ความทรงจำที่ตกค้าง: สิ่งที่ผมกลัวไม่ใช้ปืนแต่เป็ นอำนาจ (ตามอำเภอใจ)
Posted: 21 May 2016 05:25 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
-1-
หลายคนจดจำวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ในฐานะวันเริ่มต้นของการเปิ ดประตูไปสู่การรัฐประหาร และหลายคนก็เริ่มวิพากษ์วิจารณ์ คนที่ออกมาเชียร์กฎอัยการศึกเพื ่อให้ทหารปกป้องการเลือกตั้ง
ในตอนนั้น ผมจำได้ว่ามี นิติราษฎร์ที่ออกมาแถลงค้ านการประกาศใช้กฎอัยการศึกว่า ไม่ชอบมาพากลและไม่ชอบด้ วยกฎหมายอย่างไร และมีหลายคนตั้งข้อสังเกตอย่าง อาจารย์สมศักดิ์ อาจารย์เกษียร แล้วก็คุณใบตองแห้ง อีกทั้ง มวลชนคนเสื้อแดงก็ไม่ถอยทั พหากการประกาศกฎอัยการศึกจะบั่ นทอนประชาธิปไตยให้มากขึ้นไปอีก (ดูรายละเอียดที่นี้)
แต่ปัจจัยสำคัญก็คือ ฝ่ายรัฐบาลเสียเองที่ “เชื่อใจ” ทหารจนไม่คิดจะคัดค้านใดๆ ดังนั้นพอรัฐประหาร เราทุกคนก็ล้วนเป็นส่วนหนึ่ งของความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
กว่าที่คนจะลุกฮือลงถนนก็ ไปเขาไปวันที่ 23 และมีปริมาณน้อยมาก และเย็นวันนั้นมีคนโดนจับต่อหน้ าต่อตาผม จากการชุมนุมที่หน้าหอศิลปฯ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ‘ปอน อภิชาติ’ โชคดีที่มีคนติดตามไปด้วยอย่ างพี่ปุ๊ ธนาพล(ไม่ได้โดนจับ แต่ไปกับเขาด้วย) และคนที่เกือบจะโดนจับคนสุดท้ ายของวันนั้นก็คือชายร่างท้ วมและเป็นนักศึกษาชื่อว่า "จ่านิว" ที่ไปตะโกนเรียกให้ทหารปล่อยตั วอภิชาติ ก่อนจะมีทหารเข้ามารุมจะจับตั วไป
นึกถึงตอนนั้นยังสั่นและกลัวไม่ หาย ผมจำได้ว่าผมและคนอีกมากไปช่ วยกันดึงจ่านิวออกจากมือทหาร ก่อนที่หัวหน้ าทหารจะตะโกนอะไรซักอย่าง ที่ผมได้ยินประมาณว่า "สกรัม" และปากกระบอกปืนก็เล็งมาบริ เวณใบหน้าผม
ผมและเพื่อนที่ไปด้วยกันวิ่ งแตกกระจายกันไปคนละทิศละทาง ก่อนจะตั้งสติแล้วตะโกนเรี ยกหากัน ผมขอยืมมือถือเพื่อนทั้งที่มื อยังสั่น เพื่อโทรบอกหัวหน้าผมว่า พี่อย่ากลับมา มันอันตราย พาพี่และแฟนกลับไป ก่อนที่ผมเองจะวิ่งขึ้นไปตรงบั นไดหน้าหอศิลปฯ
ผมเคยผ่านการะทะเลาะวิวาทมาบ้าง แต่ไม่เคยมีครั้งไหนที่จะทำให้ จิตใจผมสั่นได้ขนาดนี้
ในตอนนั้น ผมจำได้ว่ามี นิติราษฎร์ที่ออกมาแถลงค้
แต่ปัจจัยสำคัญก็คือ ฝ่ายรัฐบาลเสียเองที่ “เชื่อใจ” ทหารจนไม่คิดจะคัดค้านใดๆ ดังนั้นพอรัฐประหาร เราทุกคนก็ล้วนเป็นส่วนหนึ่
กว่าที่คนจะลุกฮือลงถนนก็
นึกถึงตอนนั้นยังสั่นและกลัวไม่
ผมและเพื่อนที่ไปด้วยกันวิ่
ผมเคยผ่านการะทะเลาะวิวาทมาบ้าง แต่ไม่เคยมีครั้งไหนที่จะทำให้
-2-
น่าแปลกอยู่เหมือนกัน ที่ทหารทำให้ผมเชื่อว่า ผมหวาดกลัวพวกเขาเพราะกระสุนปืน แต่แท้จริงแล้ว ผมกลัวการใช้ อำนาจของพวกเขามากกว่า
ความน่ากลัวเริ่มต้นจาก การออกประกาศเรียกคนผ่านจอทีวี ใครจะไปคิดว่าบ้านนี้เมืองนี้ จะมีอะไรแบบที่ในหนังเขาทำกัน เหมือนเวลาทหารเกณฑ์ไพร่ พลคนไปรบโดยที่คนถูกเรียกก็ไม่ ค่อยเต็มใจนัก ดังนั้น ส่วนที่จะต่างก็มีเพียงเหตุ ผลของการเรียก ที่ทหารไม่เคยชี้แจงว่ าเพราะเหตุใด
ผมมาทราบเอาภายหลังก็หลายวันหลั งรัฐประหาร อำนาจที่รองรับการเรียกตัวหรื อควบคุมตัวมีชื่อว่า “กฎอัยการศึก” และไม่ใช่แค่มีอำนาจเรียก ยังมีอำนาจกักตัวได้นานสูงสุดถึ ง 7 วัน โดยไม่ต้องพบทนายความ พบญาติ หรือเปิดเผยสถานที่ควบคุมตัว
และในระหว่างที่สับสนอลหม่านกั บการเรียกคนไปรายงานตัวนั้น ก็มีกระแสข่าวออกมาอีกว่า คนที่ถูกเรียกไปบางส่วนจะถูกตั้ งข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือข้อหา “หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ” ภายหลังออกจากค่ายทหารหลายราย
และหลายคนก็ยังไม่เข้าใจว่ าทหารมีกระบวนการอย่างไรเพื่ อให้ได้มาซึ่งผู้ต้องสงสัยเหล่ านี้ หรือจริงๆ แล้วพวกเขามีความผิดอย่างที่ ทหารตั้งข้อหาให้เขาหรือไม่ ก็ไม่มีใครรู้เสียด้วยซ้ำ
ความน่ากลัวเริ่มต้นจาก การออกประกาศเรียกคนผ่านจอทีวี ใครจะไปคิดว่าบ้านนี้เมืองนี้
ผมมาทราบเอาภายหลังก็หลายวันหลั
และในระหว่างที่สับสนอลหม่านกั
และหลายคนก็ยังไม่เข้าใจว่
-3-
สำหรับผมไม่มีอะไรที่น่ากลั วไปกว่าการถูกเรียกเข้าค่ ายทหารแล้วออกมาด้วยการถูกตั้ งข้อหา เพราะว่า ไม่มีใครล่วงรู้ถึงกระบวนการปิ ดลับเหล่านี้ ว่ามันคือกระบวนการอะไร ถูกต้องยุติธรรมหรือไม่ และมีอะไรเป็นหลักประกันในชีวิ ตให้ผมได้บ้างหรือเปล่า
แม้นักการเมื องและแกนนำมวลชนหลายคนจะออกมาบอ กว่าสุขสบายดีในค่ายทหาร แต่บางคนก็หดหู่และเสียสุขภาพจิ ตไปมากเหมือนกัน หลายคนเล่าว่าถูกสอบสวนอย่างหนั ก ถูกคุกคามทางความคิดและจิตใจ ก่อนจะมีเรื่องใหญ่หลายเรื่ องตามมา อย่างเช่น การหายตัวไปของกริชสุดา และข่าวลือของการซ้อมทรมานผู้ต้ องหาคดีอาวุธ
ต้องย้ำอีกครั้งว่า ในการควบคุมตัวของทหารนั้น ไม่มีทนายความ ไม่ได้ติดต่อญาติ ไม่มีการเปิดเผยสถานที่ควบคุมตั ว ฯลฯ แต่อย่างใด ทำยังมีกลไกรองรับไม่ต้องรับผิ ดได้อีกด้วย
ไม่ใช่แค่คนที่ถูกเรี ยกไปรายงานตัว คนที่ถูกจับจากการออกไปชุมนุ มเองก็ไม่ต่างกัน มีการยึดตรวจค้นโทรศัพท์เพื่ อสำรวจความคิ ดและหาการกระทำความผิด นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่มีการวางกลยุทธ์สกั ดกั้นและสกัดจับบุคคลที่มีท่าที ต่อต้านหรือกระด้างกระเดื่องต่ อรัฐ และใช้วาทกรรม “ปรับทัศนคติ” ที่พูดคุยแกมบังคับให้ยอมรั บอำนาจรัฐประหาร รวมถึงต้องแเซ็นสัญญารับเงื่ อนไขว่า พวกเขาจะไม่เคลื่อนไหวทางการเมื องอีก มิเช่นนั้นจะมีโทษ
และที่มากกว่านั้น การตั้งข้อหาแปลกๆ ที่ดูไม่สอดคล้องกับการกระทำที่ กล่าวหา เช่น การให้ดอกไม้ การโปรยใบปลิว การโพสต์เฟซบุ๊กล้อเลียน สิ่งเหล่านี้การเป็นข้อหาภั ยความมั่นคงไปหมดแล้ว
สิ่งเหล่านี้ยิ่งตอกย้ำให้ผมมั่ นใจว่า สิ่งที่ผมกลัวหาใช่ ความตายจากปากกระสุนปืนของทหาร แต่คืออำนาจที่ริดรอนสิทธิเสรี ภาพได้อย่างอิสระ เพราะถ้ามีคนยิงกระสุนใส่ผมในคื นวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 ผมก็ไม่แน่ใจว่าระบบยุติ ธรรมจะคืนความเป็นธรรมให้ผมได้ จริงหรือเปล่า
จะมีสังคมใดที่น่ากลัวไปกว่า สังคมที่ปล่อยให้คนทำผิ ดลอยนวลได้แบบนี้อีก
แม้นักการเมื
ต้องย้ำอีกครั้งว่า ในการควบคุมตัวของทหารนั้น ไม่มีทนายความ ไม่ได้ติดต่อญาติ ไม่มีการเปิดเผยสถานที่ควบคุมตั
ไม่ใช่แค่คนที่ถูกเรี
และที่มากกว่านั้น การตั้งข้อหาแปลกๆ ที่ดูไม่สอดคล้องกับการกระทำที่
สิ่งเหล่านี้ยิ่งตอกย้ำให้ผมมั่
จะมีสังคมใดที่น่ากลัวไปกว่า สังคมที่ปล่อยให้คนทำผิ
-4-
หลายคนอาจจะคิดว่ารากของปัญหาคื อ การที่ คสช. สถาปนาตัวเองเป็น ‘รัฏฐาธิปัตย์’ พร้อมทั้งใช้อำนาจอย่างเบ็ดเสร็ จเพื่อออกประกาศหรือคำสั่ง คสช. มาริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน
และก็คงไม่ผิดนักที่จะบอกว่า คสช. เพิ่มอำนาจของเจ้าหน้าที่ ทหารเข้าไปสอดแทรกในกระบวนการยุ ติธรรมแทบจะทั้งหมด ไม่ว่าจะเ็น ตำรวจ พนักงานสอบสวน อัยการ แถมยังเอาคนขึ้นศาลทหารของตนเอง และก็ยังมีเรือนจำในค่ ายทหารของตัวเองอีก
แต่สำหรับผม มันเป็นซึกหนึ่งของปัญหา เพราะกฎหมายที่เอามาบังคับใช้กั นอยู่ทุกวันนี้มี รากฐานมาจากกฎหมายเดิมๆ ที่มีปัญหาด้วยตัวมันเองแถมทั้ งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น
หนึ่ง ตระกูลกฎหมายความมั่นคง = กฎอัยการศึก / พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และอื่นๆ
ซึ่งมันเปิดช่องให้รัฐใช้ อำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ รวบรัด และมองข้ามกระบวนการถ่วงดุ ลอำนาจที่สำคัญเหมือนกฎหมายปกติ จนอาจจะลุกลามเป็นการละเมิดสิ ทธิที่ร้ายแรงเหมือนอย่างที่เกิ ดในภาคใต้ เช่น ซ้อมทรมาน อุ้มหาย เป็นต้น
สอง ตระกูลกฎหมายหมิ่นประมาท = มาตรา 112 / มาตรา 116 /พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
ซึ่งกฎหมายเหล่านี้มีนิ ยามความผิดที่กว้างขวางไม่ชั ดเจน อีกทั้ง กฎหมายดังกล่าวยังถูกนำมาใช้กั บความผิดฐานหมิ่นประมาท แต่กลับไม่มีหลักการคุ้ มครองการใช้เสรีภาพในการแสดงออก เช่น การยกเว้นโทษเพราะเป็นการวิ พากษ์วิจารณ์โดยสุจริตและเป็ นประโยชน์ต่อแผ่นดิน และด้วยเหตุที่มันอยู่ใต้ ธงความมั่นคง เจตนาบริสุทธิ์ของประชาชนจึงไม่ เคยได้พิสูจน์เลย
สิ่งเหล่านี้ เราล้วนรู้ดีถึงปัญหามาก่อนแล้ว เพียงแต่ว่าเราอาจจะไม่ตั้งใจฟั ง ลืมมันไป อย่างเช่น การบังคับใช้กฎอัยการศึกหรื อกฎหมายความมั่นคงที่ภาคใต้ หรือการใช้กฎหมายเพื่อปิ ดปากการเคลื่อนไหวของชาวบ้าน หรือคนที่ออกมาตั้งคำถามต่อวิ กฤติการเมืองไทย
ท้ายที่สุดแล้ว มันน่าสนใจตรงที่ว่า อำนาจแบบนี้มีสองคำที่คู่กัน นั้นก็คือ คำว่า ‘เชื่อใจ’ ที่ทำให้เกิดอำนาจ ‘ตามอำเภอใจ’
และก็คงไม่ผิดนักที่จะบอกว่า คสช. เพิ่มอำนาจของเจ้าหน้าที่
แต่สำหรับผม มันเป็นซึกหนึ่งของปัญหา เพราะกฎหมายที่เอามาบังคับใช้กั
หนึ่ง ตระกูลกฎหมายความมั่นคง = กฎอัยการศึก / พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และอื่นๆ
ซึ่งมันเปิดช่องให้รัฐใช้
สอง ตระกูลกฎหมายหมิ่นประมาท = มาตรา 112 / มาตรา 116 /พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
ซึ่งกฎหมายเหล่านี้มีนิ
สิ่งเหล่านี้ เราล้วนรู้ดีถึงปัญหามาก่อนแล้ว เพียงแต่ว่าเราอาจจะไม่ตั้งใจฟั
ท้ายที่สุดแล้ว มันน่าสนใจตรงที่ว่า อำนาจแบบนี้มีสองคำที่คู่กัน นั้นก็คือ คำว่า ‘เชื่อใจ’ ที่ทำให้เกิดอำนาจ ‘ตามอำเภอใจ’
0000
เกี่ยวกับผู้เขียน: ณัชปกร นามเมือง ศึกษาจบระดับปริญญาตรีคณะรั ฐศาสตร์ จุฬาฯ ปัจจุบันทำงานที่ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่ อกฎหมายประชาชน (iLaw)
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น