การกดขี่ปราบปรามประชาชน ไม่ใช่เรื่องภายในของรัฐเท่านั้ น
Posted: 11 May 2016 08:18 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
เสียดายที่นายดอน ปรมัตถ์วินัย ใช้ชีวิตทั้งชีวิตอยู่กับการต่ างประเทศ แต่กลับเสแสร้งทำเป็นไม่รู้ ระเบียบโลกเอาเสียเลย
จริงอยู่ว่าแต่ละประเทศมี อำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง รัฐบาลมีอำนาจบริหารกิ จการภายในของตนเอง โดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก แต่โลกสมัยใหม่ไม่ได้ให้ ความสำคัญกับอำนาจอธิปไตยของรัฐ โดยไม่สนใจสิทธิเสรี ภาพของประชาชนอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับแต่เหตุ การณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิ วเป็นต้นมา ความโหดเหี้ยมทารุณของระบอบนาซี ที่ถูกเปิดเผยให้โลกประจักษ์ ทำให้คนที่ยังมีความเป็นมนุษย์ ในใจเริ่มตั้งคำถามว่า
จริงอยู่ว่าแต่ละประเทศมี
• เราควรให้ความเคารพต่ออำนาจอธิ ปไตยของรัฐอย่างไม่มีข้อจำกัด แม้ว่ารัฐนั้นกำลังก่ ออาชญากรรมอันร้ายแรงต่ อประชาชนของตนเองอย่างนั้นหรือ?
• ระหว่างหลักการไม่แทรกแซงกิ จการภายในของรัฐกับการปกป้องสิ ทธิในชีวิตของมนุษย์จำนวนมาก อะไรสำคัญกว่ากัน?
• ระหว่างหลักการไม่แทรกแซงกิ
แน่นอนว่าคำตอบไม่ใช่ขาวกับดำ เพราะการละทิ้งหลักการอำนาจอธิ ปไตยของรัฐ ก็จะนำไปสู่ภาวะปั่นป่วนไร้ ความมั่นคงในการเมืองโลกได้ รัฐใหญ่อาจใช้เป็นข้ออ้างเพื่ อแทรกแซงรัฐเล็กได้ แต่ขณะเดียวกัน การละทิ้งสิทธิเสรี ภาพของประชาชน นอกจากจะไร้ซึ่งมนุษยธรรมแล้ว ยังไม่สามารถสร้างสันติภาพให้กั บประเทศนั้นและประชาคมโลกได้ เพราะในหลายประเทศ สิ่งที่ตามมาคือ ภาวะจลาจล อดหยากยากจน ประชาชนทนการกดขี่ไม่ได้ และลุกฮือขึ้นโค่นล้มอำนาจรัฐ สังคมที่ผ่านภาวะเช่นนี้ต้องใช้ เวลานานมากกว่าจะฟื้นฟูได้ และยังอาจสร้างความเดือดร้อนข้ ามประเทศได้ เช่น ปัญหาผู้อพยพ
ฉะนั้น จึงจำเป็นสำหรับประชาคมโลกที่ต้ องมีมาตรการถ่วงดุลอำนาจอธิ ปไตยของรัฐด้วยหลักสิทธิมนุ ษยชนของประชาชน
คำถามเช่นว่านี้จึงนำมาสู่ การให้ความสำคัญกับประเด็นสิทธิ มนุ ษยชนในคำประกาศและกฎหมายจำนวนมา กของสหประชาชาติ เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (the Universal Declaration of Human Rights), กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ พลเมืองและสิทธิทางการเมือง, อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลื อกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ, อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลื อกประติบัติทางเชื้อชาติในทุกรู ปแบบ, อนุสัญญาต่อต้ านการทรมานและการประติบัติหรื อการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุ ษยธรรม เป็นต้น
แม้ว่ารัฐสมาชิกจะให้สัตยาบันรั บรองกฎหมายดังกล่าว แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตาม ก็ไม่มีบทลงโทษ แต่หน่วยงานของสหประชาชาติ และประเทศอื่นๆ ก็สามารถทำให้รัฐนั้นอับอาย “shaming” และใช้การกดดันได้ เพราะถือว่ารัฐนั้นละเมิดคำมั่ นสัญญาที่ตนได้เคยให้ไว้เสียเอง
ฉะนั้น จึงจำเป็นสำหรับประชาคมโลกที่ต้
คำถามเช่นว่านี้จึงนำมาสู่
แม้ว่ารัฐสมาชิกจะให้สัตยาบันรั
การทำให้อับอายและการกดดันทำได้ หลายประการ เช่น จัดทำรายงานสถานการณ์สิทธิมนุ ษยชนของแต่ละประเทศ (ทั้งสหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป มีกลไกนี้เป็นของตนเอง) การวิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา การเรียกร้องให้รัฐนั้นๆ ยุติการละเมิด, การระงับกิจกรรมบางอย่างที่ เคยกระทำร่วมกัน, การขึ้นบัญชีดำ (Blacklist), การปิดล้อมทางการทู ตและทางเศรษฐกิจ (Sanctions) เป็นต้น
จะเห็นได้ว่ากฎหมายดังกล่าวไม่ มีบทลงโทษต่อผู้นำรัฐที่กระทำผิ ด แต่มีอาชญากรรมที่ร้ ายแรงบางประเภทที่สหประชาชาติ สามารถส่งกองกำลังรักษาสันติ ภาพเข้าแทรกแซงได้โดยใช้มติ เอกฉันท์ของคณะมนตรีความมั่นคง (UNSC) ได้แก่การกระทำที่เข้าข่ายการฆ่ าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide), อาชญากรรมสงคราม (War crime), อาชญากรรมต่อมนุษยชน (Crimes against humanity) และอาชญากรรมจากรุกรานประเทศอื่ น (War of aggression)
นอกจากนี้ ประเทศที่ให้สัตยาบันต่ อกฎหมายสองฉบับคือ อนุสัญญาว่าด้วยการลงโทษและป้ องกันอาชญากรรมฆ่าล้างเผ่าพันธุ ์ (The Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide) และธรรมนูญกรุงโรมว่าด้ วยศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ (the Rome Statue of the International Criminal Court) แสดงการยินยอมให้พลเมืองของตนที ่ละเมิดอาชญากรรมร้ายแรงข้ างตนถูกนำขึ้นพิจารณาคดีด้ วยศาลอาญาระหว่างประเทศได้
ที่ผ่านมามีผู้นำมีเปื้อนเลื อดหลายคนที่ถูกดำเนินคดีไปแล้ว เช่น ผู้นำเขมรแดง ผู้นำเซิร์บจากอดีตประเทศบอสเนี ยเฮอร์เซโกวินา ผู้นำฮูตูจากรวันดา เป็นต้น
ข้อมูลเหล่านี้ชี้ว่า “อำนาจอธิปไตยสมบูรณ์ของรัฐ” ไม่มีอยู่จริงในโลกสมัยใหม่ โดยเฉพาะประเทศที่เป็นสมาชิ กของสหประชาชาติ ซึ่งหมายความว่าประเทศเหล่านั้ นเห็นประโยชน์จากการเป็นสมาชิก แต่ขณะเดียวกันก็ต้องแลกกั บการยอมรับเงื่อนไขกฎกติ กามารยาทขององค์กรด้วย ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ต้องเตรียมตั วเตรียมใจถูกทำให้อายหรือถู กกดดันด้วยวิธีต่าง ๆ จากนานาชาติ เพราะการกดขี่ ปราบปรามประชาชนไม่ใช่เรื่อง “ส่วนตัว” หรือเรื่องภายในของรัฐอีกต่อไป
ข้อมูลเหล่านี้ชี้ว่า “อำนาจอธิปไตยสมบูรณ์ของรัฐ” ไม่มีอยู่จริงในโลกสมัยใหม่ โดยเฉพาะประเทศที่เป็นสมาชิ
รัฐบาลที่ทำให้ประเทศตนเองอั บอายขายหน้าในเวทีโลก คือรัฐบาลที่ล้มเหลว เพราะรัฐมีหน้าที่ปกป้องศักดิ์ ศรีของประเทศตามคุณค่าและหลั กการของโลกยุคใหม่
อำนาจรัฐต้องถูกตรวจสอบและทั ดทานด้วยหลักสิทธิมนุ ษยชนของประชาชน การใช้อำนาจรัฐแบบตามอำเภอใจเป็ นผลร้ายต่อทั้งสังคมโดยตรง และนี่คือหลักการและคุณค่าอั นสำคัญของโลกยุคใหม่ ที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิ งจากประเทศไทยที่เรากำลังเผชิ ญกันอยู่ในขณะนี้
รัฐที่เชื่อว่าตนมีอำนาจอันสมบู รณ์ สามารถทำอะไรตามอำเภอใจได้ โดยไม่สนใจสิทธิเสรี ภาพของประชาชน ก็มีแต่จะสูญพันธุ์ในเร็ววัน
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น