พูดคุยสันติภาพอืด นายกยังไม่เห็นด้วยกับทีโออาร์ สองฝ่ายยังลงนามไม่ได้ 'มาราปาตานี' เผยไม่มีการแตะเรื่องการสร้างพื้นที่ปลอดภัย ประยุทธ์ยันรัฐบาลมีเจตนาต้องการแก้ไขปัญหา ระบุเหตุต้องไปคุยที่ต่างประเทศ เพราะเจรจากับใครไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญตามกฏหมาย
29 เม.ย.2559 จากกรณี เมื่อวันที่ 28 เม.ย.ที่ผ่านมา
บีบีซีไทย รายงานว่า อาบูฮาฟิส อัล ฮากีม แห่งกลุ่มมารา ปาตานี เปิดเผยถึงผลการประชุมร่วมกับที
มพูดคุยสันติสุขฝ่ายไทยเมื่
อวานนี้ (27 เม.ย.) ว่า การพบปะกันหนนี้ที่ประชุมยังไม่
ได้ตกลงเรื่องใดเป็นพิเศษ และไม่มีการร่วมลงนามในเอกสาร Term of reference (ทีโออาร์) หรือกติกาการพูดคุยอย่างที่คาดก
ันไว้ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้เนื่องจากฝ่ายไทยยังไม่
พร้อมที่จะลงนาม โดยทีมไทยแจ้งกับที่ประชุมว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรียังไม่ได้ลงนามในเอ
กสารดังกล่าวซึ่งผ่านการร่วมร่
างระหว่างตัวแทนของกลุ่มมารา ปาตานี กับคณะพูดคุยฝ่ายไทย และฝ่ายมาราฯได้ให้ความเห็นชอบไ
ปเมื่อหนึ่งเดือนที่แล้ว
ก่อนหน้านี้พล.ท.นักรบ บุญบัวทอง อดีตเลขานุการคณะพูดคุยเปิดเผยว
่า เอกสารนี้ได้รับความเห็นชอบจากน
ายกรัฐมนตรีแล้ว และคาดว่าในการประชุมหนนี้ทั้
งฝ่ายไทยและมาราฯคงจะเห็นชอบอย่
างเป็นทางการและเริ่มพูดคุ
ยในประเด็นที่เป็นสาระสำคัญต่
อไป โดยเรื่องที่อยู่ในหัวข้อก็คื
อเรื่องของการสร้างพื้นที่
เขตปลอดภัยร่วมกันซึ่ง พล.ท.นักรบระบุก่อนหน้านี้ว่า จัดทำรายละเอียดข้อเสนอไว้เรี
ยบร้อยแล้ว
อาบูฮาฟิสกล่าวผ่านเอกสารสรุ
ปความคืบหน้าของการประชุมด้วยว่
า ยังไม่ชัดเจนว่า ฝ่ายไทยต้องการจะกลับไปทบทวนร่
างทีโออาร์เดิม หรือจะร่างใหม่ หรือว่าจะยกเลิกการพูดคุยทั้
งหมด เมื่อไม่มีความคืบหน้าในเรื่
องของการให้ความเห็นชอบกับที
โออาร์ ที่ประชุมก็ไม่ได้พูดคุยเรื่
องการสร้างพื้นที่ปลอดภัยตามที่
ฝ่ายไทยเคยพูดไว้ว่าจะนำเสนอ
นอกจากนั้นเอกสารสรุปความคืบหน้
าผลการประชุมของอาบูฮาฟิสแห่
งกลุ่มมารา ปาตานียังกล่าวด้วยถึงกรณีการปร
ับย้ายพล.ท.นักรบ ออกจากคณะกรรมการพูดคุยฝ่
ายไทยว่า ฝ่ายมาราเองรู้สึกว่า พล.ท.นักรบเป็นเครื่องจักรสำคั
ญในการขับเคลื่อนการพูดคุย มีความรู้ในเรื่องกระบวนการสั
นติภาพ เป็นหัวหน้าคณะกรรมการชุดเล็กที
่ร่วมยกร่างทีโออาร์ การที่พล.ท.นักรบ ไม่อยู่ในกระบวนการทำให้รับรู้
ได้ถึงผลกระทบ และมารา ปาตานีเห็นว่า ตราบใดที่ไม่มีการรับรองทีโออาร
์ กระบวนการไม่อาจข้ามไปถึงขั้
นตอนอื่นเช่นไม่สามารถหารือเรื่
องสร้างพื้นที่ปลอดภัยและเรื่
องอื่นๆได้ ขณะเดียวกันก็บอกว่า ไม่ว่าฝ่ายไทยมีเหตุผลใดในอันที
่ยังไม่พร้อมลงนามในทีโออาร์ มารา ปาตานี ก็ยินดีจะให้เวลาฝ่ายไทยอย่างเต
็มที่ และการลงนามในทีโออาร์จะเป็นเคร
ื่องสะท้อนถึงความเต็มใจและยึ
ดมั่นในการดำเนินกระบวนการสันติ
ภาพของฝ่ายไทย
ขณะที่วันนี้ (29 เม.ย.59)
สำนักข่าวไทย รายงานด้วยว่า พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงการแก้ปัญหาความไม่
สงบในพื้นที่ภาคใต้และการพูดคุ
ยสันติสุข ว่า อยากฝากเตือนไปยังสื่อบางสำนั
กที่เขียนวิพากษ์วิจารณ์การแก้
ปัญหาดังกล่าว โดยไม่มีความเข้าใจและข้อมูลที่
ชัดเจนถึงด้านความมั่นคง ด้านกฎหมาย ซึ่งจะส่งผลต่อการแก้ปัญหา จึงขอให้นำเสนออย่
างรอบคอบและคำนึงถึงความมั่
นคงในประเทศ
พล.อ.อักษรา ยันกระบวนการพูดคุยสันติสุขยังคงดำเนินการต่อไป
สำนักข่าวไทย ยังรายงานถึงคำชี้แจงของ พล.อ.อักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุ
ขจังหวัดชายแดนใต้ ด้วย โดย พล.ท.อักษรา กล่าวว่า กระบวนการพูดคุยสันติสุขจังหวั
ดชายแดนภาคใต้ยังคงดำเนินการต่
อไป และยังคงอยู่
ในกรอบนโยบายของนายกรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในระยะของการสร้
างความไว้วางใจที่ต้องใช้
เวลาในการดำเนินการ และไม่ได้หยุดชะงักแบบที่สื่
อมวลชนบางสำนักและนักวิเคราะห์
บางคนเข้าใจ โดยมีความพยายามนำไปเชื่อมโยงกั
บ พล.ท.นักรบ บุญบัวทอง เลขานุการคณะพูดคุยฯ ที่รับพระราชทานยศสูงขึ้น และปรับย้ายตามวาระ ทั้ง ๆ ที่โดยข้อเท็จจริงแล้ว หัวหน้าคณะพูดคุยฯ ก็ได้รับการแต่งตั้งโดยนายกรั
ฐมนตรีเช่นเดียวกับผู้แทนส่
วนราชการอื่น ๆ ที่ส่งมาร่วมเป็นคณะพูดคุยรวม 8 หน่วยงาน และในห้วงนี้ก็มีการปรับเปลี่
ยนตามวาระกันหลายคน แต่ที่สำคัญที่สุดคื
อกระบวนการพูดคุยฯ ยังคงเดินหน้าต่อไปตามปกติ และเมื่อวันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมาคณะได้เดิ
นทางไปประเทศมาเลเซียเพื่
อทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้เห็นต่
าง หรือ Party B แล้ว โดยตนได้ฝากความปรารถนาดี
ของนายกรัฐมนตรี และขอบคุณที่ทุกฝ่ายยังคงร่วมกั
นพูดคุยเพื่
อแสวงหาทางออกจากความขัดแย้ง ให้เกิดความสันติสุขในพื้นที่ต่
อไป
“ทั้งนี้มีเรื่องเดียวที่ฝ่ายเราและฝ่ายผู้เห็นต่าง ยังมองไม่ตรงกันคือ ผมตั้งคณะทำงานเทคนิคให้ไปช่วยกันกำหนดพื้นที่ปลอดภัย เพื่อสร้างความไว้วางใจกับประชาชน แต่ทางฝ่ายผู้เห็นต่างอยากได้บันทึกข้อตกลงร่วม เหมือนกับที่ผมเคยเรียนแล้วว่าเขาไม่มีสถานะอะไร ในขณะที่ฝ่ายเรามีคำสั่งสำนักนายกฯ ชัดเจน ผมจึงเรียนว่าสมควรพิสูจน์ความไว้วางใจกันก่อน เพราะบันทึกข้อตกลงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความร่วมมือ ถ้าหากยังมีเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ สังคมจะไม่ไว้ใจกระบวนการพูดคุย เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องยุติความรุนแรงในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งให้ได้ก่อน แล้วจึงมาร่วมกันจัดทำข้อตกลงให้ครอบคลุมการปฏิบัติในห้วงเวลาของระยะการสร้างความไว้วางใจ” พล.อ.อักษรา กล่าว
พล.อ.อักษรา กล่าวด้วยว่า สิ่งที่เราพยายามดำเนินการคือความพยายามแยกกลุ่มผู้เห็นต่าง ที่ต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ออกจากขบวนการผิดกฎหมายอื่น ๆ ซึ่งกลุ่มผู้เห็นต่างก็มีความเข้าใจ คือ เมื่อไว้ใจแล้วก็จะเกิดความร่วมมือในการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันต่อไป ส่วนบันทึกข้อตกลงที่ดำเนินการมาแล้ว ฝ่ายเราจะได้ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปตรวจดูถ้อยคำไม่ให้ขัดแย้งต่อกฎหมายและกติกาสากล โดยสภาความมั่นคงแห่งชาติจะนำเรียนให้นายกรัฐมนตรีเห็นชอบก่อน
“ขอให้มั่นใจว่าการพูดคุยเพื่อสันติสุขมิได้หยุดชะงักลงอย่างที่นักวิเคราะห์บางท่านได้ให้ความเห็นไว้ ยืนยันยังคงเดินหน้าต่อไปเหมือนเดิม” พล.อ.อักษรา กล่าว