EU เยี่ยม กต. สนช .กรธ. ปชป. รวมทั้งเพื่อไทย หารือเด็นสิทธิมนุษยชน
Posted: 17 May 2016 10:05 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
คณะกรรมาธิการรัฐสภายุโรปด้ านความสัมพันธ์กับประเทศอาเซี ยนเข้าเยี่ยมรองปลั ดกระทรวงการต่างประเทศ สนช. กรธ. พรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งพรรคเพื่อไทยหารือประเด็ นสิทธิมนุษยชนในไทย
17 พ.ค. 2559 สำนักข่าวไทย รายงานว่า วาเนอร์ แลนเกน (Warner Langen) สมาชิกสภายุโรป (อียู) ซึ่งเป็นประธานกลุ่มความสัมพั นธ์กับประเทศเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้และอาเซียน และคณะอนุกรรมการด้านสิทธิมนุ ษยชนของอียู ได้นำสมาชิกสภาอียู รวม 8 คน เข้าพบ ปัญญรักษ์ พูลทรัพย์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ รักษาการแทนปลัดกระทรวงการต่ างประเทศ ที่กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 17-19 พ.ค. 2559 โดยมีกำหนดการพบปะทุกภาคส่วน อาทิ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) พรรคการเมือง ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และภาคเอกชน
เสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงภายหลังการพบปะหารือว่า กลุ่มสมาชิกสภาอียู เลือกเยือนประเทศไทย ในฐานะประเทศผู้ประสานงานอาเซี ยน – อียู แสดงให้เห็นว่าไทยกับอียูยังมี ปฏิสัมพันธ์กันปกติ ซึ่งไทยถือเป็นประเทศคู่การค้ าของอียูเป็นอันดับที่ 3 ในอาเซียน และมีนักท่องเที่ ยวจากประเทศในอียูเดินทางมาไทย 5 ล้านคนต่อปี สำหรับการพบปะหารือครอบคลุ มในหลายมิติ และภาพรวมความสัมพันธ์ไทย-อียู และอาเซียน-อียู เพื่อยกระดับความร่วมมือเป็ นแบบยุทธศาสตร์ โดยจะมีการจัดประชุมระดับรั ฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน – อียู ในเดือนตุลาคมนี้
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ในการพบปะครั้งนี้ อียูได้รับทราบพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของไทย อาทิ การดำเนินการปัญหาประมงผิ ดกฎหมายของไทย โดยกระทรวง ยืนยันถึงความมุ่งมั่นของไทยต่ อการแก้ไขปัญหาประมงไอยูยู และได้แจ้งให้ทราบถึงความคืบหน้ าล่าสุด ตามที่รัฐบาลออกกฎหมายเกี่ยวกั บประมง การตรวจเรือ การลงทะเบียน เพื่อออกเอกสารประจำเรือ เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็ นสถานการณ์และสิ่งท้าทายต่าง ๆ ในปัจจุบัน โดย อียูได้เล่าว่า อียูกำลังเผชิญกับกลุ่มผู้อพยพ และเศรษฐกิจในภูมิภาค รวมทั้งภัยก่อการร้ายระหว่ างประเทศ
เสข กล่าวว่า ในช่วงเช้าวันนี้ สมาชิกสภาอียูได้พบกับ สนช. และกรธ. ซึ่งได้หารือถึงภาพรวมสถานการณ์ การเมืองไทย โดยอียู ย้ำว่า การเยือนครั้งนี้ตระหนักถึงพั ฒนาการของประเทศไทย พร้อมกับย้ำถึงข้อมติของอียูต่ อไทยเมื่อเดือนตุลาคม 2558 ว่า ประเทศไทยยังเป็นมิ ตรประเทศและหุ้นส่วนของอียู เชื่อว่า ระหว่างนี้ไทยกำลังเตรียมการเพื ่อนำไปสู่การเลือกตั้ง
ต่อข้อถามว่า ทางอียูได้สอบถามประเด็นเรื่ องนำประชาชนขึ้นศาลทหารหรือไม่ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ไม่ได้คุยรายละเอียดเรื่องนี้ อียูได้แจ้งท่าทีเดิมและหลั กการค่านิยมของอียู โดยกระทรวงการต่างประเทศได้ยื นยันในการพบปะกันว่า ประเทศไทยจะจัดการเลือกตั้งปี 2560 ตามโรดแมปที่ได้ประกาศไว้ ต่อข้ อถามว่า สมาชิกสภาอียูห่วงกังวลเรื่ องใช้มาตรา 44 หรือไม่ นายเสข กล่าวว่า ในการหารือไม่ได้ลงรายละเอี ยดเรื่องนี้ เมื่อถามถึงได้มีการพูดถึงถึ งกระบวนการยูพีอาร์ ที่เจนีวา หรือไม่ นายเสข กล่าวว่า ฝ่ายไทยได้แจ้งให้สมาชิกสภาอียู ทราบว่า รัฐสมาชิกยูพีอาร์ได้ชื่ นชมไทยเกี่ยวกับการดำเนินการต่ อสถานการณ์สิทธิมนุ ษยชนในประเทศมีความคืบหน้า และไทยก็รับข้อเสนอแนะของรั ฐสมาชิกยูพีอาร์ที่มีต่อไทยทั นที 181 ข้อ หรือคิดเป็นร้อยละ 70 ทันที และจะมีการรายงานความคืบหน้ าตามไปภายหลังด้วย
พบ 'ยิ่งลักษณ์-แกนนำเพื่อไทย' หารือประเด็นสิทธิมนุษยชนในไทย
ขณะที่เฟซบุ๊กแฟนเพจพรรคเพื่ อไทยได้โพสต์ภาพและรายงานด้วยว่ า วันนี้ เมื่อเวลา 15.00น. คณะผู้แทนรัฐสภายุโรป นำโดย เวอร์เนอร์ ประธานคณะกรรมาธิการรัฐสภายุ โรปด้านความสัมพันธ์กั บประเทศอาเซียน พร้อมด้วย มาร์ค ทาราเบลล่า รองประธาน และ เพียร์ อันโตนิโอ แปนซีรี คณะอนุกรรมาธิการด้านสิทธิมนุ ษยชน เข้าพบ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมแกนนำพรรคเพื่อไทย เพื่อหารือเกี่ยวกับประเทศในภู มิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสถานการณ์ด้านสิทธิมนุ ษยชนในไทย
เยี่ยมประชาธิปัตย์ด้วย
ขณะที่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ 'Abhisit Vejjajiva' ด้วยว่า สมาชิกสภายุโรป เข้าเยี่ยมคารวะ ที่พรรคประชาธิปัตย์
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น