สุณัยชี้เวที UPR นานาชาติมองรัฐทหารไทย ใช้ ม.112 และ116 ตีความโดยอำเภอใจ
Posted: 11 May 2016 11:16 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
เวทีทบทวนสถานการณ์สิทธิฯ ไทยกลางวงยูเอ็น ทางการยันว่าจำเป็นที่จะมี การละเมิดสิทธิเสรี ภาพของประชาชนบ้างเพื่อรั กษาความสงบสุข ขณะที่ 105 ประเทศตั้งคำถามการละเมิดสิทธิ พลเมือง ขึ้นศาลทหาร แรงงานข้ามชาติ และกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ยังน่าเป็นห่วง
11 พ.ค.2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 14.00 น. (ตามเวลาประเทศไทย) ที่ Black Box Cafe&Bar 11 ได้จัดถ่ายทอดสด จากเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ กรณีคณะทำงานทบทวนสถานการณ์สิ ทธิมนุษยชน (Universal Periodical Review Working Group) หรือคณะทำงานยูพีอาร์ ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่ งสหประชาชาติ (UN Human Rights Council) ทำการทบทวนสถานการณ์ด้านสิทธิ มนุษยชนของประเทศไทย ในประเด็น ได้แก่ คำสั่งหัวหน้าคณะรั กษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 3/2558 การซ้อมทรมาน คดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ หรือความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.112 การบังคับสูญหาย กฎอัยการศึก เสรีภาพในการแสดงออกและชุมนุม และการละเว้นไม่ต้องได้รับโทษ ฯลฯ
พรรณิการ์ วานิช ผู้ดำเนินรายการการถ่ายทอดสดดั งกล่าว ได้กล่าวสรุปว่า วันนี้ในการชี้แจ้งรอบสุดท้ ายทางการไทยยืนยันว่าเพื่อที่ จะมีความสงบสุข ไม่แบ่งแยก แตกแยก ทะเลาะเบาะแว้งภายในประเทศจำเป็ นที่จะต้องมีการละเมิดสิทธิเสรี ภาพของประชาชนบ้าง ขณะที่นานาชาติ 105 ประเทศ ตั้งคำถามต่อรัฐบาลไทย โดยสรุปคือ 1. การละเมิดสิทธิเสรีภาพของพลเมื อง การให้พลเรือนขึ้นศาลทหาร การใช้ ม. 112 ม. 116 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และกฎหมายอื่นๆ และคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 13/2559 ในเรื่ องการขยายขอบเขตอำนาจการดู แลความสงบเรียบร้ อยภายในของกองทัพ 2. แรงงานข้ามชาติและผู้ลี้ภัย การเคารพสิทธิมนุษยชนของผู้ที่ ไม่ใช่คนไทย 3. การให้สิทธิเสรีภาพแก่บุคคลที่ มีความอ่อนไหวในด้านต่างๆ เช่น เรื่องชาติพันธุ์ ผู้หญิง แต่วันนี้ไม่มีการพูดถึงกลุ่ม LGBT หรือกลุ่มบุคคลที่มี ความหลากหลายทางเพศ
ขณะที่ อังคณา นีละไพจิตร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวว่า รายงานสถานการณ์สิทธิมนุ ษยชนของประเทศไทย หรือการ UPR ในวันนี้ เป็นการที่ประเทศสมาชิ กสหประชาชาติมีข้อห่วงกั งวลและอยากให้รัฐบาลไทยตระหนั กว่าสิ่งที่รัฐบาลรับข้ อเสนอแนะถือเป็นพันธะสัญญาที่ต้ องนำมาปฏิบัติ เหตุการณ์การทบทวนในสภาคณะมนตรี สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ วันนี้เป็นการแสดงข้อห่วงใย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดหลังจากนี ้คือการนำข้อเสนอแนะเหล่านั้นที ่ประเทศไทยรับรองแล้วนำมาบังคั บใช้ทีหลัง ในการที่นำสู่การปฏิบัติขอให้รั ฐบาลใจกว้างที่ประชาชนจะให้ข้ อเสนอแนะติดตามการนำข้ อเสนอแนะเหล่านี้ไปปฏิบัติ และตัวชี้วัดของรัฐบาลคือก็หลั งจากนี้ไปจำนวนการละเมิดสิทธิ มนุษยชนจะมีจำนวนลดลงหรือไม่ และสถานการณ์การเมืองจะกลับสู่ ปกติหรือไม่ ช่วงนี้เป็นช่วงที่คณะผู้ แทนไทยบอกว่าเป็นความท้าทายต่ อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ในประเทศไทย
อังคณา กล่าวต่อว่า ในฐานะกรรมการสิทธิและอนุ กรรมการสิทธิด้านสิทธิพลเมื องได้ยื่นข้อเสนอต่ อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่ งชาติเพื่อขอตั้งคณะกรรมการเพื่ อติดตามการนำข้อเสนอแนะ UPR มาปฏิบัติ เช่น ตอนนี้รัฐบาลทำอะไรบ้างอาจจะต้ องติดตามไปถึงกระทรวงต่างๆ ที่รับข้อเสนอแนะ เชิญมาให้ข้อมูล ทำงานภาคประชาสังคม ทำงานไปแล้วผลเป็นอย่างไร เชื่อว่าถ้ากรรมการสิทธิ ทำงานควบคู่กับภาคประชาชนแล้ วจะแก้ไขปัญหาสิทธิมนุ ษยชนในประเทศไทยได้ ส่วนในการจะตั้งอนุกรรมการฯ ต้องผ่านมติของ กสม. ทั้ง 7 คน และก็หวังว่ากรรมการสิทธิจะเข้ าใจ
สุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาประจำประเทศไทยของฮิ วแมนไรท์วอทช์ (Human Right Watch) กล่าวสรุปว่า ประเด็นการทบทวนสถานการณ์สิทธิ มนุษยชน นานาชาติมองไทยเป็นรัฐทหาร คำถามและข้อเสนอแนะสะท้ อนความเป็นรัฐทหารซึ่งให้คำสั ญญาที่จะมีโรดแมปเพื่อการเปลี่ ยนผ่านจากสถานการณ์ประเทศที่ไม่ ปกติไปสู่สถานการณ์ปกติ คือเป็นประชาธิปไตยของพลเรือน ซึ่งการจะเป็นประชาธิปไตยพลเรื อนได้จะต้องมีสิทธิเสรีภาพขั้ นพื้นฐาน เช่น เรื่องการชุมนุมรวมตั วและการสมาคม ประเทศต่างๆที่ตั้งคำถามและมีข้ อแนะนำว่าเกี่ยวข้องกับการกลั บสู่เป็นรัฐประชาธิปไตยจึงให้ ความสำคัญกับเสรีภาพสิทธิ ในการแสดงออกมาก โดยพูดถึงเครื่องมือที่ คสช. นำมาใช้สร้างภาวะไม่ปกติ กฎหมายที่อยู่ ในความสนใจของนานาชาติ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ มาตรา 116 ข้อหายุยงปลุกปั่น ซึ่งในทัศนะนานาชาติเป็นการใช้ ตีความโดยอำเภอใจ ในภาวะปกติกระบวนการดำเนินคดีทั ้งหมดอยู่ในอำนาจคสช. ไม่ใช่กลไกกลางในภาวะปกติที่ขึ้ นศาลยุติธรรม
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น