ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ: ทำไมต้องมีรัฐธรรมนูญ-และแนวคิด รธน. จากกรีก-สหรัฐมาถึงกรุงสยาม
Posted: 21 May 2016 05:07 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ เล่าเรื่องรัฐธรรมนูญ เริ่มจากยุคกรีกโบราณ การตั้งกติกาการเมืองเพื่อเลี่ ยงความรุนแรง การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในอังกฤษ แนวคิดแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยใน รธน.สหรัฐอเมริกา แนวคิดสิทธิและเสรีภาพจากฝรั่ งเศส ข่าวรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกามาถึ งกรุงสยามใน นสพ. "หมอบรัดเลย์" คำกราบบังคมทูลต่อ ร.5 ของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ความย้อนแย้งของรัฐธรรมนู ญไทยและวงจรอุบาทว์รัฐประหารสลั บรัฐธรรมนูญซ้ำแล้วซ้ำเล่า
วิดีโอการบรรยายของธเนศ อาภรณ์สุวรรณ "ทำไมต้องมีรัฐธรรมนูญ"
21 พ.ค. 2559 ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ธรรมศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) บรรยายพิเศษ เรื่อง “ทำไมต้องมีรัฐธรรมนูญ” ในงานเสวนาทางวิชาการ “รัฐธรรมนูญกับประชามติที่เลื อกได้” ซึ่งจัดโดย เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิ พลเมือง (คนส.) ที่ห้องอเนกประสงค์ริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มธ. ท่าพระจันทร์
ธเนศ กล่าวว่า ต้นกำเนิดที่เก่าที่สุดของแนวคิ ดรัฐธรรมนูญคือ กรีกโบราณ เมื่อ 2000-3000 ปีมาแล้ว เพลโต นักปรัชญาชื่อดัง เป็นคนแรกๆ ที่เสนอว่า เครื่องมือที่จะนำสู่ระบบการเมื องที่ไม่ต้องเปลี่ยนผ่านอย่างรุ นแรงคือมีกติกาขึ้น ซึ่งต่อมาเรียกสิ่งนี้ว่ารั ฐธรรมนูญ ต่อมา อริสโตเติล ศิษย์ของเพลโต เสนอเรื่องการจำกัดอำนาจของรั ฐบาลเพื่อไม่ให้เลื่อนไหลสู่ ระบอบทรราช
จากแนวคิดเกี่ยวกับกติ กาการปกครองดังกล่าว นำสู่การเกิดปรัชญาการเมืองที่ มองว่ารัฐและการปกครองไม่ใช่เรื ่องบุญญาบารมี แต่คนทั่วไปเข้ามาเกี่ยวข้องได้ และแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ นี่ทำให้ระบบการเมื องการปกครองเป็นรัฐฆราวาส (secular state)
ธเนศ ตั้งข้อสังเกตว่า แนวคิดปรัชญาการเมืองระหว่ างโลกตะวันตกกับตะวันออกว่า โลกตะวันออกมองว่า คนส่วนน้อยเป็นคนพิเศษ เพราะฉะนั้น คนส่วนใหญ่ไม่มีคุณสมบัติ ขณะที่โลกตะวันตก มองว่าระบบเป็นตัวผลักดั นการเปลี่ยนแปลง คนนั้นมีดีมีชั่ว ถ้าระบบดีทำให้คนไม่ดีดีได้ อย่างไรก็ตาม แนวคิดโลกตะวันออกไม่ได้หยุดนิ่ ง โดยมีแนวคิดของเมิ่งจื้อ ที่พูดถึงการยกระดับราษฎรเท่าผู ้ปกครอง โดยบอกว่า ความชอบธรรมของอำนาจรั ฐมาจากราษฎร แต่ก็ยังจบที่โองการสวรรค์
ต่อมา ธเนศ ฉายให้เห็นตารางเวลาการเปลี่ ยนแปลงทางการเมืองฝั่งตะวันตก โดยเริ่มที่ปี 1581 ซึ่งเกิดปฏิวัติในเนเธอร์แลนด์ สมัยที่ยังเป็นเมื องหลวงของอาณาจักรสเปน มีการอ้ างความชอบธรรมของอำนาจประชาชน ขณะที่อังกฤษ ปี 1642-60 เกิดสงครามกลางเมืองปี 1688 เกิดการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ปี 1689 เกิด Bill of Rights ซึ่งอำนาจกษัตริย์ถูกจำกัด
ต่อมา สหรัฐอเมริกาประกาศเอกราชและร่ างรัฐธรรมนูญ คติความเชื่อเรื่องรัฐธรรมนูญน่ าจะเกิดขึ้นในช่วงนี้ ผลสะเทือนของประชาธิปไตยสหรั ฐอเมริกาแผ่ขยายไปทั่วโลก ไม่กี่ปีต่อมาปี 1789 เกิดปฏิวัติของกระฎุมพีในฝรั่ งเศส ทำให้อำนาจการปกครองเป็นอำนาจที ่ชอบธรรมของประชาชน
ดังนั้น การร่างรัฐธรรมนูญจะต้องพู ดสองเรื่องคือ แนวคิดเรื่องอำนาจอธิ ปไตยแบบสหรัฐอเมริกา และสิทธิเสรีภาพเป็ นของประชาชนที่มาจากฝรั่งเศส
อำนาจอธิปไตยเป็นของใคร และสิทธิเสรีภาพประชาชนอยู่ ตรงไหน ประกันอย่างไร ต้องทำให้ได้
อำนาจอธิปไตยเป็นของใคร และสิทธิเสรีภาพประชาชนอยู่
ค.ศ. 1865 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 ข่าวเรื่องรัฐธรรมนูญของสหรั ฐอเมริกาเดินทางมาถึงสยาม หมอบรัดเลย์เขียนบทความ "กระษัตริย์ในเมืองยูในติศเทค" อธิบายระบอบการปกครองของสหรั ฐเมริกาที่ปกครองโดย "เปรศซิเดนต์" และแปลรัฐธรรมนูญให้คนสยามได้ดู โดยเล่าถึง "กอนสติตัวชัน" คือ "กดหมายสั้นๆ" ว่า "เป็นต่างกษัตริย์ ถ้าแม้นเปรศซิเดนต์ จะหักทำลายเมื่อใดก็จะเป็นเรื่ องใหญ่เมื่อนั้น"
อย่างไรก็ตามสถานการณ์เริ่มพลิ กผันในยุคล่าอาณานิคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้ าอยู่หัว มีพระราชหัตถเลขาถึงพระองค์เจ้ าปฤษฎางค์ ให้แสดงความเห็นต่อปัญหา เหตุการณ์อังกฤษยึดเมืองมั ณฑะเลย์ ในปี พ.ศ. 2428 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ขณะนั้นเป็ นอัครราชทูตประจำกรุงปารีส ร่วมกับเจ้านายพระองค์อื่นและข้ าราชการในสถานทูต
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ร่ างจดหมายเสนอพระบาทสมเด็จพระจุ ลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หรือที่เรียกว่า "คำกราบบังคมทูล ร.ศ. 103" ว่ากรุงสยามไม่รอดแน่ถ้าเราไม่ เปลี่ยนแปลงการปกครอง ราษฎรต้องมีความยุติธรรมและมีสิ ทธิเสรีภาพ คือพูดเหมือนหลักการรัฐธรรมนู ญทั่วโลก เสนอเปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิ ทธิราชย์เป็น "คอนสติตูชาแนลโมนากี" หรือระบอบที่พระมหากษัตริย์อยู่ ใต้รัฐธรรมนูญ และเสนอว่า รัฐธรรมนูญต้องประกอบด้วยสติปั ญญาของราษฎรจำนวนมาก คนที่เข้ามาร่วมต้องได้รั บความยุติธรรมจากรัฐธรรมนูญถึ งจะทำได้สำเร็จ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์บอกว่า ความเห็นที่มีประโยชน์ต้องให้ เขามีอำนาจที่จะแสดงออกมาให้ ปรากฏ
นี่คือความเปลี่ยนแปลงจากข้ างนอกมากระแทกกรุงสยามอย่างแรง
จะเห็นที่จริงแล้ว ชนชั้นนำและผู้ปกครองสยามในสมั ยรัชกาลที่ 5 รู้จักรัฐธรรมนูญแล้ว และนำความเห็นเสนอเรียกร้องรั ฐธรรมนูญนี้กราบบังคมทูล รัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ทรงเห็นด้วยในหลั กการแต่บอกว่าปฏิบัติยากและไม่ มีหลักประกันว่าจะได้อย่างที่ เสนอจึงจะปฏิรูปอย่างที่เตรี ยมไว้แล้ว ผลคือ ผู้เสนอทั้งหมดถูกเรียกตัวกลั บจากสถานทูตต่างๆ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ก็ไม่ได้รั บราชการต่อ
24 มิถุนายน 2475 เป็นปฏิบัติการที่ทำให้แนวคิด ความคิด ความเข้าใจ เรื่องรัฐธรรมนูญปรากฏเป็นจริ งขึ้นในประเทศสยามด้วยการปฏิวั ติรัฐประการ แล้วได้พระธรรมนูญการปกครองแผ่ นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ขึ้น
ต่อมา 10 ธันวาคม 2475 มีรัฐธรรมนูญใหม่ โดยคำปรารภเปลี่ยน เริ่มต้นพูดถึงอุดมการณ์รั ฐสยามเก่า จากโบราณถึง พ.ศ. 2475 และว่าข้าราชการขอพระราชทานรั ฐธรรมนูญเพื่อให้สยามปกครอง "ดำรงอิสสราธิปไตยโดยบริบูรณ์"
จะเห็นว่าความย้อนแย้งของรั ฐธรรมนูญไทย เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2475 มาแล้ว ช่วงต่อมาที่น่าสนใจคือ มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในปี พ.ศ. 2489 ฝ่ายรัฐสภา เริ่มมีความมั่นคง ฝ่ายปรีดีมองว่าควรจะเปลี่ยนให้ รัฐธรรมนูญเป็นสากล และเป็นตัวแทนประชาชนจริงๆ มากขึ้นจึงตั้งกรรมาธิการวิสามั ญขึ้น ปรับปรุงรัฐธรรมนูญใหม่ ยกเลิกสมาชิกประเภทสอง ให้มีสองสภาจากการเลือกตั้ งและห้ามข้าราชการดำรงตำแหน่ งทางการเมือง แปลว่า ห้ามทหารมีตำแหน่งทางการเมือง คือให้การเมืองเป็นการเมื องของพลเรือน ขณะเดียวกัน เปิดให้ชนชั้นสูงเล่นการเมื องได้
รัฐธรรมนูญ 2489 อารัมภบทเปลี่ยน ตัดคติจักรพรรดิราช และประวัติออก เล่าประวัติรัฐธรรมนูญชั่วคราว รัฐธรรมนูญฉบับถาวร และตรวจสอบรัฐธรรมนูญทั่วโลก
ในบทเฉพาะกาลของปี 2489 มาตรา 90 ระบุว่า วาระแรกให้องค์การเลือกตั้ งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เลือกสมาชิกพฤติสภาชุดแรกก่อน
"ฐานะของรัฐธรรมนูญ 2489 ใช้ได้ไม่ถึงปี 8 พ.ย. 2490 เกิดรัฐประหาร จากนั้นเราเข้าถึงวงจรอุบาทว์ ยึดอำนาจ ร่างรัฐธรรมนูญ รัฐประหารตลอด" ธเนศกล่าว แต่ก็แสดงว่า มีการยอมรับความชอบธรรมของรั ฐธรรมนูญว่า ไม่ว่าจะได้อำนาจมาอย่างไร ต้องกลับสู่การมีรัฐธรรมนู ญรองรับโดยเร็ว
ระหว่าง พ.ศ. 2495 - 2496 มีการฟ้องว่าการยึดอำนาจขัดรั ฐธรรมนูญหรือไม่ โดยมีคำพิพากษาว่า หากสำเร็จถือว่าชอบธรรมเป็นรั ฏฐาธิปัตย์ออกกฎหมายได้ ทำให้ความชอบธรรมของรัฐธรรมนู ญเปลี่ยนไป และผู้ยึดอำนาจลดการพึ่งพารั ฐธรรมนูญลง เพราะถือว่าศาลฎีกาให้คำตัดสิ นแล้ว นอกจากนี้จะเห็นการใช้สภาสูง เป็นฐานอำนาจของกลุ่มผู้ยึ ดอำนาจ
สำหรับสัดส่วนทหารและพลเรื อนในวุฒิสภา จะเห็นว่าสัดส่วนของทหารมากขึ้ นในช่วงหลัง
พ.ศ. 2476 ทหาร 62% พลเรือน 38%
พ.ศ. 2489, 2490 และ 2492 ห้ามข้าราชการมีตำแหน่ งทางการเมือง
พ.ศ. 2494 ทหาร 74% พลเรือน 17%
พ.ศ. 2500 ทหาร 74%
พ.ศ. 2518 ทหาร 14%
พ.ศ. 2519 ทหาร 41.47%
พ.ศ. 2489, 2490 และ 2492 ห้ามข้าราชการมีตำแหน่
พ.ศ. 2494 ทหาร 74% พลเรือน 17%
พ.ศ. 2500 ทหาร 74%
พ.ศ. 2518 ทหาร 14%
พ.ศ. 2519 ทหาร 41.47%
ตั้งคำถามว่าชุดต่อไปจะมีเท่ าไหร่
โดยสรุป ความหมายของรัฐธรรมนูญไทย ไม่ได้ยืนยั นการอำนาจการปกครองหรืออำนาจอธิ ปไตยเป็นของและมาจากประชาชน จึงไม่คุ้มครอง ปกป้อง เสรีภาพของประชาชน
โดยสรุป ความหมายของรัฐธรรมนูญไทย ไม่ได้ยืนยั
รัฐธรรมนูญเป็นความสัมพันธ์ ระหว่างกลุ่มอำนาจกันเอง ไม่ใช่ความสัมพันธ์กับประชาชน โดยประชาชนเป็นเชิงอรรถ
รัฐธรรมนูญเป็นผลรวมของกฎหมายลู ก อยากให้มีนโยบายอะไรให้ไปเขี ยนใส่รัฐธรรมนูญ ซึ่งนั่นไม่ใช่หน้าที่รัฐธรรมนู ญที่ควรมีเนื้อหาว่า จะประกันว่าอำนาจของใคร จำกัดอำนาจผู้ปกครอง และปกป้องสิทธิเสรี ภาพของประชาชน กลายเป็นว่าใครมีอำนาจก็ ประกาศกฎหมายและปกครองไปเท่านั้ น
ขอยกคำของ เสน่ห์ จามริก ในหนังสือ "การเมืองไทยกับพัฒนาการรั ฐธรรมนูญ" ว่า รัฐธรรมนูญเป็นความสัมพันธ์เชิ งอำนาจของทุกคน การศึกษาต้องเป็นเชิงประจักษ์ ไม่ใช่ยึดกับหลักการหรือสมมติ ฐานอันเลื่อนลอย ที่สำคัญคือต้องไม่จำกัดการศึ กษาแต่เรื่องการตีความตั วบทกฎหมาย แต่ต้องขยายถึงความสัมพันธ์เชิ งอำนาจอื่นๆ
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น