เฟเมน-เฟมินิสต์-มุสลิม
Posted: 17 May 2016 11:08 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
จากกรณีกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่ อรณรงค์และเรียกร้องสิทธิสตรี FEMEN (เฟเมน) 4 คน สวมชุดคลุมยาวสีดำนั่งอยู่ในที่ ประชุมกับผู้เข้าร่วมงานอื่นๆ ลุกขึ้นประท้วงโดยเดินขึ้ นไปบนเวที แล้วเปลือยกายท่อนบน เผยให้เห็นข้อความที่เขียนไว้ บนหน้าอกพร้อมตะโกนว่า “พระเจ้าไม่ใช่นักการเมือง” (Allah is not politician.) ระหว่างที่ศาสตราจารย์ฏอริก รอมาฎอน (Tariq Ramadan) ผู้ซึ่งชุมชนมุสลิมเห็นว่าเป็ นนักวิชาการสัญชาติสวิสหัวก้ าวหน้ากำลังบรรยายในงานประชุ มประจำปีครั้งที่ 33 ของมุสลิมในฝรั่งเศส จัดโดยสหพันธ์องค์การอิสลามแห่ งฝรั่งเศส (l'UOIF) ที่ Le Bourget ฝรั่งเศส เมื่อวันเสาร์ที่ 14 พ.ค. 2559[i] การเคลื่อนไหวครั้งนี้ถูกวิ พากษ์วิจารณ์จากชุมชนมุสลิ มหลายแห่ง โดยเฉพาะในสื่อและเครือข่ายสั งคมออนไลน์ว่า FEMEN กระทำการรุนแรงและ “ผิดคน”
การประท้วงของกลุ่ม FEMEN ในลักษณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นครั้ งแรกและไม่ได้มีเป้าหมายเฉพาะต่ อต้านนักการศาสนาอิสลาม แต่โดยรวมกลุ่มมีความมุ่ งหมายเพื่อปกป้องสิทธิและคื นอำนาจบนเนื้อตัวร่างกายให้กั บผู้หญิง คัดค้านและต่อต้ านการครอบงำทางเพศและการเหยี ยดเพศ เครือข่ายของกลุ่มกระจั ดกระจายอยู่ในหลายประเทศหลั งจากการเริ่มประท้วงของสมาชิ กหลักในยูเครนเพื่อต่อต้านอุ ตสาหกรรมทางเพศและการค้าหญิ งในนามองค์กรจัดหาคู่ให้ชาวต่ างชาติ ต่อต้านอำนาจของสถาบั นศาสนา และระบบเผด็จการตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา
ส่วนใหญ่กลุ่ม FEMEN เคลื่อนขบวนไปในที่ชุมนุมสำคั ญทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และศาสนา เช่น การประท้วงเปลือยอกในงานจั ดแสดงสินค้าอุตสาหกรรมเมือง Hannover เยอรมนี เมื่อปี 2556 จนเกิดเหตุชุลมุนต่อหน้ าประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย และนายกรัฐมนตรีแองเกลา แมร์เคิล แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี[ ii]
ส่วนใหญ่กลุ่ม FEMEN เคลื่อนขบวนไปในที่ชุมนุมสำคั
กระแสวิพากษ์วิจารณ์แนวคิดและยุ ทธศาสตร์ที่มีต่อการดำเนิ นงานของกลุ่ม FEMEN จากนักเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้ องสิทธิสตรีเกิดขึ้นเป็ นจำนวนมาก บางคนมองว่ากลุ่ม FEMEN มุ่งสร้างความตื่นตา ตรึงความสนใจจากสังคมเพียงชั่ วครู่ราวการละเล่นเพื่อล้อเลียน บ้างเห็นว่าเป็นการดำเนิ นงานในนามของการปลดปล่อยร่ างกายให้เป็นอิ สระตามแนวทางของเสรีนิยมใหม่
Theresa O’Keefa[iii] เห็นว่าพื้นที่ร่วมในการเรียกร้ องและปกป้องสิทธิสตรีถู กครอบครองโดยนักเคลื่อนไหวคลื่ นลูกที่สาม-ยุคหลังสตรีนิ ยมขาดการวิพากษ์การครองอำนาจนำ ขาดการตั้งคำถามกับแนวคิดชายเป็ นใหญ่ และรากเหง้าของปัญหาจากอุ ดมการณ์ทุนนิยม สำหรับการประท้วงเปลือยอกของ FEMEN ยังอาศัยการจับจ้องของผู้ชาย ร่างกายจึงกลายเป็นสินค้าและวั ตถุที่ถูกจ้องมอง ไม่สามารถปลดปล่อยผู้หญิงให้เป็ นอิสระได้
Theresa O’Keefa[iii] เห็นว่าพื้นที่ร่วมในการเรียกร้
นักการศาสนาอิสลามและมุสลิ มกระแสหลักมองว่าสมาชิกกลุ่ม FEMEN เป็นคนนอกรีตและเชื้อร้ายที่ ทำลายสังคม โดยเฉพาะกรณีของอามีนา ไทเลอร์ (Amina Tyler) ถูกนักการศาสนาในตูนีเซียเรี ยกร้องให้รัฐบาลกักขั งและลงโทษเธอตามหลักกฎหมายอิ สลามเมื่อปี 2556 เนื่องจากเป็นผู้นำการชุมนุมหน้ ามัสยิดและสถานทูตพร้อมกับปล่ อยภาพเปลือยอกในสื่อเฟซบุ๊ก โดยมีข้อความประท้วงต่อต้านศี ลธรรมศาสนาและแสดงจุดยืนถึ งการครองสิทธิเหนือร่ างกายของตนเอง รวมถึงการไม่ถูกครอบงำและกดขี่ เป็นภาษาอาหรับและอังกฤษว่า
“Fuck your morals.”“My body belongs to me and is not the source of anyone’s honor.”
มุสลิมเป็นจำนวนมากและนักสตรีนิ
สำหรับการประท้วงล่าสุดของกลุ่ม FEMEN ที่พุ่งเป้าไปยังฏอริก รอมาฎอน จนชุมชนมุสลิมออกมาคัดค้านนั้น เนื่องจากในมุมมองของมุสลิ มและศาสนิกอื่นหลายส่วนเห็นว่ าเขาเป็นนักการศาสนาและนักวิ ชาการที่ต่อต้านการก่อการร้าย วิพากษ์มุสลิมสายแข็งกร้ าวและกลุ่มอนุรักษ์นิยม เขาพยายามทำโครงการสานเสวนาหลอม รวมความเป็นมุสลิมให้เข้ากับวั ฒนธรรมยุโรปผ่านแนวคิด “European Islam”
อย่างไรก็ตาม ในสายตาของ FEMEN ตลอดจนรัฐบาลฝรั่งเศสเห็นว่า อิสลามคือเผด็จการเบ็ดเสร็จนิ ยมและเผด็จการอำนาจนิยม ส่วนฏอริก รอมาฎอนคือนักเทศน์สายรากฐานนิ ยมที่กระตุ้นความเป็นการเมื องในศาสนาให้กับสังคมฝรั่งเศสที ่ยึดมั่นในอุดมการณ์เสรีนิยม เขาถูกห้ามไม่ให้บรรยายในมหาวิ ทยาลัยของฝรั่งเศส ในบทวิเคราะห์ของ Ali Saad แสดงถึงความไม่พอใจของรัฐบาลต่ อหลานของผู้ก่อตั้งกลุ่ มภราดรภาพมุสลิม (the Muslim Brotherhoods) ชาวอียิปต์ หรือฏอริก รอมาฎอน ในแง่ที่เขาเรียกร้องให้รั ฐบาลขจัดความเหลือมล้ำทางสังคม ยกการเลือกปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้ อยในฝรั่งเศส และนโยบายเชิงลัทธิเกลียดกลัวอิ สลาม[iv]
อย่างไรก็ตาม ในสายตาของ FEMEN ตลอดจนรัฐบาลฝรั่งเศสเห็นว่า อิสลามคือเผด็จการเบ็ดเสร็จนิ
การตื่นตัวของกระแสสตรีนิ ยมในแต่ละระลอกตั้งคำถามกั บอำนาจการตีความของสถาบันศาสนา ยิ่งไปกว่านั้นประวัติศาสตร์ ของแนวคิดสตรีนิยมเติบโตในฟากฝั ่งยุโรปและอเมริกาแล้วขยายไปยั งส่วนอื่นๆ ที่โลกทัศน์การมีอยู่ของชีวิ ตแตกต่างกัน ผู้หญิงในสังคมมุสลิมมักถู กฉายภาพของการถูกกดขี่ อยู่ในสถานะที่ตกต่ำ ในขณะที่การต่อสู้กับลัทธิ อาณานิคมของประเทศที่แนวคิ ดการตื่นตัวและฟื้นฟูอิสลามถู กใช้เพื่อเป็นพลังในการต่อต้ านจากการถูกกดขี่มักจัดให้ กระบวนการปลดแอกสตรีที่มี หลายเฉดและหลายระลอกอยู่ ในเขตแดนที่ถูกเลือกรับ หรือพึงระวัง ตลอดจนสวนทางกัน ปราการที่กั้นขวางการยอมรั บเอาแนวคิดสตรีนิยมที่ถูกพั ฒนาในโลกทัศน์อื่นจึงดูเหมื อนไม่ได้รับการต้อนรับนักและผู้ มีอำนาจในสถาบันศาสนามักชี้ ชวนให้สมาชิกชุมชนมุสลิ มระแวดระวังภั ยของการกลายสภาพเป็นอื่นเนื่ องจากสมาทานความเชื่อที่ตี ความว่าส่งผลต่อการสูญสิ้ นสถานภาพมุสลิมอีกด้วย
หากได้ย้อนมองผ่านกลุ่มนักคิดมุ สลิม การอธิบายและก่อเกิดสตรีนิยมมุ สลิมเป็นกระแสการฟื้นตัวที่ไม่ ใหม่นัก ในอารเบียเมื่อต้นศตวรรษที่ 19 เกิดขบวนการ “The Sister’s Movement” ขบวนการนี้มีเป้าหมายเพื่อจั ดแจงที่ทางของการอธิบายความอิ สลาม กระทั่งในช่วงคริสทศวรรษ 1980-1990 แนวโน้มในการตีความหลั กการศาสนาเพื่ออธิบายสิทธิสตรี ในอิสลามโดยกลุ่มนักสตรีนิยมเริ ่มขยายตัวมากยิ่งขึ้น เช่น ข้อถกเถียงและตำรับตำราของ Fatima Mernissi นักสตรีนิยมมุสลิมชาวโมรอคโค เกิดกระแสการแบ่งประเภทสตรีนิ ยมอิสลามออกจากสตรีนิยมมุสลิม เนื่องจากแนวโน้มที่นักสตรีนิ ยมในโลกอาหรับมีทั้งส่วนที่เป็ นกลุ่มผู้ปฏิเสธศาสนา ผู้ที่แยกโลกของการนับถื อศาสนาออกจากการใช้ชีวิตทางสั งคมและการเมือง ตลอดจนผู้ให้ ความสนใจการตรวจสอบตัวบทในคัมภี ร์เพื่ออธิบายสิทธิ ความเท่าเทียมทางเพศ และการปลดปล่อยผู้หญิงจากมุ มมองของศาสนา
การศึกษาและความเข้าใจเรื่องสิ ทธิสตรีที่ปรากฏในสังคมมุสลิ มดำรงอยู่ภายใต้ชุดคำอธิ บายกระแสหลักที่ได้รับการถ่ ายทอดโดยนักการศาสนา อาศัยการตีความตัวบทหลั กฐานจากแหล่งความรู้ในคัมภีร์ วัจนะศาสดา และตำราประวัติศาสตร์ศาสนา ผ่านการบอกเล่า อบรมสั่งสอน และยึดถือปฏิบัติตามกันมา ในเอกสารประวัติศาสตร์ ศาสนาและคัมภีร์อัลกุ รอานพบการกล่าวถึงผู้หญิ งในหลากสถานะ เช่น ราชินีบิลกีสในฐานะผู้ นำทางการปกครองเมืองซะบาอ์แห่ งเยเมน ได้รับการติดต่อให้รับเชื่ อพระเจ้าจากสารของกษัตริย์ โซโลมอน หรือที่มุสลิมนับว่าเป็นศาสดาท่ านหนึ่งถูกเรียกขานด้ วยภาษาอาหรับว่าสุไลมาน ปรากฏในอัลกุรอานบทที่ 27 โองการที่ 17-31 กรณีของมัรยัมหรือแมรี หญิงในฐานะมารดาของศาสดาอีซาหรื อพระเยซูที่ต้องต่อสู้กับคำให้ ร้ายจากสังคมเมื่อนางให้กำเนิ ดบุตรชายโดยปราศจากการมีเพศสั มพันธ์ ปรากฏเรื่องราวของมัรยัมที่ได้ รับเกียรติให้ชื่อของนางเป็นชื่ อบทหนึ่งในคัมภีร์อัลกุรอานลำดั บที่ 9 และกรณีอาอีชะห์ ในฐานะภรรยาของศาสดามุฮำมัด มีบทบาทสำคัญทั้งในช่วงที่ ศาสดายังมีชีวิตและหลังจากนั้น อาอีชะห์มีความรู้กว้างขวางในวิ ชาการอิสลาม สามารถถ่ายทอดให้ความรู้ให้กั บศิษย์ทั้งชายและหญิงรวมทั้ งสหายของศาสดา นางเป็นผู้จดจำและรายงานฮาดิษ[ v] 2210 ฉบับ[vi] นับเป็นหลักฐานสำคัญในการศึ กษาเชิงตัวบทที่สัมพันธ์กับบริ บทสังคมในยุคต้นอิสลาม
ความรู้เรื่องบทบาทและสถานะผู้ หญิงดังกล่าวข้างต้นเป็นที่รั บรู้ กล่าวยกย่องสรรเสริญกั นในแวดวงมุสลิมในฐานะบทเรี ยนทางประวัติศาสตร์ที่ควรทราบ เพื่อสร้างความประทับใจและชื่ นชมถึงความยิ่งใหญ่ของผู้คนในยุ คแห่งความเรืองรองของอิสลาม มีน้อยครั้งที่ประวัติศาสตร์ ศาสนาว่าด้วยผู้หญิงได้รับเลื อกสรรเพื่ออภิปรายและวินิจฉั ยเพื่อใช้พิจารณานัยที่แฝงอยู่ ในตัวบทประกอบการทำความเข้ าใจสถานภาพผู้หญิงในสังคมมุสลิม การศึกษาเรื่องผู้หญิง-ผู้ ชายในอิสลามกลายเป็นการผู กโยงระหว่างวินัยกับการลงโทษ เช่นการสอนของนักการศาสนาในชุ มชนและตำราที่ใช้เผยแพร่เน้ นการดำรงความเป็นภรรยาที่ดี เชื่อฟังและอยู่ในโอวาทสามี หากละเมิดวินัยดังว่าจะถู กลงโทษตามระดับของความผิดที่ แตกต่างออกไป เช่น ไม่ร่วมหลับนอน ตี หย่าร้าง เป็นต้น วิธีการเช่นนี้นับว่าเป็ นการลดทอนสาระสำคัญของการอธิ บายระบบความสัมพันธ์หญิง- ชายในอิสลามที่เต็มไปด้วยมิติที ่หลากหลาย ตลอดจนแสดงถึงการกำกั บอำนาจของเพศชายในฐานะผู้ปกป้ องกฎแห่งพระเจ้าเหนือภรรยาของตน
การศึกษาเพื่อทำความเข้าใจแนวคิ ดสตรีนิยมของสังคมมุสลิมในไทย ผู้เขียนพบในเบื้องต้นว่าสัมพั นธ์กับความรู้ที่ถูกย่อย ตีความ และคัดสรรโดยผู้รู้และนั กการศาสนาเป็นส่วนใหญ่ที่สำเร็ จการศึกษาจากสถาบันการศึ กษาในโลกมุสลิม ขณะที่หลักฐานทางวิ ชาการศาสนาเช่นนี้ปฏิเสธแนวคิ ดกระแสการเรียกร้องสิทธิสตรี สากล เห็นว่าข้อเสนอในกรอบดังกล่าวมี เบื้องหลังความคิดและชุดคำอธิ บายตามโลกทัศน์ที่แตกต่ างไปจากอิสลาม อาทิ โลกทัศน์แบบทุนนิยม คริสเตียน และสิทธิสตรีที่ปฏิเสธความเชื่ อในพระเจ้า การปฏิเสธแนวคิดกระแสการเรียกร้ องสิทธิสตรีสากลนี้หมายรวมไปถึ งการไม่เรียกและไม่นับว่ าตนเองอยู่ในกระแสของการเป็นนั กสตรีนิยมหรือ feminist[vii] ในส่วนการเสนอแนวคิดอิสลามกั บประเด็นเพศสภาพและเพศวิถีของนั กสตรีนิยมมุสลิมที่ใช้วิธีวิ ทยาทางสังคมศาสตร์ ความรู้ด้านสตรีศึกษา และเทววิทยากับการตีความใหม่ไม่ เป็นที่นิยมนำมาศึกษาด้วยเกรงว่ าอาจทำให้ละทิ้งศาสนา หรือเกิดความผิดพลาดต่อหลักอากี ดะห์ (Aqida หรือ Islamic creed) อันเป็นข้อเชื่อสำคัญในการนับถื อศาสนาอิสลาม
นักคิดและนักเคลื่อนไหวคนสำคั ญที่นักการศาสนามุสลิ มในไทยและอีกหลายประเทศปิดประตู การเรียนรู้อรรถกถาใหม่เนื่องด้ วยเหตุที่เธอเคยเป็นผู้ นำละหมาดวันศุกร์ในนครนิวยอร์ คเมื่อปี 2005[viii] คือ อามีนา วาดูด (Amina Wadud) อามีนาเป็นนักวิชาการอิ สระชาวแอฟริกันอเมริกัน หลังจากเคยทำงานเป็นอาจารย์ มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริ กาและมาเลเซีย อามีนามีผลงานวิชาการที่โดดเด่ นคือ Inside the Gender Jihad: Women's Reform in Islam (2006) และ Qur’an and Woman Rereading the Sacred Text from a Woman's Perspective (1999) เป็นงานเขียนที่ว่าด้วยการตี ความหลักการศาสนาใหม่จากมุ มมองและประสบการณ์ของผู้หญิง ตลอดจนการนำแนวคิด “ญิฮาด” หรือต่อสู้กับความอ่อนแออย่ างเด็ดเดี่ยวในทางศาสนามาเป็ นแกนกลางในการรื้อฟื้ นอำนาจและสถานภาพผู้หญิงมุสลิม
นอกจากอามีนาแล้ว ยังมีนักวิชาการและนักเคลื่ อนไหวทางสังคมในเครือข่ายของนั กสตรีนิยมมุสลิมที่ทำงานกับนั กการศาสนาหัวก้าวหน้าอีกเป็ นจำนวนมาก เช่น ฟาฏิมา เมอร์นิสซี (Fatima Mernissi) นักสตรีนิยม นักสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ฟาฏิมาเขียนตำราวิ ชาการในภาษาฝรั่งเศสและได้รั บการแปลเป็นภาษาต่างๆ เช่น หนังสือเรื่อง Beyond the Veil: Male-Female Dynamics in a Muslim Society (1975, 1985, 1987), The Veil and the Male Elite: A Feminist Interpretation of Islam (1992) และ Women’s Rebellion and Islamic Memory (1993) เธอเพิ่งเสียชีวิตเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2558 หากแต่ไม่ได้รับการกล่าวไว้อาลั ยหรือพูดถึงคุณู ปการของการทำงานของเธอเพื่ อนำเอาความคิดเช่นนี้มาประยุกต์ ใช้ เนื่องจากชุมชนมุสลิมในไทยไม่ เห็นว่าเป็นแหล่งการศึกษาที่ สำคัญ หรือเป็นข้อมูลที่ไกลออกไปจากชุ ดข้อมูลความรู้ที่ควรแสวงหา หรือหากรับรู้ก็เต็มไปด้วยท่าที ที่ระมัดระวังอย่างยิ่งยวด
กลุ่มนักการศาสนาและนักวิ ชาการหญิงมุสลิมในไทยที่ได้รั บการยอมรับในฐานะผู้รู้ สามารถอธิบายบทบาทความสัมพันธ์ หญิงชายในมิติอิสลามมักเป็นผู้ สอนในสถาบันการศึกษา เช่น ครูอาจารย์โรงเรี ยนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่มี กระจายอยู่เป็นจำนวนมากในจังหวั ดชายแดนภาคใต้ตลอดจนพื้นที่อื่ นๆ ของประเทศ หนึ่งในนั้นคือมาเรียม สาเมาะ นักการศาสนาหญิงที่สำเร็จการศึ กษาจากสถาบันศึกษาอิสลามชั้นสู งนิลัมปุรี (Yayasan Pengajian Tinggi Islam Nilam Puri) เมืองโกตาบาห์รู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย[ix] หลังจากที่มาเรียมไม่ ประสบความสำเร็จในการชิงชัยเป็ นตัวแทนทางการเมืองของพรรคกิจสั งคมเมื่อปี 2519 เธอตัดสินใจเปิดโรงเรียนสอนเด็ กกำพร้าหญิงและยากจนบ้านสุ ไหงปาแน จ.ปัตตานี ด้วยการสนับสนุนจากครอบครัว ครูอาจารย์ และกลุ่มผู้หญิงที่เคยเรียนที่ มาเลเซียมาด้วยกัน มาเรียมเป็นที่ปรึกษาด้ านศาสนาของเครือข่ายผู้หญิงยุติ ความรุนแรงแสวงสันติภาพสามจั งหวัดชายแดนภาคใต้ กรอบความคิดในประเด็นหญิ งชายของมาเรียมที่เคยเสนอในที่ ประชุม ‘ชีวิตผู้หญิงมลายูมุสลิม: มายาคติและความเป็นจริง’ เมื่อปี 2549[x] มีแนวโน้มในการให้ความสำคัญกั บการบทบาทของผู้หญิ งในกระบวนการสันติภาพ เน้นย้ำการดำรงสถานะของความเป็ นภรรยา แม่ และแม่บ้านที่ดี โดยถือว่าบ้านเป็นพื้นที่ของผู้ หญิงและเป็นสถานที่สำคั ญในการสร้างสังคมที่สงบสันติ
นอกจากนี้ อาจารย์ผู้สอนระดับมหาวิทยาลั ยโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยฟาฏอนีซึ่ งนับเป็นสถาบันอุดมศึ กษาเอกชนแห่งแรกของประเทศไทยที่ เปิดการเรียนการสอนวิ ชาการศาสนาควบคู่ไปกับวิ ชาการแขนงอื่นๆ กำเนิดในนามวิทยาลัยอิ สลามยะลาเมื่อปี 2541 หลังจากนั้นได้ปรับเปลี่ ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยและใช้ นามว่ามหาวิทยาลัยอิสลามยะลาเมื ่อปี 2550 มีการปรับเปลี่ยนนามอีกครั้ งตามชื่อในปัจจุบันเมื่อปี 2556[xi] ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดี ในฐานะผู้รู้ที่มีบทบาทสำคั ญในการอธิบายหลักการศาสนาอิ สลามตามแนวทางปฏิรูป ท่านมักได้รับเชิญให้เป็นที่ปรึ กษาในการแสดงความเห็นต่อข้ อเสนอเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ตลอดจนประเด็นที่เกี่ยวกั บบทบาทความสัมพันธ์หญิงชายในอิ สลาม[xii]
สถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่จั ดการเรียนการสอนหลักสูตรอิ สลามศึกษาในภาคใต้ก่อนมหาวิ ทยาลัยฟาฏอนีคือวิทยาลัยอิ สลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการที่ คณาจารย์มีบทบาทในการอธิ บายประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคมมุสลิม บุคคลที่ยังคงมีบทบาทในสังคมมุ สลิมคือ ดร.อิสมาแอล อาลี อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ และคณาจารย์คนอื่นๆ เช่น มะรอมนิง สาแลมิง ผู้เคยแสดงความเห็นต่อการอธิ บายแนวคิดบทบาทหญิงชายในที่ ประชุมหลายแห่ง รวมทั้งผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ คนปัจจุบันคือ ดร.ยูโซะ ตาเละ[xiii] ในบทความ “ผู้หญิงในอิสลาม” ยูโซะได้ชี้ให้เห็นว่าทั้ งชายและหญิงในอิสลามเท่าเทียมกั นทั้งในด้านตัวตนและศักดิ์ศรี แห่งความเป็นมนุษย์ทั้งด้ านศาสนา สังคม การเมือง เศรษฐกิจ และการศึกษา[xiv]
บทวิเคราะห์การอธิบายถึงตั วตนของมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ตลอดจนความเป็นองค์ประธานของผู้ หญิง ปรากฏในงานสำคัญหลายชิ้นของนั กสังคมศาสตร์ที่ศึกษาชุมชนมุสลิ ม เช่น Politics of Piety, The Islamic Revival and the Feminist Subject ผลงานของ Saba Mahmood[xv] เธอศึกษาขบวนการเคลื่ อนไหวทางศาสนาของผู้หญิงในกรุ งไคโร ประเทศอียิปต์ กลุ่มหนึ่งที่รวมตัวกันเพื่อเรี ยนและปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่ งครัด Mahmood เสนอผ่านแนวคิดเสรีภาพในการเลื อก อันเป็นแนวคิดหลักของสตรีนิยมว่ าความเข้มงวดต่อการปฏิบัติภักดี ของผู้หญิงกลุ่มนี้ไม่ได้ดำเนิ นภายใต้สภาวะกดดันหรือการขู่บั งคับให้ทำตามโดยกลุ่มนั กการศาสนาชายที่ถื อครองอำนาจในการตี ความศาสนาและมี บทบาทในกลไกการออกกฎเกณฑ์ต่างๆ เธอวิเคราะห์ว่าผู้หญิงกลุ่มนี้ ได้เลือกสร้างตัวตนบนพื้นที่ ของความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างที ่มองผู้หญิงไม่เท่าเทียมกับผู้ ชาย
ในขณะที่งานของยูโซะ ให้ความสำคัญกับบทวิเคราะห์ตั วตนของผู้หญิงในภาคเอกสาร ส่วนใหญ่เป็นการอ้างอิงงานของนั กการศาสนาที่มีอิทธิพลต่อความคิ ดในโลกมุสลิม เช่น แนวคิด one soul หรือนัฟซุนวาหิดะห์ อันเป็นที่มาของการบังเกิดมนุ ษย์และการกำหนดสถานภาพที่เท่ าเทียมกัน ส่วนสาเหตุที่ผู้หญิงมุสลิมมี สถานะตกต่ำ ยูโซะอ้างอิงบทวิเคราะห์ของ Faruqi (Historical Atlas of the Religions of the World, 1974) กล่าวถึงปัจจัยทางการเมื องภายนอกและภายในสังคมมุสลิม โดยเฉพาะการปิดกั้นการอิจญ์ติ ฮาดหรือความพยายามในการวิ เคราะห์และวินิจฉัยบทบัญญัติ การปล่อยให้อำนาจของระบบราชาธิ ปไตยเข้ามากำกับชีวิตของชาวมุ สลิม ตลอดจนการยอมรับจริยธรรมทางสั งคมรูปแบบใหม่ เช่น ความฟุ้งเฟ้อ สะสมทรัพย์ ห่างไกลจากการขัดเกลาจิตวิญญาณ ตลอดจนการยึดถือแนวทางแบบจารี ตอิสลาม
หากสังเกตกลุ่มนักคิดและนักวิ ชาการศาสนาที่มีบทบาทในสังคมมุ สลิมของไทยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ ได้รับอิทธิพลความคิดปฏิรูปอิ สลาม ไม่ว่า อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา, อิสมาแอล อาลี, มาเรียม สาเมาะ ตลอดจนฮามีดะห์ อาแด หนึ่งในอดีตอาจารย์หญิงอาวุ โสของวิทยาลัยอิสลามศึกษา สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเดียวกั บมาเรียม สาเมาะ และเป็นผู้หญิงมุสลิ มคนแรกจากประเทศไทยที่เข้าศึ กษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาที่ ม.อัลอัซฮัร กรุงไคโร ในสาขานิติศาสตร์อิสลาม พื้นที่ในการดำเนินกิ จกรรมทางความรู้เรื่องผู้หญิ งในอิสลามของฮามีดะห์คือถ่ ายทอดความรู้ผ่านกลุ่มศึกษา (Halaqah หรือ study group) ร่วมกับคณาจารย์และบุคลากรหญิ งในมหาวิทยาลัยฟาฏอนีและเครือข่ ายสตรีมุสลิมภาคใต้ซึ่งเป็นกลุ่ มมุสลิมสายปฏิรูป ฮามีดะห์เป็นนักวิชาการหญิงมุ สลิมที่อยู่เบื้องหลังการดำเนิ นกิจกรรมทางความรู้ ให้ความสนใจการตีความตัวบทหลั กการอิสลามที่เกี่ยวข้องกับผู้ หญิงและเพศสภาพ เช่น วิพากษ์การใช้เหตุผลและข้ออ้ างทางศาสนาในการตัดสินใจเลือกมี ภรรยามากกว่าหนึ่งของชายมุสลิม หรือวิเคราะห์ศักยภาพผู้หญิงผ่ านอำนาจในการดูแลและจัดการเนื้ อตัวร่างกายของผู้หญิงเอง[xvi]
แม้ภาพเคลื่อนไหวของกลุ่ม FEMEN ห่างไกลจากประสบการณ์ชุดคำอธิ บายความเท่าเทียมและสัมพันธ์ ระหว่างเพศในสังคมไทยและชุมชนมุ สลิมในประเทศไทย แต่การกล่าวถึงกระแสการอธิ บายตำแหน่งแห่งที่ของผู้หญิงที่ ทบทวนอย่างคร่าวๆ ในเบื้องต้นอาจช่วยคลี่ คลายและปะติดปะต่อความสัมพันธ์ ระหว่างขบวนการเคลื่อนไหวเพื่ อปลดแอกผู้หญิงในหลากข้อเสนอ กับอำนาจในการอธิบายและตี ความความเชื่อทางศาสนาที่สัมพั นธ์กับแนวคิดเพศสภาพในสังคม เห็นถึงอำนาจเชิงระบบที่อยู่ ในรูปของสถาบั นทางศาสนาและความคิดที่ได้รั บการถ่ายทอดจากประเพณี เกิดการตั้งคำถามที่ท้าทายต่ อการตีความศาสนาเพื่อยั งประโยชน์ต่อความเข้าใจที่ยั งคงลักลั่นในการอธิบายความยุติ ธรรม เช่นเดียวกับการเข้าถึงความรู้ ของผู้หญิงในการตีความวิธีคิดอิ สลามและความเปลี่ ยนแปลงของกระแสสตรีนิยมอื่นๆ ในสังคมโลก
ความน่าสนใจที่ได้จากการเรียนรู ้ปรากฏการณ์การเคลื่อนไหวอี กประการหนึ่งของกลุ่ม FEMEN ที่แม้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนั กสตรีนิยมบางค่ายถึงการไม่ สามารถทะลวงแก่นแกนในการต่อสู้ กับอำนาจของสังคมที่ไม่เท่าเที ยมกัน แต่หากพิ จารณาความสามารถในการกำหนดเป้ าหมายและปฏิบัติการให้บรรลุสิ่ งที่ตนเลือกอันหมายรวมถึงความรู ้สึกของปัจเจกในการเป็นผู้ปฏิบั ติที่เกี่ยวพันกับการตัดสินใจ ผู้ปฏิบัติการในฐานะสมาชิ กของกลุ่ม FEMEN จึงยังคงมีบทบาทในการต่อรอง ต่อต้าน และล้มล้างความไม่เป็นธรรมได้ ในบางขั้นตอน
ในระดับกลุ่มชนมุสลิ มในประเทศไทยและสังคมไทยเอง ผู้เขียนเห็นว่าจำเป็นต้องมี การศึกษาอย่างลุ่มลึกถึ งอำนาจในการผลักดันนโยบายจากส่ วนบนไม่ว่ารัฐและสถาบันศาสนา รวมทั้งแนวคิดชายเป็นใหญ่ที่ผู กแน่นอยู่กับสังคมท้องถิ่ นและจารีต ตลอดจนการสร้างพื้นที่และตั วตนขององค์ประธาน เช่น หญิงผู้ประสบเหตุแห่งความรุ นแรงในกรณีสถานการณ์ความไม่ สงบในชายแดนภาคใต้ มักถูกกำกับอยู่ภายใต้นโยบายรัฐ กลุ่มองค์กรต่างๆ หญิงผู้รู้ศาสนาที่มีศั กยภาพในการทำความเข้าใจตั วบทคำสอนที่มีอิทธิพลต่อการปฏิ บัติของผู้คน และมีจุดยืนต่อการทำความเข้ าใจสังคมอย่างวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพั ฒนาความรู้ความเข้าใจประเด็ นเพศสภาพของชุมชนมุสลิมที่ สามารถกระทำได้มากกว่าแค่บ่ นและก่นด่าหรือรอคอยคำอธิ บายจากสถาบันทางการต่างๆ เพียงอย่างเดียว
เชิงอรรถ
[i] Morocco World News. Topless FEMEN Activists Attack Muslim Scholar Tariq Ramadan. (16 พฤษภาคม 2559). สืบค้นจาก
[ii] Timm, Annette and Sanborn, Joshua. 2007. Gender, Sex, and the Shaping of Modern Europe: A History from the French Revolution to the Present Day. Oxford and New York: Berg.
[iii] Theresa O’Keefa. 2014. “My Body Is My Manifesto! SlutWalk, FEMEN and Femmenist Protest” in Feminist Review, 107: 1-19.
[iv] Saad, Ali. Why is Tariq Ramadan demonised in France? (16 พฤษภาคม 2559). สืบค้นจาก
[v] หะดิษ หรือ บางตำราเขียนว่าฮะดิษ เป็นหลักฐานขั้นรองในการอธิ บายศาสนบัญญัติในอิสลาม เพื่อใช้ในการสนับสนุนหลั กการทางศาสนาในเชิงแนวคิดและปฏิ บัติ หะดิษมาจากคำพูดของศาสดา ท่าทีหรือการยอมรับและการปฏิ เสธของศาสดา และการกระทำหรือภาคปฏิบัติ การของศาสดา
[vi] Grey, Sarah. 2010. Women’s Role as Teachers, Leaders, and Contributors to the Waqf in Damascus. Research Report for Julia Meltzer, 14.
[vii] Marddent, Amporn. Notions of Gender and Muslim Women in Thailand. Paper Presented at International Workshop on New Approaches to Gender and Islam: Translocal and Local Feminist Networking in South and Southeast Asia at Institute of Asian and African Studies Humboldt University Berlin, 29-30 April 2011._____. 2013. Religious Piety and Muslim Women in Thailand. In Susanne Schröter (ed.) Gender and Islam in Southeast Asia. Leiden, Boston: Brill: 241-265.
[vi] Grey, Sarah. 2010. Women’s Role as Teachers, Leaders, and Contributors to the Waqf in Damascus. Research Report for Julia Meltzer, 14.
[vii] Marddent, Amporn. Notions of Gender and Muslim Women in Thailand. Paper Presented at International Workshop on New Approaches to Gender and Islam: Translocal and Local Feminist Networking in South and Southeast Asia at Institute of Asian and African Studies Humboldt University Berlin, 29-30 April 2011._____. 2013. Religious Piety and Muslim Women in Thailand. In Susanne Schröter (ed.) Gender and Islam in Southeast Asia. Leiden, Boston: Brill: 241-265.
[viii] ชุมชนมุสลิมโดยทั่วไปอธิบายว่ าอิสลามไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเป็ นผู้นำละหมาดวันศุกร์ และนำละหมาดที่กระทำร่วมกั นระหว่างหญิงและชาย
[ix] พรรคพาส (PAS) หรือ the Pan-Malayan Islamic Party (Parti Islam SeMalaysia) เป็นพรรคอนุรักษ์นิยมใช้ศาสนาอิ สลามเป็นแนวทางการดำเนินกิ จกรรมทางการเมืองได้ก่อตั้ง Yayasan Pengajian Tinggi Islam Nilam Puri เมื่อปี 1965 หลังจากชนะการเลือกตั้งในรัฐกลั นตัน ซึ่งเป็นพื้นที่ฐานเสียงสำคั ญของพรรค ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจาก Stivens, Maila. ‘Family values’ and Islamic revival: Gender, rights and state moral projects in Malaysia. Women's Studies International Forum, 29(2006): 356.
[x] มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน. พื้นที่ของผู้หญิงในสามจังหวั ดภาคใต้ วันนี้ของผู้หญิงมลายูมุสลิม ในสามจังหวัดชายแดนใต้. (20 ธันวาคม 2558). สืบค้นจากhttp://v1. midnightuniv.org/midnight2544/ 0009999918.html
[xi] ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี. (2558). บทบาทมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ในการสร้างเครื่อข่ายสถาบันอุ ดมศึกษากับการพัฒนาภาคใต้. เอกสารสำเนา, มปท.
[xi] ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี. (2558). บทบาทมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ในการสร้างเครื่อข่ายสถาบันอุ
[xii] วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของ Aryud Yahprung (2014) หัวข้อ Islamic Reform and Revivalism in Southern Thailand: A Critical Study of the Salafi Reform Movement of Shaykh Dr. Ismail Lutfi Chapakia Al-Fatani (from 1986-2010) ศึกษาบทบาทของอธิการบดีมหาวิ ทยาลัยฟาฏอนีในฐานะผู้รู้ ศาสนาคนสำคัญในสายวิชาการที่มี ความสัมพันธ์และได้รับความไว้ วางใจจากกลุ่มมุสลิ มหลายประเทศในโลกอาหรับและมุสลิ มสายปฏิรูปในสังคมไทย
[xiii] ยูโซะ ตาเละ เป็นตัวแทนนักวิชาการมุสลิ มในไทยรุ่นแรกที่ได้รับเชิญจาก Center for Women Studies of the State Islamic University (IAN) Sunan Kalijaga, Yogyakarta อินโดนีเซีย เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่ อง Islam, Gender, Reproductive Rights โดยการสนับสนุนของมูลนิธิฟอร์ ดและภาคีเครือข่ายเพศสภาพในอิ สลาม เช่น SISTER IN ISLAM ในครั้งนี้ไลลา อาเก็บอุไร (บัวหลวง—ภรรยาของอัฮหมัดสมบู รณ์ บัวหลวง อัฮหมัดสมบูรณ์เป็นนักคิดและนั กกิจกรรมด้านความรุนแรงและสันติ ภาพภาคใต้ที่มีชื่อเสียง เสียชีวิตเมื่อกันยายน 2557) ผู้บริหารโรงเรียนสตรีพัฒนศึกษา จ.ปัตตานี เข้าร่วมอบรมเมื่อปี 2002 ด้วย ในรุ่นที่สองปี 2004 เป็นปีสุดท้ายที่มูลนิธิฟอร์ ดให้การสนับสนุนทุนในหัวข้ อการอบรมเดียวกัน ผู้เข้าร่วมอบรมจากไทยรุ่นที่ สองได้แก่ผู้เขียนพร้อมด้วยสุ กรี หลังปูเต๊ะ อาริน สะอีดี (เสียชีวิตแล้ว) เฟาซัน เจ๊ะแว (อาจารย์มหาวิทยาลัยฟาฏอนี) และวิริยา ขันธสิทธิ์ (นักกิจกรรมของสภายุวมุสลิ มโลกหรือ WAMY: World Assembly of Muslim Youth)
[xiv] ยูโซะ ตาเละ. (2555). ผู้หญิงในอิสลาม. ใน มูหัมมัดรอฟลี แวหามะ, มัสลัน มาหามะ และ รอมฎอน ปันจอร์, บรรณาธิการ. อิสลามกับความท้าทายในโลกสมั ยใหม่ มุมมองจากนักวิชาการชายแดนใต้. กรุงเทพฯ: คณะทำงานวาระสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[xv] Mahmood, Saba. 2005. Politics of Piety, the Islamic Revival and the Feminist Subject. New Jersey: Princeton University Press.
[xvi] Marddent, Amporn. “The Three Tigers”: Malay Muslim Women Revivalists in Thailand. Paper Presented at International Workshop on Female Islamic Authority in Comparative Perspective: Exemplars, Institutions, Practices at the Royal Netherlands Institute of Southeast Asian and Caribbean Studies (Koninklijk Instituut voor Taal-, Land- en Volkenkunde, KITLV), Leiden, January 8-9, 2015.
[xv] Mahmood, Saba. 2005. Politics of Piety, the Islamic Revival and the Feminist Subject. New Jersey: Princeton University Press.
[xvi] Marddent, Amporn. “The Three Tigers”: Malay Muslim Women Revivalists in Thailand. Paper Presented at International Workshop on Female Islamic Authority in Comparative Perspective: Exemplars, Institutions, Practices at the Royal Netherlands Institute of Southeast Asian and Caribbean Studies (Koninklijk Instituut voor Taal-, Land- en Volkenkunde, KITLV), Leiden, January 8-9, 2015.
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น