เหมืองแร่และแม่หญิง...อีกมุ มของเหมือง
Posted: 02 May 2016 09:23 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
ท่ามกลางความร้อนระอุของการลงพื ้นที่ในเขตชุมชนเหมืองแร่ของ รัฐมนตรีว่าการสามกระทรวง ประกอบด้วย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วยอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ในฐานะผู้แทนรัฐมนตรีว่ าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สังคมเฝ้าจับตามองผลที่จะเกิดขึ ้นจากการลงพื้นที่ของผู้ใหญ่ ในบ้านเมืองคราวนี้
การลงสำรวจพื้นที่บริเวณเหมื องแร่ทองคำของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน)ในเขตจังหวัดพิจิตร เพื่อร่วมกันพิจารณาตรวจสอบข้ อเท็จจริงของปั ญหาผลกระทบจากการทำเหมืองทองคำ ของสามกระทรวงเมื่อช่วงสุดสั ปดาห์ที่ผ่านมา เป็นไปตามคำสั่งของพลเอกประยุ ทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เนื่องจากมีการเรียกร้ องของชาวบ้านในเขตทับคล้อ และ เขาเจ็ดลูกในเรื่องผลกระทบทางสิ ่งแวดล้อมและสุขภาพที่เกิดขึ้ นอันน่าจะมาจากการขุดเหมื องทองในเขตชุมชน
ในฐานะที่ผมเป็นนักวิจัยที่นำที มวิจัยลงพื้นที่สำรวจประเด็นด้ านอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในเขตชุ มชนนี้มาชั่วเวลาหนึ่ง ผมขอเสนอมุมมองทางวิชาการที่น่ าสนใจในเรื่อง “ผลกระทบของเหมืองแร่ที่มีต่ อสตรี” ในชุมชนนี้ เนื่องจาก ประเด็นด้านผลกระทบทางสั งคมของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่มี ต่อบุคคลหลากกลุ่ม ที่นอกเหนือจากด้านสุขภาพนั้น ยังไม่ได้รับการพูดถึงมากนั กในสื่อและงานวิจัยในประเทศไทย โดยข้อมุลจากการเขียนบทความนี้ ผมและคณะวิจัยจากมหาวิทยาลั ยอาร์เอ็มไอที (Royal Melbourne Institute of Technology) แห่งประเทศออสเตรเลีย สถาบันประชากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ลงพื้ นที่ในช่วงปีที่ผ่านมาและพูดคุ ยกับตัวแทนจากบริษัท ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน รวมไปถึงเอ็นจีโอในชุมชนเหมื องแร่
การลงสำรวจพื้นที่บริเวณเหมื
ในฐานะที่ผมเป็นนักวิจัยที่นำที
สภาพเหมืองแร่
ประเด็นที่หนึ่ง: อุตสาหกรรมเหมืองแร่และการจ้ างแรงงานสตรี
อุตสาหกรรมเหมืองแร่นับได้ว่ าเป็นอุตสาหกรรมระหว่างประเทศที ่ได้รับการจับตามองและวิพากษ์ มากที่สุด ทั้งนี้เนื่องมาจากขนาดของอุ ตสาหกรรม รูปแบบการลงทุนที่มักจะเป็ นการร่วมทุนกันระหว่างบริษั ทระหว่างประเทศ และ ผลกระทบจากอุตสาหกรรมทั้งในด้ านสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพต่อชุมชน
ในกรณีของเหมืองแร่ชาตรีนั้นเป็ นรูปแบบการรวมทุนของบริษัทอั ครารีซอสเซสและบริษัทคิงส์ เกตจากออสเตรเลีย โดยที่บริษัทอัครานั้นได้รับสั มปทานการทำเหมืองแร่ทองคำที่ ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยเหมืองแร่ชาตรีนั้นกิ นอาณาเขตของพื้นที่ในเขตจังหวั ดพิจิตรและเพชรบูรณ์
ประเด็นทางสังคมประเด็นสำคัญที่ บริษัทเหมืองแร่ข้ามชาติในทุ กประเทศได้รับการวิจารณ์มากคือ รูปแบบและวิธีการจ้างงาน และผลกระทบของอุตสาหกรรมที่มีต่ อคนหลากกลุ่ม เช่น ชนพื้นเมือง กลุ่มผู้ด้อยโอกาส เด็กและสตรีในพื้นถิ่น โดยผลกระทบที่เห็นชัดคือลั กษณะงานในอุตสาหกรรมนี้มี ความเป็น ’ชาย’ และ ‘ชนกลุ่มใหญ’ ค่อนข้างชัดเจน และอาจทำให้ผู้ด้อยโอกาสยิ่ งขาดโอกาสมากทวีขึ้น ยกตัวอย่างเช่ นในประเทศออสเตรเลีย ที่ผู้เขียนทำงานและพำนักอยู่ เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับอุ ตสาหกรรมเหมืองแร่มาก ทว่า ยังมีรายงานด้านความไม่เท่าเที ยมกันในการจ้ างงานและโอกาสในการได้รั บผลประโยชน์จากเหมืองแร่ระหว่ างเพศชายและหญิง และพบตัวเลขที่น่าตกใจคือ มีผู้หญิงที่สามารถขึ้นไปสู่ ตำแหน่งในผู้บริหารระดับสู งของอุตสาหกรรมนี้เพียง 2.6% และ มีผู้หญิงเพียง 16% เท่านั้นทำงานในอุตสาหกรรมหลั กของประเทศเช่นนี้ (Australian Government, 2015) ความเท่าเทียมระหว่างชายหญิ งในอุตสาหกรรมเหมืองแร่จึงเป็ นประเด็นใหญ่ในหลายประเทศที่ต้ องเฝ้าระวัง
หันกลับมามอง ในบริบทของชุมชนเหมืองแร่ในพิจิ ตรและพิษณุโลกนั้น ทางบริษัทมีนโยบายในเรื่ องของความเท่าเทียมกันในการจ้ างงานและมีการส่งเสริมให้สุ ภาพสตรีเข้าสู่กระบวนการจ้ างงานในตำแหน่งที่หลากหลาย ในอดีตนั้นผู้หญิงอาจจะถูกจำกั ดบทบาทของตนให้อยู่แค่ในสำนั กงานและทำงานเอกสารให้กับบริษัท แต่ทีมวิจัยพบว่ามีผู้หญิงที่ ทำงานในลักษณะงานที่ต้องใช้ กายภาพเทียบเท่ากับเพศชายมากขึ้ น เช่น ขับรถขนแร่ วิศวกรเหมืองแร่ หรือ งานบริหารชุมชนสัมพันธ์เป็นต้น การส่งเสริมบทบาทให้ผู้หญิงมี ความหลากหลายในการทำงานนั้นช่ วยให้พวกเธอมีความมั่นใจ และ รู้สึกว่าตนเองมีความเท่าเที ยมกันกับทุกคนในองค์กร อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาทีมผู้ บริหารของบริษัทเราพบผู้หญิงเพี ยงหนึ่งคนในบทบาทด้านบัญชีและผู ้บริหารชายถึงห้าคนจากจำนวนผุ้ บรหารทั้งหมดของบริษัท
ประเด็นหนึ่งที่เราพบในการลงพื้ นที่คือ มีสมาชิกในชุมชนซึ่งอยู่ในพื้ นที่มานาน แต่ขาดคุณวุฒิทางการศึกษา หรือ ทักษะในการทำงานที่เหมาะสม คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เนื่องจากค่านิยมที่ส่งเสริมผู้ ชายให้มีโอกาสทางการศึกษามากกว่ าหญิงในหลายครอบครัว สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้พวกเธอรู้ สึกว่าไม่ได้รั บโอกาสในการทำงานในอุ ตสาหกรรมเหมืองแร่ที่เกิดขึ้ นในชุมชนของพวกเธอ พวกเธอมักกล่าวในทำนองตัดพ้อว่ าบริษัทเลือกเอาคนนอกพื้นที่ มาทำงานเพราะเขาหรือเธอมีปริ ญญาบัตร การตัดโอกาสในการจ้ างงานอาจทำให้สมาชิกในชุ มชนหลายคนไม่พอใจและ ประเด็นเหล่านี้อาจทั บถมในใจของชาวบ้านมาชั่ วระยะเวลาหนึ่งในด้านความเท่ าเทียมและโอกาสทางเศรษฐกิจ
ในกรณีของเหมืองแร่ชาตรีนั้นเป็
ประเด็นทางสังคมประเด็นสำคัญที่
หันกลับมามอง ในบริบทของชุมชนเหมืองแร่ในพิจิ
ประเด็นหนึ่งที่เราพบในการลงพื้
กลุ่มคนงานผู้สนับสนุนเหมืองแร่ : (ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้
ประเด็นที่สอง เหมืองแร่ทองคำกับผลกระทบต่ อโอกาสทางเศรษฐกิจของสตรี
จากการลงพื้นที่และพูดคุยกับชุ มชน เราพบว่า ข้อมูลในเรื่ องของผลกระทบของเหมืองแร่ที่มี ต่อโอกาสในชีวิตนั้น เป็นข้อ มุลกระแสหลักที่ชาวบ้านในชุ มชนกล่าวถึง แน่นอนว่าประเด็นเรื่ องโอกาสทางเศรษฐกิจตามที่ได้กล่ าวข้างต้นนั้นมีผลกระทบต่อผู้ หญิงและผู้ชายในชุมชน การได้รับโอกาสเข้าทำงานในบริษั ทเหมืองแร่ และการมีรายได้ ประจำจากการทำงานกับบริษัทดู จะเป็นสิ่งที่ชาวบ้านหลายคนต้ องการ เพราะนั่นหมายถึงสถานะทางสังคม และ โอกาสที่เพิ่มขึ้นในชีวิต
โอกาสในการสร้างมูลค่ าทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้หญิ งในชุมชนนับได้ว่าเป็นประเด็นที ่สมาชิกชุมชนและตัวแทนจากทางบริ ษัทกล่าวถึง ยกตัวอย่างเช่น ในโครงการชุมชนสัมพันธ์หรือพั ฒนาชุมชนนั้น บริษัทจำเป็นต้องมีกองทุนหมู่บ้ านในรูปแบบต่างๆและการจัดการเงิ นจำนวนที่ต่างกันในแต่ละหมู่บ้ าน เพื่อลงสู่กลุ่มสมาชิกชุมชนต่ างๆ รวมถึงผู้หญิง โอกาสเช่นนี้ เป็นการสร้างมูลค่าทางสั งคมและเศรษฐกิจให้กับผู้หญิ งหลายคนในชุมชนเหมืองแร่ที่พิจิ ตร ผู้หญิงหลายคนกลายมาเป็นผู้ นำกลุ่มอาชีพต่างๆ เช่น เย็บผ้า กสิกรรม เลี้ยงสัตว์ หัตถกรรม โดยเงินที่ใช้ดำเนิ นการมาจากโครงการต่างๆของบริษั ทเหมืองแร่
อย่างไรก็ตามมีผุ้หญิงและสมาชิ กในชุมชนอีกหลายกลุ่มที่วิพากษ์ ว่า กระบวนการจัดสรรเงินเพื่อเข้าสู ่ชุมชนนั้น มีผู้ชายเป็นผู้นำ ทั้งในระดับหมู่บ้าน และ ตำบล และมักจะผ่านผู้ใหญ่บ้าน และ นายก อบต ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเพศชาย การที่ผุ้หญิงไม่สามารถเข้าไปมี เสียงอย่างเต็มที่ ในกระบวนการการจัดสรรทรัพยากรนั ้น อาจนำไปสู่ การพัฒนาจากมุมมองของชายเท่านั้ น เช่นผู้หญิงสามารถทำได้แค่หั ตถกรรม เย็บผ้า ปลูกผัก ในขณะที่ความต้องการที่แท้จริ งของผุ้หญิงอาจจะไม่ได้รั บการตอบสนองเนื่องจากการไร้ตั วแทนเพศหญิงที่เข้มแข็งในชุมชน นอกจากนี้ความเท่าเทียมกั นในจำนวนเงินที่จัดสรรให้แต่ ละหมู่บ้าน และ การเข้าถึงกองทุนหมู่บ้าน ล้วนถูกกล่าวถึงโดยสตรีหลากกลุ่ มในทุกหมู่บ้าน กล่าวได้ว่า เหมืองแร่มีผลกระทบต่อโอกาสในชี วิตของผู้หญิงทั้งบวกและลบ
โอกาสในการสร้างมูลค่
อย่างไรก็ตามมีผุ้หญิงและสมาชิ
ประเด็นที่สาม เหมืองแร่ทองคำกั บบทบาททางการเมืองและครอบครั วของสตรี
ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทเหมื องแร่กับชุมชนนั้นมีความซับซ้ อนเนื่องจากบทบาทที่ทับซ้ อนของเหมืองแร่ต่อหมู่บ้านต่างๆ คนงาน ผุ้นำชุมชน องค์กรทางการปกครอง เช่น อบต และ เอ็นจีโอ กล่าวได้ว่าลักษณะความสัมพันธ์ นั้นเป็นในเชิง ‘ทั้งรักทั้งเกลียด’ (love-hate relationship) นั่นคือ ชุมชนมองเห็นความสำคัญของการมี อยู่ของเหมืองแร่ เพราะนั่นคือการเปลี่ยนชีวิ ตและวิถีชุมชน แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งด้ านสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรและผลประโยชน์ จากเหมืองแร่ และ อำนาจทางเศรษฐกิจและการเมื องของบริษัทก็ล้วนแต่สร้ างความแคลงใจของชุมชนต่อเหมื องแร่
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ผู้นำในการการต่อสู้กับเหมื องแร่ในด้าน สุขภาพ และ สิ่งแวดล้อม ล้วนแล้วแต่เป็นผุ้หญิง ที่เคยทำงานกับบริษัทเหมืองแร่ พวกเธอบอกว่าความเป็นหญิงทำให้ ระดับความรุนแรงในการต่อสู้ไม่ ดุเดือดจนเกินไป พวกเธอมองว่าการใช้ความเป็นสตรี มาต่อสู้กับบริษัท จะทำให้ปฏิกริยาจากทางบริษัทไม่ สามารถถึงขั้นรุนแรงได้ในระดั บที่น่ากลัว พวกเธอไม่ต้องการให้ผุ้ ชายในครอบครัวลุกขึ้นมาต่อสู้ เพราะเกรงว่าปฏิกริยาตอบจากฝ่ ายตรงข้ามอาจดุเดือดถึงขั้นอั นตราย ดังนั้นเราจึงอนุมานได้ว่าการมี อยู่ของบริษัทเหมืองแร่มีความสั มพันธ์กับบทบาทในการต่อสู้ ทางการเมืองของผู้หญิงในชุมชน (Pimpa and Moore, 2015)
นอกจากนี้สตรีหลายคนที่ มองตนในฐานะเพศแม่ ให้ข้อมูลว่า การมีอยู่ของเหมืองในทศวรรษที่ ผ่านมาทำให้ลูกๆของพวกเธอกลั บมาจากกรุ งเทพมหานครและสามารถมาใช้ชีวิ ตแบบครอบครัวใหญ่ได้อีกครั้ง เพราะโอกาสในทางเศรษฐกิ จและการศึกษาเปิดกว้างขึ้นสำหรั บลูกและหลานของพวกเธอ
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ผู้นำในการการต่อสู้กับเหมื
นอกจากนี้สตรีหลายคนที่
บทสรุป
บทบาทของบริษัทเหมืองแร่นั้นมี ความสลับซับซ้อนและหลากมิติ องค์กรทางธุรกิจ เช่น บริษัทเหมืองแร่นั้น มีหน้าที่ที่สำคัญคือการผลิ ตและสร้างผลกำไร อย่างไรก็ตามทฤษฎีทางธุรกิจด้ านการจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสี ยต่อธุรกิจ (Stakeholder Theory, Freeman 1984) สามารถนำมาอธิบายปรากฏการณ์ที่ เกิดขึ้นในชุมชนเหมืองแร่แห่งนี ้ได้ ความหลากหลายของผู้มีส่วนได้ส่ วนเสีย ความคาดหวังและความต้ องการของแต่ละกลุ่มย่อมต่างกัน ดังนั้น การจัดการทรัพยากรและผลกระทบที่ เกิดขึ้นจากกิจกรรมในการทำเหมื องแร่โดยบริษัทเหมืองแร่นั้ นจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการอย่ างต่อเนื่องโดยกลุ่มบุคคลอั นหลากหลาย สมาชิกทุกภาคส่วนในชุมชนต้องมี เสียงในการจัดการทรัพยากรในชุ มชน
ปัญหาเรื้อรังด้านผลกระทบทางสิ่ งแวดล้อมและสุขภาพที่เกิดขึ้ นในเวลานี้ จำเป็นต้องได้รับการพิสูจน์ ทางวิทยาศาสตรโดยองค์กรที่มี ความเป็นกลาง และ ต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยอาศัยผลทางวิทยาศาตร์เป็นตั วตั้ง มากกว่าผลลัพธ์ทางการเมือง
อย่างไรก็ตามผลกระทบทางสังคมที่ เกิดจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่นั้น อาจจะไม่สามารถใช้ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มาตรวจสอบได้ทั้งหมด ดังนั้นกระบวนการทางสังคมศาสตร์ ที่อาศัยผู้เชี่ยวชาญหลากด้ านของสังคมจึงเป้นสิ่งที่จำเป็ นต้องกระทำอย่างต่อเนื่องเพื่ อการพัฒนาชุมชนอันเป้นมรรคผล และ เพื่อป้องกันปัญหาที่หมั กหมมตามทีเกิดขึ้นในปัจจุบัน
ปัญหาเรื้อรังด้านผลกระทบทางสิ่
อย่างไรก็ตามผลกระทบทางสังคมที่
อ้างอิง
Australian Government (2015), Gender Equality Spotlight: Mining, Interim Report, Canberra. Also available at: https://www.wgea.gov.au/wgea- newsroom/gender-equality- spotlight-mining
Freeman, E. (1984), Strategic Management: A stakeholder approach. Boston: Pitman
Freeman, E. (1984), Strategic Management: A stakeholder approach. Boston: Pitman
Pimpa, N. and Moore, T. (2015), Kingsgate’s Thai mine a lesson in failed community management, The Conversation, Australia. Also available at: http://theconversation.com/ kingsgates-thai-mine-a-lesson- in-failed-community- management-37588
เกี่ยวกับผู้เขียน: รศ.ดร. ณัฐวุฒิ พิมพา เป็นอาจารย์และนักวิจัยด้ านการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ ณ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอาร์เอ็มไอที (Royal Melbourne Institute of Technology) ประเทศออสเตรเลีย โดยเน้นงานวิจัยเรื่องธุรกิ จระหว่ างประเทศและความเสมอภาคระหว่ างชายและหญิงในออสเตรเลี ยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานวิจัยเรื่องเหมืองแร่และสตรี ในประเทศไทยและลาวฉบับนี้ได้รั บเงินอุดหนุนวิจั ยจากกระทรวงการต่ างประเทศและการค้าแห่ งประเทศออสเตรเลีย และสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่ มเติมได้ที่ http://seabiz.asia
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น