ส่องเส้นทางชาวบ้านนักต่อสู้ เจอคดีเพียบ นักวิชาการชี้อย่ามองแยกสิทธิ การเมือง-สิทธิชุมชน
Posted: 09 May 2016 10:01 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
9 พ.ค.2559 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จัดเวทีอภิปราย “กระบวนการยุติธรรม สิทธิชุมชน กับนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน” โดยนักวิชาการด้านสิทธิชี้สิทธิ ทางการเมือง สิทธิมนุษยชนพื้นฐานถูกลิ ดรอนยากจะเรียกร้องสิทธิอื่น ไม่ควรมองแยกขาด ด้านทนายความและตัวแทนชาวบ้ านอธิบายความทุกข์ยาก ออกมาต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนแต่ ถูกฟ้องคดีมากมาย สร้างภาระและบั่นทอนขวัญกำลังใจ กระบวนการยุติธรรมไทยยั งมองคนไม่เท่ากัน เห็นเป็นความขัดแย้งระหว่ างเอกชน ขาดการพิจารณาบริบท
การเมืองอำนาจนิยมกับผลกระทบต่ อสิทธิชุมชน
เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว จากสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติ ศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สถานการณ์ทางการเมืองส่ งผลกระทบต่อสิทธิชุมชนหรือการจั ดการทรัพยากร ภายใต้สถานการณ์ที่รั ฐบาลทหารปกครองประเทศส่ งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหว หลายเรื่องชัดเจนและรุนแรงขึ้น ดังนั้นการเมืองและเรื่องปั ญหาทรัพยากร ปากท้องชาวบ้าน ไปจนถึงสิทธิชุมชน เป็นเรื่องเดียวกัน เพราะการเมืองคือตัวที่กำหนดสิ ทธิ เสียงของประชาชนออกมาต่อสู้ปกป้ องสิทธิการเมืองที่ไม่ใช่แค่ การเลือกตั้งเข้าสภา แต่การเมืองคื อการกำหนดอนาคตของประเทศที่ เราอยู่อาศัยและสิ่งที่เราเผชิญ
“เรื่องกลไกทางกฎหมาย ที่เรียกว่า SLAPP หรือการแกล้งฟ้องถูกกดำเนินคดี นั้น ข้อท้าทายไม่ได้อยู่ที่ กฎหมายและระบบกระบวนการยุติธรรม แต่เป็นอำนาจพิเศษที่เหนื อกฎหมาย ในภาพรวมมีการใช้อำนาจที่เหนื อกฎหมาย เราจะทำอย่างไร เราจะใช้กฎหมายส่งเสริมสิทธิมนุ ษยชนอย่างไร เรื่องสิทธิชุมชนแม้มีกฎหมายตั้ งแต่ปี 40 ปี 50 แต่ปัจจุบันสิทธิ ในการกำหนดอนาคต สิทธิในการเลือกตั้ง สิทธิอื่นๆ ยังถูกลิดรอน ดังนั้นคงไม่มีประโยชน์ที่จะเรี ยกร้องเพียงสิทธิชุมชน เพราะสิทธิอื่นๆ ถูกลิดรอนไปแล้ว” เบญจรัตน์ กล่าว
ทั้งนี้ SLAPP ย่อมาจาก Strategic Litigation Against Public Participation แปลว่า การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่ อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณชน
ทั้งนี้ SLAPP ย่อมาจาก Strategic Litigation Against Public Participation แปลว่า การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่
“ประเด็นฝากท้ายกระบวนการเคลื่ อนไหวของประชาชนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ข้อท้าทายที่สำคัญ เราต้องยอมรับว่าสังคมไทยไม่ใช่ สังคมสิทธิมนุษยชน ไม่ได้มองว่าคนเป็นคนเท่าเที ยมกัน ไม่ต้องไปพูดถึงเรื่องสิทธิชุ มชน หรือสิทธิอื่นๆ ทำอย่างไรให้มีการเคารพสิทธิมนุ ษยชนในประเทศนี้ และไม่ว่าคุณจะเกลียดนักการเมื องอย่างไร แต่คุณก็ยังมีสิทธิถกเถียง คนทำงานเคลื่อนไหวต้องคิดว่า เราจะมีท่าทีอย่างไรกับนั กการเมืองอำนาจนิยม จะมีท่าทีอย่างไรกับนโยบายที่ เราไม่มีส่วนร่วม เรายินดีหรือไม่กับ 2-3 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่สำคัญคือใครเป็นพลเมื องที่มีอำนาจในรัฐนี้ที่จะพูดว่ าตัวเองต้องการอะไร เราต้องการรัฐที่ควบคุมเบ็ดเสร็ จ เป็นเผด็จการหรือรัฐที่จะมีพื้ นที่ให้เราพูดและถกเถียงได้” เบญจรัตน์ กล่าว
ปัญหาอุปสรรคการเข้าถึงความยุติ ธรรมของนักต่อสู้เพื่อสิทธิชุ มชน
แสงชัย รัตนเสรีวงษ์ ทนายความอาวุโส กล่าวว่า กรณีเหมืองทองคำ อ.วังสะพุง จ.เลย เป็นปัญหาร่วมกันกับพื้นที่อื่ นๆ ที่ชาวบ้านเดือดร้อนทั่ วประเทศไทย เช่น เขตที่มีการพัฒนาของธุรกิจพลั งงานปิโตรเลียม เขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ ทั้งหมดมีลักษณะร่วมคือ บริษัทเหล่านั้นสร้างการเปลี่ ยนแปลงวิถีชีวิตในพื้นที่อย่ างสิ้นเชิงเพราะได้รั บผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมและสุ ขภาพ และอุตสาหกรรมในประเทศไทยไม่ เคยถูกตรวจสอบการจั ดการผลกระทบจากสิ่งเหล่านี้อย่ างจริงจัง ไม่ว่าของเสีย สารพิษ ทั้งในระดับจังหวัดและประเทศ
แสงชัย กล่าวต่อว่า กระบวนการต่อสู้ภาคประชาชนที่คั ดค้านโครงการต่างๆ ถูกรัฐหรือทุนอาศัยช่องโหว่ ของกฎหมายเงื่อนไขบังคับ เช่น การทำรายงานผลกระทบด้านสิ่ งแวดล้อม (อีไอเอ) แม้จะมีการระบุว่ามีการรับฟั งเสียงประชาชน แต่ในทางปฏิบัติทำกันแบบไม่มีส่ วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง มีแค่ชื่อบัญชีปะติดกั บใบรายงานที่ชาวบ้านไม่รู้ รายละเอียดข้อเท็จจริงทั้งหมด เพราะผู้ดำเนินโครงการมีความเชื ่อว่าชาวบ้านในพื้นที่ส่วนใหญ่ ไม่มีความรู้และตัดสินใจด้ วยผลประโยชน์เฉพาะหน้า ถ้าชักชวนให้ผู้นำชุมชนสนับสนุ นบริษัท โครงการในพื้นที่นั้นก็ ประสบความสำเร็จ
“ถ้าประชาชานในพื้นที่คัดค้านก็ จะกลายเป็นเรื่องคดีความที่สร้ างปัญหาให้กับคนในพื้นที่ ชาวบ้านโดนฟ้อง เกิดค่าใช้จ่าย สิ่งเหล่านี้สร้างความทุกข์ยาก หลายพื้นที่ที่มีปัญหาก็ไม่ อยากสู้ในระบบยุติธรรม เพราะมันยากและค่าใช้จ่ายสูง ไม่มีใครอยากเดินทางไปขึ้นศาล มีคดีความ ยิ่งเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมยิ ่งกว่าเงินและภาระคือปัญหา ตำรวจ อัยการ ศาล ทนายความ ไม่จำเป็นอย่าเข้าไปข้ องแวะเพราะบางคนมีทัศนคติต่ อชาวบ้านไม่ดีตั้งแต่ต้น จำกัดมุมมองมุ่งอยู่ที่คดี โดยตรง โดยตัดบริบทแวดล้อมและมองแค่ข้ อเท็จจริงที่เข้าองค์ ประกอบของกฎหมาย ไม่ได้พิจารณาแวดล้อมอื่ นเพราะมองว่าไม่ได้เป็นประเด็ นที่เกี่ยวกับคดี โครงการรัฐที่ไปทำลายชาวบ้านก็ มองเป็นแค่ความคัดแย้งระหว่างบุ คคลกับบุคคล สิ่งนี้สร้างความหนักใจให้ชาวบ้ านในกระบวนการยุติธรรม” แสงชัยกล่าว
“การเคลื่อนไหวเรียกร้องต่อสู้ คดีของชุมชนต่างๆ ที่ปกป้องทรัพยากร จะพบว่าคำพิพากษา คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง หลายเรื่อง บางเรื่องถอยกลับไปอ้างอิงหลั กการในรัฐธรรมนูญ ดังนั้นหลักการรัฐธรรมนูญไม่ได้ เขียนขึ้นมาเล่นๆ แต่ต้องยึดเป็นแก่นในการตี ความกฎหมายทั้งปวง แต่มันก็เกิดขึ้นน้อยมากเที ยบเป็นร้อยละไม่ถึง 1% ในวิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมที่ อ้างอิงตามรัฐธรรมนูญ” แสงชัยกล่าว
ความรุนแรงของนักสิทธิมนุ ษยชนนอกกระบวนการยุติธรรม
จันทรา ธนะวัฒนาวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวถึงมุมมองทางวิชาการต่ อกระบวนการยุติธรรมและการต่อสู้ เพื่อสิทธิชุมชนว่า ความขัดแย้งเรื่องสิ่งแวดล้ อมระหว่างชุมชนกับรัฐและทุนขึ้ นอยู่กับบริบทของเวลา ไม่ใช่แค่เรื่องการฟ้องร้อง แต่ยังมีเรื่องข่มขู่ การเด็ดหัวแกนนำ ความรุนแรงขัดแย้งที่ยืดเยื้อส่ งผลต่อความรุนแรงต่อมิติสุ ขภาพที่เกิดขึ้นและไม่เคยได้รั บการเยียวยาแก้ปัญหา บริบทสังคมในแต่ละยุคจึงเป็นเรื ่องสำคัญในการต่อสู้เพื่อสิทธิ มนุษยชน
จันทรา กล่าวต่อว่า ถ้าประเทศไทยให้ความสำคัญกั บการมีส่วนร่วมและสิทธิ การแสดงออก ความรุนแรงย่อมผ่อนคลายลง แต่ถ้าสังคมยึดความมั่ นคงและการใช้อำนาจ ความรุนแรงความขัดแย้งเหล่านี้ ก็จะเพิ่มขึ้น ส่วนความรุนแรงของการใช้ กระบวนการยุติธรรมมาปิดปากชาวบ้ าน ความรุนแรงนี้ส่งผล 2 ประเด็น 1.ทำให้ประเด็นสาธารณะกลายเป็ นประเด็นการพิจารณาความคัดแย้ งของเอกชน ลดทอนประเด็นสาธารณะเหลือเพี ยงความขัดแย้งระหว่างเอกชนกั บเอกชน 2.กระบวนการดำเนินคดีนั้นทำร้ ายชาวบ้าน ขั้นตอนในการพิจารณาคดีความซึ่ งมีต้นทุนที่ชาวบ้านต้องเสียทรั พย์สิน เสียสภาพจิตใจ และส่งผลกระทบต่อสภานภาพครอบครั ว กระบวนการยุติธรรมกลายเป็นเครื่ องมือทำร้ายชาวบ้าน กระบวนการทางศาลทำให้คนที่ต้ องการเรียกร้องหรือได้รั บผลกระทบกลัวที่จะเข้าร่วม ทำลายขบวนการปกป้องสิทธิชุ มชนในท้องถิ่น
กรณีกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด จ.เลย กับกระบวนการยุติธรรม
สุรพันธ์ รุจิไชยวัฒน์ ผู้แทนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด อ.วังสะพุง จ.เลย กล่าวถึง ประสบการณ์ของชุมชนในการต่อสู้ เพื่อปกป้องบ้านเจ้าของตั้งแต่ ปี 2550 ซึ่งเหมืองแร่ทองคำของบริษัททุ่ งคำก่อตั้งเมื่อปี 2549 มีจุดเริ่มต้นจากชาวบ้าน 3-4 คนที่ลุกขึ้นมาพูดคุยเรื่ องผลกระทบจากเหมืองแร่ทองคำที่ เกิดขึ้นในชุมชน ทำให้ถูกข่มขู่คุกคามจากบริษั ทเหมืองทองมาโดยตลอด ในระยะเวลาเกือบ 10 ปี ชาวบ้านถูกดำเนินคดีทั้งแพ่ งและอาญาหลายสิบคดี ในระหว่างการต่อสู้เรื่องคดี พอมีความรุนแรงเกิดขึ้นในพื้นที ่ก็มีการฟ้องชาวบ้านหนักขึ้น เช่น คดีหมิ่นประมาทที่ชาวบ้านโดนฟ้ องที่ภูเก็ตและที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ทำให้ชาวบ้านต้องเดินทางไกลเสี ยเงิน เสียกำลังใจ และสร้างความหวาดกลัวในระหว่ างการต่อสู้เพื่อสิทธิของชุมชน
สุรพันธ์ กล่าวถึงกระบวนการยุติธรรมว่า การสู้คดีในชั้นศาลยังรู้สึกถึ งทัศนคติที่คนมองคนไม่เท่ากัน ผู้พิพากษาดูอยู่ในบัลลังก์เหมื อนขุนนาง เวลาชาวบ้านถูกดำเนินคดีขึ้ นศาลกับทหารยศนายพล มีเรื่องกับอำนาจรัฐและทหาร เจ้าหน้าที่ที่ทำคดียังไม่กล้ าแตะต้องอำนาจเหล่านั้น การพูดเช่นนี้ไม่ได้หมิ่นศาลแต่ ต้องการสะท้อนประสบการณ์เคยขึ้ นศาล เสมียนศาลปฏิบัติต่อชาวบ้านพู ดกับชาวบ้านด้วยน้ำเสียงอีกแบบ ในขณะที่พูดกับนายพลทหารที่มี ยศปฏิบัติอีกแบบ ทั้งๆ ที่ผู้มีอำนาจกระทำผิดต่อชุมชน
“พี่น้องเราสู้นะครับ ภาพจะออกมาอย่างไรไม่รู้ ผมว่าตุลาการไม่ควรเห็นคนไม่เท่ ากัน ผมไม่เชื่อคำพิพากษา แพ้ชนะคดีไม่ใช่จุดหมายพวกเรา แต่สิ่งสำคัญคือเรากำลังสู้สู้ เพื่อบ้านของเรา” สุรพันธ์ กล่าว
ธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี ทนายความมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุ มชน กล่าวถึงข้อสังเกตที่มีต่ อกระบวนการยุติธรรมในการดำเนิ นคดีกับกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดว่า เดิมตั้งแต่ บ.ทุ่งคำ มาประกอบกิจการในพื้นที่ก็ได้มี ความขัดแย้งกับคนในพื้นที่ มาโดยตลอด ชาวบ้านตกเป็นจำเลยหลายคดีและ 10 กว่าคดีที่ค้างบนศาล เมื่อเกิดความรุนแรงในช่วงปี 2557 กลุ่มชายฉกรรจ์ประมาณ 200-300 คนบุกเข้าหมู่บ้านและจับชาวบ้ านที่คัดค้านเหมืองเป็นตัวประกั น มีการควบคุมตัวชาวบ้านเพื่อเปิ ดทางให้รถบรรทุกเข้าไปขนแร่ ออกมาได้ หลังจากเหตุการณ์นั้นมี กลไกหลายภาคส่วนเข้ ามาเจรจาขอให้ชาวบ้านยินยอมให้ บริษัทขนแร่ออกมาจากพื้นที่ แลกกับการถอนฟ้องคดีความที่บริ ษัทฟ้องชาวบ้าน มันก็มีเหตุจำเป็นที่ชาวบ้านต้ องยินยอม ที่สุดคดี 10 กว่าคดีถอนฟ้องและบริษัทกลั บไปขนแร่ออกมาได้
ธีรพันธุ์ กล่าวต่อว่า มีความรุนแรงต่อจากนั้นเมื่อ ปี 2558 ที่บริษัททุ่งคำหยุดดำเนินการ เนื่องจากตั้งในพื้นที่เขตป่ าสงวน ซึ่งต้องขออนุญาตกรมป่าไม้ และใบอนุญาตหมดอายุตั้งแต่ปี 2555 ระหว่างยื่นขออนุญาตใหม่ มีเงื่อนไขต้องได้รับความยิ นยอมจากสภาองค์การบริหารส่ วนตำบลหรือหน่วยงานปกครองท้องถิ ่น แต่ชาวบ้านในชุมชนค้านไม่ให้ต่ อใบอนุญาต สภาองต์การบริหารส่วนตำบลจึ งชะลอเรื่องไว้เพื่อฟังเสี ยงประชาชน และทำให้เกิดเหตุขัดแย้งมีคดี ความทางแพ่งทางอาญาขึ้นมาอี กหลายคดีเมื่อบริษัทไม่หยุดที่ จะใช้กระบวนการยุติธรรมในการฟ้ องร้องเอาผิดต่อชาวบ้าน
“ข้อสังเกตคือ กลุ่มคนที่ถูกบริษัททุ่งคำฟ้อง คนเหล่านี้เป็นตัวตั้งตัวตีหรื อแกนนำที่ให้ชาวบ้านมารวมตัวกัน เลือกฟ้องเฉพาะแกนนำ เราพอมองเห็นว่าวัตถุประสงค์ที่ ผู้ประกอบการฟ้องร้องนั้นไม่ได้ เพื่อการชนะคดี แต่ต้องการให้ชาวบ้านเดิ นทางไกลเพื่อขึ้นศาล เหตุเกิดที่ อ.วังสะพุง จ.เลย แต่ต้องเดินทางไปขึ้นศาลที่อ. แม่สอด จ.ตาก ต้องหาเงินเดินทางไปและหาเงิ นมาประกันตัว สร้างความพะวักพะวงและบั่ นทอนขวัญของชาวบ้าน อยากให้ขบวนการกลุ่มต่อสู้เพื่ อสิทธิชุมชนสั่นคลอน และยุติการเคลื่อนไหวในที่สุด” ธีรพันธุ์ กล่าว
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น