สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: พวกเดนตายจากการปฏิวัติ
Posted: 15 May 2016 08:52 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
เกษียร เตชะพีระ ได้กล่าวถึงผู้เขียน หรือที่จริงแล้วหมายถึงคนรุ่
เมื่อทบทวนประสบการณ์ของกลุ่ มคนเดือนตุลา ซึ่งส่วนมากจะมีอายุระหว่าง 57-63 ปีในขณะนี้ คือคนรุ่นที่เกิดและใช้ชีวิตวั ยเด็กราวสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และโตเป็นวัยรุ่นสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร หมายถึงว่า คนรุ่นนี้ก็คือคนที่ผ่านวัยเด็ กภายใต้การเมืองยุคเผด็จการ เหตุการณ์ระหว่างประเทศคือยุ คสงครามเย็นที่สหรั ฐและสหภาพโซเวียตเผชิญหน้ากั นบนเวทีการเมืองโลก และเกิดความตึงเครียดของแนวโน้ มสงครามนิวเคลียร์
เรื่องราวทางการเมืองในวัยเด็ก เช่น การโฆษณาให้เห็นว่าอเมริกาเป็ นมหามิตร ต่อต้านคอมมิวนิสต์และเกลียดชั งจีนแดง ชาตินิยมต่อต้านเจ้านโรดมสีหนุ เพราะถูกปลูกฝังว่าเขมรแย่งชิ งเขาพระวิหารของไทย เอาใจช่วยเวียดนามใต้และเป็นปฏิ ปักษ์กับเวียดนามเหนือ ต่อมาแนวโน้มแห่งการเป็ นกบฏของชีวิตวัยรุ่นคือ การทำตัวรกไว้ผมยาว (ฮิปปี้) การแต่งกายแบบม็อด (เสื้อตัวโต-กางเกงเล็กขาลีบ) และแบบเดป (กางเกงขาบานทะโรค) เพลงที่ร้องและฟังในวัยเด็กคื อเพลงลูกทุ่งของสุรพล สมบัติเจริญ เพลงลูกกรุง-สุนทราภรณ์ โทรทัศน์ขาวดำ-2 ช่อง และภาพยนตร์ไทย 16 มม. แสดงโดยมิตร-เพชรา
แต่ภายใต้ชีวิตวัยรุ่นถึงสมั ยแห่งการเป็นนักศึกษาคือการเปลี ่ยนแปลงทางการเมืองและสังคมครั้ งใหญ่ ได้แก่ การล่มสลายของระบอบถนอม-ประภาส และบ้านเมืองเปลี่ยนจากเผด็ จการมาเป็นประชาธิปไตยจากกรณี 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จากนั้นก็เกิดปรากฏการณ์ครั้ งเดียวในประวัติศาสตร์ที่ ขบวนการนักศึกษามีบทบาทนำ หมายถึงว่าคนหนุ่มสาวอายุเพี ยงช่วงวัย 20 ไม่เกิน 25 เข้าไปมีบทบาทในทางการเมื องและสังคมอย่างมาก แนวหน้าของคนหนุ่มสาวยุคเดือนตุ ลาตื่นตัวรับลัทธิมาร์กซ์ กลายเป็นนักเคลื่อนไหวสังคมนิยม ความคิดฝันที่สร้างขึ้นคือ การสถาปนาสังคมใหม่ที่มี ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และประชาชนพ้นจากความทุกข์ยาก
ความเป็นคนเดือนตุลาแห่งยุคสมั ยคือ การเข้าร่วมขบวนการปฏิวัติเพื่ อเปลี่ยนแปลงสังคม ความคิดฝันเช่นนี้นำเอานักศึ กษาคนหนุ่มสาวไปเผชิญหน้าอย่ างรุนแรงกับชนชั้นนำอนุรักษ์นิ ยมสุดขั้วที่มุ่งจะรักษาระเบี ยบเก่าของสังคมโดยไม่เลือกวิธี การ ในที่สุดจึงนำมาซึ่งการกวาดล้ างปราบปรามในกรณี 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ซึ่งกลายเป็นประวัติศาสตร์ บาดแผลอันสำคัญครั้งหนึ่งในสั งคมไทย
แต่การกวาดล้างปราบปรามไม่ อาจจะหยุดยั้งอุดมการณ์แห่ งคนหนุ่มสาว ดังนั้น คนเดือนตุลาจำนวนมากจึงเลือกเส้ นทางปฏิวัติโดย “เข้าป่าจับปืน” เดินทางเข้าสู่เขตป่าเขา เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่ งประเทศไทยเพื่อปฏิวัติสังคมต่ อไป แต่การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ ระหว่างประเทศและความขัดแย้ งในขบวนการปฏิวัติทำให้คนเดื อนตุลาได้ตระหนักว่า เป้าหมายในการปฏิวัติสั งคมไทยไม่ได้เป็นสิ่งที่บรรลุ โดยง่าย การปฏิวัติจบลงด้วยความพ่ายแพ้ และพังทลายของพรรคคอมมิวนิสต์ฯ คนเดือนตุลาจึงกลายเป็น “สิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์” (คำของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล) ตั้งแต่ราว พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา คนเดือนตุลาต้องกลับมาสู่สั งคมเก่า ต้องมา “โตเป็นผู้ใหญ่” ด้วยการใช้ชีวิตปรกติ หาทางดิ้นรนทำมาหากินและสร้ างครอบครัว และลดบทบาททางการเมืองลง
เมื่อเวลาผ่านไป คนเดือนตุลาส่วนข้ างมากประสบความสำเร็จในการสร้ างที่ยืนในสังคม บ้างก็ประสบความสำเร็จในทางธุ รกิจในระดับที่น่าพอใจ บ้างก็ใช้ชีวิตเป็นข้าราชการ บางส่วนกลายเป็นนักวิชาการที่ โดดเด่น บ้างก็อาศัยประสบการณ์ที่ เคยทำงานกับชาวบ้านระดับล่างหั นไปทำงานด้านองค์กรพั ฒนาเอกชนหรือเอ็นจีโอ และประสบความสำเร็จในการสร้ างขบวนการเอ็นจีโอจนเข้มแข็ง แต่บางส่วนก็เข้าไปทำงานด้ านการเมือง และกลายเป็นผู้มีบทบาทอยู่แทบทุ กพรรค แต่เมื่อเกิดวิกฤตทางการเมือง เช่น กรณีพฤษภาประชาธรรม พ.ศ. 2535 คนเดือนตุลาจำนวนมากก็กลับเข้ ามามีบทบาทสนับสนุนการเคลื่ อนไหวและมีส่วนสำคัญที่ทำให้ กรณีนี้ประสบความสำเร็จ
สถานการณ์พัฒนามาจนถึงวิกฤตทั กษิณและการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 คนเดือนตุลาส่วนมากซึ่งมีอายุ ราว 50 ปี และกลายเป็นผู้ใหญ่ของสังคม ได้แตกแยกออกเป็น 2 ส่วน และขัดแย้งกันอย่างหนัก ส่วนหนึ่งกลายเป็นผู้สนับสนุนฝ่ ายพันธมิตรคนเสื้อเหลืองสลิ่ม และในที่สุดก็มาสนับสนุนการเคลื ่อนไหวของ กปปส. และการรัฐประหารของกองทัพเมื่อ พ.ศ. 2557 อีกส่วนหนึ่งกลายเป็นผู้สนับสนุ นขบวนการคนเสื้อแดง คัดค้านการเมืองกระแสหลัก สนับสนุนการต่อสู้ ตามแนวทางประชาธิปไตยและคัดค้ านรัฐประหาร พ.ศ. 2557
ความหมายของกรณีนี้คือการที่ คนเดือนตุลาสูญเสี ยเอกภาพและเอกลักษณ์ดั้งเดิม เป็นการชี้ว่าการมีอุดมการณ์ร่ วมกันเป็นเพียงเรื่องอดีตอันไม่ หวนกลับ การเป็นคนเดือนตุลาจึ งหมดความจำเป็น เพราะสามารถอธิบายได้ด้ วยความเป็นคนเสื้อแดงและเสื้ อเหลือง หรือเป็นฝ่ายหนุนรัฐประหารและต้ านรัฐประหาร ไม่แตกต่างไปจากกลุ่มอื่นในสั งคม
มาถึงวันนี้คนเดือนตุลาในวัย 60 อยู่ในสภาพที่ “ใบตองแห้ง” อธิบายว่า “ทั้งตื้นตันและใจหาย” สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นอนิจจั งว่า คนเดือนตุลาได้เคลื่อนมาสู่ช่ วงสุดท้ายแห่งชีวิต หลังจากนี้ไม่ว่าจะมีความคิดปั จจุบันแบบไหน อยู่ข้างแดงหรือเหลือง พวกเราก็จะค่อยๆตายจากกั นและหมดไป เหมือนคนรุ่น 2475 ที่หมดไปแล้ว หรือคนรุ่น 2490 ที่ใกล้จะหมดแล้ว
ดังนั้น การจัดงาน 6 ตุลา ซึ่งปีนี้ครบรอบ 40 ปี จะเป็นประดุจงานเกษียณของคนเดื อนตุลา หลังจากนี้คงต้องเป็นเรื่ องของประวัติศาสตร์ที่จะตัดสิ นว่า คนรุ่นเดือนตุลามีความพิเศษหรื อไม่ อย่างไร และสร้างภาระให้คนรุ่นหลังต้ องตามล้างตามเช็ดเพียงใด…นี่น่ าจะถือว่าเป็นการรำพึงของผู้เขี ยนเมื่อมีอายุครบ 60 ปี
เผยแพร่ครั้งแรกใน: คอลัมน์ : ถนนประชาธิปไตย โลกวันนี้
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น