คสช.จะให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านหรือไม่ผ่าน? ที่จริงการให้ผ่านไม่เห็นยาก ทหารคุมประเทศทุกพื้นที่+แก้ร่างเอาใจพรรคแมลงสาบสักหน่อย ก็ฉลุย แต่ปัญหาคือการกลับสู่เลือกตั้งเร็วไปหรือไม่ รัฐประหารบรรลุจุดประสงค์หรือยัง (รัฐประหารครั้งนี้ทำเพื่ออะไร ลองตอบในใจตัวเองดังๆ) แน่ใจนะว่าถ้าหมด ม.44 แล้วจะกดการเคลื่อนไหวตอบโต้ของประชาชนได้ อย่าเพ้อฝันว่ากองทัพจะกลับกรมกองสงบสุข (และอิ่มหมีพีมัน) รัฐประหารครั้งนี้ทำเข็ญไว้มาก หนีไม่พ้นถูกจองเวร
อันที่จริง แค่ไปสู่ประชามติ ก็แน่ใจนะว่าจะกล้าทำ เพราะต้องเปิดช่องให้คัดค้านต่อต้าน แม้จะคุมเข้มกันเพียงไร (การต่อสู้จะเปลี่ยนไป ไม่ใช่คัดค้าน รธน.หรอก แต่คัดค้านประชามติปิดปาก)
แต่ถ้าไม่ให้ผ่าน จะทำไง? ไปคว่ำในประชามติ? คงไม่ใช่มั้ง ถ้าจะคว่ำต้องคว่ำก่อน รอดูตอนแก้ร่าง รธน.ชั่วคราว แต่ปัญหาคือจะทำไงไม่ให้ตาเฒ่ามีชัยเสียหน้า (ตอนนี้ก็ออกมาตีกันเหยงๆ)
ไปสู่เลือกตั้งก็ต้องคลายอำนาจ เลื่อนเลือกตั้งอีกก็ต้องตอบคำถามทั้งนอกทั้งใน นี่คือทางแพร่งที่ต้องตัดสินใจภายในเดือนมีนา
อันที่จริง แค่ไปสู่ประชามติ ก็แน่ใจนะว่าจะกล้าทำ เพราะต้องเปิดช่องให้คัดค้านต่อต้าน แม้จะคุมเข้มกันเพียงไร (การต่อสู้จะเปลี่ยนไป ไม่ใช่คัดค้าน รธน.หรอก แต่คัดค้านประชามติปิดปาก)
แต่ถ้าไม่ให้ผ่าน จะทำไง? ไปคว่ำในประชามติ? คงไม่ใช่มั้ง ถ้าจะคว่ำต้องคว่ำก่อน รอดูตอนแก้ร่าง รธน.ชั่วคราว แต่ปัญหาคือจะทำไงไม่ให้ตาเฒ่ามีชัยเสียหน้า (ตอนนี้ก็ออกมาตีกันเหยงๆ)
ไปสู่เลือกตั้งก็ต้องคลายอำนาจ เลื่อนเลือกตั้งอีกก็ต้องตอบคำถามทั้งนอกทั้งใน นี่คือทางแพร่งที่ต้องตัดสินใจภายในเดือนมีนา
0000000
ใบตองแห้ง
“ระบอบ คสช.ม.44” กำลังจะเข้าสู่ทางแพร่ง หลังเห็นรัฐธรรมนูญร่างแรก ซึ่งหลายคนสงสัยว่าร่างมาเพื่อให้คว่ำหรือเปล่า
ทำไมต้องสงสัย ถ้า คสช.จะเข็นร่างรัฐธรรมนูญให้ผ่านประชามติ ก็ไม่เห็นยากอะไร ประการแรก ภายใต้อำนาจกองทัพที่ควบคุมทุกพื้นที่ มีใครกล้าต่อต้าน การรณรงค์คัดค้านอย่างเก่งก็ทำได้หยิบมือในเมือง ไม่สามารถแผ่กว้างไปในชนบทเหมือนปี 50 ซึ่งครั้งนั้นก็แพ้
ประการที่สอง ถ้าแก้ไขสักหน่อย ก็จะได้คะแนนเสียงพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งถนัดบทปลัดประเทศ ชอบให้รัฐราชการเป็นใหญ่ ชอบระบอบตุลาการธิปไตย แค่กระบิดกระบวนไม่เอาบางประเด็น เช่น นายกฯคนนอก
ประการที่สาม ถ้ารัฐบาลทำให้ชาวบ้านเบื่อสักหน่อย เหมือนสมัยขิงแก่ คนก็จะแห่ไปลงประชามติ เพราะอยากได้รัฐบาลเลือกตั้ง แต่น่าสังเกต รัฐบาลไม่อยากให้คนเบื่อ รัฐบาลออกนโยบายมาตรการต่างๆ ยังกับนักการเมืองที่คิดอยู่ยาว ไม่ใช่รัฐบาลที่มาชั่วคราว
อ้าว นโยบายอย่าง “ประชารัฐ” เศรษฐกิจฐานรากอะไรนั่น มันไม่ใช่จะเห็นผลทันปี 60 หรอกครับ
ประเด็นสำคัญคือ คสช.ต้องการอยู่ยาวหรืออยู่สั้น คำตอบต้องย้อนไปดูว่า รัฐประหารครั้งนี้มีจุดประสงค์อะไร ผมตอบตัวเองในใจแล้วก็เห็นว่า คสช.ยังไม่พร้อมที่จะลง
คสช.ยังไม่พร้อมที่จะลง ทั้งด้วยจุดประสงค์ และด้วยผลของการใช้อำนาจปีครึ่งที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ตัวเองกลายเป็นคู่ขัดแย้ง ไม่ว่าการใช้อำนาจกับฝ่ายการเมือง หรือใช้อำนาจกับนักศึกษาประชาชน เช่นกรณีจับ “จ่านิว” ที่ทำตนเหนือกฎหมาย คิดจะอุ้มใครก็ได้ ไม่ทำตามกระบวนการยุติธรรม ซึ่งอันที่จริงก็ไม่ยุติธรรมเพราะการจับนักศึกษามีที่มาจากไม่ต้องการให้เคลื่อนไหววิพากษ์วิจารณ์เรื่องอื้อฉาวของกองทัพ
ฉะนั้น ฟันธงได้ว่าลงจากอำนาจเมื่อไหร่จะโดนย้อน ต่อให้รัฐธรรมนูญวางกลไกศาลและองค์กรอิสระอยู่เหนือนักการเมืองเบ็ดเสร็จ (และพรรคเพื่อไทยคงไม่ชนะเลือกตั้ง) แต่เมื่อไหร่ที่เปิดให้มีเลือกตั้ง เมื่อนั้นก็จะเกิดเสรีภาพในการเคลื่อนไหวการเมือง ซึ่งการเมืองมวลชนน่ากลัวและเป็นของจริงกว่านักการเมือง
พูดง่ายๆ ม.44 หมดไปเมื่อไหร่ การเคลื่อนไหวมวลชนจะกลับมา และจะพุ่งเป้ามาที่กองทัพ ไม่มีทางกลับกรมกองไปอย่างสงบสุข
สถานการณ์ก่อนถึงเดือนมีนาคม จึงอยู่บนทางแพร่งว่า คสช.จะตัดสินใจอย่างไร เดินหน้าผ่านร่างรัฐธรรมนูญซึ่งแม้วางระบอบตุลาการธิปไตยครอบงำการเมือง แต่ก็ต้องยุติ “ระบอบมาตรา 44” แล้วจะเอาอยู่ไหม
หรืออีกทาง ก็คว่ำร่างรัฐธรรมนูญเสียเอง หรือยื้อเวลาไป ถามว่าจะคว่ำอย่างไร คว่ำในประชามติ? คงไม่ใช่แน่ มีอย่างที่ไหน คสช.ตั้ง กรธ.มาร่างรัฐธรรมนูญแล้วแพ้ประชามติ จะมีหน้าครองอำนาจต่อไปได้อย่างไร
ฉะนั้นถ้าจะคว่ำร่างเสียเอง ก็ต้องใช้วิธีอื่น วิธีอะไรยังไม่มีใครมองออก ต้องรอดูการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว ซึ่งต้องแก้อยู่แล้วเพื่อกำหนดว่าถ้าไม่ผ่านประชามติจะทำอย่างไร แต่จะมีเงื่อนไขอื่นเพิ่มหรือไม่ สมมติเช่นให้ร่างไปผ่าน สนช.สปท.
กระนั้นถ้าคว่ำร่าง เลื่อนเลือกตั้งไปอีก จะบอกชาวโลกชาวไทยอย่างไร เพราะเท่ากับผิดสัญญา
นี่คือทางแพร่ง ไม่ว่าเลือกทางไหน ก็เกิดแรงกระเพื่อม ถ้าไปสู่ประชามติ แม้กองทัพควบคุมทุกพื้นที่ก็จะมีแรงกระเพื่อมไม่มากก็น้อย ถ้าคว่ำรัฐธรรมนูญเสียเองแล้วอยู่ยาว ก็มีแรงกดดันอีกแบบเช่นกัน
source :- FB Atukkit Sawangsuk & http://www.kaohoon.com/online/content/view/29709
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น