เครือข่าย ปชช.ยื่นหนังสือ รมว.สธ. เห็นด้วยแก้ กม.บัตรทอง แต่ต้องให้ ปชช.มีส่วนร่วม
Posted: 17 May 2016 01:24 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
17 พ.ค. 2559 รายงานข่าวแจ้งว่า อภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไ อวี/เอดส์แห่งประเทศไทย ในฐานแกนนำกลุ่มคนรักหลักประกัน สุขภาพ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตัวแทนกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภ าพ พร้อมด้วยแกนนำเครือข่ายประชาชน 9 ด้าน ได้แก่ เด็กหรือเยาวชน, สตรี, ผู้สูงอายุ, คนพิการหรือผู้ป่วยจิตเวช, ผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือผู้ป่วยเ รื้อรังอื่น, ผู้ใช้แรงงาน, ชุมชนแออัด, เกษตรกร และชนกลุ่มน้อย ได้เข้ายื่นหนัง สือต่อ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันส ุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เพื่อสนับสนุนการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ใช้มานาน เกินกว่า 10 ปีแล้ว ถือเป็นทิศทางที่ก้าวหน้า เพื่อให้ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ย นไปทั้งสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เพียงแต่ควรเป็นการปรับปรุงแก้ไ ขโดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่ วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
อภิวัฒน์ กล่าวว่า ในการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องไม่เปลี่ยนแปลงหลักการและเจ ตนารมณ์ของกฎหมาย พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นกฎหมายที่อิงกับหลักสิทธิมน ุษยชน มีเจตนารมณ์สำคัญที่มุ่งให้ประช าชนทุกคนได้รับสิทธิในการรับบริ การสาธารณสุขอย่างเสมอภาค และสามารถเข้ารับบริการได้โดยไม ่มีอุปสรรคกีดขวาง โดยเฉพาะอุปสรรคด้านการเงิน นอกจากนี้ประชาชนยังต้องไม่ล้มล ะลายจากการรักษา
ทั้งนี้จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีมีข้อ มูลเพียงว่าระบบหลักประกันสุขภา พเป็นปัญหาด้านงบประมาณของประเท ศ จึงสั่งให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎ หมายในลักษณะการรวมศูนย์อำนาจ โดยไม่เปิดให้มีการมีส่วนร่วม ทำให้เกิดความกังวลต่อการแก้ไขก ฎหมายอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนได ้ ดังนั้นกลุ่มคนรักหลักประกันสุข ภาพ พร้อมด้วยเครือข่ายประชาชน 9 ด้าน จึงขอเรียกร้องการดำเนินการแก้ไ ขกฎหมาย ดังนี้
ต้องเปิดรับฟังความเห็นประชาชน และให้มีตัวแทนประชาชนเข้าร่วมเ ป็นกรรมการพิจารณาปรับปรุงกฎหมา ย
ยืนยันเจตนารมณ์ของกฎหมายที่เป็ นการคุ้มครองสิทธิประชาชน เป็นสิทธิขึ้นพื้นฐาน จึงต้องจัดเป็นสวัสดิการถ้วนหน้ าและไม่ทำให้ประชาชนเข้าไม่ถึงก ารรับบริการ เพราะเหตุแห่งความยากจน การไม่มีรายได้ และต้องกลายเป็นผู้รับการสงเครา ะห์การรักษา ไม่ใช่เป็นเพราะเป็นสิทธิพื้นฐา นในการดำรงชีวิต
สำหรับในส่วนของการแก้ไขเนื้อหา พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นั้น นายอภิวัฒน์ กล่าวว่า ได้มีข้อเสนอให้ปรับปรุง อาทิ การให้คำนิยามบริการสาธารณสุขที ่ต้องชัดเจน ครอบคลุมทั้งเรื่องบริการสุขภาพ และสาธารณสุข, การยกเลิกเก็บเงินทุกครั้งที่เข ้ารับบริการในมาตรา 5 โดยสนับสนุนการร่วมจ่ายในรูปแบบ ภาษี, ปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการ 2 ชุด ตามมาตรา 13 และ 48 เพิ่มผู้แทนที่เกี่ยวข้องกับการ บริหารกองทุนโดยตรง และปรับผู้แทนสภาวิชาชีพไปอยู่ใ นกรรมการชุดควบคุมคุณภาพมาตรฐาน และขยายการคุ้มครองสิทธิ์เมื่อไ ด้รับความเสียหายให้ครอบคลุมผู้ รับบริการ ตัดมาตรา 42 ที่เกี่ยวข้องกับการไล่เบี้ยผู้ กระทำผิดในการทำให้เกิดความเสีย หายขึ้น เป็นต้น
อภิวัฒน์ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังได้ขอให้ รมว.สาธารณสุข แสดงจุดยืนต่อร่างรัฐธรรมนุญที่ มีการระบุการให้สิทธิรักษาพยาบา ลในสถานบริการภาครัฐเฉพาะผู้ ยากไร้ โดยอยากให้ท่านเป็นผู้สื่อสารกั บรัฐบาลให้เข้าใจถึงระบบหลักประ กันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของรัฐในการจ ัดสนับสนุนการบริการสุขภาพให้กั บประชาชนเพื่อไม่ให้เกิ ดความเหลื่อมล้ำ และต้องไม่ทำให้ระบบหลักประกันส ุขภาพถ้วนหน้ากลายเป็นระบบที่อ่ อนแอหรือเป็นบริการชั้นล่างสำหร ับคนยากไร้
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น