ศาลสั่งไม่รับฎีกา ขสมก. เหตุไม่เกี่ยวประโยชน์สาธารณะ หลังคดียื้อกว่า 5 ปี
Posted: 03 May 2016 06:02 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
3 พ.ค. 2559 เวลาประมาณ 10.00 น. ที่ศาลแพ่ง (รัชดา) ห้อง 603 ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำสั่งศาลฎีกา คดีที่นางอารี แซ่เลี้ยว ผู้เสียหาย เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายมานิต หวังสะแล่ะฮ์ เป็นจำเลยที่ 1 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เป็นจำเลยที่ 2 ฐานผิดสัญญารับขนคนโดยสาร เรียกค่าเสียหายเป็นเงินรวม 1,328,298 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันเกิดเหตุ (ฟ้องเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2554)
จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2550 กรณีอุบัติเหตุรถเมล์โดยสาร สาย 4 หมายเลขทะเบียน 12-0357 กรุงเทพมหานคร ของ ขสมก. โดยมีนายมานิต เป็นพนักงานขับรถ ได้ขับรถเมล์ด้วยความเร็ว โดยเบรกกะทันหัน ทำให้นางอารี ใบหน้ากระแทกอย่างรุนแรงกับเหล็ กพนักพิงเบาะนั่งด้านหน้า ได้รับบาดเจ็บสาหัส
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิ นจำนวน 164,475 บาท พร้อมดอกเบี้ยให้กับโจทก์ ต่อมาโจทก์อุทธรณ์ โดยปี 2556 ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคพิ พากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 347,225 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงิน 323,000 บาท ด้านจำเลยทั้งสองขอฎีกาต่อศาลฎี กา
ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ปัญหาตามฎีกาที่ว่าค่าเสียหายที ่ศาลอุทธรณ์ฯ กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระแก่ โจทก์สูงเกินและฟ้องโจทก์ ขาดอายุความนั้น ไม่เป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎี กาควรวินิจฉัย ทั้งไม่เป็นปัญหาที่เกี่ยวพันกั บประโยชน์สาธารณะ ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดี ผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 52 และข้อกำหนดประธานศาลฎีกาว่าด้ วยการดำเนินกระบวนพิ จารณาและการปฏิบัติหน้าที่ ของเจ้าพนักงานคดีในคดีผู้บริ โภค พ.ศ. 2551 ข้อ 40 จึงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ฎี กาและไม่รับฎีกา
นายเฉลิมพงษ์ กลับดี ทนายความอาสามูลนิธิเพื่อผู้บริ โภค กล่าวว่า คำสั่งศาลฎีกาในคดีนี้ถือเป็ นบทเรียนสำคัญของ ขสมก. ที่ควรมีความรับผิดชอบต่อสังคม และผู้บริโภคที่ใช้บริการ ในฐานะรัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุ ประสงค์ให้บริการสาธารณะมากกว่ าการหวังผลทางคดี ซึ่งเรื่องนี้ผู้เสียหายต้องใช้ เวลาต่อสู้คดีถึง 3 ศาลนานกว่า 5 ปี แต่สุดท้ายศาลฎีกาก็ไม่อนุ ญาตให้ ขสมก. ฎีกา เนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ กฎหมายกำหนด
“ผมเห็นด้วยที่ศาลฎีกาควรจะรั บเฉพาะเรื่องที่สำคัญและเป็นปั ญหาที่เกี่ยวพันกับประโยชน์ สาธารณะ การยื้อคดีของ ขสมก. ไม่เป็นประโยชน์กับส่วนรวม ทั้งยังทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รั บความเป็นธรรม ซึ่งตอนนี้คดีสิ้นสุดแล้ว หาก ขสมก. ยังไม่ยอมชำระค่าเสียหายตามที่ ศาลกำหนดพร้อมดอกเบี้ย เราคงต้องดำเนินการยึดทรัพย์บั งคับคดีตามกฎหมายต่อไป” ทนายความอาสาฯ กล่าว
ด้าน อารี กล่าวว่า นับตั้งแต่เกิดเหตุในปี 2550 ไม่เคยได้รับการติดต่อหรือดู แลใดๆ จาก ขสมก. ต่อมาเมื่อมูลนิธิเพื่อผู้บริ โภคให้ความช่วยเหลือนั ดเจรจาไกล่เกลี่ยคดีนี้ ผู้แทน ขสมก.บอกให้ฟ้องคดีไปก่อนแล้ วจะจ่ายเงินค่าเสียหายให้ในชั้ นศาล โดยอ้างว่า ขสมก. เป็นหน่วยงานรัฐจ่ายเงินก่อนฟ้ องไม่ได้ แต่เมื่อตนฟ้อง ขสมก. เป็นคดีผู้บริโภคแล้ว กลับปฏิเสธการเยียวยา และสู้คดีอย่างถึงที่สุด ทำให้ตนรู้สึกผิดหวัง
“ดีใจที่ศาลให้ความเป็นธรรม คดีนี้สิ้นสุดเสียที 9 ปีที่ผ่านมาชีวิตไม่ได้ดีขึ้ นเลย ต้องเจ็บปวดทนทุกข์ทรมานมาตลอด” ผู้เสียหายกล่าว
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น