0

นักวิจัยอังกฤษสร้างชิ้นส่วนอวัยวะทดแทน ด้วยการพิมพ์วัสดุชีวภาพแบบสามมิติ
คณะนักวิจัยจากโรงพยาบาลมอริสตันในเมืองสวอนซีของอังกฤษ ริเริ่มวิธีใหม่ในการสร้างชิ้นส่วนอวัยวะทดแทน โดยใช้เครื่องพิมพ์สามมิติที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษ พิมพ์วัสดุชีวภาพออกมาเป็นรูปร่างอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งนำไปเปลี่ยนถ่ายให้ผู้ที่ต้องการได้
นักวิจัยใช้วิธีเก็บเซลล์กระดูกอ่อนของคนไข้มาเพาะเลี้ยง จากนั้นนำมาผสมกับวัสดุที่มีลักษณะคล้ายเจลลี่ เพื่อพิมพ์ออกมาเป็นรูปร่างที่ต้องการโดยเครื่องพิมพ์สามมิติที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ จากนั้นจะนำอวัยวะที่พิมพ์ออกมาเข้าตู้อบเพาะเลี้ยงต่อไป เพื่อให้เนื้อเยื่อเติบโตจนมีความแข็งแรงพอที่จะนำไปใช้ปลูกถ่ายได้
ศ. เอียน วิทเทกเกอร์ หัวหน้าคณะวิจัยชี้ว่า วิธีนี้สามารถเพาะชิ้นส่วนอวัยวะได้หลากหลาย ทั้งจมูก หู หรือชิ้นส่วนที่มีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างกระดูกและกล้ามเนื้อได้ โดยเทคโนโลยีนี้ทำให้ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาไม่ต้องเป็นแผลเป็นเหมือนที่เคย เนื่องจากไม่ต้องใช้เนื้อเยื่อจากบริเวณอื่นของตัวผู้ป่วยเองมาปลูกถ่าย
การเพาะอวัยวะนี้ใช้เวลาสั้นเพียงสองเดือนก็สามารถใช้การได้แล้ว โดยคาดว่าเทคนิคนี้จะนำมาใช้กับคนไข้ได้จริงในอีกไม่เกิน 3 ปีข้างหน้า


แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 
Top