0

หมอมงคล ณ สงขลา เป็นปลัดกระทรวงสาธารณสุขในปี 2544 ตอนเริ่มนโยบาย 30 บาทพอดี ถ้าหมอเลี้ยบไม่ได้หมอมงคลเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงแข็งขัน การผลักดัน 30 บาทจะยุ่งยากกว่านี้เยอะ นั่นคือคุณูปการ
แต่พอปี 49 หมอมงคลก็เข้าชื่อขอ ม.7 แล้วไปเป็น รมว.สาธารณสุขในรัฐบาลสุรยุทธ์ โอเคละ หมอมงคล หมอหงวน หมอวิชัย ร่วมกันทำ CL ยา ให้ สปสช.ได้ซื้อยาราคาถูก นั่นคือคุณูปการ แต่ก็ทำให้เครือข่ายหมอประเวศได้ใจ ร่วมมือกับรัฐบาลไหนก็ได้โดยไม่คำนึงถึงความชอบธรรมทางประชาธิปไตย
รัฐบาลสมัคร รมต.ไชยา สะสมทรัพย์ เด้งหมอศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล จาก เลขา อ.ย. เป็นผลงานเอี้ยๆ ของนักการเมือง (แต่ต่อมา สมัยเฉลิมเป็น รมต.ก็ให้เบี้ยเหมาจ่ายหมอชนบท)
เราไม่ได้บอกว่านักการเมืองดีเด่อะไร แต่เสรีภาพ ประชาธิปไตย คือช่องทางต่อสู้ต่อรองของประชาชน ความผิดของเครือข่ายหมอประเวศคือไม่ยอมรับการเลือกตั้งที่เป็นพื้นฐานรองรับเสรีภาพ ไพล่ไปอ้าง "ประชาธิปไตยทางตรง" สร้างกลุ่มพลเมืองตื่นรู้ (ตื่นมารับตังค์ สสส.) ที่ดูถูกคนไปเลือกตั้ง เพ้อฝันตีความประชาธิปไตยทีไม่ต้องเลือกตั้ง (สรรหา) แล้วก็มาเรียกหารัฐประหาร หวังว่าพวกตัวจะได้เข้าไป "ทำสิ่งดีๆ" โดยไม่แยแสการจำกัดเสรีภาพ ละเมิดสิทธิมนุษยชน ของมวลชนจำนวนมาก
จนกระทั่งพวกตัวโดนรัฐราชการเล่นก้น ซ้ำยังโดนสื่อ โดนคนชั้นกลางระดับบน คนมั่งมี ลอยแพ จึงค่อยรู้ว่าผิดมหันต์
หลังสลายพลัง สสส.ขั้นต่อไปเขาก็รื้อระบบ 30 บาทนั่นละครับ เพราะรัฐราชการ คนชั้นกลางระดับบนคนมั่งมีเห็นว่าเปลืองภาษีกู (เอาน่า ไว้ตอนนั้นร่วมมือกันได้ 555)


แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 
Top