'ศูนย์ทนายสิทธิ' เปิด 16 ข้อ ชี้ไทยแจงปมศาลทหาร กลางวง UPR ไม่ตรงกับความเป็นจริง
Posted: 12 May 2016 09:18 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เปิด 16 ข้อ ชี้แจงของทางการไทยปมพลเรือนขึ้ นศาลทหารต่อเวทีประชุ มทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนไม่ ตรงกับความเป็นจริง ระบุส่งผลต่อการเข้าถึงสิทธิ ในกระบวนการยุติธรรมและการละเมิ ดสิทธิของผู้ต้องหาและจำเลยที่ เป็นพลเรือน
12 พ.ค.2559 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ในการประชุ มทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุ ษยชนของประเทศไทย (Universal Periodical Review หรือ UPR) ครั้งที่ 2 ที่นครเจนีวาวานนี้ (11 พ.ค.59) ประเด็นสิทธิมนุษยชนหนึ่งซึ่ งหลายประเทศได้แสดงความกั งวลและสนใจตั้งคำถามต่อรั ฐบาลไทย คือการนำพลเรือนขึ้นพิจารณาคดี ในศาลทหาร (ดูสรุปประเด็นคำถามของประเทศต่ างๆ จากเว็บไซต์ศูนย์ทนายความฯ) ขณะที่ทางรัฐบาลไทยเองก็ส่งเจ้ าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับประเด็ นศาลทหารโดยตรง ได้แก่ พันโทเสนีย์ พรหมวิวัฒน์ หัวหน้าตรวจและร่างกฎหมาย กรมพระธรรมนูญทหาร กระทรวงกลาโหม ร่วมเป็นหนึ่งในทีมคณะผู้แทนรั ฐบาลไปชี้แจงต่อที่ประชุม
พ.ท.เสนีย์ พรหมวิวัฒน์ ในฐานะตัวแทนรัฐบาลไทย ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมระบุว่า ศาลทหารถูกนำมาใช้กับพลเรื อนในความผิดที่จำกัด รวมถึงผู้ที่ถูกกล่าวหาในความผิ ดร้ายแรง จำเลยในศาลทหารยังได้รับสิทธิ เช่นเดียวกับผู้เข้ารับการไต่ สวนในศาลพลเรือน ศาลทหารยังต้องปฏิบัติ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิ จารณาความอาญา ซึ่งประกันสิทธิที่จะได้รั บการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม และสิทธิของจำเลยที่สอดคล้องกั บมาตรฐานระหว่างประเทศ ตุลาการศาลทหารจำเป็นต้องมีองค์ ความรู้และความเชี่ ยวชาญในกฎหมายอาญา เช่นเดียวกับผู้พิ พากษาในศาลพลเรือน
พ.ท.เสนีย์ ยังระบุว่าศาลทหารมีการรับประกั นสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาอย่ างเป็นธรรมและเปิดเผยโดยตุ ลาการที่เป็นอิสระ จำเลยจะได้รับสิทธิในการเข้าถึ งทนายความ ทั้งจำเลยยังมีสิทธิ ในการขอประกันตัว และการพิจารณาอนุญาตให้ประกันตั วเป็นไปตามหลักการเดียวกั บศาลพลเรือน การพิจารณาคดียังเปิดให้ ประชาชนทั่วไปเข้ารับฟังได้ ไม่เพียงญาติของจำเลย หากยังรวมถึงหน่วยงานภาคประชาสั งคมและสิทธิมนุษยชน
แต่จากการติดตามการดำเนินคดี พลเรือนในศาลทหารของศูนย์ ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน พบว่าข้อชี้แจงดังกล่าวต่ อนานาชาติไม่ได้ตรงกับสิ่งที่ เกิดขึ้นจริง หากแต่มีความแตกต่างอย่ างมากและชัดเจนระหว่างการดำเนิ นคดีในศาลทหารกับศาลพลเรื อนในหลายประเด็น ซึ่งล้วนส่งผลต่อการเข้าถึงสิ ทธิในกระบวนการยุติ ธรรมและการละเมิดสิทธิของผู้ต้ องหาและจำเลยที่เป็นพลเรือน โดยสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังต่อไปนี้
- คดีที่เกี่ยวข้องกับการเมื
องในศาลทหารจำนวนมาก ไม่ใช่การกระทำที่ร้ายแรง คดี พลเรือนหลายคดีที่ถูกนำขึ้นสู่ ศาลทหาร ในสังคมปกติ แทบไม่ถือว่าเป็นความผิดใดๆ และล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกั บสิทธิและเสรี ภาพในการแสดงออกของประชาชน เช่น คดีกินแม็คโดนัลด์แสดงความไม่ เห็นด้วยกับการรัฐประหาร, คดีไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่ งของคสช., คดีจัดกิจกรรมรำลึกถึงการเลื อกตั้ง, คดีเดินเท้าจากบ้ านไปศาลทหารคนเดียว, คดีนั่งรถไฟไปตรวจสอบการทุจริ ตในโครงการราชภักดิ์, คดีล้อเลียนหัวหน้าคณะรั ฐประหาร, คดีนักวิชาการแถลงข่าวมหาวิ ทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร หรือคดีถ่ายรูปกับขันแดง เป็นต้น
- คดีอาวุธจำนวนมากไม่ได้เกี่ยวข้
องกับการเมืองและไม่ได้มีความร้ ายแรง โดยศูนย์ทนายสิทธิฯ พบว่าคดีพลเรือนที่เกี่ยวข้องกั บอาวุธซึ่งถูกนำขึ้นพิ จารณาในศาลทหารหลายคดี จำเลยเป็นชาวบ้านหรือกลุ่มชาติ พันธุ์ที่ถูกจับกุ มจากการครอบครองอาวุธปืนแก๊ปซึ่ งไม่มีทะเบียน หรือไม่ได้ส่งมอบต่อเจ้าพนั กงานตามคำสั่งของคสช. ส่วนใหญ่พกพาไว้ล่าสัตว์หรือดู แลไร่นาตามวิถีชีวิตปกติ บางรายครอบครองเพียง 1 กระบอก หรือบางกรณีก็เป็นอาวุธปื นโบราณที่ไม่มีทะเบียน ไม่ได้เกี่ยวข้องเรื่ องทางการเมืองหรือความรุนแรงใดๆ
- ตุลาการศาลทหารขาดความเป็นอิ
สระและเป็นกลางในการพิจารณาคดี ตุลาการศาลทหารสังกัดอยู่ภายใต้ กระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่ าการกระทรวงกระทรวงกลาโหม รวมถึงผู้บังคับบั ญชาทหารสามารถแต่งตั้งตุ ลาการศาลทหารได้ ทำให้ตุลาการอยู่ภายใต้การบังคั บบัญชาตามระบบทหาร แตกต่างจากศาลยุติธรรม ศูนย์ทนายสิทธิฯ ยังพบข้อเท็จจริงว่าตุลาการที่ เป็นองค์คณะบางคดีได้มีการโทรศั พท์สอบถามหน่วยงานตามลำดับชั้ นบังคับบัญชา ก่อนจะแจ้งผลการใช้ดุลยพินิจต่ อจำเลย ชี้ให้เห็นความไม่เป็นอิ สระในการพิจารณาคดี
- องค์คณะตุลาการในศาลทหาร ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในด้
านกฎหมายทั้งหมด โดยในศาลทหาร นอกจากตุลาการพระธรรมนูญ ซึ่งเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรที ่สำเร็จการศึกษาทางด้ านกฎหมายแล้ว ตุลาการที่ร่วมเป็นองค์คณะที่ เหลือเป็นเพียงนายทหารชั้นสั ญญาบัตรที่แต่งตั้งจากผู้บังคั บบัญชาทหารของหน่วยต่างๆ ในพื้นที่ของศาลทหารนั้น ไม่ได้จบการศึกษาด้านกฎหมายแต่ อย่างใด
- บุคลากรในศาลทหารไม่พอเพียงต่
อการพิจารณาคดีจำนวนมาก ศาลทหารในต่างจังหวัด มีตุลาการศาลทหารราว 30 คนเศษ ใช้ระบบเวียนไปตามศาลต่างๆ ในแต่ละช่วงเดือน โดยศาลมณฑลทหารบกที่เปิดทำการมี ทั้งหมด 29 ศาล แต่ละศาลมีอัยการทหารประจำอยู่ เฉลี่ยศาลละ 1 นาย และเจ้าหน้าที่ธุรการศาล 2-3 นาย เจ้าหน้าที่ศาลเองยังต้องทำหน้ าที่เป็นหน้าบัลลังก์ในระหว่ างการพิจารณาด้วย ทำให้จำนวนบุคลากรในศาลทหารไม่ สามารถรองรับคดีพลเรื อนจำนวนหลายพันคดีได้ ส่งผลถึงการดำเนินกระบวนการพิ จารณาคดีที่ล่าช้า
- เจ้าหน้าที่จากต่างประเทศไม่
สามารถเข้าสังเกตการณ์พิ จารณาคดีในศาลทหารต่างจังหวัด เจ้าหน้าที่องค์กรระหว่ างประเทศหรือเจ้าหน้าที่สถานทู ตต่างๆ ไม่สามารถเข้าสังเกตการณ์ ในศาลทหารต่างจังหวัดได้ เนื่องจากศาลทหารตั้งอยู่ ในเขตของค่ายทหาร ซึ่งมีการระบุว่าเป็นพื้นที่เกี ่ยวกับความมั่นคงและเกี่ยวข้ องกับความลับราชการ จึงไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ าไปในค่ายทหาร
- ก่อนหน้าการยกเลิกกฎอัยการศึก คดีในศาลทหารไม่สามารถอุทธรณ์
หรือฎีกาได้ คดีที่ขึ้นสู่ ศาลทหารตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค.57- 1 เม.ย.58 ที่เป็นวันยกเลิกกฎอัยการศึกนั้ น จำเลยไม่สามารถใช้สิทธิในการอุ ทธรณ์หรือฎีกาได้ อันขัดต่อหลักของนิติรัฐ ขัดต่อสิทธิในการได้รั บการทบทวนคดีโดยศาลที่สูงขึ้นไป และแม้จะเป็นคดีที่มีความ “ร้ายแรง” ยิ่งโทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิ ต การไม่สามารถอุทธรณ์ฎีกายิ่งส่ งผลต่อการได้รับสิทธิในการพิ จารณาคดีที่เป็ นธรรมของจำเลยมากยิ่งขึ้น
- ศาลทหารไม่มีระบบทนายความขอแรง
ในศาลพลเรือนจะมีระบบทนายความที ่รัฐจัดหาให้กับจำเลยที่ไม่มี ทนายและประสงค์จะมีทนาย โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และทนายเหล่านี้จะนั่งประจำอยู่ ที่ศาล แต่ในศาลทหารไม่ได้มีระบบใดๆ เพื่อรองรับการเข้าถึงสิทธิ ในการมีทนายความของผู้ต้องหา ในคดีผู้ยากไร้ที่เกี่ยวข้องกั บอาวุธปืนหลายคดี ศาลก็ไม่ได้มีการจั ดหาทนายความมาให้ หรือบางกรณี เจ้าหน้าที่ศาลก็มี การประสานขอให้ทนายที่รู้จักกั นเข้ามาให้ความช่วยเหลือเป็ นรายๆ ไป โดยไม่มีระบบรองรับ
- รูปแบบวันนัดสื
บพยานของศาลทหารเป็นไปอย่างล่ าช้า ศาลทหารใช้ระบบการนัดสื บพยานแบบสองหรือสามเดือนต่อหนึ่ งนัด และยังนัดสืบเพียงช่วงครึ่งเช้า ทำให้แต่ละนัด สืบพยานได้เพียงหนึ่งหรือสองปาก หรือพยานบางปากที่มีรายละเอี ยดมากก็ใช้เวลาหลายนัดในการนำสื บ รวมทั้งมีการเลื่อนนัดบ่อยครั้ง ทำให้กระบวนการสืบพยานเป็นไปอย่ างล่าช้า ไม่ต่อเนื่อง แตกต่างจากศาลพลเรือน ที่การกำหนดวันนัดสืบพยานต่อเนื ่องกัน คดีที่มีต่อสู้คดีในศาลทหารจึ งใช้ระยะเวลามากกว่าศาลพลเรื อนหลายเท่า
- ความล่าช้
าของกระบวนการในศาลทหาร บีบบังคับให้จำเลยบางรายยอมรั บสารภาพ โดยเฉพาะจำเลยในคดีที่ ไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว ทำให้ต้องต่อสู้คดีขณะถูกคุมขัง จนต้องตัดสินใจกลับคำให้ การยอมรับสารภาพตามข้อหา (ตัวอย่างลักษณะนี้ เช่น คดีสมัคร ตามมาตรา 112) ความล่าช้าในการพิจารณาคดี ของศาลทหารจึงส่งผลกระทบอย่ างมากต่อสิทธิของจำเลยในการต่ อสู้คดีอย่างเป็นธรรม
- ศาลทหารมีการกำหนดอัตราโทษที่สู
งกว่าศาลพลเรือนโดยทั่วไป เช่น ในคดีมาตรา 112 ศาลทหารได้มีการกำหนดอั ตราโทษใหม่ ที่กรรรมละ 8-10 ปี ทั้งที่หลายปีก่อนหน้านี้ ศาลพลเรือนพิพากษาโทษเฉลี่ ยกรรมละ 5 ปี ทำให้ในคดีที่มีการฟ้องร้ องหลายกรรม เกิดการลงโทษที่หนักหน่วงอย่ างไม่เคยมีมาก่อน หรือในคดีฝ่าฝืนคำสั่ง/ประกาศ คสช. ศาลทหารลงโทษปรับ 10,000 บาท เมื่อรับสารภาพลดเหลือ 5,000 บาท แต่ความผิดในลักษณะเดียวกั นในศาลพลเรือน เช่น คดีสมบัติ บุญงามอนงค์ ศาลแขวงดุสิ ตลงโทษปรับ 500 บาท
- ศาลทหารไม่มีกระบวนการสืบเสาะ
แตกต่างจากศาลพลเรือน ที่ศาลสามารถสั่งให้พนักงานคุ มประพฤติไปสืบเสาะข้อเท็จจริ งในคดี ภูมิหลัง ความประพฤติ และความเป็นอยู่ของจำเลย ทำเป็นรายงานเสนอความเห็นเกี่ ยวกับมาตรการลงโทษที่เหมาะสมกั บผู้กระทำผิดแต่ละราย เพื่อใช้ประกอบดุลพินิจในการพิ พากษาของศาลได้ แต่ศาลทหารกลับระบุว่าไม่ สามารถสั่งให้กรมคุมประพฤติ ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงยุติธรรม ดำเนินการสืบเสาะได้ ทำให้ข้อเท็จจริงหลายอย่างเกี่ ยวกับตัวจำเลยไม่ถูกนำมาเป็นส่ วนหนึ่งในการใช้ดุลยพินิจ เช่น คดีที่จำเลยมีอาการทางจิต ข้อเท็จจริงดังกล่าวกลับไม่ถู กศาลนำมาประกอบการกำหนดโทษ
- ศาลทหารไม่อนุญาตให้ทนายความคั
ดถ่ายรายงานกระบวนพิ จารณาในบางคดี โดยในบางคดี ตุลาการศาลทหารมีการระบุว่าได้ อ่านกระบวนพิจารณาให้คู่ความฟั งแล้วในห้องพิจารณา ไม่จำเป็นต้องคัดถ่ายอีก แตกต่างจากศาลพลเรือน ที่คู่ความสามารถคัดถ่ายและเข้ าถึงรายงานกระบวนพิ จารณาในศาลได้
- รูปแบบหลักทรัพย์ในการประกันตั
ว ศาลทหารห้ามใช้บุคคลและตำแหน่ งบุคคลในการขอประกันตัว และไม่สามารถใช้กรมธรรม์ซื้ อประกันไม่ได้ ทั้งหลักเกณฑ์เงินประกันก็ไม่ แน่นอน แตกต่างจากหลักทรัพย์ในศาลพลเรื อน ที่กำหนดหลักทรัพย์หลากหลายกว่ าในการขอประกันตัว
- ศาลทหารยังมีการใช้ระบบจดคำเบิ
กความด้วยมือ หรือการบอกหน้าบัลลังก์พิมพ์ ตาม ไม่ได้มีการใช้เครื่องมือบั นทึกเสียงคำเบิกความเหมือนกั บศาลพลเรือน ทำให้กระบวนการพิจารณาคดีเป็ นไปอย่างล่าช้า และไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากต้องหยุดรอให้ ศาลจดกระบวนพิจารณาก่อนเป็นระยะ
- การนำตัวผู้ต้องหาหรื
อจำเลยไปเรือนจำขณะรอประกันตัว ศาลทหารมีการนำตัวผู้ต้องหาหรื อจำเลยที่กำลังยื่นขอประกันตั วไปเรือนจำ ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิผู้ต้ องหาหญิงหลายราย รวมทั้งผู้ต้องหาชาย จากกระบวนการตรวจค้นร่างกายก่ อนเข้าเรือนจำ แตกต่างจากศาลพลเรือน ที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่อยู่ ในระหว่างทำเรื่องขอประกันตัว จะมีการควบคุมตัวไว้ที่ห้องขั งใต้ถุนศาล และหากได้รับการประกันตัว ก็จะมีการปล่อยตัวที่ศาล ไม่จำเป็นต้องนำตัวไปปล่อยที่ เรือนจำแต่อย่างใด
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น