(ภาพจำลอง Planet Nine)
พบหลักฐานบ่งชี้มี “ดาวเคราะห์ดวงที่ 9” ในระบบสุริยะ
นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ระบุว่า พบหลักฐานแน่นหนาที่บ่งชี้ว่ามี “ดาวเคราะห์ดวงที่ 9” อยู่ในระบบสุริยะจักรวาล โดยดาวเคราะห์ดวงนี้มีขนาดใหญ่กว่าโลก 10 เท่า และโคจรเลยดาวเคราะห์แคระพลูโตออกไปอีก
ดร.ไมค์ บราวน์ และ ดร.คอนสแตนติน บาตีกิน จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย เปิดเผยผลการศึกษาครั้งนี้ในวารสาร The Astronomical Journal ซึ่งแม้จะไม่ได้เห็นภาพดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ด้วยตาของตนเองเพื่อยืนยันการมีอยู่ของดาวดวงนี้ แต่ได้ตั้งข้อสันนิษฐานจากการวิเคราะห์ข้อมูลการเคลื่อนตัวของวัตถุในแถบไคเปอร์ ซึ่งก็คือบริเวณขอบนอกเลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป
หากสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีดาวเคราะห์ดวงที่ 9 อยู่จริง คาดว่า ดาวดวงนี้น่าจะมีมวลใหญ่กว่าโลก 10 เท่า และมีเส้นทางโคจรรอบดวงอาทิตย์ในระยะทางที่ไกลกว่าดาวเนปจูน 20 เท่า ซึ่งนั่นหมายความว่ามันจะใช้เวลานานถึง 10,000-20,000 ปีในการโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบ
อย่างไรก็ตาม นักดาราศาสตร์กลุ่มนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ส่วนใดในระบบสุริยะ และหวังว่าข้อสันนิษฐานของพวกเขาจะจุดประกายให้เกิดความพยายามในการค้นหาดาวดวงนี้ให้ได้ในที่สุด
ผู้สื่อข่าวบีบีซี บอกว่า สิ่งที่ทำให้ข้อสันนิษฐานนี้มีความน่าสนใจก็คือ ตัวของ ดร.บราวน์ เอง เพราะเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องวัตถุที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป โดยการค้นพบดาวเคราะห์แคระอีริสในแถบไคเปอร์ เมื่อปี พ.ศ. 2548 นำไปสู่การปลดดาวพลูโตออกจากสถานะดาวเคราะห์ในระบบสุริยะในอีก 1 ปีถัดมา#PlanetNine
ผู้สื่อข่าวบีบีซี บอกว่า สิ่งที่ทำให้ข้อสันนิษฐานนี้มีความน่าสนใจก็คือ ตัวของ ดร.บราวน์ เอง เพราะเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องวัตถุที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป โดยการค้นพบดาวเคราะห์แคระอีริสในแถบไคเปอร์ เมื่อปี พ.ศ. 2548 นำไปสู่การปลดดาวพลูโตออกจากสถานะดาวเคราะห์ในระบบสุริยะในอีก 1 ปีถัดมา#PlanetNine
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น