FPIF : ซาดิค ข่าน คือชัยชนะของลอนดอนต่ อความหวาดกลัวอิสลามอย่างไม่มี เหตุผล
Posted: 15 May 2016 11:26 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
13 พ.ค. 2559 บทความของจอห์น เฟฟเฟอร์ ผู้อำนวยการเว็บไซต์วิเคราะห์ นโยบายการต่างประเทศ Foreign Policy In Focus หรือ FPIF ระบุว่าชัยชนะของซา คิค ข่านเป็นการทำให้การมีอยู่ ของชาวมุสลิมในการเมืองอังกฤษ "เป็นเรื่องปกติ" แบบเดียวกับที่จอห์น เอฟ เคนเนดี อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ เคยทำให้ชาวคริสต์นิกายคาทอลิ คเป็นเรื่องปกติในการเมืองสหรั ฐฯ แต่ชาวมุสลิมในสหรัฐฯ ก็ยังคงต้องรอคอยโอกาสให้เกิ ดอะไรแบบนี้บ้าง
ก่อนหน้านี้คู่แข่งของข่าน คือ แซ็ค โกล์ดสมิทธ์ จากพรรคอนุรักษ์นิยมที่มีภาพลั กษณ์ของคนหนุ่มหน้าตาหล่อเหลาที ่มีผลงานเกี่ยวกับส่งเสริมสิ่ งแวดล้อมและผลงานด้านการส่งเสริ มสิทธิกลุ่มชนพื้นเมืองซึ่งน่ าจะดึงดูดคะแนนเสียงจากฝ่ายซ้ ายได้ แต่ทีมของโกล์ดสมิทธ์กลับทำให้ เกิดแรงต่อต้านสวนกลับหลังจากที ่กล่าวหาว่าคู่แข่งของพวกเขาคื อข่านเป็น "มุสลิมหัวรุนแรง" ถึงแม้ว่าจะเป็นโวหารที่ไม่ได้ เลวร้ายเท่าการกีดกันชาวมุสลิ มของพรรคการเมืองริพับลิกั นของสหรัฐฯ แต่ก็ทำให้คนใกล้ชิดในพรรคอนุรั กษ์นิยมอังกฤษเริ่มเอาตัวออกห่ างหรือบางส่วนก็ประณามว่าเป็นวิ ธีการที่ "เกินขอบเขต" มากไป และในการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ลอนดอนล่าสุด โกล์ดสมิทธ์ก็แพ้อย่างหมดรู ปทำให้ข่านกลายเป็นโฉมหน้าใหม่ ของความหลากหลายทางวั ฒนธรรมในลอนดอน
เฟฟเฟอร์มองว่าสิ่งที่น่ าสนใจในปรากฏการณ์นี้คือการที่ ความหวาดกลัวอิสลามอย่างไม่มี เหตุผลที่เหล่าที่ปรึกษาของโกล์ ดสมิทธ์นำมาใช้โดยหวังว่าจะช่ วยเรียกคะแนนทางการเมืองได้กลั บไม่เป็นผลสำหรับการเลือกตั้ งในลอนดอน ถึงแม้ว่าวิธีการปลุ กความหวาดกลัวอิสลามอย่างไม่มี เหตุผลจะใช้เรียกคะแนนเสียงได้ ผลสำรับพรรคการเมืองฝ่ ายขวาในประเทศอื่นๆ เช่นในฝรั่งเศส เยอรมนีและสวีเดน รวมถึงพรรค UKIP ในอังกฤษเองก็ได้รับคะแนนเสี ยงมากขึ้นจากวิธีการเช่นนี้ด้วย
อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับวั ฒนธรรมการเมืองในสหรัฐฯ แล้วเฟฟเฟอร์มองว่าชั ยชนะของซาดิค ข่าน อาจจะทำให้เรื่องความหวาดกลัวอิ สลามอย่างไม่มีเหตุผลน่ากั งวลลดลงบ้าง แต่ในสหรัฐฯ ที่มีกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่ไม่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือชนพื ้นเมืองรวมถึงไม่สนใจว่าจะล่ วงเกินพวกเสรีนิยมหรือไม่ก็คงต้ องมองให้ชัดกว่านี้ เฟฟเฟอร์ระบุว่าแนวคิดแบบต่อต้ านอิสลามในสหรัฐฯ กำลังเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่ องเพราะองค์กรและบุคคลไม่กี่ คนที่มีทุนหนา ถึงแม้ว่าโดนัลด์ ทรัมป์ จะพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งเดือน พ.ย. ที่จะถึงนี้ความหวาดกลัวอิ สลามอย่างไม่มีเหตุผลก็ยังจะไม่ สูญหายไปพร้อมกับ "ดาราเรียลลิตี้โชว์ผู้น่าอั บอาย" อย่างทรัมป์ด้วย
ข้อมูลที่ผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง
เฟฟเฟอร์ระบุถึงสถิติของผู้ลี้ ภัยที่ได้ตั้งรกรากในสหรัฐฯ ทั้งหมดราว 800,000 คน นับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา แต่มีจำนวนแค่ 5 คนเท่านั้นที่ถูกจับฐานก่อการร้ ายคิดเป็นร้อยละ 0.000625 ถือว่าไม่มีความสำคัญทางสถิติ เลย แต่ผลสำรวจจากสถาบันบรูกกิงก็ เปิดเผยว่าในการประชุมที่ พวกเขาจัดร่วมกับมหาวิทยาลัยดุ๊ กครั้งล่าสุดมีผู้ว่าการรัฐ 31 คนจากทั้งหมด 50 คนที่ประกาศว่าอยากปิดกั้นไม่ ให้ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียเข้ าประเทศ 30 คนที่ประกาศเช่นนี้มาจากพรรครี พับลิกัน ซึ่งเป็นสิ่งย้ำเตือนว่าการสร้ างความหวาดกลัวของคนอย่าง ทรัมป์ หรือ เบน คาร์สัน (หนึ่งในผู้สมัครชิงตั วแทนพรรครีพับลิกันที่เคยกล่ าวว่าคนที่จะเป็นประธานาธิบดี สหรัฐฯ ไม่ควรนับถือศาสนาอิสลาม) แพร่กระจายพิษสงต่อพรรครีพับลิ กันทั้งพรรค
เฟฟเฟอร์กล่าวว่าบรรยากาศความตื ่นกลัวเกินกว่าเหตุและความหัวดื ้อไม่มีเหตุผลก็โชยไปไกลกว่ าความคิดหวาดกลัวอิสลามอย่างไม่ มีเหตุผลของคนบางคน คริสโตเฟอร์ เบล นักวิจัยจากดุ๊กยูนิเวอร์ซิตี้ ที่เข้าร่วมประชุมด้วยเผยให้เห็ นว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีรัฐ 32 แห่งที่เสนอให้สั่งห้ ามกฎหมายชะรีอะฮ์ มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการสร้ างมัสยิดเพิ่มขึ้นมากกว่า 8 เท่า และจำนวนชาวอเมริกันที่มีความคิ ดเห็นในแง่ลบกับศาสนาอิสลามมี เพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า
แต่บทความของเฟฟเฟอร์ก็ตั้งข้ อสังเกตว่าไม่มีหลักฐานใดๆ เลยที่ระบุว่ามีการพยายามเรี ยกร้องกฎหมายชะรีอะฮ์ในสหรัฐฯ มีอยู่ครั้งเดียวเท่านั้นที่ผู้ พิพากษาศาลชั้นต้นอ้ างกฎหมายชะรีอะฮ์ในการพิ จารณาคดีแต่ก็ถูกศาลอุทธรณ์ ยกเลิกคำตัดสินอย่างเป็นเหตุเป็ นผล ขณะที่กลุ่มผู้เข้ามัสยิดก็ แสดงออกว่าพวกเขาพยายามลดแนวคิ ดแบบหัวรุนแรงลงไม่ใช่ส่งเสริ มให้เกิดแนวคิดแบบหัวรุนแรง ซึ่งมีการอ้างอิงเรื่องนี้ จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยดุ๊ กเมื่อปี 2553 หรือการสำรวจจากสถาบันเพื่ อนโยบายและความเข้าใจทางสังคม (ISPU) เมื่อไม่นานมานี้
"ถึงแม้ว่าแนวคิดต่อต้านชาวยิ วจะถูกรังเกียจในสากลโลก แต่อารมณ์ต่อต้านอิสลามแพร่ กระจายได้เพราะชาวอเมริกั นจำนวนมากเชื่อมโยงศาสนานี้กั บกลุ่มหัวรุนแรงจำนวนน้อยที่เรี ยกตัวเองว่าเป็นมุสลิมแทนที่ จะนึกถึงอีกร้อยละ 99.9 ที่ไม่ได้เป็นผู้เข้าร่วมกลุ่ มไอซิสหรืออัลกออิดะฮ์" เฟฟเฟอร์ตั้งข้อสังเกตในบทความ
บทความใน FPIF ยังอ้างทั้งงานวิจัย ISPU ที่ระบุว่าชาวมุสลิมในสหรัฐฯ ก็มีความคิดต่อต้าน "การตั้งเป้าหมายและสังหารพลเรื อนโดยบุคคลหรือกลุ่มเล็กๆ" มากเท่าๆ กับกลุ่มศาสนาอื่นๆ แต่แสดงการต่อต้านแนวคิด "การตั้งเป้าหมายและสังหารพลเรื อนโดยทหาร" มากกว่าศาสนาอื่นๆ
การที่ชาวอเมริกันมีความรู้พื้ นฐานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับชาวมุ สลิมในอเมริกันน้อยมากไม่ใช่แค่ เรื่องที่พวกเขาไม่ได้ติดต่อรู้ จักกับชาวมุสลิมเป็นการส่วนตั วหรือแค่การขาดข้อมูลในหลักสู ตรการศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่ยังมาจากเรื่องความมั่นคงที่ ถูกปั้นแต่งขึ้นมาเองด้วย เฟฟเฟอร์ระบุว่ามีพวกนักเขี ยนบทความและนักกิจกรรมระดับย่ อยๆ บางคนทำให้ความคิดจากการบิดเบื อนของพวกเขากระจายไปสู่สื่ อกระแสหลักจนกลายเป็ นวาทกรรมทางการเมืองได้
จากชายขอบสู่ใจกลาง
ไม่เพียงแต่ทรัมป์เท่านั้น แม้แต่นักการเมืองฝ่ ายเดโมแครตอย่างฮิลลารี คลินตัน ก็อาจจะติดกับดักการเหมารวมคนด้ วยศาสนาไปโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน ในบทความของเฟฟเฟอร์อ้างถึ งตอนที่คลินตันกล่าวสุนทรพจน์ ประกาศชัยชนะอ้างถึงคนตัวเล็กๆ ทั้งหลายว่ามีส่วนในการทำให้ เธอประสบความสำเร็จอย่ างไรและจะเกิดความน่ากลัวอะไรบ้ างถ้าอีกฝ่ายหนึ่งชนะ "พวกเขาจะเหมารวมและใส่ร้ายมุ สลิมอเมริกันที่เกลียดการก่ อการร้ายและทำงานหนัก"
ถึงจะฟังดูดีแต่ในมุมมองของโอมิ ด ซาฟี หัวหน้าศูนย์อิสลามศึกษามหาวิ ทยาลัยดุ๊กแล้วคำกล่าวถึงมุสลิ มอเมริกันของคลินตันยังมีปัญหา เพราะเหมือนกับเป็นการสื่ อความหมายว่าชาวมุสลิมอเมริกั นที่ดีต้องเป็นพวกที่เกลียดผู้ ก่อการร้ายด้วยเท่านั้นไม่เช่ นนั้นจะถูกมองว่าเป็นผู้มีส่ วนร่วมด้วย แต่ในกรณีการสังหารผู้คนด้วยน้ ำมือของชาวคริสต์อย่างดิแลนน์ รูฟ กลับไม่มีแรงกดดันเรียกร้องให้ ชาวคริสต์ต้องเกลียดเขาเลย
เฟฟเฟอร์ระบุว่าสำหรับคนอเมริกั นแล้ว ชาวมุสลิมคือ "คนอื่น" เป็นกลุ่มคนที่ต้องพยายามพิสู จน์ตัวเองให้คนอื่นเข้าใจอยู่ เสมอว่าไม่ได้เป็นคนที่ชื่ นชมการก่อการร้าย ในสภาพบรรยากาศเช่นนี้ในสหรัฐฯ ชาวมุสลิมมักจะถูกระแวงสงสัยอยู ่เสมอ องค์กรชาวมุสลิมต้องออกมากล่ าวประณามซ้ำๆ เวลาที่มีการก่อการร้ายใดๆ ก็ตามที่ถูกโยงเข้ากับชาวมุสลิ มแต่สื่อกระแสหลักก็ไม่ได้ สนใจการประณามของพวกเขาเลยจนทำใ ห้เกิดการผลิตซ้ำความเชื่อผิดๆ ที่กล่าวหาว่าชาวมุสลิมแอบเห็ นด้วยกับกลุ่มก่อการร้ายอย่างอั ลกออิดะฮ์และไอซิสโดยอัตโนมัติ
เฟฟเฟอร์ระบุต่อไปว่าถึงแม้ชั ยชนะเหนือผู้ที่ป้ายสีคนอื่นด้ วยความหวาดกลัวอิสลามย่างไม่มี เหตุผลจะเป็นสิ่งสำคั ญในการทำลายความหวาดกลัวอิ สลามอย่างไม่มีเหตุผลหรืออย่ างน้อยก็ทำให้ความคิด-ความรู้สึ กเช่นนี้ถูกจัดอยู่ในระดับเดี ยวกับการเหยียดเชื้อชาติ และการต่อต้านชาวยิว แต่ก็ยังมีปัญหาท้าทายมากกว่านั ้น
ซาฟีเสนอว่าเราไม่ควรต่อสู้กั บความไม่อดกลั้นต่อความแตกต่าง (intolerance) ด้วยการเรียกร้องให้อดทนอดกลั้น (tolerance) คำๆ นี้มีที่มาจากเภสัชศาสตร์ โบราณที่หมายถึง "ความอดทน" ต่อพิษในร่างกายของคน แต่ซาฟีบอกว่ามุสลิมไม่ใช่พิษ พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของสั งคมอเมริกันเหมือนกับชาวอเมริกั นอื่นๆ พวกเขาสมควรได้รั บความเคารพในความเป็นมนุษย์ทั ดเทียมกับคนอื่นๆ ที่มีความแตกต่างในสังคม
"ความแตกต่างทำให้สหรัฐฯ รุ่งเรือง คนที่ต้องงการให้มีวั ฒนธรรมตามแบบแผนเดียวกั นควรจะไปอยู่ในที่เช่นซาอุดิ อาระเบีย" เฟฟเฟอร์ระบุในบทความ
บทความใน FPIF ระบุว่าชาวมุสลิมคือผู้ที่ปฏิบั ติตามหลักศาสนาเช่นเดียวกั บศาสนานับถือพระเจ้าองค์เดี วศาสนาอื่นๆ และการสำรวจของ ISPU ก็แสดงให้เห็นว่าชาวมุสลิมอเมริ กันมีความคิดอ่านแบบเดียวกั บคนอเมริกันอื่นๆ คือเน้นเรื่องเศรษฐกิจ พวกเขาแสดงตัวว่าเป็นคนรักชาติ อย่างมาก เป็นคนที่คิดว่าความเป็นอเมริกั นเป็นส่วนสำคัญในตั วตนของพวกเขาเอง
บทความของเฟฟเฟอร์ย้อนกลั บมาเปรียบเทียบปรากฏการณ์ซาดิก ข่าน กับการเมืองสหรัฐฯ โดยระบุว่าที่ผ่านมามีพวกเชื่ อเรื่องสมคบคิด (conspiracy) ไม่ชอบบารัค โอบามา เพราะเชื่อว่าเขาเป็นมุสลิ มมาโดยตลอด แต่นั้นก็เป็นแค่ตัวอย่างหนึ่ง ในฐานะประธานาธิบดีที่มีเชื้ อสายคนผิวดำชัยชนะของโอบามาก็ ไม่ได้ทำให้การเหยียดเชื้อชาติ หมดลงโดยสิ้นเชิงแต่มันก็ถือเป็ นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ชุ มชนคนผิวดำมีสถานะทางสังคมที่ดี ขึ้นและเป็นการตอกฝาโลงให้กั บการมองพวกเขาด้วยอคติ
เฟฟเฟอร์ระบุอย่างมีความหวังว่า "สักวันหนึ่งในอนาคตเมื่อความพิ เรนทร์ของโดนัลด์ ทรัมป์ กลายเป็นความทรงจำในอดีตและแม้ แต่การแสดงความหวาดกลัวอิ สลามอย่างไม่มีเหตุผลแบบเบาๆ ของพวกนักการเมืองกระแสหลักก็ จะถูกมองว่าคร่ำครึล้าสมั ยแบบเดียวกับการพูดต่อต้านชาวยิ วเป็นนัยๆ ดูสุภาพๆ แบบอเมริกายุคคริสตทศวรรษ 1950s คนที่ได้ตำแหน่งในห้องสำนั กงานประธานาธิบดีของทำเนี ยบขาวจะประกาศด้วยความภาคภูมิ ใจว่าเขาเป็นทั้งชาวอเมริกั นและชาวมุสลิม"
"มันอาจจะมีทั้งเสียงเชียร์ และเสียงโห่ แต่พวกเราก็จะได้เห็นว่ายุคสมั ยของความหวาดกลัวอิสลามอย่างไม่ มีเหตุผลได้ผ่านพ้นไปแล้ วจนทำให้คนตอบโต้เรื่องพวกนี้ด้ วยการหาวหรือยักไหล่ใส่" เฟฟเฟอร์กล่าว
เรียบเรียงจาก
Sadiq Khan and the End of Islamophobia, John Feffer, Foreign Policy In Focus, 11-05-2016
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น