คำบรรยายของ รมว.ต่างประเทศญี่ปุ่น: นโยบายญี่ปุ่นด้านอาเซียน- การเชื่อมโยงที่มีชีวิต
Posted: 03 May 2016 12:58 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
ฟูมิโอะ คิชิดะ รมว.ต่างประเทศญี่ปุ่นบรรยายที่ จุฬาฯ ชี้ประเทศลุ่มน้ำโขงจะบรรลุ การพัฒนาโดยไม่มีใครตกขบวนต้ องมี “การเชื่อมโยงที่มีชีวิต” กระตุ้นการไหลเวียนของสินค้า/ผู ้คน เสนองบช่วยภูมิภาค 7.5 แสนล้านเยน เสนอ “3 หลักนิติธรรมทางทะเล” แก้พิพาททะเลจีนใต้ - ย้ำไทย-ญี่ปุ่นเป็นหุ้นส่ วนเศรษฐกิจสำคัญ เป็นฐานการผลิตในห่วงโซ่อุ ปทานระดับโลกของญี่ปุ่น หวัง พล.อ.ประยุทธ์ ฟื้นคืนรัฐบาลพลเรือน ตามที่กล่าวกับนายกรัฐมนตรีญี่ ปุ่นว่าจะให้ไทยมีประชาธิปไตยยั ่งยืน
ฟูมิโอะ คิชิดะ รมว.กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่ น บรรยายที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 2 พ.ค. 2559
หมายเหตุ: เมื่อวันที่ 2 พ.ค. ที่ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันศึกษาความมั่ นคงและนานาชาติ (ISIS) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการบรรยายสาธารณะด้านอาเซียน โดยเชิญฟูมิโอะ คิชิดะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่ างประเทศของญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ระหว่างการเยื อนประเทศไทย เป็นผู้บรรยายในหัวข้อ “คำกล่าวนโยบายด้านอาเซียน: ความหลากหลายและเชื่อมโยง บทบาทในฐานะหุ้นส่วนของญี่ปุ่น”
ตอนหนึ่ง รมว.ต่างประเทศของญี่ปุ่นชี้ให้ เห็นว่ากลุ่มประเทศลุ่มน้ ำโขงจะบรรลุการพัฒนาโดยไม่มี ประเทศใดตกขบวน จำเป็นต้องมี “การเชื่อมโยงที่มีชีวิต” เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของสิ นค้าและผู้คน ทำให้สาธารณูปโภคที่สร้างขึ้ นเกิดประโยชน์สูงสุด ญี่ปุ่นไม่เพียงสนับสนุนการพั ฒนาโครงสร้างพื้นฐานแต่จะช่ วยปฏิรูปกระบวนการศุลกากรข้ ามแดนเพื่อให้การขนส่งสินค้ าราบรื่น
ด้วยความร่วมมือของญี่ปุ่ นการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่ งที่ 2เชื่อมมุกดาหาร-สะหวันนะเขต ทำให้การขนส่งสินค้าเส้นทางกรุ งเทพฯ-ฮานอย จาก 2 สัปดาห์ทางทะเล ร่นเวลาเหลือ 3 วันทางบก หากปรับปรุงงานศุลกากรจะยิ่ งราบรื่นกว่าปัจจุบันนี้ ขณะที่พม่าเริ่มใช้เทคโนโลยี ระบบศุลกากรญี่ปุ่น ทำให้ร่นพิธีการศุลกากรจาก 2 ชั่วโมงเหลือ 1 นาที การเปิดสะพานทซึบาซะเชื่ อมพนมเปญ-โฮจิมินห์ซิตี้ ทำให้ไม่ต้องรอข้ามฝั่งด้วยเรื ออีกต่อไป ชี้หากส่งเสริมความร่วมมือในลั กษณะนี้ หวังว่าในอนาคตจะทำให้เดิ นทางจากกรุงเทพฯ ตอนเช้าไปรับประทานเฝอที่โฮจิมิ นห์ซิตี้ได้ในตอนเย็น หรือเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปชมพระอาทิตย์ตกดินที่ฝั่ งมหาสมุทรอินเดียภายในวันเดี ยวได้
ชี้ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงแม้จะมี ธรรมชาติอันสมบูรณ์ แต่ไม่อาจหนีพ้นภัยธรรมชาติ ญี่ปุ่นจะดำเนินมาตรการใหม่สร้ างเสริมขีดความสามารถและแบ่งปั นความรู้และประสบการณ์เพื่ อตอบสนองต่อปัญหาในการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ ของแม่น้าโขง โดยกรอบความร่วมมือใหม่ “ความคิดริเริ่มการเชื่อมโยงญี่ ปุ่น-แม่โขง” (Japan-Mekong Connectivity Initiative) ใช้ทุนช่วยเหลือภูมิภาคลุ่มน้ าโขงมูลค่า 7.5 แสนล้านเยน โดยหวังว่าไทยจะร่วมผลักดั นกรอบความร่วมมือนี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่ างประเทศของญี่ปุ่นย้ำด้วยว่า โดยปราศจากสันติภาพและเสถียรภาพ ความมั่งคั่งในภูมิภาคจะเกิดขึ้ นไม่ได้ อาเซียนและหุ้นส่วนรวมถึงญี่ปุ่ นกำลังเผชิญกับมีปัญหาหมักหมมต่ างๆ ซึ่งรวมถึงการก่อการร้าย ลัทธิการใช้ความรุนแรง และปัญหาที่เกี่ยวกับความมั่ นคงทางทะเล จึงต้องแก้ไขปัญหาด้วยกันและรั กษากฎระเบียบในภูมิภาคนี้ ต้องให้ความสำคัญกับ “ความหลากหลาย” และหลักการพื้นฐานของ “หลักนิติธรรม” คุณค่าที่จะใช้แก้ปัญหาการก่ อการร้าย คือ ความเมตตาต่อความหลากหลาย โดยสนับสนุนมาเลเซียให้ใช้ แนวทางสายกลางสู้กับฝ่ายสุดขั้ว
เรื่องความมั่นคงทางทะเล ท้าทายหลักนิติธรรมมากที่สุด ญี่ปุ่นกำลังประกาศ “3 หลักการว่าด้วยนิติธรรมทางทะเล” 1) การอ้างสิทธิต้องอยู่บนพื้ นฐานกฎหมายระหว่างประเทศ 2) ไม่มีการใช้กำลังหรือบังคับเพื่ อผลักดันในการอ้างสิทธิ 3) การหาข้อยุติโดยสันติวิธี ชี้ต้องสร้างระเบียบภูมิภาคที่ ซึ่ง “หลักนิติธรรม” ต้องถูกส่งเสริมและปฏิบัติอย่ างเคร่งครัด และสรุปแนวในการปฏิบัติ (Code of Conduct) ที่มีประสิทธิภาพในทะเลจีนใต้ โดยเร็ว
ด้านความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น ย้ำไทยกลายเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิ จสำคัญที่ญี่ปุ่นขาดไม่ได้ เพราะเป็นฐานการผลิตและส่ งออกในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก (Global Supply Chain) ของเศรษฐกิจญี่ปุ่น มี 4,500 บริษัทของญี่ปุ่นดำเนินกิจการ ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิ ฟิค ไทยให้การสนับสนุนประเทศเพื่ อนบ้านมานานแล้วเพื่อลดช่องว่ างการพัฒนาในภูมิภาค ญี่ปุ่นคาดหวังต่อไทยในฐานะหุ้ นส่วนหลักของความร่วมมื อของประเทศญี่ปุ่นในลุ่มแม่น้ าโขง และเป็นหุ้นส่วนในการผลักดัน “ความริเริ่มการเชื่อมโยงญี่ปุ่ น-แม่โขง”
และหวังว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำลังจัดการภารกิจต่างๆ ในประเทศตลอดจนการฟื้นคืนการบริ หารประเทศโดยรัฐบาลพลเรือน ชี้เคยกล่าวกับนายกรัฐมนตรีญี่ ปุ่น ชินโซ อาเบะ โดยย้ำว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมี ประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน จึงหวังว่าประชาชนไทยจะก้าวผ่ านปัญหายุ่งยากที่กำลังเผชิญอยู ่และแสดงบทบาทที่มากขึ้นกว่าที่ ผ่านมาในเวทีภูมิภาคและเวทีโลก
โดยคำบรรยายของรัฐมนตรีต่ างประเทศญี่ปุ่น มีรายละเอียดดังนี้
000
คำกล่าวนโยบายด้านอาเซียน “ความหลากหลายและเชื่อมโยง บทบาทในฐานะหุ้นส่วนของญี่ปุ่น”
1. บทนำ
ผมชื่อ ฟูมิโอะ คิชิดะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่ างประเทศญี่ปุ่น วันนี้ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่ างยิ่งที่ได้มีโอกาสบรรยายที่จุ ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งมีชื่ อเสียงและประวัติศาสตร์อั นยาวนาน ในโอกาสนี้ผมขอแสดงความขอบคุณผู ้ที่เกี่ยวข้องของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยที่ให้การสนับสนุ นและทุกท่านที่มาร่วมรับฟังเป็ นจานวนมากด้วย ก่อนอื่นขอแสดงความขอบคุณในกำลั งใจอันอบอุ่นอย่ างมากจากประเทศต่างๆ ในอาเซียน รวมถึงประเทศไทย ต่อสถานการณ์แผ่นดินไหวครั้ งใหญ่ในเกาะคิวชูเมื่อเดือนที่ แล้ว โดยเฉพาะแถลงการณ์ของรัฐมนตรีต่ างประเทศอาเซียน ซึ่งทำให้เราตระหนักอีกครั้งว่ าประเทศญี่ปุ่นกับอาเซียนมี ความเชื่อมโยงกันอย่างแน่นแฟ้น
อาเซียนตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุ ทรแปซิฟิคและมหาสมุทรอินเดีย คล้ายกับเป็นหัวใจของเอเชีย เป็นตลาดขนาดใหญ่ซึ่งมี ประชากรมากกว่า 600 ล้านคน และปัจจุบันกำลังกลายเป็นศูนย์ กลางการผลิตและบริโภคที่ขับเคลื ่อนเศรษฐกิจโลก ความสำคัญของอาเซียนไม่ใช่ เฉพาะเศรษฐกิจ เนื่องจากอาเซียนเป็ นแกนของกรอบทางการเมืองของเอเชี ยตะวันออก ดังเช่น East Asia Summit (EAS) และ ASEAN Regional Forum (ARF) อาเซียนจึงมีบทบาทหลักในการส่ งเสริมสันติภาพและความมั่งคั่ งในเอเชีย เราจึงสามารถคาดเดาได้ไม่ยากว่ าความสัมพันธ์หุ้นส่วนกับอาเซี ยนของญี่ปุ่นมีความสำคัญและมีคุ ณค่ามากแทบจะขาดไม่ได้
เมื่อ 3 ปีครึ่งที่แล้ว ผมเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีต่ างประเทศ ประเทศที่ได้เยือนเป็นครั้ งแรกคือ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน นั่นคือภารกิจในฐานะรัฐมนตรีต่ างประเทศของผมเริ่มต้ นจากประเทศอาเซียน ผมรู้สึกเป็นเกียรติที่จะกล่ าวว่า การเดินทางมาไทยและลาวครั้งนี้ ทำให้ผมเดินทางเยือนครบทั้ง 10 ประเทศในอาเซียน แสดงถึงหลักระยะทางที่สำคั ญทางการทูตต่ออาเซียนของผม ซึ่งนั่นได้แสดงถึงความสำคัญที่ ญี่ปุ่นให้กับอาเซียนผ่านการปฏิ บัติของผมในฐานะรัฐมนตรีต่ างประเทศญี่ปุ่น สิ่งที่ผมอยากจะกล่าววันนี้คื อญี่ปุ่นเป็นหุ้นส่วนกันที่ ขาดไม่ได้สาหรับอาเซี ยนในความพยายามที่จะแสดงศั กยภาพอันยิ่งใหญ่ โดยใช้ “ความหลากหลาย” ที่มีและการให้ความสำคัญต่อ “ความเชื่อมโยง” ในอาเซียนให้เกิดประโยชน์อย่ างเต็มที่
2. พัฒนาการด้านความสัมพันธ์ญี่ปุ่ นกับอาเซียน ตลอด 3 ปีครึ่งที่ผ่านมา
(ความก้าวหน้าตลอด 3 ปีครึ่งที่ผ่านมา)
ความสัมพันธ์ญี่ปุ่นกับอาเซี ยนได้มีความก้าวหน้าในหลายด้ านในช่วงเวลา 3 ปีครึ่ง ตั้งแต่ผมได้รับตำแหน่งรัฐมนตรี ต่างประเทศ เมื่อปี 2013 ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-อาเซี ยนครบรอบ 40 ปี และในโอกาสการประชุมสุดยอดอาเซี ยน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโตเกียว ญี่ปุ่นและอาเซียนยืนยันว่าจะส่ งเสริมความสัมพันธ์เชิงร่วมมื อในฐานะหุ้นส่วนกัน ซึ่งประกอบไปด้วย 4 เสาหลักคือ “สันติภาพและเสถียรภาพ” “ความมั่งคั่ง” “ความเป็นอยู่อันดี” และ “ใจถึงใจ” นอกจากนั้น ญี่ปุ่นยังได้ประกาศความช่ วยเหลือใหม่ในการสร้างประชาคมผ่ านทางความร่วมมือด้านการพั ฒนาอย่างเป็นทางการของรัฐบาลญี่ ปุ่น (Official Development Assistance (ODA)) มูลค่า 2 ล้านล้านเยน ในระยะเวลา 5 ปี และยังจะให้การสนับสนุนใหม่ สาหรับการรวมตัวของอาเซียนผ่ านทางกองทุน Japan-ASEAN Integration Fund (JAIF 2.0) อีกเป็นจานวน 100 ล้านดอลลาห์สหรัฐ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของญี่ ปุ่น-อาเซียน มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในช่ วงเวลา 3 ปีครึ่งที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2013 อาเซียนนับเป็นจุ ดหมายของการลงทุนในต่างประเทศที ่ใหญ่ที่สุดในเอเชียของญี่ปุ่น นอกจากนั้น ผู้ที่เดินทางเข้าญี่ปุ่ นจากอาเซียนคิดย้อนหลังไปเพียง 2 ปี ในปี 2013 มีจานวนประมาณ 1.17 ล้านคน ได้เพิ่มขึ้นในปี 2015 เป็น 2.1 ล้านคน ซึ่งนับเป็นเกือบสองเท่า
(ปีแห่งการสถาปนาประชาคมอาเซี ยน)
เนื่องจากเมื่อปลายปีที่แล้ วประชาคมอาเซียนได้ก่อตั้งขึ้ นอย่างเป็นทางการ ปีนี้จึงนับเป็นปีแห่ งการสถาปนาอันน่ าจดจำของประชาคมอาเซียน ประเทศญี่ปุ่นได้ให้การสนับสนุ นอย่างต่อเนื่องในความพยายามที่ จะสร้างและรวมตัวกั นของประชาคมอาเซียน รวมถึงการแก้ไขช่องว่างภายในภู มิภาคอาเซียน ในการสนับสนุนอาเซียนญี่ปุ่นเน้ นย้าในการเคารพต่อ “ความหลากหลาย” ของอาเซียน รวมถึงหลักการพื้นฐานอันได้แก่ “ความเป็นเอกภาพ” และ “การเป็นศูนย์กลาง” ผมคิดว่าแทบจะไม่จำเป็นต้องกล่ าวเลยว่าการรักษาและส่งเสริ มความเป็นเอกภาพของประชาคมอาเซี ยน การรักษาการเป็นศูนย์ กลางในการส่งเสริมความร่วมมื อในภูมิภาคเอเซียตะวันออก และการใช้ “ความหลากหลาย” ซึ่งมีอยู่ในด้านต่างๆ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคมให้เป็นประโยชน์ ต่างก็เป็นกุญแจสำคัญที่จะบรรลุ ถึงสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่งคั่งของภูมิภาคนี้
3. ความท้าทายในอนาคตและการสนับสนุ นของญี่ปุ่น
(ความท้าทายในการเข้าสู่ปี 2025)
การส่งเสริม “ความเชื่อมโยง” มีความจำเป็นอย่างมาก ในการเติมเต็มศักยภาพของอาเซียน ขณะที่ต้องใช้ “ความหลากหลาย” ให้เป็นประโยชน์และสร้าง “ความเป็นเอกภาพ” ให้เข้มแข็ง นั่นคือสิ่งที่ถูกนิยามไว้อย่ างแท้จริงใน “วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ค.ศ. 2025” ซึ่งอาเซียนได้ประกาศไว้ในการจั ดตั้งประชาคมอาเซียนเมื่อปีที่ แล้ว เพื่อใช้เป็นแนวทางในอนาคต
(การเสริมสร้างความเชื่อมโยง)
เพื่อส่งเสริมการรวมตัวของอาเซี ยน การบรรลุการพัฒนาเป็นสิ่งที่ จำเป็นสาหรับกลุ่มประเทศลุ่มน้ ำโขงซึ่งมีศักยภาพอย่างเต็มเปี่ ยม เราจะทำอย่างไรให้ผลของการพั ฒนาครอบคลุมและขยายตัวทั่วภูมิ ภาคนี้โดยไม่มี ประเทศใดประเทศหนึ่งตกขบวนการพั ฒนา คำตอบก็คือ “การเชื่อมโยง” นั่นเอง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิ จจำเป็นต้องกระตุ้นไหลเวี ยนของสินค้าและผู้คน โดยเชื่อมโยงภูมิภาคด้วย ถนน สะพาน และระบบราง เป็นต้น รูปแบบการสนับสนุนของญี่ปุ่นนั้ นไม่เพียงสนับสนุนการสร้ างถนนและสะพานเท่านั้น เรายังช่วยในการปฎิรู ปกระบวนการทางศุลกากรระหว่ างชายแดนเพื่อให้การขนส่งสินค้ าราบรื่นมากขึ้น ช่วยให้เกิดการพัฒนาภูมิ ภาครอบระเบียงเศรษฐกิจ นำไปสู่การไหลเวียนของคนและสิ นค้า รวมทั้งทำให้สาธารณูปโภคที่สร้ างขึ้นได้ใช้ประโยชน์อย่างมี ประสิทธิภาพสูงสุด นี่คือการเชื่อมโยงที่มี "ชีวิต” ตามความคิดของผมครับ
สะพานข้ามแม่น้าโขงแห่งที่ 2 (หมายเหตุ - เชื่อม จ.มุกดาหาร-แขวงสะหวันนะเขต) ซึ่งเชื่อมโยงตะวั นออกของไทยและลาวที่ได้เปิดใช้ เมื่อปี 2006 จากความร่วมมือของญี่ปุ่น ทำให้การขนส่งระหว่าง กรุงเทพฯ-ฮานอย ซึ่งใช้เวลา 2 อาทิตย์ทางทะเล ลดลงเหลือเพียงอย่างเร็วที่สุด 3 วันทางบก ซึ่งผมคิดว่าถ้าได้มีการปรั บการทางานด้านศุลกากร การขนส่งจะราบรื่นยิ่งกว่าปัจจุ บันนี้ ที่ท่าเรือที่ย่างกุ้งที่จะใช้ เทคโนโลยีระบบศุลกากรของญี่ปุ่น จะทำให้ระยะเวลาที่ใช้ ในการตรวจเบื้องต้นทางศุลกากร คาดว่าจะลดลงจากประมาณ 2 ชั่วโมง เหลือเพียงภายใน 1 นาทีเท่านั้น การขยายของการพัฒนารอบนอก เช่นการพัฒนาทวายของพม่าซึ่งเป็ นประตูทางตะวันตกของระเบี ยงเศรษฐกิจตอนใต้ ผมคิดว่าจะนำไปสู่การใช้สาธารณู ปโภคที่ระเบียงเศรษฐกิจมากยิ่ งขึ้น
เมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว ได้มีการเปิดใช้สะพาน “ทซึบาซะ” (Tsubasa) ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างพนมเปญกั บโฮจิมินห์ ซิตี้โดยความร่วมมือของญี่ปุ่น ทำให้ไม่จำเป็นต้องรอเรือ 7-8 ชั่วโมงอีกต่อไป ด้วยการส่งเสริมความร่วมมือลั กษณะนี้ ทำให้ถ้าออกจากกรุงเทพฯ ตอนเช้าไปทางตะวั นออกจะสามารถไปรับประทานเฝอที่ โฮจิมินห์ซิตี้ได้ในตอนเย็น หรือออกจากกรุงเทพฯ ตอนเที่ยงไปทางตะวั นตกจะสามารถไปชมพระอาทิตย์ตกที่ มหาสมุทรอินเดียในวันเดียวกั นเกิดขึ้นได้ ซึ่งผมหวังว่าจะเห็นอนาคตแบบนี้ ในเวลาอีกไม่นาน
(การพัฒนาบุคลากร)
นอกจากการพัฒนาสาธารณูปโภคแล้ว การพัฒนาบุคลากรซึ่งมีบทบาทในอุ ตสาหกรรมของแต่ละประเทศก็มีส่ วนสำคัญ ภายใต้ “การริเริ่มในการพัฒนาบุ คลากรในภาคอุตสาหกรรม (Industrial Human Resource Development Cooperation Initiative)” ซึ่งนายกรัฐมนตรีอาเบะได้ ประกาศไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2015 ญี่ปุ่นจะดำเนินการอย่างหนักแน่ นเพื่อให้เกิดความร่วมมืออย่ างเป็นรูปธรรมโดยคำนึงถึงความต้ องการบุคคลากรของแต่ละประเทศด้ วยการประสานงานกับบริษั ทและสถาบันการศึกษาของญี่ปุ่น ในประเทศไทยเมื่อเดือนมีนาคมปี นี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครั ฐและเอกชนของประเทศญี่ปุ่ นและประเทศไทย ได้จัดให้มีการประชุมโต๊ะกลมเพื ่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Round Table Conference of Human Resource Development) จากการประชุมนี้ทำให้เราตระหนั กว่าประเทศไทยต้องการช่างเทคนิ คและวิศวกรซึ่งเป็นพื้นฐานของอุ ตสาหกรรม เพราะฉะนั้น เพื่อตอบสนองต่อเรื่องนี้ การสร้างความเข้มแข็งภาคการศึ กษาของสถาบันอุดมศึกษาและอาชี วศึกษามีความสำคัญยิ่ง เราจึงกำลังเตรียมการเพื่อส่ งเสริมการร่วมมือกับสถาบันการศึ กษาซึ่งผลิตช่างเทคนิคและวิศวกร เราจะส่งเสริมการพัฒนาบุ คลากรอย่างเป็นรูปธรรมและเข้าถึ งความต้องการเฉพาะของแต่ ละประเทศ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งตั้ งชื่อตามพระนามของพระมหากษัตริ ย์รัชกาลที่ 5 ของไทยผู้ทรงมีบทบาทในการพั ฒนาประเทศให้มีความก้าวหน้าอย่ างมาก มีสำนักงานของ ASEAN University Network/Southeast Asia Engineering Education Development Network (SEED–Net) ซึ่งเป็นเครือข่ายระหว่างมหาวิ ทยาลัยชั้นนำของญี่ปุ่นและอาเซี ยน มีนักเรียนเก่าคนหนึ่งของ SEED-Net ที่เรียนจบจากกัมพูชา และศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่จุ ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่ มหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่ ของโครงการพัฒนาทางด่วนพนมเปญ การสนับสนุนของญี่ปุ่นต่ อแนวทางการพัฒนาบุคลากรในอาเซี ยนนำไปสู่การผูกโยงระหว่างญี่ปุ ่นและอาเซียนทางบุคลากร ผมมีความเชื่อมั่นว่าการสร้ างเครือข่ายบุคลากรลักษณะนี้ ทำให้การเชื่อมโยงของอาเซียนแน่ นแฟ้นยิ่งขึ้น
(การช่วยเหลือแม่น้ำโขง)
เราไม่สามารถที่จะกล่าวถึงภูมิ ภาคลุ่มน้าโขงโดยปราศจากการพู ดถึงแม่น้าโขง ปัจจุบันนี้ประเทศลุ่มแม่น้ าโขงประสบภัยแล้งอย่างหนัก ขณะที่บางปีประสบกับอุทกภัย ภัยธรรมชาติมีความรุนแรงขึ้ นจากการเปลี่ยนแปลงภูมิ อากาศของโลก ภูมิภาคลุ่มน้าโขงถึงแม้จะมี ธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ก็ไม่ อาจหนีพ้นจากภัยธรรมชาติที่รุ นแรงนี้ ฉะนั้นญี่ปุ่นจึงจะได้ดำเนิ นมาตรการใหม่ต่างๆ เช่น การสร้างเสริมขี ดความสามารถและแบ่งปันความรู้ และประสบการณ์เพื่อตอบสนองต่อปั ญหาในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้ อมและระบบนิเวศน์ของแม่น้าโขง
(การสร้างกรอบความร่วมมือเพื่ อให้ตระหนักถึงการเชื่อมโยงที่ มี “ชีวิต”)
การพัฒนาและใช้สาธารณูปโภคให้ เกิดประโยชน์ การปรับปรุงระบบ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล และการสนับสนุนความร่วมมือเพื่ อแม่น้าโขงซึ่งไหลผ่านกลางภูมิ ภาคลุ่มน้าโขง ทั้งหมดที่ผมกล่าวมานี้ต่างก็ เกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงที่มี “ชีวิต” แน่นอนประเทศและผู้ที่อาศัยอยู่ ในลุ่มน้าโขงมีบทบาทในการทำให้ การเชื่อมโยงในภูมิภาคมีชีวิตขึ ้น วันนี้ผมจึงเปิดตัว “ความคิดริเริ่มการเชื่อมโยงญี่ ปุ่น-แม่โขง (Japan-Mekong Connectivity Initiative)” ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือใหม่เพื ่อสนับสนุนความพยายามของแต่ ละประเทศ ผมอยากจะสร้างกรอบการสนับสนุนนี ้ด้วยความร่วมมือกับประเทศลุ่ มน้าโขงโดยใช้ทุนสำหรับการให้ ความช่วยเหลือภูมิภาคลุ่มน้ าโขงมูลค่า 750,000 ล้านเยนในระยะเวลา 3 ปีจากนี้ด้วย ความริเริ่มนี้จะไม่สามารถบรรลุ เป้าหมายโดยปราศจากความร่วมมื อจากประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่ ให้ความช่วยเหลือจึงหวังว่ าเราจะจับมือกันและผลักดั นกรอบความร่วมมือนี้ต่อไป
(การเชื่อมโยงที่ขยายจากทางบกถึ งทางทะเล)
การเชื่อมโยงที่ผมพูดถึงเมื่อสั กครู่เป็นการเชื่อมโยงทางบก ทั้งนี้การเชื่อมโยงทางทะเลก็มี ความสำคัญสำหรับการพัฒนาภูมิ ภาคในอนาคตเช่นเดียวกัน อย่างที่กล่าวตั้งแต่ต้นว่ าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู ่ระหว่าง 2 มหาสมุทร ถ้ามองดูแผนที่โลก ทางตะวันตกของภูมิภาคแม่น้ าโขงมีมหาสมุทรอินเดีย ประเทศต่างๆ รอบอ่าวเบงกอล เช่น อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา กำลังบรรลุการพัฒนาอย่างเข้มแข็ ง ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่ างภูมิภาคลุ่มน้าโขงกับประเทศริ มมหาสมุทรอินเดียกำลังแน่นแฟ้ นมากขึ้น อีกด้านหนึ่งทางภาคตะวันออกภูมิ ภาคลุ่มน้าโขงมีมหาสมุทรแปซิฟิ กโดยผ่านทะเลจีนใต้ บูรไน มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ได้เข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงหุ้ นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค (Trans Pacific Partnership [TPP])แล้ว และส่วนไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ก็แสดงความสนใจในการเข้าร่วมเป็ นภาคีด้วยเช่นกันซึ่งญี่ปุ่นยิ นดีเป็นอย่างยิ่ง ประเทศญี่ปุ่นจะให้การสนับสนุ นเวียดนามเพื่อส่งเสริ มกลไกภายในประเทศให้พร้อมรองรั บการดำเนินการตามข้อตกลงนี้ เมื่อใดก็ตามที่ แนวทางความตกลงหุ้นส่ วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership [RCEP]) ได้ข้อสรุป มันจะครอบคลุมภูมิภาคซึ่งแผ่ ขยายจากมหาสมุทรอินเดียไปถึ งมหาสมุทรแปซิฟิก โดยมีอาเซียนกับภูมิภาคลุ่มน้ าโขงอยู่ระหว่างกลาง ในการสร้างโอกาสสูงสุดจากตลาดอั นเป็นเอกภาพและเชื่อมภูมิ ภาคเหล่านี้ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น การส่งเสริมการเชื่ อมโยงทางบกและทางทะเลของอาเซี ยนซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ญี่ปุ่นจึงไม่ลั งเลที่จะให้จัดหาความร่วมมือให้ แก่อาเซียน
4. ความร่วมมือในภูมิภาคและโลก
แน่นอนสันติภาพและเสถียรภาพเป็ นเงื่อนไขในการบรรลุความเจริ ญทางเศรษฐกิจ ปราศจากสันติภาพและเสถี ยรภาพความมั่งคั่งในภูมิ ภาคจะเกิดขึ้นไม่ได้ ในภูมิภาคนี้อาเซียนและหุ้นส่ วนรวมถึงญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับมี ปัญหาหมักหมมต่างๆ ซึ่งรวมถึงการก่อการร้าย ลัทธิการใช้ความรุนแรง และปัญหาที่เกี่ยวกับความมั่ นคงทางทะเล เราจึงต้องแก้ไขปัญหาด้วยกั นและรักษากฎระเบียบในภูมิภาคนี้ ถึงที่สุดแล้วสิ่งที่เราต้องให้ ความสำคัญคือ “ความหลากหลาย” และหลักการพื้นฐานของ “หลักนิติธรรม”
(ความหลากหลาย)
ผมอยากจะย้ำความสำคัญของ “ความหลากหลาย” ต่อการรักษาสันติภาพและความมั่ นคงในภูมิภาคนี้ ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นได้ร่วมยึ ดถือคุณค่าสากล อันได้แก่ เสรีภาพ ประชาธิปไตย และหลักสิทธิมนุษยชนร่วมกั บอาเซียน ญี่ปุ่นก็เคารพต่อสถานการณ์ที่ แตกต่างกันในแต่ ละประเทศของประเทศอาเซียน รวมถึงความหลากหลายทางด้าน ศาสนา เชื้อชาติ และความเชื่อ ตลอดมา
ทางสายกลาง/ความพอดีซึ่งเป็นคุ ณค่าที่ในการแก้ปัญหาการก่ อการร้าย คือ ความเมตตาต่อความหลากหลาย อย่างที่เห็นเป็นสัญลักษณ์ จากการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นที่ จาร์กาต้าเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่ านมา ภัยคุกคามของการก่อการร้ายกำลั งจะเพิ่มมากขึ้นในอาเซียนเช่นกั น บนพื้นฐานปรัชญานี้ ประเทศญี่ปุ่นให้การสนับสนุนหลั กการทางสายกลาง/ความพอดีที่ มาเลเซียกำลังส่งเสริมอยู่ โดยใช้กองทุน JAIF ดาเนินโครงการเพื่อแก้ไขปั ญหาความรุนแรงสุดขั้ว
(หลักนิติธรรม)
“หลักนิติธรรม” เป็นพื้นฐานในการนับถือ “ความหลากหลาย” ตาม “วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ค.ศ. 2025” ระบุไว้ว่าประชาคมความมั่ นคงอาเซียน (ASEAN Security Community [ASC]) ในฐานะประชาคมที่มีกฎระเบียบเป็ นพื้นฐาน ร่วมยึดถือคุณค่าและบรรทัดฐานร่ วมกัน ส่งเสริมหลักการพื้นฐานอาเซี ยนที่ยึดถือคุณค่าและบรรทัดฐาน รวมถึงหลักการของกฎหมายระหว่ างประเทศร่วมกัน ปัจจุบันนี้หลักการของ “หลักนิติธรรม” ที่ถูกท้าทายมากที่สุดคือด้ านความมั่นคงทางทะเล โดยญี่ปุ่นกำลังประกาศ “3 หลักการว่าด้วยนิติธรรมทางทะเล” ประกอบด้วย “1) การอ้างสิทธิต้องอยู่บนพื้ นฐานกฎหมายระหว่างประเทศ 2) ไม่มีการใช้กำลังหรือบังคับเพื่ อผลักดันในการอ้างสิทธิ 3) การหาข้อยุติโดยสันติวิธี” เมื่อเดือนที่แล้วในการประชุ มระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ (G7) ที่ฮิโรชิม่า ซึ่งเป็นบ้านเกิดของผม มีการยืนยันความสำคัญในการรั กษากฎระเบียบทางทะเลบนพื้ นฐานกฎหมายระหว่างประเทศ และได้มีการแสดงการคัดค้านอย่ างหนักต่อการเคลื่อนไหวเปลี่ ยนแปลงสภาพปัจจุบันแต่เพียงฝ่ ายเดียวในทะเลจีนใต้ เราต้องสร้างระเบียบภูมิภาคที่ ซึ่ง “หลักนิติธรรม” ต้องถูกส่งเสริมและปฏิบัติอย่ างเคร่งครัด ในมุมมองนี้ ผมอยากจะเรียกร้องอีกครั้ งในการสรุปแนวในการปฏิบัติ (Code of Conduct [COC]) ที่มีประสิทธิภาพในทะเลจีนใต้ โดยเร็ว EAS คือเวทีหลักที่จะทำให้ “หลักนิติธรรม” เกิดความมั่นคง ในการประชุม EAS เมื่อปีที่แล้ว ผู้นำ 18 ประเทศในภูมิภาครวมถึงญี่ปุ่ นและอาเซียน ได้ตกลงกันว่าเราจะพยายามจั ดการกับปัญหาด้านการเมื องและความมั่นคงในภูมิภาคและส่ งเสริมบทบาทของเวทีนี้ เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจต่อหลั กนิติธรรมเราต้องให้ EAS ซึ่งเป็นเวทีที่มีบทบาทมากที่สุ ดในภูมิภาคนี้แข็งแกร่งมากกว่ านี้ การผลักดันความร่วมมือในภูมิ ภาคโดยอาเซียนเป็นแกนกลางร่วมกั บประเทศอื่นๆ เป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งแน่นอนว่าญี่ปุ่นย่อมจะให้ ความร่วมมืออย่างเต็มที่
(การครบรอบ 50 ปีของอาเซียน)
ปีหน้าจะครบรอบ 50 ปีแห่งการสถาปนาอาเซียนนับเป็ นความทรงจำ ประเทศญี่ปุ่นได้เดินเคียงบ่ าเคียงไหล่ในฐานะหุ้นส่วนก่าแก่ กับอาเซียนมาเป็นเวลา 40 ปี ญี่ปุ่นด้วยการจับมือจะให้ การสนับสนุนเพื่อส่งเสริม “ความเชื่อมโยง” ในขณะที่ให้ความสำคัญต่อ “ความหลากหลาย” ของอาเซียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเข้าสู่การพัฒนาของอาเซี ยนในอีกครึ่งศตวรรษต่อไป
ในการประชุมผู้นำ G7 ที่เมืองอิเซะชิมาปีนี้ 6 ประเทศจากเอเซียแปซิฟิค รวมถึงประเทศลาวซึ่งเป็ นประธานอาเซียนจะเข้าร่วม เดือนกรกฎาคมนี้มีการประชุมว่ าด้วยอาเซียนระดับรัฐมนตรีต่ างประเทศ และกันยายนนี้มีการประชุมว่าด้ วยระดับผู้นา ในโอกาสที่ผมจะได้เยือนอาเซี ยนครบทั้ง 10 ประเทศ ผมมีความมาดหมายขึ้นมาใหม่ว่ าจะกระชับความร่วมมือของญี่ปุ่ นกับอาเซียนให้มากยิ่งขึ้ นในฐานะรัฐมนตรีว่ าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่ นเมื่อเราทางานเพื่อกิ จกรรมทางการทูตเกี่ยวกับอาเซียน
5. ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น
(กรุงเทพฯ คือจุดกำเนิดอาเซียน)
อาเซียนได้ถือกาเนิดขึ้นที่กรุ งเทพฯ เมื่อเดือนสิงหาคม 1967 การลงนามในแถลงร่วมของรัฐมนตรี 5 ประเทศรวมถึงประเทศไทย ซึ่งเรียกว่า “ปฎิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration)” คือเอกสารการสถาปนาอาเซียน รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยเวลานั ้นคือ ฯพณฯ ถนัด คอร์มันต์ ซึ่งได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อเดื อนมีนาคมที่ผ่านมา ประหนึ่งว่ามีโอกาสเป็นสักขี พยานในการก่อตั้งขึ้ นของประชาคมอาเซียน ขอถือโอกาสนี้ชื่นชมผลงานของท่ านและแสดงความเสียใจอีกครั้ งจากใจจริง
(ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น)
บนพื้นฐานสถานการณ์ในประเทศที่ ค่อนข้างมั่นคง ประเทศไทยประสบความสำเร็ จในการรวมศูนย์อุ ตสาหกรรมขนาดใหญ่ในภูมิภาคอาเซี ยน โดยรักษาไว้ซึ่งนโยบายที่เอื้ อต่อการลงทุนจากต่างประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยกลายเป็นหุ้ นส่วนเศรษฐกิจสำคัญที่ญี่ปุ่ นขาดไม่ได้ เนื่องจากประเทศไทยเป็ นฐานการผลิตและส่งออกในห่วงโซ่ อุปทานระดับโลก (Global Supply Chain) ของเศรษฐกิจญี่ปุ่น
ในประเทศไทยมีบริษัทญี่ปุ่ นประมาณ 4,500 บริษัทกำลังดำเนินกิจการอยู่ ซึ่งเป็นขนาดที่ใหญ่ที่สุดในภู มิภาคเอเซียแปซิฟิค บริษัทญี่ปุ่นจำนวนมากมีบทบาทที ่ขาดไม่ได้ในส่วนหนึ่ งของเศรษฐกิจไทยโดยผ่านการลงทุ นและการพัฒนาบุคลากรในหลายปีที่ ผ่านมา ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นผู้ให้ การสนับสนุนประเทศเพื่อนบ้ านมานานแล้วในการลดช่องว่ างในการพัฒนาภายในภูมิภาคซึ่ งเป็นสิ่งสำคัญในการรวมตั วของอาเซียน ญี่ปุ่นมีความคาดหวังอย่างสูงต่ อความพยายามต่อไปของไทยในฐานะหุ ้นส่วนหลักของความร่วมมื อของประเทศญี่ปุ่นในลุ่มแม่น้ าโขง และเป็นหุ้นส่วนในการผลักดัน “ความริเริ่มการเชื่อมโยงญี่ปุ่ น-แม่โขง” ซึ่งได้กล่าวถึงไว้ก่อนหน้า
ปัจจุบันนี้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา กำลังจัดการภารกิจต่างๆ ในประเทศตลอดจนการฟื้นกลับคืนสู ่การบริหารประเทศโดยรัฐบาลพลเรื อน ในการประชุมผู้นำกับนายกรั ฐมนตรี นายชินโซ อาเบะที่ผ่านมา ท่านนายกฯ ได้ย้ำว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมี ประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่ าประชาชนไทยจะก้าวผ่านปัญหายุ่ งยากที่กำลังเผชิญอยู่ และแสดงบทบาทที่มากขึ้นกว่าที่ ผ่านมาในเวทีภูมิภาคและเวทีโลก
ขอบคุณครับ
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น