อย่าซ้ำรอย!การทวงคืนความยุติ ธรรมในสงครามสกปรกของกองทัพอาร์ เจนตินา (1)
Posted: 21 May 2016 03:26 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
“สงครามสกปรก” (the Dirty War) และการต่อสู้เพื่อความยุติ ธรรมในอาร์เจนตินา ได้สร้างบทเรียนที่น่ าสนใจหลายประการ เช่น
- จำนวนเหยื่อที่ถูกคุมขังทรมาน-
อุ้มหายสูงมาก ชี้ว่ามีกลไกและเจ้าหน้าที่รั ฐเกี่ยวข้องกว้างขวางมาก นี่เป็นเรื่องระดับนโยบายของรั ฐ ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติงานระดับล่ างทำกันเองตามอำเภอใจ
- การต่อสู้เพื่อทวงคืนชีวิ
ตและความยุติธรรมเริ่มจากแม่บ้ านกลุ่มเล็ก ๆ ที่ไม่เคยสนใจทางการเมืองมาก่อน นำไปสู่การศึกษาบทบาทของผู้หญิ งในการต่อสู้ทางการเมือง
- อะไรทำให้ความยุติธรรมในช่
วงเปลี่ยนผ่านเจออุปสรรคมากมาย และทำท่าว่าจะไปไม่รอดหลายครั้ งหลายหน
- การเปลี่ยนแปลงโครงสร้
างอำนาจและการต่อสู้ขยายพื้นที่ ประชาธิปไตยเป็นสิ่งสำคัญต่ อการสถาปนาความยุติธรรม
- ขอบเขตของ “เหยื่อ” ไม่ได้มีแค่คนที่เสียชีวิต-ถู
กอุ้มหาย แต่ยังรวมถึงทารกแรกเกิดที่ถู กพรากจากครอบครัว ทำให้การติดตามหาเหยื่อใช้ เวลาต่อเนื่องยาวนานจนถึงปัจจุ บัน ประการสำคัญ เมื่อเหยื่อยังมีชีวิตอยู่ อายุความของคดีอาญาย่อมไม่สิ้ นสุด การเอาผิดย่อมกระทำได้
- เมื่อการเมืองและสังคมเปลี่ยน การตีความกฎหมายก็เปลี่ยนไปด้วย
- การกดดันจากภายนอกประเทศส่งผลต่
อการปรับตัวของกระบวนการยุติ ธรรมในประเทศเพราะกลั วการแทรกแซงและกระทบต่อ “อำนาจอธิปไตย” ในทางการศาล
- เจตน์จำนงของผู้นำทางการเมืองมี
ความสำคัญอย่างยิ่ง
- การต่อสู้เพื่อสิทธิในชีวิต สิทธิที่จะได้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้
นกับคนรักที่สูญหายไป สิทธิที่จะได้รับความยุติธรรม ส่งผลให้ระบอบประชาธิปไตยเข้ มแข็งมากขึ้น
ฯลฯ
ฉะนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่มีหนังสือ- บทความ ภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับ “สงครามสกปรก” ในอาร์เจนตินาออกมามากมาย เป็นกรณีศึกษาความรุนแรงโดยรั ฐและความยุติธรรมในช่วงเปลี่ ยนผ่านที่สำคัญอย่างยิ่งกรณีหนึ ่งในแวดวงการศึกษาและสื่ อมวลชนต่างประเทศ
บทความชิ้นนี้ อันเป็นตอนที่หนึ่ งของสงครามสกปรกในอาร์เจนตินา จะให้ภาพรวมของความรุนแรง และกล่าวถึงขบวนการต่อสู้ทวงคื นชีวิตและความยุติธรรมของกลุ่ มผู้หญิงที่เรียกตัวเองว่า “สมาคมแม่แห่งจัตุรัสมาโย” (the Association of the Mothers of the Plaza de Mayo) และ “สมาคมย่ายายแห่งจัตุรัสมาโย” (the Association of the Grandmothers of the Plaza de Mayo)
0000
21 September 1983. ภาพโดย Daniel García
รูปเงาดำนับพันรูป พร้อมชื่อของคนที่สูญหายไป ถูกนำไปติดตามผนังตึ กในใจกลางเมืองบัวโนส ไอเรส afterall.org/photographs-and- silhouettes-visual-politics- in-the-human-rights-movement- of-argentina
21 September 1983. ภาพโดย Daniel García
รูปเงาดำนับพันรูป พร้อมชื่อของคนที่สูญหายไป ถูกนำไปติดตามผนังตึ
“สงครามสกปรก” (the Dirty War) หรือภายใต้ชื่อทางการว่า “กระบวนการจัดองค์กรแห่งชาติ” (the Process of National Reorganization) เริ่มขึ้นหลังการรัฐประหารในเดื
วิธีการสกปรก
อันที่จริงก่อนการรัฐประหารในปี 2519 กองทัพได้เริ่มสงครามสกปรกอย่ างลับๆ ต่อผู้ที่ถูกสงสัยว่าเป็นพวกฝ่ ายซ้าย/คอมมิวนิสต์ โดยนับแต่กลางทศวรรษ 2510 กระบวนการฝ่ายซ้ายติดอาวุ ธในอาร์เจนตินาเติบโตมากขึ้นทั้ งในเมืองและชนบท ทั้งสองฝ่ายใช้ความรุนแรงต่อกั นและกัน แต่ความรุนแรงโดยทหารมีสูงกว่ ามากโดยเฉพาะนับแต่ปี 2519 เป็นต้นมา
ภายหลังรัฐบาลจากการเลือกตั้งขึ ้นปกครองประเทศในปี 2526 ประธานาธิบดีราอูล อัลฟองซิน (Raul Alfonsin) ได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้ วยการสูญหายของบุคคล” หรือ “CONADEP” (National Commission of the Disappearance of Persons) เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริ งของอาชญากรรมภายใต้รัฐบาลทหาร สองปีหลังจากนั้น CONADEP ได้เผยแพร่รายงานชื่อ “Nunca Mas!”[2] (Never Again!) หรือ “อย่าซ้ำรอย!” รายงานระบุว่าระหว่างปี 2516-2526 มีคนที่ถูกอุ้มหายอย่างน้อย 8,961 คน อีกราว 1,300 คนยังไม่ทราบชะตากรรม ส่วนองค์กรสิทธิฯประเมินตั วเลขไว้ที่ราว 30,000 คน ขณะที่เอกสารของตำรวจลับชิลี ที่ประจำการอยู่ในบัวโนสไอเรส เมืองหลวงของอาร์เจนตินา ระบุว่าในช่วงเวลาเพียง 3 ปี (2518- ก.ค. 2521) พวกเขานับจำนวนคนที่เสียชีวิ ตและสูญหายได้ถึง 22,000 คน[3]
ตามรายงานของ CONADEP ร้อยละ 80 ของคนที่ถูกอุ้มหายเป็นคนหนุ่ มสาวที่อยู่ในช่วงอายุ 16-35 ปี ร้อยละ 30 เป็นผู้หญิง และร้อยละ 3 ของผู้หญิงเหล่านี้กำลังตั้ งครรภ์ เหยื่อมีทุกสาขาอาชีพ (นักเรียน ผู้นำแรงงาน ทนายความ สื่อมวลชน นักวิทยาศาสตร์ ศิลปิน นักสิทธิมนุษยชน เอ็นจีโอ ครูอาจารย์ แม่ชี นักบวช และคนต่างชาติ) การลักพาตัวส่วนใหญ่เกิดขึ้ นในยามวิกาล บางครั้งทหารก็ลากเหยื่อจากข้ างถนนขึ้นรถ บางครั้งก็ลากตัวออกจากที่พัก ในหลายกรณีมีคนในครอบครัวและเพื ่อนบ้านเห็นเหตุการณ์ บางครั้งการทรมานและการข่มขื นเกิดขึ้นต่อหน้าต่ อตาคนในครอบครัว หลังจากนั้นพวกเขาจะถูกนำไปไว้ ที่ค่ายคุมขัง โดยที่ญาติไม่รู้ว่าพวกเขาถู กพาไปที่ไหนด้วยข้อหาอะไร
เมื่อจำนวนคนที่ถูกอุ้มหายมี มากขนาดนี้ ค่ายคุมขังจึงต้องมีมากตามไปด้ วย นั่นคือ 340 แหล่งทั่วประเทศ หลายแห่งอยู่ในค่ายทหารและตำรวจ การดำรงอยู่ของค่ายคุมขั งจำนวนมากขนาดนี้ ในระยะเวลาที่ยาวนานเช่นนี้ ยังหมายความต่อว่า ต้องมีการสนับสนุนทั้งกำลั งคนและงบประมาณจำนวนมากจากรั ฐบาลและกองทัพ มีกำลังพลจำนวนมากในกองทัพรับรู ้และเกี่ยวข้องด้วย และยังหมายความต่อว่ าอาชญากรรมนี้คือนโยบายต่อเนื่ องของรัฐบาลทหาร คนที่รอดชีวิตออกมาได้เล่าว่ าพวกเขาเห็นนายทหารระดับสูงเข้ ามาที่ค่ายคุมขัง กระนั้นก็ตาม รัฐบาลทหารก็มักปฏิเสธไม่รู้ไม่ เห็น และอ้างว่าคนที่หายไปนั้น หนีออกนอกประเทศ หรือถูกฝ่ายเดียวกันสังหารทิ้ งเพื่อโยนความผิดให้กับรัฐบาล
ณ ค่ายคุมขัง พวกเขาจะเจอกับการสอบสวนด้วยวิ ธีซ้อมทรมาน ที่ไม่ได้มีจุดหมายอยู่เพี ยงการรีดเค้นเอาข้อมูลจากเหยื่อ แต่เพื่อดูถูกเหยียดหยามทำลายศั กดิ์ศรีและความเป็นมนุษย์ ของเหยื่อ คนที่ยังมีโชคเหลืออยู่บ้าง จะถูกส่งไปยังเรือนจำและขึ้ นศาลทหารเพื่อดำเนินคดีต่อไป (คนเหล่านี้ภายหลังเป็นประจักษ์ พยานสำคัญบอกเล่าการซ้ อมทรมานและเพื่อนร่วมชะตากรรมที ่ไม่มีโอกาสรอดชีวิต) แต่คนที่โชคร้ายจะถูกสังหารทิ้ งด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ทรมานจนเสียชีวิต สังหารหมู่แล้วฝังรวมกัน หรือเผาศพทิ้งด้วยน้ำมั นและยางรถยนต์ บางคนถูกเผาขณะที่ยังมี ลมหายใจอยู่ หลังทหารหมดอำนาจ มีความพยายามติดตามหาร่ องรอยของเหยื่อ และพบว่ามีหลุมศพหมู่ (mass grave) จำนวนมากที่ไม่สามารถระบุตั วตนของผู้ตายได้
จำนวนมากถูกฉีดยาสลบให้หลับ แล้วนำขึ้นเฮลิคอปเตอร์ ออกไปกลางทะเล ก่อนจะถูกถีบลงมา ศพจำนวนมากลอยมาเกยชายฝั่ งทะเลของอาร์เจนติ นาและประเทศเพื่อนบ้าน การชันสูตรพลิกศพพบว่าพวกเขาถู กทรมานและพบแรงกระแทกที่ชี้ว่ าตกลงมาจากที่สูง
สำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ในระหว่างถูกคุมขัง เมื่อคลอดลูกออกมาแล้ว เด็กจะถูกขายไปให้ครอบครัวอื่น แล้วสังหารพ่อแม่ทิ้ง นอกจากนี้ ยังมีเด็กจำนวนหนึ่งที่ถู กทหารลักพาตัวพร้อมกับผู้ใหญ่ ในครอบครัว ถ้าเป็นเด็กที่โตจนยากแก่การอุ ปถัมภ์ของครอบครัวใหม่ ก็จะถูกสังหารทิ้ง (มีกรณีที่เด็กอายุ 3 และ 5 ขวบถูกสังหารพร้อมแม่)[4] ส่วนเด็กทารกจะถูกนำไปให้ ครอบครัวอื่นเลี้ยง บางครอบครัวเป็นเจ้าหน้าที่ ทหาร-ตำรวจที่เกี่ยวข้องกั บการเสียชีวิตของพ่อแม่เด็ กโดยตรง พวกเขาเติบโตขึ้นโดยไม่รู้ ความเป็นมาที่แท้จริงของตนเอง แต่ปู่ย่าตายายยังพยายามดั้นด้ นตามหาลูกหลานของพวกเขาต่อไป ประมาณว่ามีเด็กถึง 500 คนที่ถูกพรากไปจากครอบครัว จนถึงปี 2557 พวกเขาตามหาเด็กเจอ 114 คนแล้ว[5]
ท้าทายอำนาจรัฐด้วยวงเวียนแห่ งความรัก (the Circle of Love)[6]
เผด็จการทหารทำให้สังคมอาร์ เจนตินาตกอยู่ภายใต้ความกลั วและความเงียบงัน การท้าทายในรูปของการประท้วงหรื อตั้งคำถามสามารถทำให้ ประชาชนกลายเป็นอาชญากรของรั ฐได้ คนกลุ่มแรกที่ออกมาท้ าทายอำนาจรัฐคือ แม่บ้านกลุ่มหนึ่งที่เริ่มต้ นจาก 14 คน และเพิ่มจำนวนเป็นหลายร้ อยคนในเวลาต่อมา พวกเธอได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่ม “แม่แห่งจัตุรัสมาโย” (Mothers of the Plaza de Mayo) และ “ย่ายายแห่งจัตุรัสมาโย” (Grandmothers of the Plaza de Mayo) ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ ยนแปลงอย่างมหาศาลต่อวัฒนธรรมพ้ นผิดลอยนวลและการพัฒนาประชาธิ ปไตยในอาร์เจนตินาในอี กสามทศวรรษต่อมา
ผู้หญิงส่วนใหญ่เหล่านี้เป็นแม่ บ้านธรรมดา คนที่ทำงานก็เป็นอาชีพของผู้หญิ งเป็นส่วนใหญ่ (เช่น รับจ้างเย็บเสื้อผ้า ทำความสะอาด) พวกเธอได้มารู้จักกั นเพราะสาเหตุเดียวคือ ออกตามหาลูกๆ ของเธอตามสถานที่ราชการ สถานีตำรวจ ค่ายทหาร ทำเนียบรัฐบาล ฯลฯ แต่ก็ไม่ได้คำตอบใด ๆ เมื่อได้พบผู้หญิงอีกหลายคนที่ ตกอยู่ในสภาพเดียวกับตน และเชื่อว่าน่าจะมีอีกมากที่ยั งไม่ได้พบเจอ พวกเธอนัดพบกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลกันบ่อยขึ้น ในที่สุด พวกเธอทั้ง 14 คน ภายใต้การนำของหญิงแกร่ง อาซูซีนา (Azucena Villaflor de DeVincenti) ที่ลูกชายถูกอุ้มหายไปเช่นกัน ได้ตัดสินใจประกาศเรื่ องของตนเองให้สาธารณชนได้รับรู้ ด้วยการนัดเดินเป็นวงกลมรอบจัตุ รัสมาโย ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับทำเนี ยบรัฐบาลและเป็นพื้นที่ที่ ประชาชนมักจัดกิจกรรมทางสังคม เพื่อเรียกร้องให้ประธานาธิบดี วิเดลา ตอบคำถามว่าลูกๆของเธอหายไปไหน
แม่ 14 คนนี้เริ่มเดินครั้งแรกในวันที่ 30 เมษายน 2520 ไม่ว่าฝนจะตก แดดจะแรงแค่ไหน วงเวียนแห่งความรักนี้จะปรากฏขึ ้นทุกบ่ายวันพฤหัสบดี ยิ่งเดิน จำนวนแม่ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเป็ นหลายร้อยคน พวกเธอมีจุดหมายเดียวกันคือ เรียกร้องขอลูกคืน
แต่เพียง 8 เดือนหลังจากนั้น อาซูซีนา และแม่ผู้ก่อตั้งกลุ่มอีกสองคน คือ มาเรีย (Maria Eugenia Ponce de Bianco) และเอสเธอร์ (Esther Bllestrino de Careago) ก็ถูกลักพาตัวออกจากบ้ านและหายสาบสูญไป ดูเหมือนอาซูซีนารู้ดีว่ าเธอตกอยู่ในภาวะเสี่ยงอย่างไร ไม่กี่วันก่อนจะเกิดเหตุร้าย เธอจึงบอกกับเพื่อนๆ ในกลุ่มว่า “หากมีอะไรเกิดขึ้นกับฉัน พวกเธอเดินหน้าต่อไป อย่าลืมเด็ดขาด!”[7]
การอุ้มหายของแม่สามคนทำให้คนที ่เหลืออยู่หวาดกลัว และการเดินหยุดชะงักลงชั่วคราว แต่ความกลัวก็ไม่ สามารถเอาชนะความรั กของพวกเธอได้ ไม่นานหลังจากนั้น พวกเธอกลับมารวมตัวกันใหม่ ภายใต้การนำของเอเบ้ เด โบนาฟินี่ (Hebe De Bonafini) และแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
แม้จะเป็นหญิงชาวบ้านธรรมดา แต่พวกแม่-ย่ายายพยายามทุกวิถี ทางที่จะไม่ยอมให้การหายตั วไปของลูกๆ “เงียบหายไป” พวกเธอเรียนรู้-คิดค้นสารพัดวิ ธีที่จะทำให้โลกรับรู้ความทุกข์ ของพวกเธอ (ได้รับการสนับสนุนด้านการเงิ นและคำแนะนำด้านยุทธวิธีจากเอ็ นจีโอกลุ่ม SERPAJ ด้วย) จนได้รับความสนใจจากสาธารณชน สื่อทั้งและต่างประเทศ วิธีการที่พวกเธอใช้ เช่น[8]
- แต่ละคนมีสัญลักษณ์เป็นผ้าสี
ขาวผูกผม ปักชื่อลูกไว้บนผ้า และถือภาพถ่ายของลูกไว้
- ในปี 2521 อาร์เจนตินาเป็นเจ้าภาพฟุ
ตบอลโลก การเดินขบวนของพวกแม่กลายเป็นจุ ดสนใจของนักข่าวจากทั่วโลก โดยเฉพาะเมื่อมีนักฟุ ตบอลบางคนจากทีมยุโรปร่วมเดิ นขบวนด้วย เช่นเดียวกัน เมื่อมีการประชุมอนามัยโลกที่บั วโนส ไอเรส พวกแม่ก็ไปปรากฏตัวและได้รั บความสนใจจากสื่อต่างชาติ
- จัดพิมพ์จดหมายข่าว
- เดินสายต่างประเทศเพื่อบอกเล่
าสิ่งที่เกิดขึ้นกับพวกเธอ พวกเธอได้รับการสนับสนุนจาก สหประชาชาติ, Amnesty International, รัฐบาลคาร์เตอร์ของสหรัฐอเมริกา
- ซื้อโฆษณาหนังสือพิมพ์เพื่อตีพิ
มพ์จดหมายเปิดผนึกถึงประธานาธิ บดี ศาลฎีกา ผู้บัญชาการทหาร ผู้นำคณะรัฐประหาร ผู้นำศาสนา พร้อมด้วยชื่อคนที่สูญหาย
- แจกจ่ายเอกสารและโปสเตอร์
ตามสถานที่สาธารณะ บนรถประจำทาง รถไฟ สภาคองเกรส
- เชิญชวนคนมีชื่อเสียงแสดงการสนั
บสนุนการรณรงค์ของพวกเธอ
- จัดประชุมลับที่บ้านหรือโบสถ์
ในเวลาที่การเดินขบวนทำไม่ได้ หรือเสี่ยงเกินไป
- จดทะเบียนจัดตั้งสมาคมแม่และย่
าย่ายแห่งจัตุรัสมาโย และจัดตั้งสาขาในต่างจังหวัด
- ขัดขืนไม่ยอมรับกฎหมายที่ห้
ามการชุมนุมประท้วง
- ประกาศไม่สนับสนุ
นการทำสงครามฟอล์คแลนด์ เพราะเห็นว่าเป็นความพยายามเบี่ ยงเบนปัญหาภายในของรัฐบาลทหาร
- ใช้ยุทธวิธี “ฟ้าแลบ” รวมกลุ่มกันวิ่งฝ่าเครื่องกี
ดขวางของตำรวจ ที่ไม่ยอมให้พวกเธอเข้าไปใช้พื้ นที่จัตุรัสมาโย
- วาดรูปเงาดำนับพันรูป พร้อมชื่อของคนที่สูญหายไป ติดตามผนังตึกในใจกลางเมืองหลวง
เมื่อเข้าสู่กลางทศวรรษ 2520 วิกฤติเศรษฐกิจทำให้ความนิ
ความพ่ายแพ้นี้ทำให้ระบอบทหารถู กโจมตีจากประชาชนมากขึ้น นายพลลิโนโปลโด ฟอร์ตูนาโต กัลเตียรี่ ต้องลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี ในทันที คนที่สืบทอดอำนาจต่อคื อนายพลเรย์นัลโด เบนิโต แอนโตนิโอ บิโยเน (Reynaldo Benito Antonio Bignone) เศรษฐกิจที่ดิ่งเหวทำให้บิ โยเนตัดสินใจประกาศคืนอำนาจให้ ประชาชน จัดให้มีการเลือกตั้งทั่ วไปในเดือนตุลาคม 2526
หลังสงครามฟอล์คแลนด์ กลุ่มแม่-ย่ายายได้รับการสนั บสนุนจากประชาชนมากขึ้น พวกเธอประกาศแผน “March of Resistance” (ก้าวแห่งการขัดขืน) ในวันที่ 10 ธันวาคม 2526 โดยเดินรอบจตุรัสมาโยติดต่อกัน 24 ชั่วโมง มีประชาชนนับพันคนร่วมเดินกั บพวกเธอ นี่เป็นสัญลักษณ์ที่ชี้ว่ าระบอบทหารหมดสิ้ นความชอบธรรมแล้ว
หลังจากนี้ รัฐบาลพลเรือนภายใต้ การนำของประธานาธิบดีราอูล อัลฟองซิน (Raul Alfonsin) มีเจตน์จำนงอันแน่วแน่ที่จะนำผู ้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติ ธรรม แต่เขาก็ต้องประสบกับการโต้กลั บของกองทัพหลายครั้งหลายหนจนต้ องยอมประนีประนอม แม้ทหารจะไม่ได้เป็นรัฐบาลอีกต่ อไป แต่พวกเขายังมีกองกำลังและอาวุ ธเป็นเครื่องมือต่อรองกับรั ฐบาลพลเรือน รวมทั้งเครือข่ายอำนาจรัฐเก่ายั งช่วยกันทำงานปกป้องกองทัพอย่ างแข็งขัน ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ความยุติ ธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านไปสู่ ประชาธิปไตยของอาร์เจนตินาต้ องใช้เวลายาวนานอีกถึงสองทศวรรษ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
เชิงอรรถ
[1] Rita Arditti, “The Grandmothers of the Plaza de Mayo and the Struggle against Impunity in Argentina”, Meridians: feminism, race, transnationalism, Vol 3, No. 1, (2002), p. 19.
[2] ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกั บสงครามสกปรก อ้างจาก Nunca Más (Never Again), Report of Conadep (National Commission of the Disappearance of Persons), 1984. http://www.desaparecidos.org/ nuncamas/web/english/library/ nevagain/nevagain_001.htm
[3] “On 30th Anniversary of Argentine Coup, New declassified details on repression and U.S. support for military dictatorship”, The National Security Archives. 23 March 2006, http://nsarchive.gwu.edu/ NSAEBB/NSAEBB185/
[4] "Nieto Recuperado" - Born to Parents Disappeared by Argentina's Dictatorship, Kidnapped and Raised by a Military Family, a "Recovered Grandchild" Finds His Way Home”, Democracy Now. 12 November 2010.http://www.democracynow.org/ 2010/11/12/nieto_recuperado_ born_to_parents_disappeared
[5] “Grandmother Finds Grandson, Abducted In Argentina's Dirty War”, NPR. 7 August 2014, http://www.npr.org/sections/ parallels/2014/08/07/ 338498098/activist-finds-her- grandson-abducted-during- argentinas-dirty-war
[6] มาจากชื่อหนังสือ Circle of Love over Death: Testimonies of the Mothers of the Plaza de Mayo by Matilde Mellibovsky, translated by Maria and Matthew Proser, (Willimantic, CT: Curbstone Press, 1997).
[7] Rita Arditti, op.cit. p. 21.
[8] Lester Kurtz, “The mothers of the disappeared challenging the junta in Argentina (1977-1983)”, International Center on Nonviolent Conflict July 2010, https://www.nonviolent- conflict.org/the-mothers-of- the-disappeared-challenging- the-junta-in-argentina-1977- 1983/ เข้าถึงข้อมูลวันที่ 20 พฤษภาคม 2559.
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น