ดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบสุริยะ แม้ดวงอาทิตย์ ก็หมุนรอบตัวเอง เพราะอะไร
ระบบสุริยะก่อกำเนิดจากเนบิวลา (กลุ่มฝุ่นแก้สขนาดใหญ่ในอวกาศ) เมื่อแรงโน้มถ่วงบริวเวณใดบริเวณหนึ่งตรงใจกลางกลุ่มฝุ่นแก้สขนาดใหญ่นั้นมากกว่าบริเวณอื่น ก็จะเริ่มมีแรงดูฝุ่นแก้สจากส่วนใกล้เคียงเข้ามา
ฝุ่นแก้สที่รวมศูนย์กันตรงกลางนี้คือดวงอาทิตย์ในวัยทารก เมื่อมันดูดฝุ่นแก้สรอบๆเข้ามา ก็เป็นธรรมดาที่ก้อนฝุ่นแก้สใหญ่นั้นจะพยายามรักษาโมเมตัมเชิงมุม ดังนั้น เมื่อก้อนฝุ่นแก้สขนาดใหญ่นั้นยุบตัวเล็กลงมันก็จะเริ่มหมุน
เมื่อฝุ่นตรงกลางหนาแน่นพอ อะตอมของไฮโดรเจนถูกบีบเข้ารวมกัน มันก็จะเกิดปฏิกิริยาฟิวชันจุดระเบิดลุกสว่างขึ้นมาเป็นดวงอาทิตย์แบบที่เราเห็นกันทุกวันนี้ ฝุ่นที่เหลือเล็กน้อย 1-2 % ก็แยกย้ากันรวมตัวขึ้นเป็นดาวเคราะห์ต่างๆเช่นดาวพฤหัส เสาร์ ไล่ขนาดมาเรื่อยๆจนถึงโลกเรา
ดาวเคราะห์ที่เกิดขึ้นตามคำอธิบายด้านบนก็สืบทอดแรงหมุนจากการยุบตัวของเนบิวลาไว้ ทุกดวงรวมทั้งดวงอาทิตย์จึงหมุนไปในทางเดียวกันหมด ซึ่งหากไม่มีแรงภายนอกมากระทำ มันก็จะหมุนไปแบบนี้ตลอดกาล
(ดาวศุกร์หมุนกลับด้าน ยูเรนัสหมุนตะแคง สองดวงนี้คาดว่าถูกชนในช่วงหลังการก่อตัวได้ไม่นาน จึงมีลักษณะต่างๆจากเพื่อนๆจนถึงทุกวันนี้)
โดย @MrVop
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น