Thai-PAN เผยผักผลไม้มีตรารับรองออร์แกนิ คฯ ของก.เกษตรฯเจอสารตกค้าง 1 ใน 4
Posted: 04 May 2016 02:55 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
ไทยแพนพบผักผลไม้ตรา Q มีสารเคมีตกค้างเกิ นมาตรฐานมากที่สุด ตรารับรองออร์แกนิคไทยแลนด์ ของกระทรวงเกษตรเจอตกค้าง 1 ใน 4 ในขณะที่ผักผลไม้ในห้างยังไม่ ได้ดีกว่าตลาดทั่วไป จี้กระทรวงเกษตรฯปฏิรูปการให้ ตรารับรอง และเตรียมติดตามผลการดำเนิ นการของห้างค้าปลีก
4 พ.ค. 2559 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้ างเสริมสุขภาพ กรุงเทพฯ ปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภั ยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือ Thai-PAN ได้เปิดเผยผลการสุ่มเก็บตัวอย่ างผักและผลไม้ที่ประชาชนนิยมบริ โภค เช่น กะหล่ำปลี แตงกวา ผักบุ้งจีน มะเขือเทศ ผักกาดขาวปลี คะน้า ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ กะเพรา และพริกแดง แตงโม มะม่วงน้ำดอกไม้ มะละกอ แก้วมังกร ฝรั่ง และส้มสายน้ำผึ้ง จำนวน 138 ตัวอย่าง ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล เชียงใหม่และอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 16-18 มีนาคม พ.ศ. 2559 และจัดส่งไปวิเคราะห์หาสารเคมี กำจัดศัตรูพืชตกค้างแบบ Multi Residue Pesticide Screen (MRPS) ซึ่งสามารถวิเคราะห์หาสารพิ ษตกค้างได้กว่า 450 ชนิด ที่ห้องปฏิบัติการในประเทศอั งกฤษที่ได้รับรอง ISO/IEC 17025:2005 โดย ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่มี การตรวจหาสารเคมีตกค้างที่ ครอบคลุมชนิดสารมากที่สุดที่มี การเปิดเผยต่อประชาชน ผลการเฝ้าระวังพบว่า
ในภาพรวม มีผักและผลไม้ตกค้างเกิ นมาตรฐานนั้นสูงถึง 46.4% หรือเกือบครึ่งหนึ่งของตัวอย่ างที่ตรวจ โดยข้อมูลที่น่าตระหนกมากไปกว่ านั้นคือ การพบว่าผักและผลไม้ซึ่งได้รั บตรา Q โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้ าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) พบสารเคมีตกค้างมากที่สุด โดยพบสูงถึง 57.1% นอกเหนือจากนั้นผักและผลไม้อิ นทรีย์ที่ได้รับการรับรอง Organic Thailand ซึ่งไม่ควรตรวจพบการตกค้ างของสารเคมีกลับพบการตกค้างสู งเกินมาตรฐานถึง 25% ของจำนวนตัวอย่าง
ไทยแพนยังพบด้วยว่า จำนวนตัวอย่างของผักและผลไม้ซึ่ งจำหน่ายในโมเดิร์นเทรดซึ่งผู้ บริโภคต้องจ่ายแพงกว่ากลับมิได้ มีความปลอดภัยมากกว่ าตลาดสดโดยทั่วไป เพราะมีจำนวนตัวอย่างการตกค้ างเกินมาตรฐานถึง 46% ในขณะที่ตลาดสดมีสัดส่วนมากกว่ าเล็กน้อยที่ 48%
การเฝ้าระวังในครั้งนี้ยังพบด้ วยว่า มีสารกำจัดศัตรูพืชที่ถูกห้ ามใช้แล้ว ไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียน รวม 11 ชนิด (จากการตรวจสอบรายการวัตถุอั นตรายที่ได้รับการขึ้นทะเบียน เผยแพร่โดยสำนักควบคุมพืชและวั สดุการเกษตร 4 เมษายน 2559) ตกค้างในผักและผลไม้ที่จำหน่ ายในตลาด และมีผู้ประกอบการผักและผลไม้ รายใหญ่ที่จัดส่งสินค้าไปยั งโมเดิร์นเทรดกระทำความผิดซ้ ำซาก ในการจำหน่ายผักและผลไม้ไม่ ปลอดภัย และยังไม่พบว่ามีการดำเนินคดีกั บบริษัทดังกล่าว
ผลการเฝ้าระวังสารเคมีกำจัดศั ตรูพืชยังพบว่า ผักที่พบปริมาณสารพิษตกค้างเกิ นค่า MRL ได้แก่ พริกแดง 100% ของตัวอย่าง กะเพราและถั่วฝักยาว 66.7% คะน้า 55.6% ผักกาดขาวปลี 33.3% ผักบุ้งจีน 22.2% มะเขือเทศและแตงกวา 11.1% มะเขือเปราะพบสารพิษตกค้างแต่ ไม่เกินค่า MRL 66.7% ในขณะที่กะหล่ำปลีไม่พบสารพิ ษตกค้างเลย 100% ดังแผนภาพ
สำหรับการสุ่มตรวจผลไม้รวม 6 ชนิด พบว่าส้มสายน้ำผึ้ง และฝรั่ง ทุกตัวอย่างมีสารพิษตกค้างเกิ นมาตรฐานทุกตัวอย่างหรือคิดเป็น 100% ที่มีการสุ่มตรวจ รองลงมาเป็นแก้วมังกร มะละกอ มะม่วงน้ำดอกไม้ ซึ่งพบสารเคมีตกค้างเกินค่ ามาตรฐาน 71.4%, 66.7% และ 44.4% ตามลำดับ
“ในขณะที่แตงโม จากการตรวจสอบพบว่าทุกตัวอย่ างที่มีการตรวจไม่พบสารเคมีตกค้ างเกินมาตรฐานเลย ผลการตรวจครั้งนี้ ของไทยแพนสอดคล้องกั บผลการตรวจในครั้งที่แล้ว เช่นเดียวกันกั บผลการตรวจสอบของมหาวิทยาลัยมหิ ดลเมื่อปี 2557 ที่พบว่าแตงโมเป็นผลไม้ที่ ปลอดภัย” ปรกชล กล่าว
กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกไทยแพนแถล งว่า ผลการตรวจทั้งหมดของไทยแพนได้นำ เสนอต่อห้างค้าปลีก และสมาคมตลาดสดไทย รวมทั้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยว ข้องได้แก่ มกอช. กรมวิชาการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แล้วเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยจากผลการตรวจชี้ว่ากระทรวงเก ษตรและสหกรณ์โดยมกอช.และกรมวิ ชาการเกษตรจะต้องยกเครื่ องการให้ตรารับรอง Q และออร์แกนิคไทยแลนด์อย่างจริงจ ังโดยทันที เพราะถ้าสภาพปัญหายังพบการตกค้า งเช่นนี้ ประชาชนทั่วไปจะขาดความเชื่อถือ ในตรารับรองดังกล่าว รวมถึงต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ ยวข้องด้วย
“สำหรับด้านผู้ประกอบการนั้น ภายในสัปดาห์หน้าหลังจากที่ห้าง ค้าปลีกได้รับผลการตรวจอย่างเป็ นทางการ ผู้ประกอบการแต่ละรายจะทำจดหมาย แจ้งอย่างเป็นทางการว่าได้ดำเนิ นการลงโทษซัพพลายเออร์และมีมาตร การในการลดปัญหาการตกค้างของสาร เคมีอย่างไรมายังไทยแพน โดยในส่วนของสมาคมตลาดสดไทยนั้น จะมีการจัดประชุมเพื่อร่วมกันแก ้ปัญหาร่วมกันอย่างใกล้ชิดในเร็ วๆนี้ นอกเหนือจากนี้ไทยแพนยังได้หารื อกับหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้บ ังคับใช้กฎหมาย และองค์กรผู้บริโภคเพื่อพิจารณา ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดซ้ ำซากเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่ างแก่ผู้ประกอบการอื่นๆต่อไปด้ วย”
“อย่างไรก็ตามเรายังมีความหวังว ่าจะสร้างสังคมไทยที่ปลอดภัยจาก สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้มากขึ้ นกว่านี้ เพราะผลจากการทำงานประสานงานระห ว่างไทยแพนกับผู้ประกอบการ และหน่วยงานของรัฐบางหน่วยงาน พบว่าสามารถลดการตกค้างของสารเค มีตกค้างในผักและผลไม้ได้จริง กล่าวคือหากใช้เกณฑ์การวัดสารตก ค้างใน 4 กลุ่มหลักแบบเดิม สามารถลดการตกค้างของสารเคมีได้ จาก 48.6% เมื่อปี 2555 จนเหลือเพียง 18% เท่านั้นในปีนี้ “ กิ่งกรกล่าว
ข้อมูลเพิ่มเติมที่
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น