ผู้แทนรัฐสภายุโรปย้ำ รบ.ไทยเปิดให้อภิปรายร่างรธน. อย่างเสรี ไม่เช่นนั้นปรองดองจะไม่เกิด
Posted: 18 May 2016 09:33 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
ผู้แทนรัฐสภายุโรปย้ำ รัฐบาลไทยต้องเปิดให้อภิปรายร่ างรัฐธรรมนูญอย่างเสรี ไม่เช่นนั้นการปรองดองจะไม่เกิ ดขึ้น พร้อมระบุสมาชิกสภายุโรปเข้ าใจดีว่า ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ และธรรมเนียมปฏิบัติของตนเอง และไม่คิดที่จะชี้นำในเรื่องใด
แวร์เนอร์ ลันเก้น ประธานกลุ่มความสัมพันธ์กั บประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาเซียน (DASE) ภาพจากเฟซบุ๊ก Banrasdr Photo
18 พ.ค. 2559 จากวานนี้ (17 พ.ค.59) คณะสมาชิกรัฐสภายุโรป นำโดย แวร์เนอร์ ลันเก้น ประธานกลุ่มความสัมพันธ์กั บประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาเซียน (DASE) พร้อมด้วยคณะกรรมการด้านสิทธิ มนุษยชนแห่งรัฐสภายุโรป รวม 8 ราย ได้เข้าพบ ปัญญรักษ์ พูลทรัพย์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ รักษาการแทนปลัดกระทรวงการต่ างประเทศ ที่กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 17-19 พ.ค. 2559 โดยมีกำหนดการพบปะทุกภาคส่วน อาทิ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และภาคเอกชน รวมทั้ง พรรคการเมือง เช่น พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปั ตย์ โดยมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็ นเรื่องการลงประชามติร่างรั ฐธรรมนูญที่จะจัดขึ้นในวันที่ 7 ส.ค. นี้
วันนี้ (18 พ.ค.59) บีบีซีไทย - BBC Thai รายงานด้วยว่า ลันเก้น กล่าวย้ำว่า การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ และการดำเนินตามแผนสู่ประชาธิ ปไตยของรัฐบาลไทย จะต้องเปิดให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดต้ องสามารถอภิปรายถกเถียงถึงข้อดี และข้อเสียของร่างรัฐธรรมนูญได้ อย่างเปิดเผย ครอบคลุม และมีเสรีภาพ การออกกฎหมายที่ระบุว่าผู้วิ พากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนู ญอาจถูกลงโทษ จึงเป็นเรื่องที่สมาชิกรัฐสภายุ โรปค่อนข้างกังวล เพราะอาจทำให้ตีความไปได้ว่า กระบวนการลงประชามติไม่มีเสรี ภาพเพียงพอ และการปรองดองไม่อาจจะเกิดขึ้ นได้หากไม่มีการเคารพความคิดเห็ นของคนทุกกลุ่มทุกฝ่าย
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่ านความเห็นชอบจากการลงมติ ของประชาชน จะมีมาตรการคว่ำบาตรไทยหรือไม่ ลันเก้น ระบุว่า จะต้องประเมินสถานการณ์อีกครั้ง และหารือกับตัวแทนสมาชิกสหภาพยุ โรป (EU) เนื่องจากสมาชิกสภายุโรปไม่ใช่ ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ พร้อมย้ำว่าสมาชิกสภายุโรปเข้ าใจดีว่า ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ และธรรมเนียมปฏิบัติของตนเอง และไม่คิดที่จะชี้นำในเรื่องใด
อย่างไรก็ตาม สมาชิกสภายุโรปเกรงว่า รัฐบาลทหารอาจยื้ออำนาจและทำให้ ประชาชนตกอยู่ในความหวาดกลัว ทั้งการที่ประเทศไทยมีแนวโน้มว่ าจะถูกกองทัพแทรกแซงในทุกครั้ งที่เกิดปัญหาความขัดแย้ งภายในขึ้น ก็ยังเป็นเรื่องที่น่ากังวลเช่ นกัน แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีความหวั งว่า ประเทศไทยจะกลับคืนสู่ประชาธิ ปไตยได้ในที่สุด โดยประเมินจากการพูดคุยกับตั วแทนฝ่ายต่าง ๆ ของไทย พบว่าแต่ละฝ่ายมีความตั้งใจที่ จะผลักดันกระบวนการปรองดอง รวมถึงพยายามสานต่อด้านความร่ วมมือต่าง ๆ ตลอดจนต้องการรื้อฟื้ นการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) ที่หยุดชะงักไปนับตั้งแต่เกิ ดการรัฐประหารปี 2557
ส่วนประเด็นอื่น ๆ ที่รัฐบาลไทยและสมาชิกรัฐสภายุ โรปได้หารือกันนอกจากนี้ ได้แก่ การสานต่อความร่วมมือด้านการแก้ ปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชน การบังคับใช้แรงงาน การทำประมงผิดกฎหมาย สถานการณ์แรงงานข้ามชาติ และปัญหาการค้ามนุษย์
เนื้อหาที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
[pt_view id="8a151f4800"]
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น