ภาคประชาสังคมเผย ถูกปฏิเสธเข้าร่วมให้ความเห็ นโรดแมปฯ ทรัพย์สินทางปัญญา
Posted: 03 May 2016 04:53 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
3 พ.ค. 2559 กรณี มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์และส่ งเสริมการเข้าถึงยาจำเป็น ขอเข้าร่วมการประชุมรับฟั งความคิดเห็นต่อร่างโรดแมปทรั พย์สินทางปัญญา 20 ปี (2559 – 2579) ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 4 พ.ค. 2559 ที่ห้องประชุมวิมวาทิตย์ 1 สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ล่าสุด (เช้าวันนี้) มูลนิธิฯ ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าร่วม โดยที่เจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯ แจ้งว่าเป็นการประชุมเฉพาะหน่ วยงานราชการ ทั้งนี้ ตัวแทนภาคประชาสังคมระบุว่า ได้แสดงความจำนงขอเข้าร่วมก่ อนตั้งแต่กลางเดือนเมษายน
มูลนิธิเข้าถึงเอดส์กังวลว่าร่ างโรดแมปฯ ฉบับดังกล่าวจะทำให้สถานการณ์ การผูกขาดตลาดจากระบบสิทธิบัตร ซึ่งจะส่งผลให้ยามีราคาแพง ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น มากกว่าที่จะช่วยแก้ไขปัญหา
เฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล เจ้าหน้าที่ประสานงานรณรงค์ การเข้าถึงยาของมูลนิธิฯ กล่าวว่า ร่างโรดแมปนี้เน้นการเอื้ ออำนวยให้จดสิทธิบัตรได้ง่ ายและมากขึ้น แต่ไม่ได้ส่งเสริมความสมดุ ลระหว่างการคุ้มครองทรัพย์สิ นทางปัญญากับการปกป้องประโยชน์ สาธารณะ
“ตัวอย่างของความไม่สมดุล คือ คำขอรับสิทธิบัตรยาและสิทธิบั ตรยาจำนวนมากที่เข้าข่ายเป็ นคำขอฯ หรือสิทธิบัตรแบบด้อยคุ ณภาพและไม่สมควรได้รับสิทธิบัตร ร้อยละ 84 ของจำนวนคำขอรับสิทธิบั ตรยาและร้อยละ 74 ของสิทธิบัตรในช่วงปี 2543 ถึง 2553 อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ การที่ไม่สามารถใช้มาตรการคัดค้ านคำขอรับสิทธิบัตรก่อนได้รับสิ ทธิบัตร (pre-grant opposition) ที่มีอยู่ใน พ.ร.บ. สิทธิบัตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากข้อจำกัดในเชิ งกฎหมายและฐานข้อมู ลและการประกาศโฆษณาที่ไม่แน่ นอนและคลาดเคลื่อน จึงส่งผลให้มีสิทธิบัตรที่ด้ อยคุณภาพจำนวนมากเกิดขึ้น” เฉลิมศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้ ปัญหาเรื่องทรัพย์สินทางปัญญากั บการเข้าถึงยาเป็นประเด็นที่ ภาคประชาสังคมหยิบยกขึ้นมาเป็ นข้อกังวลและเรียกร้องให้หน่ วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องให้ ความสนใจและแก้ไขมาตลอด แต่การกำหนดและรับฟังความคิดเห็ นต่อร่างโรดแมปฯ กลับไม่มีภาคประชาสังคม นักวิชาการ หรือกลุ่มผู้ป่วยเข้าร่วมให้ ความคิดเห็น
เฉลิมศักดิ์ ยังแสดงความคิดเห็นว่า ร่างโรดแมปฯ ขาดหลักการสำคัญในเรื่องที่ ระบบทรัพย์สินทางปัญญาจะต้องส่ งเสริมให้เกิดการถ่ ายทอดเทคโนโลยีให้กับประเทศที่ รับจดสิทธิบัตร เพื่อที่อุ ตสาหกรรมภายในประเทศจะได้เรี ยนรู้ พัฒนา และต่อยอด จนสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยผู้ที่ได้รับสิทธิบั ตรไปจะได้สิทธิผูกขาดตลาดนาน 20 ปีนับตั้งแต่วันที่ยื่นขอรับสิ ทธิบัตร
มูลนิธิเข้าถึงเอดส์กังวลว่าร่
เฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล เจ้าหน้าที่ประสานงานรณรงค์
“ตัวอย่างของความไม่สมดุล คือ คำขอรับสิทธิบัตรยาและสิทธิบั
ทั้งนี้ ปัญหาเรื่องทรัพย์สินทางปัญญากั
เฉลิมศักดิ์ ยังแสดงความคิดเห็นว่า ร่างโรดแมปฯ ขาดหลักการสำคัญในเรื่องที่
เขากล่าวว่า ตัวอย่างของการถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่เป็นประโยชน์จริงๆ คือ การสร้างโรงงานผลิตในประเทศไทย ที่ผ่านมา บริษัทยาข้ามชาติเพียงแต่จดสิ ทธิบัตร ขึ้นทะเบียนยา และจำหน่ายยาเท่านั้น หรือไม่ก็เพียงมาบรรจุหีบห่ อในประเทศเท่านั้น ไม่ได้เข้ามาลงทุนสร้ างโรงงานหรือถ่ายทอดเทคโนโลยี อะไรให้กับอุตสาหกรรมในประเทศ
“สิ่งนี้เป็นหลักการสำคัญอีกอย่ างในเรื่องระบบทรัพย์สินทางปั ญญาที่เป็นธรรม แต่สังคมส่วนใหญ่มักจะไม่พูดถึ ง” เฉลิมศักดิ์กล่าว
ร่างโรดแมปฯ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการที่ใช้ ข้อตกลงสากลว่าด้วยทรัพย์สิ นทางปัญญาขององค์การการค้าโลก (ข้อตกลงทริปส์) ให้เป็นประโยชน์ เพื่อให้ระบบทรัพย์สินทางปั ญญาเป็นธรรม และไม่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึ งยาจำเป็น ตัวอย่างมาตรการในข้อตกลงทริปส์ ที่กล่าวมา คือ การฟ้องคัดค้านคำขอรับสิทธิบัตร การนำมาตรการยืดหยุ่น เช่น มาตรการใช้สิทธิโดยรัฐ หรือ ซีแอล ฯลฯ มาใช้
นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ได้มีข้อเสนอแนะต่อร่างโรดแมปฯ ดังนี้
1. ในการทำโรดแมปฯ ควรจะแยกแยะประเด็นเรื่ องยาและเวชภัณฑ์ออกมาต่างหาก ทั้งนี้ เพราะเป็นประเด็นที่ถกเถี ยงและโต้แย้งกันมาก และยาและเวชภัณฑ์ถือเป็นสิ่ งจำเป็นที่มีความเปราะบางแตกต่ างจากสินค้าประเภทอื่น และส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้ป่ วยจำนวนมาก
“สิ่งนี้เป็นหลักการสำคัญอีกอย่
ร่างโรดแมปฯ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการที่ใช้
นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ได้มีข้อเสนอแนะต่อร่างโรดแมปฯ ดังนี้
1. ในการทำโรดแมปฯ ควรจะแยกแยะประเด็นเรื่
2. กรมทรัพย์สินทางปัญญาควรศึกษาข้ อมูลจากฐานเพื่อให้ทราบว่าผู้ ได้ประโยชน์ที่แท้จริงจากการคุ้ มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะเรื่องยาและเวชภัณฑ์ คือ บริษัทต่างชาติหรือบริษั ทของคนไทย ทั้งนี้ จะได้เห็นสัดส่วนที่แท้จริงว่ าประเทศไทยพึ่งพาและนำเข้ ายาและเวชภัณฑ์มากน้อยเพียงไร และภาคอุ ตสาหกรรมยาภายในประเทศและหน่ วยงานที่เกี่ยวข้องจะเร่งสร้ างความเข้มแข็งในด้านการวิจั ยและพัฒนายาต่อไปอย่างไร โดยไม่ให้กฎหมายทรัพย์สินทางปั ญญาไม่เป็นอุปสรรคและส่งเสริ มการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการวิ จัยและพัฒนายาเองในประเทศให้เป็ นจริงได้
3. ขอสนับสนุนให้เร่งแก้ไขและปรั บปรุงฐานข้อมูลสิทธิบัตรให้มี ความเป็นปัจจุบัน ถูกต้องแม่นยำ และเข้าถึงง่ายในเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการตรวจสอบและคัดค้ านคำขอรับสิทธิบัตรที่ไม่ สมควรได้รับสิทธิบัตรได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่ อภาคสาธารณสุขและภาคอุ ตสาหกรรมยาชื่อสามัญในประเทศ ให้สามารถนำเข้าหรือผลิตยาจำเป็ นเพื่อตอบสนองความต้องการได้ทั นเวลา
4. กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะต้องปรั บปรุงคุณภาพในการตรวจสอบและพิ จารณาให้สิทธิบัตรยากับผู้ขอรั บสิทธิบัตร โดยทำคู่มือการตรวจสอบคำขอฯ มาให้อย่างเคร่งครั ดและควรทบทวนและปรับปรุงให้คู่ มือมีคุณภาพมากยิ่งขึ้ นตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก เพื่อรักษาสมดุลระหว่างการคุ้ มครองสิทธิบัตรและการเข้าถึ งยาจำเป็น และสร้างความร่วมมืออย่างเป็นรู ปธรรมกับสำนั กงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เชี่ ยวชาญในเรื่องยาและเวชภัณฑ์ ในการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรที ่เกี่ยวกับยา เพื่อลดและขจัดปัญหาการผู กขาดตลาดผ่านคำขอฯ และสิทธิบัตรยาที่ด้อยคุณภาพ
5. การวัดผลสำเร็จของกรมทรัพย์สิ นทางปัญญาไม่ควรมุ่งเน้นแต่ จำนวนคำขอรับสิทธิบัตรหรื อการให้ความคุ้มครองทรัพย์สิ นทางปัญญาประเภทต่างๆ เท่านั้น แต่ควรกำหนดให้จำนวนคำคัดค้ านคำขอฯ และคำคัดค้านที่เป็นผลเป็นตัวชี ้วัดความสำเร็จด้วย ทั้งนี้ กรมทรัพย์สินทางปั ญญาควรรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลว่ า เท่าที่ผ่านมาตั้งแต่มี พ.ร.บ. สิทธิบัตร มีการยื่นคำคัดค้านและคำคัดค้ านที่เป็นผลจำนวนเท่าไร เพื่อเป็นตัวชี้วัดเบื้องต้นเพื ่อบอกว่ากลไกสร้างความสมดุลนี้ ทำงานเป็นประโยชน์เพื่อกระตุ้ นการผลิตยาชื่อสามัญให้เข้ ามาแข่งขันในตลาดได้มากน้อยเพี ยงไร ทั้งนี้ การกระตุ้นให้เกิดการผลิตหรื อนำเข้ายาชื่อสามัญ ถือว่าช่วยให้เกิดการวิจัยและพั ฒนายาภายในประเทศและการแข่งขัน ซึ่งจะทำให้ยามีราคาถูกลง
6. การสร้างจิตสำนึกในเรื่องทรัพย์ สินทางปัญญาไม่ควรพูดในมุมการคุ ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่ างเดียว แต่ควรเน้นในอีกด้านหนึ่ง ที่ระบบทรัพย์สินทางปัญญาจะต้ องคุ้มครองสาธารณประโยชน์ด้วย เช่น การคัดค้านคำขอรับสิทธิบัตรที่ ไม่สมควรได้รับการคุ้มครอง การนำมาตรการยืดหยุ่นภายใต้ พ.ร.บ. สิทธิบัตร และข้อตกลงว่าด้วยการค้าที่เกี่ ยวข้องกับทรัพย์สินทางปั ญญาขององค์การการค้าโลก หรือข้อตกลงทริปส์ มาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมถึงบทบาทของระบบทรัพย์สิ นทางปัญญาในการส่งเสริมการถ่ ายทอดเทคโนโลยี เพื่อให้ประเทศที่ด้อยกว่ าสามารถเรียนรู้ พัฒนา และต่อยอด ซึ่งจะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้
7. กรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่ควรตื่ นตระหนกต่อแรงกดดันของสหรัฐฯ ที่ใช้กลไกรายงานประจำปี มาตรการพิเศษ 301 ซึ่งเป็นมาตรการที่ใช้บังคั บเอาฝ่ายเดียว มาต่อรองข่มขู่ให้ประเทศคู่ค้ าที่ด้อยกว่ายอมรับเงื่อนไขที่ เกินกว่าข้อตกลงทริปส์ขององค์ การการค้าโลก แม้ว่าประเทศไทยจะพยายามใช้ มาตรการต่างๆ เพื่อลดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้าแล้ว แต่สหรัฐฯ ยังไม่พอใจและต้องการให้ไทยแก้ ไขกฎหมายภายในประเทศให้เข้ มงวดเกินไปกว่าข้อตกลงทริปส์ อันเป็นข้อตกลงร่ วมของนานาประเทศในเรื่องการค้ าและทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้น ขอสนับสนุนให้กรมทรัพย์สินทางปั ญญาอย่ายอมรับข้อเสนอแนะของผู้ แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ที่เกินเลยกว่าข้อตกลงทริปส์ ในรายงาน 301 และขอให้ฟ้องเรื่องการใช้ มาตรการ 301 ที่ไม่เป็นธรรมต่อองค์การการค้ าโลก
8. กรมทรัพย์สินทางปัญญาควรมีจุดยื นที่ชัดเจนและเข้มแข็ง ที่จะไม่ยอมรับเงื่อนไขหรื อมาตรการต่างๆ ที่เสนอในการเจรจาข้ อตกลงเขตการค้าเสรีต่างๆ ที่เกินเลยไปกว่าข้อตกลงทริปส์ เช่น ข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้ นแปซิฟิค (TPP) ข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิ จระดับภูมิภาค (RCEP) ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่ างไทยและสหภาพยุโรป ฯลฯ หรือเสนอแก้ไขกฎหมายทรัพย์สิ นทางปัญญาต่างๆ ที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับข้อเรี ยกร้องในข้อตกลงการค้าเสรีเหล่ านั้น
9. กรมทรัพย์สินทางปัญญาควรส่งเสริ มให้ภาคเอกชนและหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข นำมาตรการยืดหยุ่นต่างๆ ภายใต้ข้อตกลงทริปส์มาใช้อย่ างมีประสิทธิภาพและทันเวลา และควรให้ข้อมูลที่ถูกต้ องและเป็นประโยชน์ต่ อการนำมาตรการยืดหยุ่นเหล่านั้ นมาใช้กับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ ยวข้องและต้องการนำมาตรการนั้ นมาใช้
10. ในโรดแมปฯ ควรระบุให้มียุทธศาสตร์ และความร่วมมือระหว่างหน่ วยงานของรัฐด้วยกันที่จะทำให้ ระบบทรัพย์สินทางปัญญาส่งเสริ มการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เป็นจริ ง ที่จะทำให้อุ ตสาหกรรมภายในประเทศได้เรียนรู้ พัฒนา และต่อยอด โดยเฉพาะในเรื่องยาและเวชภัณฑ์ ซึ่งจะส่งผลให้ ประเทศไทยสามารถพัฒนาและพึ่ งพาตนเองได้ และเป็นความชอบธรรมที่ผู้ได้สิ ทธิบัตรไม่ควรยอมรับเพื่อแลกกั บผลประโยชน์จากการผูกขาดตลาด 20 ปี ดังตัวอย่างกฎหมายในอินโดนีเซีย ที่ผู้นำเข้าและจดสิทธิบั ตรยาจะต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ โดยการมีโรงงานผลิตยาในอินโดนี เซียภายในระยะเวลาที่กำหนด
11. กรมทรัพย์สินทางปัญญาควรทำงานร่ วมกับหน่วยงานอื่นภายใต้ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้นำกฎหมายที่มีอยู่หรื อแก้ไขกฎหมายที่หน่วยงานนั้ นกำกับดูแล เพื่อส่งเสริมให้เกิดความสมดุ ลในเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สิ นทางปัญญาและสาธารณประโยชน์ให้ ดียิ่งขึ้น ในที่นี้หมายถึง พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า และ พ.ร.บ. การควบคุมราคาสินค้าและบริการ ซึ่งถือเป็นอีกกลไกหนึ่งที่ จะสร้างความสมดุลทำให้ ประชาชนและผู้ป่วยสามารถเข้าถึ งยาที่จำเป็นในราคาที่เป็ นธรรมได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งที่ผ่านมา กฎหมายทั้งสองฉบับไม่เคยถูกใช้ เป็นคุณต่อสาธารณะ กลับเน้นแต่เรื่องคุ้ มครองผลประโยชน์ของนักลงทุ นและนักธุรกิจ
ถึงแม้มูลนิธิฯ จะถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าร่วมประชุ มรับฟังความคิดเห็น แต่จะส่งเอกสารแสดงความคิดเห็ นต่อร่างโรดแมปฯ ฉบับนี้และข้อเสนอแนะให้กั บกรมทรัพย์สินทางปัญญาต่อไป
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น