‘ประวิตร โรจนพฤกษ์’-นักโทษความคิด โผล่งานเสรีภาพสื่อโลก ที่ฟินแลนด์
Posted: 03 May 2016 08:16 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
ที่ฟินแลนด์ นักกิจกรรมสวมหน้ากาก ประวิตร โรจนพฤกษ์ และนักโทษทางความคิดอีกหลายคน ชี้เมื่อคนเหล่านี้มาร่วมงานวั นเสรีภาพสื่อโลกด้วยตัวเองไม่ ได้ก็ขอเป็นภาพแทน
3 พ.ค. 2559 กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ รัฐบาลฟินแลนด์ร่วมกับยูเนสโกจั ดงานวันเสรีภาพสื่อโลก ประจำปี 2016 ระหว่างวันที่ 3-4 พ.ค.นี้ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากองค์ กรต่างๆ และสื่อมวลชน ราวพันคน โดยในปีนี้มีธีมว่า “การเข้าถึงข้อมูลและเสรีภาพขั้ นพื้นฐาน เป็นสิทธิของคุณ!” (Access to Information and Fundamental Freedoms, This is your right!)
ภายในงาน มีการพูดคุยในเรื่องหลักการพื้ นฐานเรื่องเสรีภาพ ไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพในการเข้าถึ งข้อมูลของสาธารณะ โดยแยกเป็นประเด็นต่างๆ ทั้งเรื่องผลกระทบเรื่องผู้ลี้ ภัยในยุโรปบนการให้คุณค่าของสื่ อสาธารณะ, เสรีภาพในงานศิลปะเป็นความท้าท้ ายใหม่ของการพัฒนาหรือไม่, ข้อจำกัดของการปกป้องแหล่งข่ าวของสื่อมวลชน, การต่อสู้กับเฮทสปีชในสื่อผ่ านระบบจริยธรรมและตรวจสอบกั นเอง, การสอดส่อง การปกป้องข้อมูล และการเซ็นเซอร์ออนไลน์, สิทธิในข้อมูลข่าวสารในประเด็ นเพศสภาพ, พรมแดนใหม่ของการเข้าไม่ถึงข้ อมูลข่าวสาร เป็นต้น
งานนี้สถานทูตฟินแลนด์ได้เชิญนั กข่าวไทยจำนวนหนึ่งเข้าร่วมงาน แต่ประวิตร โรจนพฤกษ์ คอลัมนิสต์อาวุโสจากข่าวสดอิงลิ ช หนึ่งในผู้ได้รับเชิญไม่ สามารถเดินทางมาร่วมงานได้ เนื่องจาก คสช.ไม่อนุญาตให้เดิ นทางออกนอกประเทศ หลังจากเขาถูกเรียกเข้าค่ ายทหารเพื่อปรับทัศนคติ 2 ครั้งรวม 10 วันและต้องเซ็นข้อตกลงห้ามเคลื่ อนไหวทางการเมืองและการเดิ นทางออกนอกประเทศต้องได้รับอนุ ญาตจาก คสช. โดยก่อนหน้านี้ คสช.อนุญาตให้เขาเดินทางไปประชุ มในต่างประเทศได้หลายครั้ง ยกเว้นครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม เขายังคงจะได้ร่วมประชุมในพรุ่ งนี้ (4 พ.ค.) ในเวทีที่พูดคุยถึ งความยากลำบากในการทำงานของสื่ อในบางประเทศ เช่น ไทย พม่า และประเทศในภูมิภาคแอฟริกา ผ่านการประชุมทางไกล เวทีนี้เป็นงานที่จัดขึ้นที่ กระทรวงการต่างประเทศฟินแลนด์ เป็นการเฉพาะและจะมีสื่อมวลชนฟิ นแลนด์และประเทศอื่นๆ ร่วมรับฟัง
นอกจากนี้ภายวันในงานวันแรกยั งปรากฏว่ามีนักกิจกรรมสวมหน้ ากากใบหน้านักโทษการเมืองไทยที่ ถูกจำคุกด้วยข้อหามาตรา 112 รวมถึงประวิตร โรจนพฤกษ์ ปรากฏตัวภายในงานราว 10 นาที มีใบหน้าของสมยศ พฤกษาเกษมสุข บ.ก.นิตยสาร Voice of Taksin, ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล, ภรณ์ทิพย์ และปติวัฒน์ นักแสดงละครเวทีเจ้าสาวหมาป่า
จรรยา ยิ้มประเสริฐ นักกิจกรรมด้านแรงงานและด้ านการเมือง ซึ่งลี้ภัยมาอยู่ในประเทศฟิ นแลนด์ราว 6 ปี เป็นผู้จัดกิจกรรมนี้ เธอให้สัมภาษณ์ว่า เวทีนี้เป็นเวทีสำคัญเพราะสื่ อทั่วโลกต่างเผชิญกับการคุ กคามและเซ็นเซอร์ ประเทศไทยก็ตกอยู่ในสถานการณ์ที ่ย่ำแย่เช่นกัน จึงจำเป็นต้องมีเสียงที่ มาบอกเล่าเรื่ องราวของประเทศไทยในที่นี้ด้วย อยากให้คนเหล่านี้ซึ่งเป็นเจ้ าของเรื่องได้มาเผยโฉมในงาน แต่ในเมื่อเขามาไม่ได้ก็ขอทำเป็ นภาพของพวกเขาแทน
ด้านองค์การผู้สื่อข่าวไร้ พรมแดน (RSF) ออกแถลงการณ์ประณาม คสช. จากการห้ามประวิตรเดิ นทางออกนอกประเทศเพื่อร่วมงานดั งกล่าว พร้อมระบุว่าได้ส่งต่ อบทความของประวิตรในข่าวสด อิงลิช ไปยังสื่อต่างๆ ทั่วโลก เพื่อตอบโต้กับการสั่งห้ามดั งกล่าว รวมถึงจะแปลเป็นภาษาไทยด้วย โดย เบนจามิน อิสมาอิล หัวหน้าแผนกเอเชีย-แปซิฟิกของ RSF กล่าวว่า จะมีการรายงานความเห็นของประวิ ตรและสถานการณ์การละเมิดสิทธิ ครั้งนี้ยิ่งกว่าการอนุญาตให้ ประวิตรเดินทางเสียอีก
เขาชี้ว่า รัฐไทยต้องเข้าใจว่าทุ กความพยายามที่จะปิดกั้นความเห็ นจะกระตุ้นให้เกิดปรากฏการณ์ สไตรแซนด์ (Streisand effect) และยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาต้องเข้าใจว่า การวิพากษ์ และความหลากหลายของความเห็นเป็ นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำให้สั งคมดีขึ้น
RSF ระบุว่า ประวิตรให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลทหารนั้นกลัวว่าจะเสี ยการควบคุมประเทศ หากอนุญาตให้มีการวิพากษ์วิ จารณ์ และการตั้งคำถามเรื่ องความชอบธรรมกลายเป็นเรื่องต้ องห้าม โดยยกกรณีที่มีพลเมืองเน็ตถูกจั บกุม 8 รายโดยถูกข้อหายุยงปลุกปั่น แม้ว่าจะไม่ได้โพสต์อะไรที่เป็ นภัยความมั่นคงของชาติ
รายงานดัชนีเสรีภาพสื่อโลก ปี 2016 ของ RSF ระบุว่า ประเทศไทย อยู่ที่อันดับ 136 จาก 180 ประเทศ โดยอันดับของไทยลดลงอย่างรุ นแรงนับแต่การรัฐประหาร เมื่อสองปีก่อน
ทั้งนี้ ปีนี้นับเป็นปีที่ 25 ที่โลกพูดถึงวันเสรีภาพสื่อโลก มันมีที่มาจากคำประกาศวินด์ฮุก (Windhoek) ซึ่งเป็นผลมาจากการรวมตัวของกลุ ่มนักข่าวชาวแอฟริกันในงานสั มมนาของยูเนสโกในเมืองวินด์ฮุก ประเทศนามิเบีย ในปี 1991 ที่ซึ่งพวกเขาร่วมลงนามร่วมกั นในคำประกาศชื่อเดียวกับสถานที่ จัดสัมมนานี้เพื่อยืนยันบทบาทที ่เป็นอิสระและความเป็นพหุนิ ยมของสื่อ รวมถึงสร้างความตระหนักถึ งความรุนแรงที่เกิดกับสื่อมวลชน ต่อมาในปี 1993 คณะมนตรีความมั่นคงแห่ งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ประกาศให้วันที่ 3 พ.ค. เป็นวันเสรีภาพสื่อโลกอย่างเป็ นทางการ
ขณะที่ฟินแลนด์เจ้าภาพในปีนี้ คือ ประเทศอันดับหนึ่งในการจัดอันดั บเรื่องเสรีภาพสื่อในปี 2016 และอยู่ในตำแหน่งนี้มา 6 ปีซ้อน ดัชนีดังกล่าวจัดทำโดยองค์การผู ้สื่อข่าวไร้พรมแดน (RSF)
รายงานดัชนีเสรีภาพสื่อโลก ปี 2016 ของ RSF ระบุว่า ประเทศไทย อยู่ที่อันดับ 136 จาก 180 ประเทศ โดยอันดับของไทยลดลงอย่างรุ นแรงนับแต่การรัฐประหาร เมื่อสองปีก่อน
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น