อนุฯ เนื้อหา กสทช.เสนอปรับ 'วอยซ์ทีวี' เหตุเสนอข่าว 'พลเมืองโต้กลับ' ขัดประกาศ คสช.
Posted: 28 May 2016 09:42 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
เผยจันทร์ 30 พ.ค. นี้ กสท.ถกต่อกรณี อนุฯ เนื้อหา เสนอปรับวอยซ์ทีวี เหตุเสนอข่าวพลเมืองโต้กลับจั ดกิจกรรมเรียกร้องปล่อยวัฒนา ขัดประกาศ คสช. สุภิญญาเห็นต่าง ชี้รัฐ -กสทช.ควรเปิดกว้าง ส่วนกรณีถ่ายทอดสดยิงตัวตาย อนุฯเนื้อหากำลังรวบรวมข้อมูล
29 พ.ค. 2559 นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่าการประชุ มคณะกรรมการกิจการกระจายเสี ยงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ครั้งที่ 17/2559 วันจันทร์ที่ 30 พ.ค. นี้ มีวาระประชุมน่าจับตา ได้แก่ การออกอากาศรายการ Wake Up News ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง VOICE TV เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2559 เวลาประมาณ 07.22 น. นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่ มพลเมืองโต้กลับ ประกาศจัดกิจกรรมอีกครั้งในวั นศุกร์นี้ เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวนายวั ฒนา เมืองสุข แบบไม่มีเงื่อนไข ซึ่งสำนักงาน กสทช.ได้ตรวจสอบพบเนื้ อหารายการดังกล่าว และได้พิจารณาในคณะอนุกรรมการด้ านผังรายการและเนื้อหา พบว่า มีลักษณะเป็นการต้องห้ามมิให้ ออกอากาศตามประกาศคณะรั กษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 ลงวันที่ 18 ก.ค. 2557 และประกาศ คสช. ฉบับที่ 103/57 ลงวันที่ 21 ก.ค. 2557 ซึ่งการออกอากาศที่เป็นการฝ่ าฝืนประกาศ คสช. ทั้ง 2 ฉบับ มีผลเป็นการออกอากาศที่มีเนื้ อหาสาระกระทบต่อความสงบเรียบร้ อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งต้องห้ามมิให้ ออกอากาศตามมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสี ยงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และเป็นการขัดต่อข้อกำหนดในบั นทึกข้อตกลง วันที่ 4 มิ.ย. 2557 ระหว่างสำนักงาน กสทช. และ บริษัท วอยซ์ทีวี จำกัด ผู้รับใบอนุญาตช่อง VOICE TV ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯเห็นสมควรโทษปรั บทางปกครอง ตามมาตรา 57(2) ประกอบกับมาตรา 57(3) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงฯ พ.ศ. 2551
นางสาวสุภิญญากล่าวว่า อนุฯเนื้อหาเสนอให้ กสท. เอาผิดรายการโทรทัศน์ที่วิจารณ์ การเมืองอีกแล้ว ดิฉันกลับเห็นต่างว่า กสทช.และฝ่ายรัฐควรเปิดใจกว้ างขึ้นสำหรับการแสดงความเห็ นของฝ่ายค้านและน้อมรั บการตรวจสอบจากสื่อต่างๆ ให้มากขึ้น เพราะเป็นเสรีภาพขั้นพื้ นฐานของพลเมือง อีกทั้งเพื่อลดแรงเสี ยดทานจากกลุ่มคนที่เห็นต่าง ในเวลาที่ประเทศกำลังจะลงมติรั บหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญใหม่ กสทช. ควรให้ความสำคัญกับการกำกับดู แลสื่อไม่ให้ละเมิดสิทธิมนุษยชน และ คุ้มครองผู้บริโภคสื่อมากขึ้น แทนที่จะเน้นควบคุมเสรี ภาพทางการเมืองเป็นหลัก
“ส่วนกรณีเรื่องร้องเรียนการถ่ ายทอดสดเหตุการณ์เจรจาผู้ต้ องหาจนยิงตนเองเสียชีวิต ขณะนี้อนุกรรมการด้านเนื้อหายั งอยู่ในระหว่างการรวบรวมข้อมูล และให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาชี้ แจงก่อนสรุปว่าขัดมาตรา 37 หรือไม่ จึงยังไม่ได้เสนอวาระเข้ามาให้ กสท. พิจารณาครั้งนี้ ส่วนในมิติจริยธรรม สำนักงาน กสทช. ได้ส่งจดหมายไปให้แต่ช่องพิ จารณาตั วเองตามกรอบจรรยาบรรณของช่องต่ างๆแล้วว่าขัดกติกากำกับตนเองที ่วางไว้หรือไม่ แล้วให้แจ้งกลับมาที่ กสทช. ใน 15 วัน จากนั้น สำนักงาน กสทช. จะส่งเรื่องต่อให้องค์กรวิชาชี พสื่อพิจารณาต่อไป เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานว่ าการเผยแพร่ถือว่าขัดจริยธรรมสื ่อไหม ถ้าขัดแล้วสื่อควรทำอย่างไร เช่น การขอโทษและแก้ไข เป็นต้น” สุภิญญากล่าว
นอกจากนี้มีวาระน่าติดตาม ได้แก่ วาระการกำหนดแนวทางการดำเนินคดี ปกครอง กรณีมูลนิธิเสียงธรรมเพื่ อประชาชน ได้ยื่นฟ้อง กสทช. และ กสท. ต่อศาลปกครองอุดรธานี โดยศาลปกครองมีคำสั่งให้ ทำการแก้คำฟ้องพร้อมด้วยพยานหลั กฐานยื่นต่ อศาลโดยจะครบกำหนดในวันที่ 3 มิ.ย. นี้ วาระสรุปผลการรับฟังความคิดเห็ นร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำผั งรายการสำหรับการให้บริการกิ จการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (ฉบับที่ 4) การพิจารณาให้ระงั บการออกอากาศโฆษณาผลิตภัณฑ์หรื อสินค้าในกิจการกระจายเสี ยงและกิจการโทรทัศน์ วาระการขยายระยะเวลายื่ นรายงานการแพร่แปลกปลอมของสถานี วิทยุกระจายเสียงที่ได้รับจั ดสรรคลื่นความถี่และวาระอื่น ๆ ติดตามการประชุมในวันจันทร์นี้
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น