เมื่อวานผมอ่านบทสัมภาษณ์ ของรองมงกุฏราชกุมาร แห่งซาอุดิ อารเบีย ที่เป็นรัฐมนตรีกลาโหมด้วย ของ The Economist ฉบับยาว เลยเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงนโยบายซาอุฯ ด้านเศรษฐกิจมากมายพอสมควร ราคาน้ำมันโลกที่ตกลงไปมาก คงไม่ถึงกับทำให้ซาอุฯ ล่มจมแน่
เมื่อปีที่แล้ว 2015 ซาอุฯ ขาดดุลงบประมาณจากราคาน้ำมันที่ตกลงถึง 15% แต่ซาอุมีรายได้จาก Non-Oil เพิ่มขึ้นถึง 29% แม้ในซาอุจะไม่มีการเก็บภาษีรายได้ก็ตาม นโยบายเศรษฐกิจนั้น ซาอุ มุ่งพัฒนารายได้ของรัฐจากทรัพสินต่างๆ ที่ยังไม่มีการลงทุน เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว ที่มีคนมุสลิมจำนวนมากเดินทางไปทำพิธีฮัจย์ ซาอุมีเหมืองแร่อื่นๆ เช่น ยูเรเนียม 6% ของโลก ซาอุมุ่งเพิ่มรายได้จาก Non-Oil มากขึ้น
คาดว่าจะมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจครั้งใหญ่ อาจมีการขายหุ้นบริษัทน้ำมันแห่งชาติ ARAMCO ด้วยเพื่อการบริหารที่โปร่งใส และกำจัดการคอรับชั่น (อันนี้ตรงข้ามกับไทยของกลุ่ม คปพ. ที่เสนอให้ตั้งบริษัทน้ำมันแห่งชาติ) คงมีการส่งเสริมการลงทุนครั้งใหญ่ในซาอุดิอารเบีย เพราะยังมีจุดแข็งเรื่องเหมืองแร่ และการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ที่ขยายตัวได้มาก
ด้านเศรษฐกิจ ซาอุจะเลิกการ Subsidy อุดหนุนผ่านระบบราคา แต่ยังคงสนับสนุนแบบอื่นสำหรับผู้มีรายได้น้อยอยู่ แต่จะเจาะจงตัวมากขึ้น
ส่วนเรื่องความขัดแย้งกับอิหร่านนั้น ซาอุ ยังไม่คิดว่าจะมีสงครามระหว่างสองประเทศนี้ เพราะหากเป็นแบบนั้นคงหายนะกันทั้งสองฝ่าย
เจ้าชายซาอุมองว่า แม้ราคาน้ำมันจะตกต่ำ แต่ภายใน 4-5 ปีนี้ ผลกระทบต่อระบบงบประมาณซาอุนั้นจะสามารถรับมือได้
อ่านบทสัมภาษณ์จบ ผมคิดว่าที่เคยมองว่าซาอุจะแย่จากราคาน้ำมันตกนั้น อาจไม่หนักหนาเท่าที่เราคิด มีการปรับตัวอย่างมากเหมือนกัน ดังนั้นคาดว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันตกต่ำ นั้นคงเป็นไปอีกนานพอสมควร เพราะคาดว่าซาอุคงไม่ลดปริมาณการผลิตลง แล้วเสียส่วนแบ่งการตลาดให้ พลังงานทดแทนต่างๆ เช่น Shale Oil เป็นแน่ ราคาน้ำมันจะเริ่มสูงขึ้นอีก จนกว่าปริมาณการลงทุนด้านการขุดเจาะ สำรวจ ของโลกจะลดลง ส่งผลให้ Supply น้ำมันดิบเข้าสู่ตลาดลดลง ราคาจะค่อยๆ ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งคงใช้เวลา 4-5 ปี
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น