ฮิวแมนไรท์วอทช์จี้ขอรูปธรรมหลั งครม.ผ่าน กม.ป้องกันทรมาน-บังคับให้สู ญหาย
Posted: 26 May 2016 02:31 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
ฮิวแมนไรท์วอทช์จี้ขอรูปธรรมหลั งรัฐไทยรับหลักการ กม.ป้องกันทรมาน-บังคับให้สู ญหาย ชี้หลังรัฐประหาร มีกรณีซ้อมทรมานเพียบ ด้านข้าหลวงใหญ่สิทธิ ยูเอ็น เผยได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีบุ คคลถูกบังคับให้สูญหายในไทยถึง 82 กรณี พร้อมเสนอไทยอนุญาตให้กรรมการสิ ทธิไทย เข้าสังเกตสถานที่ควบคุมตัวอย่ างอิสระ
26 พ.ค. 2559 หลังที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการร่าง พ.ร.บ.ป้องกั นและปราบปรามการทรมานและการบั งคับให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. …. และมีมติเห็นชอบให้สัตยาบันอนุ สัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคั บให้หายสาบสูญ
องค์กรฮิวแมนไรท์วอทช์ ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 24 พ.ค.ที่ผ่านมา เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนิ นการตามที่ให้คำมั่นไว้ ว่าจะทำให้การทรมานและการบังคั บให้สูญหายเป็นความผิดอาชญากรรม โดยชี้ว่าแม้ไทยจะประกาศว่า จะผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวรวมถึ งให้สัตยาบัน แต่รัฐบาลไทยก็ยังไม่ได้ระบุ กรอบเวลาที่ชัดเจนในการดำเนิ นการดังกล่าว
แบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียของฮิ วแมนไรท์วอทช์ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่รัฐที่ กระทำการทรมานและบังคับให้สู ญหายในไทยมักเลี่ยงโทษร้ายแรงที ่พวกเขาควรจะได้รับ เพราะกฎหมายไทยไม่ได้ถือว่ามั นเป็นอาชญากรรมร้ายแรง
"รัฐบาลต้องดำเนินการอย่ างรวดเร็วและเป็นรูปธรรม เพื่อทำให้การทรมานและบังคับบุ คคลให้สูญหายเป็นความผิดทางอาญา และใช้กฎหมายใหม่อย่างมีประสิ ทธิภาพ"
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจะมี บทลงโทษจำคุกเจ้าหน้าที่รัฐผู้ กระทำทรมานสูงสุดถึง 20 ปี ซึ่งโทษนี้จะเพิ่มเป็น 30 ปีหากการทรมานนำไปสู่การบาดเจ็ บอย่างรุนแรง และโทษจำคุกตลอดชีวิ ตหากการทรมานส่งผลให้ผู้เคราะห์ ร้ายเสียชีวิต เจ้าหน้าที่ผู้กระทำการบังคั บให้บุคคลสูญหายจะได้รับโทษจำคุ กสูงสุด 20 ปี ซึ่งจะเพิ่มเป็น 30 ปีหากการบังคับให้บุคคลสู ญหายทำให้บุคคลต้องบาดเจ็บอย่ างรุนแรง และมีโทษจำคุกตลอดชีวิตหากบุ คคลถึงแก่ชีวิต
นอกจากนี้ ฮิวแมนไรท์วอทช์แสดงความกั งวลอย่างมากต่อกรณีการคุมตัวอย่ างลับๆ โดยทหาร ภายใต้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ต่อผู้เห็นต่างทางการเมือง และผู้ต้องหาคดีความมั่นคง และภายใต้กฎอัยการศึก 2457 ต่อผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่ อการในชายแดนใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังรัฐประหาร พ.ค. 2557
แถลงการณ์ของฮิวแมนไรท์วอชท์ชี้ ว่า การทรมานเป็นปัญหาที่เกิดระหว่ างการคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ ตำรวจและทหาร หลังรัฐประหารเมื่อ พ.ค. 2557 มีคนจำนวนมากซึ่งถูกนำตัวไปคุ มขังที่ค่ายทหารบอกว่าพวกเขาถู กทรมานหรือปฏิบัติไม่ดี โดยวิธีการทรมาน เช่น การตี การช็อตไฟฟ้า ทำให้แทบหายใจไม่ออก รัฐบาลทหารมักจะปฏิเสธข้อกล่ าวหาว่า ทหาร ตำรวจ หรือหน่วยงานความมั่นคงทรมานหรื อปฏิบัติไม่ดีต่อผู้ถูกคุมขัง นอกจากนี้ยังมักฟ้องกลับด้วยข้ อหาแจ้งความเท็จ โดยตั้งใจทำลายชื่อเสี ยงประเทศไทย
อดัมส์ ชี้ว่า รัฐต่างๆ ที่ห่วงใยในประเด็นนี้ควรเร่ งให้รัฐบาลไทยทำตามคำมั่นที่ให้ ไว้ว่าจะต่อสู้กั บการทรมานและการบังคับให้สูญหาย ปัญหาที่ฝังรากยาวนาน ซึ่งกลายเป็นหลักฐานของการไม่ เคารพกฎหมายและสิทธิขั้นพื้นฐาน ต้องใช้ความพยายามที่แข็งแกร่ งและยั่งยืนเพื่อขจัดมัน
ยูเอ็นยินดี ไทยผ่านกม.ป้องอุ้มหาย-แนะอนุ ญาต กสม.สังเกตสถานที่คุมตัว
ด้าน สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิ มนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNOHCHR) ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 25 พ.ค. แสดงความยินดีที่รัฐบาลไทยตัดสิ นใจจะออกกฎหมายให้ การทรมานและการบังคับให้บุคคลสู ญหายถือเป็นความผิดทางอาญา รวมทั้งจะให้สัตยาบันต่ออนุสั ญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้ มครองบุคคลทุกคนจากการถูกบังคั บให้สูญหาย (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance)
“การตัดสินใจของรัฐบาลถือเป็นก้ าวย่างที่ดีในการปฏิบัติ ตามมาตรฐานด้านสิทธิมนุ ษยชนระหว่างประเทศ เราขอเร่งรัดให้สภานิติบัญญัติ แห่งชาติผ่านกฎหมายว่าด้ วยการทรมานและการบังคับให้บุ คคลสูญหายอย่างเร่งด่วนต่อไป” โลรอง เมย์ยอง รักษาการผู้แทนสำนักงานข้ าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่ งสหประชาชาติประจำภูมิภาค กล่าว
“เป็นเวลานานเหลือเกินแล้วที่ ไม่มีการรับผิดชอบกรณีเกิ ดการทรมานและบังคับบุคคลให้สู ญหายโดยไม่สมัครใจ ทั้งนี้เพราะไม่มี กรอบทางกฎหมายที่จะลงโทษผู้ กระทำผิด แต่เมื่อใดก็ตามที่มีการผ่านร่ างกฎหมายฉบับนี้ การทรมานและการบังคับให้บุคคลสู ญหายจะถือเป็นอาชญากรรมเสียที และเหยื่อและครอบครั วจะสามารถใช้ช่องทางกฎหมาย ในขณะที่ผู้ก่ออาชญากรรมอั นโหดร้ายจะถูกลงโทษ”
แถลงการณ์ระบุว่า คณะทำงานของสหประชาชาติว่าด้ วยการบังคับให้บุคคลสูญหายหรื อโดยไม่สมัครใจรับเรื่องร้องเรี ยนกรณีบุคคลถูกบังคับให้สู ญหายในประเทศไทยที่ยังไม่ได้รั บการคลี่คลายอยู่ถึง 82 กรณี
นอกจากนี้ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิ มนุษยชนแห่งสหประชาชาติประจำภู มิภาค ยังได้ขอให้รัฐบาลไทยอนุญาตให้ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุ ษยชนแห่งชาติ (กสม.) เข้าสังเกตสถานที่ควบคุมตัวทุ กแห่งอย่างอิสระ เพื่อเป็นการป้องกันเพิ่มเติ มไม่ให้ผู้ถูกควบคุมตัวถูกซ้ อมทรมาน
พร้อมกันนี้ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิ มนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยปฏิ บัติตามภาระผูกพันของตนด้ วยการให้สัตยาบันรับรองพิธี สารเลือกรับอนุสัญญาต่อต้ านการทรมาน (Optional Protocol to the Convention against Torture) ทันที ซึ่งจะส่งผลให้สามารถจัดตั้ งกลไกป้องกันระดับชาติเพื่อสั งเกตการณ์การเข้าเยี่ยมสถานที่ ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น ศูนย์ควบคุมตัว เรือนจำ และสถานที่อื่นในทำนองเดียวกัน
ทั้งนี้ ในระหว่างการทบทวนสถานการณ์สิ ทธิมนุษยชน (ยูพีอาร์) ของไทยที่เจนีวาเมื่อต้นเดือนที ่ผ่านมา ประเทศไทยได้กล่าวว่ าตนวางแผนจะยื่นพิธีสารเลือกรั บอนุสัญญาต่อต้านการทรมานให้กั บคณะรัฐมนตรีเพื่อให้สัตยาบันรั บรองต่อไป
ก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2550 ประเทศไทยให้สัตยาบันรับรองอนุ สัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิ บัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (the Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment)
ที่มา: hrw.org, Facebook: UNHumanRigh tsAsia
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น