ศาลอาญารับฟ้องและนัดพร้อม คดีฟิลลิป มอร์ริส เลี่ยงภาษีบุหรี่ 25 เม.ย. นี้
ศาลอาญาประทับรับฟ้องคดีอัยการสูงสุดฟ้องบริษัทฟิลลิป มอร์ริส ในคดีเลี่ยงภาษีบุหรี่ และนัดพร้อมในวันที่ 25 เม.ย. นี้ ขณะที่บริษัทฯ แถลงโต้วานนี้ระบุข้อกล่าวหาไม่มีมูลความจริงและไม่ยุติธรรม
เช้านี้ เรือโทสมนึก เสียงก้อง อธิบดีอัยการ สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด, นายชาติพงษ์ จีระพันธุ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ และนายประยุทธ์ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมกันแถลงข่าวกรณีที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้อง บริษัทฟิลลิป มอร์ริส ด้วยข้อหาเลี่ยงภาษีศุลกากรระหว่าง เดือนกรกฎาคม 2546 ถึงเดือนมิถุนายน 2549 โดยมีความผิดทั้งสิ้น 272 กรรม และมีมูลค่าทรัพย์สินและภาษีอากรรวมถึงกว่าสองหมื่นล้านบาท
จำเลยคดีนี้มี 8 คน ประกอบด้วย นิติบุคคล ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด โดยนายทรอย เจ ม้อด และคนไทยอีก 7 คน ซึ่งทั้งหมดถูกกล่าวหาว่าร่วมกันเกี่ยวข้องด้วยประการใด ๆ ในการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงค่าภาษีศุลกากร โดยเจตนาที่จะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล โดยการร่วมกันนำเข้าในราชอาณาจักรไทยและสำแดงราคาสินค้าประเภทบุหรี่อันเป็น
โดยศาลอาญาได้ประทับรับฟ้องแล้วเมื่อเช้านี้ และนัดพร้อม ในวันที่ 25 เม.ย. นี้ เวลา 09.00 น. ทั้งนี้จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลศาลให้ทราบนัด ส่วนจำเลยที่ 2-8 ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยมีประกัน จำเลยทุกคนแถลงต่อศาลประสงค์จะต่อสู้คดี แต่จะยื่นคำให้การในคราวหน้า
ด้านบริษัทฟิลลิป มอร์ริสฯ ออกเอกสารข่าววานนี้ระบุว่า ข้อกล่าวหาที่อัยการได้ยื่นฟ้องบริษัทเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลความจริง ไม่ยุติธรรม อีกทั้งยังละเมิดต่อพันธกรณีที่ประเทศไทยมีต่อองค์การการค้าโลกในการปฏิบัติตามความตกลงว่าด้วยการประเมินราคาศุลกากร
“การสั่งดำเนินคดีนี้ทำลายความพยายามของประเทศไทยในการฟื้นฟูภาพลักษณ์ของประเทศในเวทีประชาคมโลกและความพยายามทำให้ประเทศเป็นตลาดที่เปิดกว้างและเป็นมิตรกับนักลงทุน” นายทรอย ม้อดลิน ผู้จัดการสาขาของฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด กล่าวในแถลงการณ์
บริษัทฟิลลิป มอร์ริสฯ ยังระบุด้วยว่าการตัดสินใจของอดีตอัยการสูงสุดนายจุลสิงห์ วสันต์สิงห์ ในการสั่งฟ้องบริษัทฯ รวมถึงการสั่งดำเนินคดีกับอดีตพนักงานและพนักงานปัจจุบันของบริษัทนั้นขัดแย้งกับคำสั่งไม่ฟ้องของสำนักงานอัยการสูงสุดเองในข้อหาเดียวกันเมื่อสี่ปีก่อน นอกจากนี้ยังเป็นการขัดแย้งกับคำวินิจฉัยของกรมศุลกากร คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ สำนักตรวจสอบหลังการตรวจปล่อยสินค้า รวมถึงองค์การการค้าโลกก่อนหน้านี้ด้วย
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น