สรุปการบรรยายของสลาวอย ชิเชค: เก็บตกงานเสวนารวมพลคนเลี้ยวซ้ ายในสหรัฐอเมริกา
Posted: 26 May 2016 08:21 AM PDT
สลายวอย ชิเชคกล่าวบรรยายปิดงาน Left Forum ณ วิทยาลัย John Jay เมื่อค่ำวันที่ 22 พฤษภาคม 2559
ที่มาภาพ: เว็บไซต์ Russian Today: https://www.rt.com/usa/344148-
“แกมันไร้สาระสิ้นดี! (You are full of shit!)” เสียงตะโกนดังขึ้นจากฟากฝั่ งของคนดู ทันทีที่สลาวอย ชิเชค นักปรัชญามาร์กซิสต์ชาวสโลวีเนี ยนเดินขึ้นเวทีและกำลังจะกล่ าวคำทักทายมิตรสหายฝ่ายซ้ายนั บร้อยตรงหน้าเขา ชิเชคอ้ำอึ้งสักพัก มองไปยังทิศต้นกำเนิดเสียง พร้อมเตือนด้วยน้ำเสียงทีเล่นที จริงว่า ถ้าคนดูอยากจะมาแนวนี้ สำเหนียกไว้หน่อยว่ าเขามาจากประเทศที่เป็นเลิ ศในการพ่นคำสบถใส่กัน เสียงหัวเราะดังขึ้น ชิเชคเริ่มอ่านสิ่งที่เขาเตรี ยมมาพูดในวันนี้
สลาวอย ชิเชคได้รับเชิญให้เป็นผู้กล่ าวปิดงานเสวนาใหญ่ที่มีชื่อว่า Left Forum ซึ่งได้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 20 – 22 พฤษภาคม 2559 ณ วิทยาลัย John Jay มลรัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา Left Forum คืองานประจำปีที่เปิดโอกาสให้นั กวิชาการและนักเคลื่อนไหวที่ สนใจในความคิดทางการเมืองปีกซ้ ายจัดกลุ่มเสวนาย่อย เพื่อให้ความรู้ แลกเปลี่ยนความเห็น และกำหนดทิศทางการต่อสู้กับทุ นนิยม รัฐ และอำนาจเผด็จการนานารูปแบบ ในปีนี้ชิเชคได้รับเกียรติเป็ นผู้กล่าวปิดงานภายใต้หัวข้อ Rage, Rebellion, Organizing New Power: A Hegelian Triad อย่างไรก็ดี ชิเชคดูจะไม่ได้เป็นที่ต้อนรั บจากผู้ชมกลุ่มหนึ่ง โดยก่อนงานเริ่ม มีการแจกใบปลิวต่อต้านเขา (รูปที่หนึ่ง) ชิเชคถูกโจมตีว่าเป็นฟาสซิสต์ เหยียดชาติพันธุ์ผู้รังเกียจผู้ หญิงและผู้ลี้ภัย ดูเหมือนว่า ฝ่ายซ้ายอเมริกันส่วนหนึ่งจะไม่ ขอทนกับคำพูดที่ไม่ political correct ของชิเชคอีกต่อไป “ทำไมเขาถึงยังได้รับเชิ ญมางานของฝ่ายซ้าย?”
บทความชิ้นนี้สรุปประเด็นที่ชิ เชคนำเสนอท่ามกลางเสียงโห่ร้ องเป็นระยะๆในวันที่ 22 พฤษภาคม 2559 สำหรับคนที่ติดตามผลงานของชิ เชคมาโดยตลอดอาจมองว่าชิเชคไม่ ได้พูดอะไรใหม่ในงานนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเห็นว่า การพูดครั้งนี้ถือเป็นการสรุ ปรวบยอดความคิดที่ชิเชคเขียนหรื อพูดมาเป็นเวลาหลายปี และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ เพิ่งมีความสนใจต่อมุ มมองทางการเมืองของเขา ในขณะเดียวกัน ผู้เขียนก็หวังให้ผู้อ่านร่วมกั นค้นหาคำตอบว่าอะไรคือต้นเหตุ ของความตึงเครียดและความเป็นปฏิ ปักษ์กันในหมู่คนที่เรียกตั วเองว่าเป็นฝ่ายซ้ายหรือมาร์กซิ สต์ ทั้งๆที่ต่างก็มีเป้ าหมายในการเปลี่ยนแปลงสั งคมและปลดแอกมนุษย์สู่เสรีภาพ
ใบปลิวต่อต้านชิเชคถูกแจกก่อนชิ
1. โทสะ การลุกฮือ และการจัดตั้ง: ขบวนการเคลื่อนไหวต้องมี แผนการสร้างสังคมใหม่หลังการโค่ นล้มระบอบเก่า[1]
ชิเชคเริ่มการบรรยายด้ วยการพาดพิงถึงคำสำคัญหลั กๆตามหัวข้อของงาน สำหรับเขาแล้ว บ่อยครั้งที่การต่อสู้ทางการเมื องมักมีจุดเริ่มต้ นมาจากการระเบิดขึ้นของแรงโทสะ (Rage) ในหมู่คนที่โดนกดขี่ ถึงกระนั้น ความคับแค้นกลับถู กแสดงออกมาในรูปของการจลาจลที่ มุ่งทำลายล้างทรัพย์สิ นสาธารณะโดยปราศจากเป้ าหมายทางการเมืองใดใด ชิเชคมองว่าการระบายความโกรธแค้ นที่ไร้ระเบียบเช่นนี้ด้านหนึ่ งอาจเป็นจุดเริ่มต้นของบางสิ่ งบางอย่างที่ยิ่งใหญ่ แต่อีกด้านหนึ่งมันก็สะท้ อนความล้มเหลวของพลังต่อต้ านและความสำเร็จของระบอบที่ สามารถกดทับและจำกัดอำนาจท้ าทายให้เป็นแค่เพียงอารมณ์คั บแค้นที่ปะทุออกมาอย่างไร้วิสั ยทัศน์ การลุกฮือ (Rebellion) คือรูปแบบการต่อต้านในลำดับต่ อมา การลุกฮือเกิดขึ้นจากการเคลื่ อนไหวกระทำการทางเมืองร่วมกัน โดยผู้เข้าร่วมต่างรับรู้โดยทั่ วกันแล้วว่า ศัตรูของพวกเขาคืออะไร และมีเป้าหมายในการทำลายศัตรู ทางการเมืองนั้นๆ การลุกฮืออาจเป็นจุดมุ่งหมายสู งสุดที่นักเคลื่อนไหวทั่วไปต้ องการบรรลุ แต่ชิเชคมองว่ายังไม่เพียงพอ
ทุกวันนี้ เรามีพลังการลุกฮืออยู่เต็ มไปหมด แต่สิ่งที่ขาดก็คือ ระเบียบและแผนการสร้างสังคมใหม่ หลังการโค่นล้มระบอบเก่า ชิเชคยกตัวอย่างภาพยนตร์ฮอลลีวู ้ดว่าด้วยการปฏิวัติเรื่อง V for Vendetta[2] เพื่อให้ผู้ฟังเห็นภาพมากขึ้น เขาเล่าว่า แน่นอน เราต่างรู้สึกฮึกเหิมและประทั บใจเมื่อได้เห็นฝูงชนชาวอั งกฤษก้าวพ้นความกลัว สวมใส่หน้ากากกาย ฟอว์ก และเดินออกมาตามท้องถนน เพื่อมุ่งไปยังรัฐสภา พวกเขากำลังจะยึดอำนาจรัฐ แต่แล้วหนังปฏิวัติเรื่องนี้ก็ จบลง เราต่างถูกทิ้งไว้กับคำถามที่ว่ า “เกิดอะไรขึ้นในเช้าวันถัดมา?” เมื่อเราควบคุมกลไกของรัฐได้แล้ ว เราจะเปลี่ยนแปลงมันหรือไม่ กลุ่มผู้ปกครองใหม่จะรับมือกั บแรงกดดันของมวลชนที่สนับสนุ นตนอย่างไร การที่ขบวนเคลื่อนไหวแปรเปลี่ ยนเป็นพรรคการเมืองจะนำไปสู่ การประนีประนอมและการต่ อรองมากน้อยเพียงใด นักปฏิวัติจำเป็นต้องขบคิ ดคำถามเหล่านี้ พูดง่ายๆก็คือ V for Vendetta จำเป็นต้องมีภาคสอง จึงจะได้ชื่อว่าเป็นหนังว่าด้ วยการปฏิวัติที่แท้จริง
2. วิกฤตทุนนิยมกับทางแก้แบบผิ ดๆ
ชิเชควิพากษ์ระบอบทุนนิยมในปั จจุบันว่าก่อให้เกิดวิ กฤตหลายๆด้าน อันได้แก่ วิกฤตการสั่งสมความรู้และวั ฒนธรรม ยกตัวอย่างเช่น การที่เราต้องจ่าย “ค่าเช่า (Rent)” ต่อบรรษัทข้ามชาติอย่ างไมโครซอฟเพื่อสร้างต้นทุนให้ แก่ตนเอง วิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม วิกฤตด้านพันธุกรรมชีวภาพ และวิกฤตเกี่ยวกับมนุษยชาติอั นเป็นผลมาจากการขูดรีดและกีดกั นรูปแบบใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม ปัญหาไม่ได้อยู่ตรงที่ตัววิ กฤตเหล่านี้เพียงเท่านั้น หากแต่เป็นทางแก้ต่างๆที่เรามี อยู่ก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาด้ วย กล่าวคือ วิกฤตเหล่านี้ถูกมองว่าจะได้รั บการแก้ไขผ่ านกระบวนการทางกฎหมายลิขสิทธิ์ แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน การถกเถียงปัญหาผ่านกรอบจริ ยธรรม และการช่วยเหลือทางมนุษยธรรม เป็นต้น ทางแก้เหล่านี้ลดทอนปั ญหาจนทำให้เรามองไม่เห็นความเป็ นปฏิปักษ์ทางชนชั้นที่แฝงฝั งในวิกฤตดังกล่าว สำหรับชิเชคแล้ว เขาไม่อยากจะอยู่ในโลกที่ มหาเศรษฐีอย่างบิล เกตคือนักมนุษยธรรมที่ใจบุญที่ สุด หรือ เจ้าพ่อวงการสื่ออย่างรูเพิร์ท เมอด็อคคือ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่น่านั บถือ
3. ปัญหาผู้ลี้ภัยไม่สามารถแก้ ได้ด้วยกรอบการมองแบบพหุนิ ยมทางวัฒนธรรม
“พวกผู้ลี้ภัยเป็นผู้ก่อการร้าย อาชญากร และนักข่มขืน” เสียงโห่ดังขึ้นเมื่อชิเชคกล่ าวประโยคดังกล่าว ชิเชคตั้งใจยั่วยุผู้ชมของเขาด้ วยคำพูดของฝ่ายขวาในยุโรปที่คั ดค้านนโยบายเปิดรับผู้ลี้ภัย ชิเชคออกตัวว่าเขาไม่ได้เห็นด้ วยกับข้อความเหมารวมเหยียดชาติ พันธุ์ข้างต้น แต่ในขณะเดียวกันเขาก็ไม่เห็นด้ วยที่ฝ่ายซ้ายบางส่วนเลือกที่ จะไม่ยอมรับความจริงที่ว่ามีผู้ ลี้ภัยบางส่ วนประสบความยากจนและกลายเป็ นอาชญากรจริงๆ “ทำไมเราต้องทำกับพวกเขาเหมื อนเด็กด้วย?” เขาตั้งคำถาม ชิเชคอธิบายว่ามุมมองที่เน้ นปกป้องผู้ลี้ภัยและไม่ยอมรับปั ญหาทางสังคมที่พวกเขาก่อขึ้นต่ างหากที่อันตรายและเหยียดชาติพั นธุ์ เขายืนกรานว่า ที่ผ่านมา ฝ่ายซ้ายทราบถึงปัญหาดังกล่ าวเพียงแต่กลัวว่าถ้าพู ดออกมาแล้วจะไปเข้าทางพวกฝ่ ายขวา ถึงเวลาแล้วที่พวกฝ่ายซ้ายจะต้ องเลิกซ่อนปัญหาสังคมในหมู่ผู้ ลี้ภัยไว้ใต้พรม และเริ่มถกเถียงกันในที่สาธารณะ
ในส่วนของวาทกรรมและอุดมการณ์ เหยียดชาติพันธุ์ซึ่งฝ่ ายขวาในยุโรปปลุกระดมเพื่อต่อต้ านผู้ลี้ภัยนั้น ชิเชคชวนให้เราคิดว่า แทนที่เราจะคอยแก้ต่างอยู่ เสมอว่า ผู้ลี้ภัยไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย ประเด็นที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ ทัศนคติเช่นนี้สะท้อนตั วตนและการดำรงอยู่ของเรา (ชาวยุโรป/ตะวันตก) อย่างไร เขาได้ยกกรณีระบอบนาซีเยอรมั นเป็นตัวอย่าง ดังที่ทราบกันว่า ระบอบนาซีได้ผลิตซ้ำวาทกรรมเกลี ยดชังคนยิว โดยมีคำอธิบายต่างๆที่ฉายภาพให้ คนยิวเป็นภัยต่อสังคมเยอรมนี หน้าที่ของเราไม่ใช่การมาจัดดี เบตถกกันเรื่องคนยิวเป็นภัยสั งคมจริงหรือไม่ แต่เป็นการย้อนกลับมาตั้ งคำถามกับสังคมของเราเองว่ าทำไมเราจึงหมกมุ่นกับการสร้ างอัตลักษณ์ความเป็นอื่นเช่นนี้
สุดท้ายแล้ว ชิเชคไม่เชื่อว่า ปัญหาผู้ลี้ภัยจะสามารถแก้ได้ผ่ านกรอบเรื่องพหุนิยมทางวัฒนธรรม เขาไม่เห็นด้วยที่ฝ่ายซ้ายส่ วนใหญ่พยายามทำความเข้าอกเข้ าใจและกระชับความสัมพันธ์กับกลุ ่มผู้ลี้ภัยผ่านมุมมองแบบวั ฒนธรรม เขาบอกอย่างตรงไปตรงมาว่า สิ่งเดียวที่เราและพวกเขามีร่ วมกันคือ การต่อสู้ทางชนชั้น ประเด็นอื่นๆที่เหลือ ไม่ว่าจะเป็นอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณีที่หลากหลายมิได้เป็นสิ่ งที่สวยงามน่าเรียนรู้และเกี่ ยวข้องกับภารกิจการต่อสู้ ทางการเมืองของเราแม้แต่น้อย
4. กับดักหลุมพรางจุดยืนต้านค่ านิยมตะวันตก
สืบเนื่องจากหัวข้อข้างต้น ชิเชคมองว่าขณะนี้ฝ่ายซ้ ายในโลกตะวันตกกำลังเผชิญกั บสภาวะรังเกียจตัวเอง กล่าวคือ พวกเขามองว่าปัญหาใดใดในโลกล้ วนเกิดขึ้นจากการล่าอาณานิ คมและการกดขี่ของคนขาว พวกเขารู้สึกละอายใจและลังเลที่ จะยกเอาค่านิยมหรือหลักการที่มี รากเหง้าตะวันตกมาวิพากษ์วิ จารณ์ประเทศอื่นๆที่เหลือ ผลที่ตามมาก็คือ “กระแสต้านจุดยืนแบบยุโรปเป็นศู นย์กลาง (anti-Eurocentric)” กลายเป็นที่นิยมไม่ใช่แค่ในหมู่ ฝ่ายซ้ายสำนึกผิดเท่านั้น แต่ยังถูกหยิบฉวยไปใช้ให้ ความชอบธรรมต่อระบอบที่ไม่เป็ นประชาธิปไตยหรือขบวนการคลั่ งศาสนาสุดโต่ง ยกตัวอย่างเช่น ประเทศที่เอาแต่อ้าง “ค่านิยมเอเชีย” แทนหลักการประชาธิปไตย น่าสนใจว่าการปกครองเช่นนี้เอื้ อต่อการเจริญเติบโตของทุนนิ ยมได้ดีกว่าประชาธิปไตยตะวั นตกเสียอีก อีกด้านหนึ่ง ชิเชคชวนให้เราคิดถึงกลุ่มก่ อการร้ายโบโกฮารามในไนจีเรีย กลุ่มคลั่งศาสนาอิสลามกลุ่มนี้ จับอาวุธต่อสู้เพื่อสถาปนาสั งคมใหม่ที่ปิดกั้นสิทธิเสรี ภาพของผู้หญิง ที่น่าสนใจก็คือ พวกเขามองการต่อสู้ของตัวเองว่ าเป็นการต่อต้านการล่าอาณานิ คมตะวันตก ชิเชคถามว่าอะไรคือจุดยืนของฝ่ ายซ้ายสำนึกผิดที่เอาแต่ต่อต้ านค่านิยมตะวันตกกับกรณีเช่นนี้
ชิเชคประกาศอย่างชัดเจนว่ าเขาไม่ “อิน” กับความเซ้นซิทีฟทางวั ฒนธรรมในหมู่ฝ่ายซ้ายแม้แต่น้อย เขาไม่คิดว่าPolitical Correctness (PC) ที่มุ่งระแวดระวังต่อการใช้ศั พท์แสงอันปลอดอคติทางชาติพันธุ์ เหยียดเพศและผิวจะเป็ นทางออกของปัญหา ยกตัวอย่างเช่น การใช้คำว่า “Native American” แทนการเรียกคนอเมริกันพื้นเมื องว่า “อินเดียน” ทันทีที่เขาเอ่ยคำว่า “อินเดียน” ก็มีเสียงโห่ดังขึ้นในห้องประชุ ม ชิเชคโต้แย้งกลับว่า “ทัศนคติแบบนี้แหละที่ผมรู้สึ กว่ามีปัญหา” พร้อมให้คำอธิบายที่เขาเคยพู ดมาหลายครั้งแล้วว่า เพื่อนอเมริกันอินเดี ยนหลายๆคนของเขาเกลียดชื่อเรียก Native American พวกเขาไม่ได้คำนึงถึงความ pc หรือไม่ pc ตามกรอบของคนขาวผู้ปรารถนาดี พวกเขาอยากจะใช้ชื่อ “อินเดียน” ต่อไป เพราะอย่างน้อยมันก็เป็ นการตอกย้ำความโง่ของคนขาวอยู่ เสมอ (ที่ดันเข้าใจผิดว่ากลุ่มคนที่ อาศัยในทวีปอเมริกาคือคนอินเดี ย)
กล่าวโดยสรุป ดูเหมือนว่ามีหลายๆสิ่งที่ชิ เชคพูดไม่เข้าหูนักเคลื่อนไหวฝ่ ายซ้ายอเมริกัน ในขณะที่ฝ่ายหลังยั งมองขบวนการOccupy Wall street ในปี 2554 ด้วยสายตาที่ชื่นชม ชิเชคกลับถามหาการจัดตั้งขบวนที ่เป็นระบบระเบียบและวิสัยทัศน์ ใหม่ๆ ในขณะที่ฝ่ายซ้ายอเมริกันกำลั งเคลื่อนไหวต่อต้านกระแสนิ ยมนายโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้ที่จะเป็นตัวแทนลงเลือกตั้ งประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกัน ชิเชคกลับมองว่าทรัมป์เป็นแค่นั กฉวยโอกาส และคนที่น่ากลัวกว่าทรัมป์คือ เท็ด ครูซ (ผู้ชิงตำแหน่งตัวแทนพรรคอีกคน) ในขณะที่ประเด็นเรื่ องการเคารพความแตกต่างทางวั ฒนธรรมเป็นหัวใจสำคัญของนักกิ จกรรมหลายๆคน ชิเชคกลับมองว่าสิ่งที่เรียกว่า “วัฒนธรรม” คืออุดมการณ์ที่แฝงฝังในชีวิ ตประจำวัน และเป็นสิ่งที่ เราอยากจะนำเสนอเกี่ยวกับตั วเราเท่านั้น บ่อยครั้งมันเป็นข้ออ้างในการช่ วยให้เราหลบหลีกหรือบิดเบื อนความเป็นจริง ด้านหนึ่ง เราอาจมองได้ว่า ชิเชคคือภาพสะท้อนของนักปรั ชญาบนหอคอยงาช้างที่เอาแต่ ปรามาสนักเคลื่อนไหวว่ายังไม่มี ความถอนรากถอนโคนมากพอ อีกด้านหนึ่ง บทวิพากษ์ของเขาก็อาจจะเป็นเหมื อนยาขมที่ช่วยทำให้ฝ่ายซ้ายเสรี นิยมก้าวข้ามข้อจำกัดของตัวเอง สุดท้ายแล้วพลวัติความคิ ดทางการเมืองของฝ่ายซ้ายในปัจจุ บันก็หนีไม่พ้นประเด็นเรื่ องแนวทางการต่อสู้เคลื่อนไหว การมองศัตรู การตั้งคำถามต่อทางแก้ไขปัญหาต่ างๆที่มีอยู่ในปัจจุบัน และความสำคัญของอัตลักษณ์วั ฒนธรรมในความขัดแย้งทางชนชั้น
เชิงอรรถ
[1] สำหรับผู้ที่สนใจและต้องการศึ กษาในรายละเอียดเกี่ยวกับหัวข้ อดังกล่าว โปรดดู Slavoj Zizek, Violence: Six Sideways Reflections (New York: Picador, 2008) และ สรวิศ ชัยนาม, Slavoj Zizek : ความรุนแรงและการเมืองเพื่ อการปลดปล่อย (กรุงเทพ : สยามปริทัศน์, 2558).
[2] V for Vendetta (2005) กำกับโดย James Mc Teigue และนำแสดงโดย Natalie Portman และ Hugo Weaving เป็นภาพยนตร์ที่ฉายภาพประเทศอั งกฤษภายใต้ระบอบเผด็จการ และเล่าเรื่องราวกำเนิดและพั ฒนาการการต่อสู้ของมวลชนเพื่ อโค่นล้มผู้ปกครอง ดู สรวิศ ชัยนาม, “V for Vendetta การปฏิวัติและความรุนแรง,” ใน จากการปฏิวัติถึงโลกาภิวัตน์: ความรู้เบื้องต้นการเมืองโลกเชิ งวิพากษ์ผ่านสื่อภาพยนตร์ (กรุงเทพ: ศยาม, 2555).
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น