้แก่สั งคมว่ารัฐบาลเผด็จการทหารที่ได้ อำนาจมาจากการรัฐประหารดีกว่ าและมีคุณธรรมกว่ารัฐบาลประชาธิ ปไตยที่ได้อำนาจมาจากการเลือกตั ้ง ด้วยการเอาภาพแผ่นป้ายหินสี ดำบนตัวหนังสือสีทองที่จารึกชื่ อของทักษิณ ชินวัตรในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็ นนายกรัฐมนตรีให้เกียรติเป็ นประธานในพิธีเปิดเหมื องทองคำในวันที่ 12 ธันวาคม 2544 ที่ติดอยู่บนก้อนหินในเขตเหมื องแร่ทองคำของบริษัทอั คราฯมาแสดงอยู่ในช่องทางสื่ อสารออนไลน์ต่าง ๆ นั้น เป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ที่ ไม่ครบถ้วนและถูกต้อง
ในผนังห้องประชุมเล็ก ๆ ที่ใช้สำหรับต้อนรับแขกเหรื่อที ่มาดูงานกิจการเหมืองทองคำของอั คราฯ ที่สำนักงานในเขตเหมืองแร่นั้น มีภาพ ๆ หนึ่งเป็นก้อนทองคำขนาดใหญ่ที่ ระบุว่าได้มอบให้แก่ นายทหารคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้ นำการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2534 น่าเสียดายที่ไม่ได้ถ่ายรู ปออกมา จึงจำไม่ได้ว่านายทหารคนนั้นชื่ อนามสกุลว่าอะไร
เหตุการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับช่ วงเวลาของการที่รัฐบาลสมัยนั้ นมีนโยบายส่งเสริมการให้สั มปทานการสำรวจและทำเหมืองแร่ ทองคำแก่เอกชนทั้งในและต่ างประเทศ จึงส่งผลให้มีการให้ประทานบั ตรทำเหมืองแร่ทองคำสองแห่ งในประเทศไทยในเวลาต่อมา คือ เหมืองแร่ทองคำชาตรีของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ที่ ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร และเหมืองแร่ทองคำภูทับฟ้า-ภู ซำป่าบอนของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ที่ ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย
สิ่งที่ควรบันทึกให้ถูกต้องเกี่ ยวกับเหมืองทองคำทั้งสองแห่งก็ คือมีการทำงานร่วมกันมาหลายรั ฐบาล เริ่มตั้งแต่รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ในปี 2527 โดยกรมทรัพยากรธรณี[[1]]ได้ ดำเนินการสำรวจแร่ทองคำและพบพื้ นที่ศักยภาพของแร่ทองคำ 2 บริเวณใหญ่ คือ บริเวณขอบที่ราบสูงโคราชในท้ องที่จังหวัดเลย หนองคาย เพชรบูรณ์ พิจิตร นครสวรรค์ ลพบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี และระยอง และบริเวณท้องที่จังหวัดเชี ยงราย ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย และตาก ส่วนบริเวณอื่น ๆ ที่พบทองคำอยู่ด้วย อาทิ บ้านป่าร่อน อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บริเวณแหล่งโต๊ะโมะ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส บริเวณบ้านบ่อทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี และมักพบปะปนอยู่ในลานแร่ดีบุ กแถบจังหวัดกาญจนบุรี ภูเก็ต และพังงา เป็นต้น
ผลจากการค้นพบศักยภาพของแร่ ทองคำดังกล่าว คณะรัฐมนตรีในรั ฐบาลพลเอกเปรมได้มีมติเห็นชอบ ‘นโยบายว่าด้วยการสำรวจและพั ฒนาแร่ทองคำ’ ตามที่กระทรวงอุ ตสาหกรรมโดยกรมทรัพยากรธรณี เสนอมาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2530 เพื่อส่งเสริมให้เอกชนเข้ ามาลงทุนในการสำรวจและทำเหมื องแร่ทองคำได้ใน 2 กรณี คือ (1) ภาครัฐเปิดประมูลพื้นที่เป็ นกรณีพิเศษนอกเหนือไปจากบทบัญญั ติของกฎหมายแร่ โดยใช้การออกมติคณะรัฐมนตรี จากอำนาจฝ่ายบริหารให้กำหนดพื้ นที่เพื่อการพัฒนาเหมืองแร่ ทองคำเป็นโครงการใหญ่ พร้อมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอสิทธิสั มปทานโดยทำเป็นสัญญาผูกมัดให้ เอกชนได้รับทั้งสิทธิสั มปทานการสำรวจและทำเหมืองแร่ ทองคำในคราวเดียวกัน (2) เอกชนขอสิทธิสำรวจโดยตรงด้ วยการขออาชญาบัตรพิเศษก่อน ต่อเมื่อพบแร่ทองคำในเชิงพาณิ ชย์จึงค่อยขอสิทธิทำเหมืองแร่ โดยขอประทานบัตรในภายหลัง เป็นลำดับขั้นตอนตามที่ระบุไว้ ในกฎหมายแร่
ผลจากนโยบายฯดังกล่าวในยุครั ฐบาลพลเอกเปรมทำให้ ประสบความสำเร็จพบแหล่งแร่ ทองคำในเชิงพาณิชย์ 2 แห่ง ได้แก่
(1) แหล่งแร่ทองคำที่ภูทับฟ้า-ภู ซำป่าบอน ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย ของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ในพื้นที่โครงการขนาดใหญ่ที่เปิ ดประมูล
(1) แหล่งแร่ทองคำที่ภูทับฟ้า-ภู
(2) แหล่งแร่ทองคำในพื้นที่รอยต่ อของจังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ ของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด ในพื้นที่ที่ส่งเสริมให้ เอกชนขออาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่
จึงส่งผลให้บริษัทอัคราฯเปิ ดดำเนินการทำเหมืองแร่ ทองคำและเงินในแหล่งชาตรีเมื่ อปี 2543 ในรัฐบาลชวน หลีกภัย และชาตรีเหนือเมื่อปี 2551 ในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช รวมพื้นที่ทั้ง 2 แหล่งประมาณ 5,463 ไร่
และส่งผลให้ บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด และบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ทำ ‘สัญญาว่าด้วยการสำรวจและทำเหมื องแร่ทองคำ แปลงที่สี่ พื้นที่น้ำคิว-ภูขุมทอง’ กับรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุนโดยกรมทรัพยากรธรณีเมื ่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2534 ซึ่งเป็นสัญญาให้สิทธิผู กขาดในการสำรวจและทำเหมืองแร่ ทองคำในพื้นที่ขนาดใหญ่มากถึง 545 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 340,615 ไร่ ส่งผลให้บริษัททุ่งคำสามารถยื่ นขอประทานบัตรจับจองพื้นที่ ขนาดใหญ่ได้จำนวน 112 แปลง ประมาณ 33,600 ไร่ เมื่อปี 2538 ในรัฐบาลชวน หลีกภัย โดยได้รับประทานบัตรทำเหมืองแร่ ทองคำแล้ว 6 แปลง บนภูทับฟ้า-ภูซำป่าบอน คือ ประทานบัตรที่ 26968/15574, 26969/15575, 26970/15576, 26971/15558, 26972/15559 และ 26973/15560 พื้นที่ประมาณ 1,291 ไร่ ระหว่างปี 2545-2546 ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นเหมืองแร่ที่กำลังดำเนิ นการและก่อปัญหาผลกระทบต่ อประชาชนและสิ่งแวดล้อมอยู่ ในขณะนี้
แนวทางที่ผิดเพี้ยนและไม่ถูกต้ องอีกเรื่องหนึ่งก็คื อจดหมายขอบคุณพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ของศาสตราจารย์ระพี สาคริก เนื้อหาในจดหมายพรรณาถึ งบทบาทของตัวเองที่เป็ นคนทำจดหมายถึงประยุทธ์ตั้งแต่ วันที่ 29 มิถุนายน 2557 เพื่อขอความช่วยเหลือให้ช่วยแก้ ไขปัญหาความเดือดร้ อนของประชาชนรอบเหมืองทองอั คราฯ ชื่นชมการตัดสินใจของพลเอกประยุ ทธ์และคณะรัฐมนตรีที่ช่วยเยี ยวยาประชาชนผู้ได้รั บผลกระทบและรักษาทองคำอันเป็ นสมบัติชิ้นสำคัญของชาติไทยไว้ ให้ลูกหลานไทยในอนาคต สมกับเป็นผู้นำชายชาติทหารที่ ทำงานรับใช้แผ่นดิน จนนำมาสู่การมีมติ ครม. ปิดเหมืองทองเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2559
จดหมายดังกล่าวถึงแม้ดูเหมื อนไม่มีอะไร หรือเป็นประเด็นเล็กนิดเดียวที่ อาจไม่จำเป็นต้องกล่าวถึง แต่ที่ต้องหยิบยกขึ้นมากล่าวถึ งก็เพราะแนวทางที่ผิดเพี้ ยนและไม่ถูกต้องเช่นนี้เป็นเรื่ องที่สำคัญยิ่งต่อการเขียนประวั ติศาสตร์ประชาชนเพื่อบันทึ กความทรงจำของผู้คนเอาไว้บอกเล่ าให้คนรุ่นต่อจากนี้ได้รับรู้
จดหมายดังกล่าวเป็นการเลือกที่ จะจดจำประวัติศาสตร์แบบที่ทำให้ ลืมใบหน้าของประชาชนผู้ทุกข์ ยากที่เป็นได้แค่ ‘วัตถุศึกษา’ ให้กับผู้มีการศึกษาทั้งหลายที่ ได้ทำการเก็บข้อมูลและตัวอย่ างสารพิษในร่างกาย เป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ ในบางแง่มุมที่ทำให้ประชาชนที่ ต่อสู้คัดค้านกับเหมืองทองแห่ งนี้มาไม่ต่ำกว่าสิบปีถูกลืมเลื อนไปโดยง่ายเมื่อกาลเวลาผ่านไป เป็นประวัติศาสตร์ในแนวผู้มีบุ ญญาบารมีบันดาลให้ แต่ความเหน็ดเหนื่อยและเจ็ บปวดร้าวรานในชีวิ ตของประชาชนคนเล็กคนน้อยรอบเหมื องไม่มีพื้นที่ให้ถูกบันทึกไว้
จากบทเรียนและประสบการณ์ที่สั งเกตเห็นในเส้นทางประวัติศาสตร์ ของขบวนประชาชนที่ต่อสู้คัดค้ านนโยบาย โครงการพัฒนาของรัฐและเอกชน และกฎหมายที่ไม่ชอบธรรมต่าง ๆ มาอย่างยาวนาน มักจะพบเห็นการบันทึกประวัติ ศาสตร์ในแบบที่คล้ายคลึงกั บจดหมายของศาสตราจารย์ระพีอยู่ เสมอ ดั่งกรณีตัวอย่างหนึ่งในพื้นที่ ภาคอีสาน ย้อนกลับไปยังปี 2534 ที่ขบวนประชาชนคนทุกข์ คนยากในแผ่นดินอีสานต้องรวมตั วกันต่อสู้กับอำนาจรั ฐบาลทหารในยุค รสช. หรือคณะรักษาความสงบเรียบร้ อยแห่งชาติ ต้องเดินเท้าทางไกลจนมาสิ้นสุ ดที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เพื่อกดดันให้รั ฐบาลลงมาเจรจาแก้ไขปัญหาการขั บไล่ชาวบ้านออกไปจากผืนดินทำกิ นตามโครงการ คจก. หรือ ‘โครงการจัดสรรที่ดินทำกินแก่ ราษฎรผู้ยากไร้ในพื้นที่ป่ าสงวนเสื่อมโทรม’ กลุ่มคนเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่งที่อยู่ส่ วนบนของขบวนประชาชนในกรุ งเทพฯเลือกที่จะจดจำและบอกเล่ าการต่อสู้ของชาวบ้านกับโครงการ คจก. ว่าเป็ นเพราะบทบาทของพวกเขาในการติดต่ อประสานงานและเจรจาล็อบบี้กั บคนในรัฐบาล จึงทำให้รัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน ตัดสินใจยกเลิกโครงการ คจก.
พวกเขาเลือกที่จะจดจำและบอกเล่ าเรื่องราวด้านของพวกเขาให้ สาธารณชนฟัง
แต่พวกเขาเหล่านั้นไม่พูดถึ งหยาดเหงื่อแม้สักหยดเดียวท่ ามกลางสองเท้าที่ก้าวย่างบนพื้ นถนนที่เปลวแดดร้อนระยับที่ ขบวนชาวบ้านนับพันชีวิตต้องเดิ นฝ่าไอระอุด้วยจิตใจที่ร้อนรุ่ มจากอารมณ์ความรู้สึ กของการจากบ้านมาไกลเพื่อเรี ยกร้องให้มีที่อยู่อาศัยและที่ ดินทำกินผืนเล็ก ๆ
การกระทำแบบนี้มันส่งผลให้ไม่มี ความภูมิใจอย่างเต็มภาคภูมิ ในขบวนประชาชนแม้สักครั้ งในประวัติศาสตร์การเคลื่ อนไหวของภาคประชาชนด้านทรั พยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะพวกที่อยู่ส่ วนบนของขบวนประชาชนมักจะตั ดตอนด้วยการจารึ กบทบาทนำของพวกเขาอยู่เสมอ
โดยปล่อยให้ชาวบ้านยอมรับและศรั ทธาในแนวทางความเชื่อที่ว่า เหตุที่เหมืองทองล้มไปได้ไม่ได้ เกิดมาจากความเหนื่อยยากที่เกิ ดจากชีวิตและร่างกายของตนที่ต้ องดิ้นรนหาเงินกู้หนี้ยืมสินเพื ่อหาค่ารถเดินทางเข้ากรุ งเทพฯเพื่อยื่นหนังสือร้องเรี ยนหลายร้อยฉบับ แต่เกิดจากเทวดาฟ้าดินหรื อบทบาทนำของพวกที่อยู่ส่ วนบนของขบวนประชาชนดลบันดาลให้
อีกด้านหนึ่งมันเป็นจดหมายที่ ลดทอนความรู้และข้อมูลทางวิ ชาการที่ใช้เวลาเกือบสองปี จนตรวจพบสารพิษและสารโลหะหนักต่ าง ๆ มากมายที่ปนเปื้อนค่อนข้างสูงทั ้งในร่างกายมนุษย์และสภาพแวดล้ อม และมีความเชื่อมสัมพันธ์กันในห่ วงโซ่อาหาร จนนำมาสู่การตัดสินใจทางการเมื องโดยมติ ครม.ดังกล่าว โดยมุ่งเน้นเฉพาะอำนาจการตัดสิ นใจทางการเมืองของ คสช. เป็นหลักที่สามารถทำให้ปิดเหมื องทองได้ แต่ละเลยที่จะพูดถึงข้อเท็จจริ งที่ได้จากการตรวจพิสูจน์ของบุ คคลากรหลายภาคส่วนที่ร่วมมือกั นทำความจริงให้ปรากฎ รวมทั้งตัวชาวบ้านเองที่เป็น ‘วัตถุศึกษา’ ให้กับใครต่อใครทั้งที่เป็นหน่ วยงานวิชาการของภาครัฐและสถาบั นวิชาการหลากหลายองค์กรที่ร่ วมมือกัน
เป็นเรื่องน่าสนใจตรงที่การจารึ กประวัติศาสตร์นั้นมี กระบวนการขั้นตอน ในขั้นตอนเริ่มต้น พวกที่อยู่ส่ วนบนของขบวนประชาชนยอมให้กับใคร ๆ ก็ตามในหมู่ของพวกเขาสร้ างฉากความโศรกสลดด้วยการเอาชีวิ ตผู้คนรอบเหมืองที่เจ็บป่วย กำลังจะตายและคนที่ตาย ชีวิตความเป็นอยู่ที่ทุกข์ แสนเข็ญถึงขั้นที่ต้องใช้คู ปองจากหน่วยงานรัฐในจังหวั ดมาใช้ซื้อผักและอาหารปลอดสารพิ ษโลหะหนัก ผืนดินปลูกอะไรไปก็ไม่งดงาม หรือถึงงดงามก็เต็มไปด้วยสารพิ ษและโลหะหนักที่เกิดขึ้ นจากการทำเหมือง รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เสื่ อมโทรมชวนสลดหดหู่มาฉายให้ สาธารณชนได้เห็น เพื่อเรียกน้ำตาและความเห็ นอกเห็นใจต่อสังคม
แต่พอจะจารึกประวัติศาสตร์กลั บหลงลืมพวกเขาเหล่านี้ไป แล้วเลือกที่จะจารึกมันด้ วยการชูหางตนเองว่าเป็นผู้มี บทบาทสำคัญในการประสานงานกับผู้ มีอำนาจของรัฐ และเชิดชูผู้นำประเทศที่ได้ อำนาจมาจากการยึ ดอำนาจไปจากประชาชนด้วยการรั ฐประหาร
มันให้ภาพที่เห็นได้ชัดว่าพวกที ่อยู่ส่ วนบนของขบวนประชาชนจะฉวยโอกาสอย ู่เสมอ และมองตัวเองว่าเป็นผู้มีส่ วนเกี่ยวข้องอย่างเต็มเปี่ยม ว่าถ้าไม่ใช่ผลงานตัวเองก็คงไม่ มีมติ ครม.แบบนี้อย่างแน่นอน แม้จะย่างเข้าสู่วัยชราบั้ นปลายชีวิตก็ยังไม่หลงลืมที่ จะบันทึกประวัติศาสตร์ในส่วนนี้ ไว้
ไม่ว่าจะทำไปด้วยความตั้งใจหรื อไม่ก็ตาม แต่มันสะท้อนให้เห็นว่ามันเป็ นวิธีคิดที่อยู่ในกมลสันดาน ที่อาจจะทำไปโดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่ าสิ่งที่กระทำมันส่งผลเสียหายต่ อประวัติศาสตร์อย่างไร เพราะเมื่อเรามองย้อนกลับมาข้ างหลังจากอนาคตเราจะไม่เห็นชีวิ ตคนเจ็บป่วยรอบเหมืองเลย
มันเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ ที่ตอกย้ำการมีอยู่ของพวกที่อยู ่ส่วนบนของขบวนประชาชนที่เห็ นประชาชนเป็นเพียงแค่ ‘วัตถุศึกษา’ เท่านั้น
เอกสารอ้างอิง
1. เอกสารข่าวกระทรวงอุตสาหกรรม ‘กระทรวงอุตสาหกรรมยุติเหมื องแร่ทองคำทั่วประเทศ ให้เวลาเหมืองอัคราฯ ถึงสิ้นปี !’ ดาวน์โหลดข้อมูลจาก http://www. dpim.go.th/dpimnews/article? catid=102&articleid=6859 เมื่ อวันที่ 16 พฤษภาคม 2559
2. หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรั ฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0505/16885 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2559 ดาวโหลดข้อมูลจากหน้าเฟซบุ๊ก ‘ภัทราพร ตั๊นงาม’ เข้าถึงข้อมูลตามลิ้งก์นี้ htt ps://web.facebook.com/photo. php?fbid=1143873148967144&set= pcb.1143873198967139&type=3& theater เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2559
3. เอกสารข่าวกรมอุตสาหกรรมพื้ นฐานและการเหมืองแร่ ‘กพร. แจงนโยบายยุติสัมปทานเหมืองแร่ ทองคำ ดาวน์โหลดข้อมูลจาก http://www. dpim.go.th/dpimnews/article? catid=102&articleid=6861 เมื่ อวันที่ 16 พฤษภาคม 2559
4. จดหมายศาสตราระพี สาคริก ถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2559 ดาวน์โหลดข้อมูลจาก http:// www.matichon.co.th/news/135078 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2559
เชิงอรรถ
[1] ในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุมั ติ/อนุญาตสัมปทานสำรวจและทำเหมื องแร่เปลี่ยนมาอยู่ในอำนาจหน้ าที่ของกรมอุตสาหกรรมพื้ นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ รักษา สงวน หวงห้าม หรือวิชาการด้านธรณีวิทยาสาขาต่ าง ๆ ยังอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมทรั พยากรธรณีเช่นเดิม แต่ย้ายมาสังกัดกระทรวงทรั พยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อครั้งปฏิรูปกระทรวง ทบวง กรม เมื่อเดือนตุลาคม 2545
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น