การเมือง เสรีภาพ และงานศิลปะ: Asylum Seeker I The Pond and the Fireflies
Posted: 12 May 2016 09:21 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
Asylum Seeker I The Pond and the Fireflies เป็นนิทรรศการที่ถูกจัดแสดงที่ The Jam Factory ตั้งแต่ 5 เมษายน 2559 – 15 พฤษภาคม 2559 โดยศิลปินคือ ประพัทธ์ จิระรังสรรค์ และมี Loredana Pazzini-Paracciani เป็นภัณฑารักษ์ นิทรรศการแสดงให้เห็นถึ
เมื่อเดินเข้าไปภายในสถานที่จั ดแสดงจะพบภาพชุด Invisible Shadow (2014) ซึ่งเป็นภาพถ่ายบุคคลที่ดูเลื อนรางบนกระดาษไขโปร่งแสงที่ แขวนไว้กับคาน แม้จะสามารถมองได้จากสองด้าน แต่ไม่ว่าจะมองในทิศทางใดบุ คคลในภาพถ่ายก็ดูคลุมเครือไม่ชั ดเจน โดยศิลปินได้อธิบายเพิ่มเติมเกี ่ยวกับบุคคลในบางภาพที่เป็นเด็ กหนุ่มชาวกะเหรี่ยงที่หายไปอย่ างไร้ร่องรอยในช่วงหลังรั ฐประหารปี 2557 ที่มีข่าวเกี่ยวกับการกวาดล้ างผู้อพยพที่เข้ามาอย่างผิ ดกฎหมาย ความเกรงกลัวทำให้เด็กหนุ่มหนี จากหมู่บ้านแห่งนั้น นอกจากชุดภาพเหล่านี้จะแสดงถึ งความไม่ชัดเจนว่าภาพเหล่านี้คื ออะไร บุคคลในภาพคือใคร ยังแสดงให้เห็นถึงความคลุมเครื อของสถานภาพในการดำรงอยู่ของผู้ คนเหล่านี้ ที่กลายเป็นบุคคลไร้สัญชาติ จากการอพยพเข้าเพื่อแสวงหาคุ ณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม แต่ไม่สามารถรับสิทธิขั้นพื้ นฐานเฉกเช่นบุคคลในประเทศ ถูกกดขี่ค่าแรง ต้องอยู่อย่างหลบซ่อนดั่งเงาที่ ไม่มีตัวตน
ถัดมาคือ ผลงานชุด Illuminating Unreal (2014) ที่ถูกแปะไว้กับกระจก เป็นชุดภาพที่ศิลปินถ่ายภาพบ่ อน้ำในแต่ละฤดู และนำไปแช่ไว้ในสระน้ำ ก่อนจะใช้มือขูดเพื่อก่อให้เกิ ดริ้วรอยบนภาพ นอกจากนี้ยังมีชุดภาพส่วนหนึ่ งที่ศิลปินนำไปจัดวางบนรางไม้ ราวกับเป็นการจำลองบ่อน้ำในแต่ ละฤดูกาลมาไว้ในพื้นที่แห่งนี้ เนื่องจาก บ่อน้ำ คือการเชื่อมกันระหว่างโลกแห่ งความเป็นจริงกับโลกในห้วงแห่ งความฝัน การหลบซ่อนก่อให้เกิดการพบปะสั งสรรค์ระหว่างผู้อพยพกับศิลปิน เกิดการทำความรู้จัก และมีการแลกเปลี่ยน ศิลปินทำผลงานที่เป็นเพียงแค่ สเกลหนึ่งของปัญหาโดยพยายามชี้ ให้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นผ่ านสถานที่แห่งนี้
ผลงานชิ้นต่อมาคือผลงานวิดีโอ The Asylum (Dok Rak) นำเสนอถึงผลกระทบหลังจากการรั ฐประหาร ที่ทำให้เด็กหนุ่มชาวกระเหรี่ ยงหายไปจากความหวาดกลัว และดีเจดอกรักตกงานจากรายการวิ ทยุที่ปิดตัวไปโดยคำสั่งของ คสช. หรือ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในช่วงหลังรัฐประหารปี 2557 จนต้องมาขับแท็กซี่เพื่อยังชี พตนเอง โดยในวิดีโอดีเจดอกรักได้ ทำการจัดรายการอีกครั้งตรงบริ เวณบ่อน้ำ และมีเด็กหนุ่มที่ไม่ใช่หนุ่ มกะเหรี่ยงที่หายตั วไปแสดงแทนเป็นบุคคลนั้น การจัดรายการวิทยุที่โดนปิ ดไปแล้วกับภาพตัวแทนของเด็กหนุ่ มที่หายไป ทำให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นพื้ นที่ระหว่างโลกแห่งความเป็นจริ งกับโลกแห่งความทรงจำที่อยู่ ในห้วงแห่งความฝัน การที่ภาพตัดลงไปใต้น้ำที่ขุ่ นมัว มุมกล้องที่วกวน ภาพจากใต้น้ำที่ถูกวัตถุบนพื้ นผิวน้ำปิดกั้นจากแสงด้านบนเหมื อนกับเป็นเส้นแบ่งระหว่างโลกแห่ งความฝันภายใต้ผิวน้ำ และโลกแห่งความเป็นจริงบนพื้นผิ วน้ำ
ผลงานชุดสุดท้ายคือ In Letters from the Pond (2014) เป็นจดหมายที่เขียนโดยหมึ กลงบนกระดาษ นำไปจุ่มในบ่อน้ำและใส่ ลงไปในกรอบ จดหมายเหล่านี้เป็นภาพแทนเรื่ องราวของศิลปินที่ต้องการลี้ภั ยไปยังประเทศอื่น การโต้ตอบทางจดหมายอิเล็กทรอนิ กส์กับสถานทูตและองค์กรต่างๆ มากกว่ายี่สิบแห่งเพื่ อหาหนทางในการอพยพ หลบหนีจากสถานการณ์ความไม่ ปลอดภัยทางการเมืองที่ส่งผลต่ อการสร้างผลงานศิลปะของประพัทธ์ อย่างไรก็ตาม ศิลปินไม่สามารถขอลี้ภัยได้เนื่ องจากเงื่อนไขยังไม่ถึงขั้นจะต้ องลี้ภัย เช่น การถูกคุกคามจากภัยทางการเมือง ที่ทำให้นักวิชาการหลายคนต้องลี ้ภัยออกนอกประเทศเนื่องจากเสี่ ยงต่อการดำเนินการทางกฎหมายหมิ่ นพระบรมเดชานุภาพ ดังนั้นศิลปินจึงนำจดหมายการโต้ ตอบมาผลิตซ้ำอีกครั้ง เพื่อแสดงให้เห็นถึงส่วนหนึ่ งของกระบวนการของการแสวงหาที่ลี ้ภัย ทำให้สถานะของศิลปินใกล้เคียงกั บกลุ่มชาวกะเหรี่ยงที่ อพยพมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ระหว่างสถานะผู้ลี้ภัยกับผู้ อยากลี้ภัยอย่างศิลปิน
การเรียงลำดับการจัดแสดง เรียบเรียงข้อมูลตั้งแต่ประเด็ นปัญหาที่เกิดตั้งแต่สภาวะไร้ตั วตนของผู้อพยพ จุดเชื่อมที่ก่อให้เกิดความสั มพันธ์ระหว่างผู้อพยพและศิลปิ นอย่างบ่อน้ำ จนมาถึงจดหมายซึ่งผลงานที่ทำให้ เห็นถึงการเชื่อมโยงของการจั ดแสดงทั้งหมด จากการสังเกตพบว่าผลงานทุกชิ้ นล้วนมีเรื่องราวเกี่ยวกับบ่อน้ ำทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นชุดภาพถ่ ายบนกระดาษไขที่มีบ่อน้ำเป็ นฉากหลัง ชุดภาพถ่ายที่เป็นบ่อน้ำในแต่ ละฤดูกาลที่เกิดร่องรอยจากเทคนิ คต่างๆ วิดีโอที่วนเวียนเกี่ยวข้องอยู่ กับบ่อน้ำ หรือแม้แต่จดหมายโต้ตอบระหว่ างศิลปินกับสถานทูตที่ผลิตซ้ำผ่ านการเขียนมือก่อนนำไปสัมผัสกั บบ่อน้ำจนกลายมาเป็นผลงานชุดนี้ ขึ้นมา จดหมายจากบ่อน้ำ กลายเป็นจุดจบที่แสดงให้เห็นถึ งความสัมพันธ์ในงานนิ ทรรศการระหว่างผู้อพยพที่อาจหนี ภัยจากสงครามหรือต้องการพัฒนาคุ ณภาพชีวิตให้ดีกว่าเดิม การมาอยู่ในประเทศที่ตนเองถู กทำให้กลายเป็นพลเมืองชั้นรอง ไม่มีสถานะในการเป็นพลเมือง ไม่มีสัญชาติ สิทธิขั้นพื้นฐาน เลขบัตรประชาชนที่เป็นการยืนยั นสถานภาพ ต้องอยู่อย่างแอบซ่อนตามหมู่บ้ านต่างๆ และผู้อยากอพยพ (ศิลปิน) ที่ต้องการหลีกหนีการจำกัดเสรี ภาพทางความคิดในการแสดงออกผ่ านงานศิลปะที่สามารถวิพากษ์ ประเด็นต่างๆ ในสังคมได้อย่างเสรี
นอกจากนี้ พื้นที่ในการจัดแสดงก็เป็นส่ วนสำคัญ จำนวนผลงานที่จั ดแสดงผลงานเหมาะสมกับพื้นที่ ทำให้ไม่เกิดที่ว่างมากจนเกินไป และไม่แน่นจนรู้สึกอึดอัด การใช้แสงเงาในการเน้นย้ ำผลงานให้มีความโดดเด่นจากพื้ นหลัง มากไปกว่านั้นก็คือ ตัวพื้นที่หรืออาคารที่เป็ นอาคารกระจกทำให้ดูแตกต่างจากพื ้นที่อื่นอย่างพิพิธภัณฑ์ที่มั กเป็นกำแพงสีขาวโพลนไปทั่วทุกพื ้นที่ จนผู้เขียนรู้สึกอึดอัดมากกั บการอยู่ภายในอาคารที่มีแต่สี ขาวและผลงานที่ถูกจัดแสดง แม้พื้นที่แห่งนี้จะถูกม่านปิ ดบังทำให้ไม่สามารถมองเห็นทัศนี ยภาพด้านนอกได้ แต่สามารถทำให้ผู้เขียนรู้สึ กปลอดโปร่งได้มากกว่า
การมาชมนิทรรศการนี้ชวนให้ผู้ เขียนทบทวนเรื่องราวเกี่ยวกั บเสรีภาพการแสดงความคิดเห็ นในขณะนี้ การจำกัดสิทธิไม่ได้มีเพี ยงงานศิลปะเท่านั้น แม้แต่การจัดการเสวนาแลกเปลี่ ยนทางวิชาการหลายงานก็ได้ถู กยกเลิกไปเพราะรัฐบาลเห็นว่าไม่ เหมาะสม กิจกรรมหลายกิจกรรมที่เคยจั ดในวันต่างๆ โดยเฉพาะวันสำคัญที่เกี่ยวกั บการเมืองได้ถูกจั บตามองจากทหารและตำรวจอย่างใกล้ ชิด เช่น การจัดกิจกรรม 6 ตุลาคม บริเวณท้องสนามหลวง ในปี 2558 ที่ผ่านมา ได้มีกองกำลังตำรวจมาเฝ้ าในระหว่างงาน หรือกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ต่างๆ ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการต่อต้ านหรือวิพากษ์รัฐบาล ก็จะพบกองกำลังตำรวจทหารเข้ ามาตรึงกำลังไว้ นอกจากนี้ อีกตัวอย่างหนึ่งที่ชวนให้ขบขั นคือ ในช่วงปี 2557 ที่มีการรัฐประหารเกิดขึ้น การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ อออนไลน์บางงาน ของงานศิลป์เสวนาที่จัดโดยคณะศิ ลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ปรากฏข้อความ “หมายเหตุ เรื่องการขออนุญาตทหารในการจั ดงานเสวนาเรียบร้อยแล้ว” แม้จะดูเป็นเรื่องตลกแต่สิ่ งเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นถึ งการจำกัดเสรีภาพทางความคิด แม้แต่เรื่องที่ทำเพื่ อการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ ก็ต้องได้รับการอนุมัติจากกลุ่ มคนที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้ องใดๆ เพียงแค่กังวลการวิพากษ์ที่เกี่ ยวกับสถานภาพการเข้ามาเป็นรั ฐบาลอย่างไม่ ชอบธรรมในระบอบการปกครองแบบประช าธิปไตยของตนเองเพียงเท่านั้น จึงทำให้ผลงานทางด้านความคิดต่ างๆ ถูกกีดกันและไม่ สามารถแสดงความคิดเห็นต่างได้ ทำให้รัฐบาลดูราวกับเป็นสถาบั นที่เปราะบางที่ไม่สามารถพูดถึ งหรือวิพากษ์ใดๆ ได้เลย
จากที่กล่าวมาเบื้องต้น จะพบว่าศิลปินพยายามชี้ให้เห็ นถึงผลพวงของการทำรัฐประหาร ความหวาดกลัวแม้จะอยู่ในที่ห่ างไกลจากศูนย์กลางทางอำนาจ นอกจากนี้ยังเป็นเรื่ องของความรู้สึกของศิลปินที่รู้ สึกถูกจำกัด สิทธิ เสรีภาพ ในการทำงานศิลปะ ทั้งที่สถานภาพทางสังคมต่ างจากกลุ่มกะเหรี่ยงที่ไม่มีสั ญชาติ ไม่มีเลขบัตรประชาชน แต่เมื่อเกิดการทำรัฐประหาร เรื่องการเซ็นเซอร์กับการจำกั ดเสรีภาพการแสดงออกในการทำงาน ทำให้สถานะของศิลปินคล้ายคลึงกั บกลุ่มผู้อพยพจนทำให้เกิดความต้ องการอพยพและลี้ภัยเช่นกัน
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น