12 ปี เหตุการณ์ ‘กรือเซะ’ ย้อนรอยบาดแผลและบทเรียน
Posted: 28 Apr 2016 09:36 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
ถอดบทเรียนเหตุการณ์ปะทะหลายจุ ดในสามจังหวัดชายแดนใต้ในวันที่ 28 เมษายน เมื่อ 12 ปีก่อน จนทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งเจ้ าหน้าที่และผู้ก่อเหตุรวมกันกว่ า 108 ราย อย่างไรก็ตาม ในชั้นไต่สวนการตาย มีหลักฐานพยานที่ชี้ว่ าการกระทำที่เกินกว่าเหตุของเจ้ าหน้าที่เป็นผลทำให้มีผู้เสียชี วิตจำนวนมาก แต่ศาลเลือกให้น้ำหนั กจากปากคำเจ้าหน้าที่มากกว่า และภายหลังกระบวนการไต่ สวนการตายนอกจากเรื่องการเยี ยวยาแล้ว เรื่องอื่นกลับไม่เดินหน้า
28 เมษายน 2559 ครบรอบ 12 ปี เหตุการณ์ความรุนแรงภายในพื้นที ่มัสยิดกรือเซะ จังหวัดปัตตานี เหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตถึง 32 คน ไม่รวมสถานณ์การอื่นๆ โดยรอบอีกกว่า 11จุด ในจังหวัดยะลา ปัตตานี และสงขลา ผู้เสียชีวิตทั้งสองฝ่ายรวมกว่า 108 ราย ซึ่งส่วนมากเป็นกลุ่มผู้ก่อเหตุ
เค้าลางความผิดปกติเริ่ มปรากฏเมื่อคืนวันที่ 26 เมษายน 2547 ชาวบ้านรายงานว่าพบกลุ่มคนระดั บแกนนำผู้ก่อความไม่สงบเข้ ารวมตัวกันในพื้นที่ควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ประมาณการณ์ได้กว่า 30 คน
28 เมษายน 2547 สื่อมวลชนบันทึกเหตุการณ์ในช่ วงนั้นไว้ว่า เหตุการณ์เริ่มต้นขึ้นเมื่ อเวลาประมาณ 5.30 น. มีกลุ่มคนร้ายจำนวนกว่า 40 คน บุกเข้าไปปฏิบัติการยึดป้ อมตำรวจกรือเซะบริเวณ ถ.สายปัตตานี-นราธิวาส ม.3 ต.ตันหยงลุโละ อ.เมืองปัตตานี จนทำให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 4 ราย ตำรวจประจำป้อมหลบหนีออกมานอกป้ อมพร้อมกับวิทยุขอความช่วยเหลื อหน่วยข้างเคียง ขณะนั้นกลุ่มคนร้ายเริ่ มทำการเผารถจักรยานยนต์ของตำรวจ 5 คัน จุดไฟเผาหลังคาป้อมตำรวจ ไม่นานเมื่อชุดลาดตระเวนมาถึงจึ งเกิดการปะทะกันอย่างต่อเนื่ องจนเจ้าหน้าที่ประเมิ นสถานการณ์ว่าไม่สามารถรับมื อได้ จึงวิทยุขอกำลังเสริมเข้ามาอี กชุดหนึ่ง การปะทะกันทำให้กลุ่มผู้ก่อเหตุ ล่าถอย ในขณะเดียวกันกำลังทหารจากหน่ วนรบพิเศษเข้ามาเสริม โดยนำอาวุธหนักและรถหุ้ มเกราะเข้ามาในพื้นที่ จนเป็นเหตุให้กลุ่มผู้ก่อเหตุ จำนวนกว่า 30 คนล่าถอยเข้าไปยังมัสยิดกรือเซะ ซึ่งอยู่ห่างจากจุดปะทะเพียงแค่ 200 เมตร ผู้ก่อเหตุบางส่วนหลบหนีเข้ าไปในบ้านของชาวบ้านบริเวณนั้น
หลังจากกลุ่มผู้ก่อเหตุเข้ าหลบซ่อนในมัสยิดกรือเซะก็มี การตอบโต้กันเป็นระยะๆ เจ้าหน้าที่หน่วยรบพิเศษเริ่มยิ งแก๊สน้ำตาเข้าไปภายในมัสยิดแต่ ก็ไม่เป็นผล เนื่องจากยังมีการยิงสวนออกมา จนกระทั่ง 11.00 น. หน่วยรบพิเศษได้รับคำสั่งให้ใช้ อาวุธหนัก เจ้าหน้าที่ใช้รถหุ้มเกราะ วี 150 และอาวุธเบี่ยงเบนความสนใจเพื่ อที่จะลอบเข้ามัสยิดทางด้านทิ ศเหนือ แต่ก็ยังมีการตอบโต้จากกลุ่มผู้ ก่อเหตุภายในมัสยิดเช่นเคย สถานการณ์ยังยืดเยื้อต่ อไปจนกระทั่งมี การประกาศทางลำโพงของมัสยิดเป็ นภาษามลายูได้ความว่า ขอให้ทุกคนแบ่งอาวุธเท่าๆ กัน และพร้อมใจกันสู้ตาย คำประกาศดังกล่าวยิ่งทำให้ สถานการณ์เข้าสู่ภาวะวิกฤติ เจ้าหน้าที่จึงกันชาวบ้านและสื่ อมวลชนให้ออกนอกพื้นที่ ก่อนใช้ปืนอาร์พีจีระดมยิงเข้ าไปภายในมัสยิด
การปิดล้อมเป็นไปถึง 9 ชั่วโมง โดยเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมพื้ นที่ได้ในเวลา 14.00 น. เมื่อเริ่มเข้าเคลียร์พื้นที่ พบว่ามีผู้เสียชีวิตบริ เวณนอกกำแพงมัสยิด 4 ราย ขณะเดียวกันประชาชนกว่า 1,000 คนโดยรอบเริ่มส่งเสียงโห่ร้ องเนื่องจากอยากเข้ าไปตรวจสอบภายในมัสยิดว่ามีญาติ ตนเองหรือไม่ ไม่มีรายงานว่าการโห่ร้องเป็ นการแสดงออกถึงการให้ความสนั บสนุนผู้ก่อเหตุแต่อย่างใด
ภายหลังเหตุการณ์ รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในขณะนั้นได้มีการแต่งตั้ง “คณะกรรมการอิสระไต่สวนข้อเท็ จจริงกรณีมัสยิดกรือเซะ” ขึ้นโดยคณะกรรมการเสียงข้ างมากมีความเห็นว่า
“แม้ฝ่ายเจ้าหน้าที่จะอ้างว่า จำเป็นต้องใช้อาวุธเพื่อปกป้ องชีวิตตนเองและประชาชนผู้บริสุ ทธิ์ เมื่อคำนึงถึงที่ตั้งของมัสยิ ดกรือเซะซึ่งตั้งอยู่เป็นเอกเทศ ไม่ได้ตั้งอยู่ในแหล่งชุ มชนและจำนวนประชาชนก็ไม่ได้มี จำนวนมากตามที่มีการกล่าวอ้าง การใช้วิธีปิดล้อมและตรึงกำลั งไว้รอบมัสยิดควบคู่ไปกั บการเจรจาและเกลี้ยกล่อมโดยสั นติวิธี อาจทำให้ผู้ก่อความไม่ สงบยอมจำนนได้ในที่สุด อันจะช่วยให้ฝ่ายเจ้าหน้าที่ได้ รับข้อมูลเรื่องวัตถุประสงค์ ของการดำเนินการครั้งนี้ รวมทั้งผู้อยู่เบื้องหลัง ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่การประเมิ นสถานการณ์และป้องกันภัยที่ อาจเกิดขึ้นในอนาคต การยุติเหตุการณ์มัสยิดกรื อเซะด้วยสันติวิธีจึงมี ความเหมาะสมกว่าที่จะใช้วิธีรุ นแรงและอาวุธหนักเพื่อยุติเหตุ การณ์...”
ต่อมา 28 พฤศจิกายน 2549 ผ่านไปสองปีหลังเกิดเหตุการณ์ นองเลือด ศาลจังหวัดปัตตานีนัดฟังคำสั่ งศาลในคดีชันสูตรพลิกศพ 32 รายในเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ โดยมีพนักงานอัยการจังหวัดปั ตตานีและญาติผู้เสียชีวิตนำโดย สการียา ยูโส๊ะ และพวกรวม 32 คน เป็นผู้ร่วมซักค้าน คำสั่งศาลสรุปว่า ผู้เสียชีวิตทั้งหมดถูกเจ้าหน้ าที่กระทำให้เสียชีวิต ซึ่งเป็นการเสียชีวิตภายใต้คำสั ่งการของ พล.อ. พัลลภ ปิ่นมณี รองผู้อำนวยการกองอำนวยการรั กษาความปลอดภัยภายใน (กอ.รมน.) และ พ.อ.มนัส คงแป้น ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี พ.ต.นายทหารยุทธการกรมรบพิเศษที ่ 3 (ยศในขณะนั้น)
การไต่สวนชันสูตรพลิกศพเป็ นไปตามมาตรา 150 ในประมวลกฏหมายวิธีพิ จารณาความอาญา ซึ่งระบุว่า หากมีผู้เสียชีวิตภายใต้ การกระทำการของเจ้าหน้าที่รั ฐหรือในลักษณะวิสามัญฆาตกรรม อัยการจะต้องยื่นคำร้องขอไต่ สวนการตายต่อศาล เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งว่ าผู้เสียชีวิตคือใคร เสียชีวิตที่ไหน อย่างไร รวมทั้งพฤติกรรมการตายเป็นอย่ างไร อย่างไรก็ตาม การไต่สวนชันสูตรพลิกศพ เป็นเพียงกระบวนการเบื้องต้น ไม่ใช่การพิพากษาคดีว่าเจ้าหน้ าที่ทำเกินกว่าเหตุหรือไม่
10 กุมภาพันธ์ 2552 สำนักงานอัยการสูงสุดโดยนายวั ยวุฒิ หล่อตระกูล รองอัยการสูงสุดปฏิบัติหน้าที่ แทนอัยการสูงสุด ได้ส่งหนังสือถึงนางอังคณา นีละไพจิตร ประธานคณะทำงานเพื่อความยุติ ธรรมเพื่อสันติภาพ ชี้แจ้งกรณีที่คณะทำงานยุติ ธรรมเพื่อสันติภาพได้มีหนังสื อขอให้ดำเนินการกรณีการเสียชีวิ ตที่มัสยิดกรือเซะตามกฏหมายเพื่ อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตามคำสั่งศาลจังหวัดปัตตานี สำนักงานอัยการสูงสุดชี้แจ้งว่า พิจารณาแล้วมีคำสั่งไม่ฟ้อง จ่ าสิบตำรวจอดินันท์ หรืออดินันต์ เกษตรกาลาห์ หรือเกษตรกาลาม์หรือเกษตรกาลา ผู้ต้องหาที่ 1 จ่าสิบเอกเดชา ผลาหาญ ผู้ต้องหาที่ 2 จ่าสิบเอกชูศักดิ์ ตรุณพิมพ์ ผู้ต้องหาที่ 3 สิบเอกชิดชัย อ่อนโต๊ะ ผู้ต้องหาที่ 4 พลทหารสุรชัย ศิลานันท์ ผู้ต้องหาที่ 5 และพันเอกมนัส คงแป้น ผู้ต้องหาที่ 6 ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 83, 68 ตามที่นายสการียา ยูโซ๊ะ และพวก 32 คน ญาติของผู้เสียชีวิตกรณีมัสยิ ดกรือเซะส่งฟ้องข้อหาฆ่าคนตาย
นอกจากกรณีมัสยิดกรือเซะแล้ว วันที่ 28 เมษายน 2547 ยังมีอีกเหตุการณ์ความรุ นแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สำคัญไม่ แพ้กัน นั่นคือ เหตุการณ์ในพื้นที่อำเภอสะบ้าย้ อย จังหวัดสงขลา เวลาประมาณ 5 น. มีกลุ่มวัยรุ่นชายจำนวนประมาณ 20 คน แต่งกายคล้ายชุดดาวะห์ขี่รถจั กรยานยนต์มายังหน่วยบริ การประชาชนพร้อมอาวุธ ปืน มีด และระเบิด จากนั้นชาย 2 คน ในกลุ่มดังกล่าวถือมีดวิ่ งตรงมายังบังเกอร์ด้านหน้าหน่ วยบริการประชาชนขณะนั้นมี ตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะบ้ าย้อยนั่งอยู่ เมื่อเห็นว่าผู้ก่อเหตุ หมายจะทำร้าย จ.ส.อ.ชาญณรงค์ จึงใช้ปืนยิงไปที่ทั้ งสองคนจนเสียชีวิต จากนั้นมีการยิงสกัดพวกพรรคที่ เตรียมจะเข้ามาจู่โจม จนกลุ่มผู้ก่อเหตุต้องวิ่งหนี เข้าไปหลบร้านอาหารสวยน๊ะและบริ เวณบ้านพักครูซึ่งอยู่ใกล้กัน
สื่อมวลชนรายงานว่า เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจติ ดตามไปยังบริเวณบ้านพักครู เจ้าหน้าที่ได้วิทยุเรียกขอกำลั งสนับสนุนทั้งฝ่ ายปกครองและอาสาสมัครมาปิดล้ อมบริเวณดังกล่าว และพยายามเกลี้ยกล่อมให้กลุ่มวั ยรุ่นออกมามอบตัวทั้งภาษามลายู และภาษาไทย กลุ่มวัยรุ่นไม่ออกมามอบตัว ทั้งยังตะโกนเป็นภาษามลายูว่าสู ้ตายและยิงตอบโต้ออกมาเป็นระยะ จึงเกิดการยิงปะทะกันประมาณ 4-5 นาที หลังจากนั้นพบว่าวัยรุ่นทั้ งหมดเสียชีวิตภายในร้านอาหาร รวม 19 คน
วันที่ 15 กันยายน 2551 หลังจากเหตุการณ์ผ่านไป 4 ปี ศาลจังหวัดสงขลามีคำสั่งการไต่ สวนการตายกรณีการสังหารกลุ่มวั ยรุ่นนักฟุตบอล 19 ศพที่อำเภอสะบ้าย้อยว่าเป็ นการร่วมยิงต่อสู้และตายด้ วยคมกระสุนของเจ้าหน้าที่ นายแพทย์พงษ์ศักดิ์ ตันติฉันทการุณ นายแพทย์วิษณุ ฝอยทอง แพทย์ผู้ร่วมชันสูตรพลิกศพผู้ ตายทั้งสิบเก้าเบิ กความประกอบรายงานการชันสูตรพลิ กศพว่า ผู้ตายทั้งสิบเก้าตายด้วยสาเหตุ ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยิง โดยอ้างว่าปฏิบัติการตามหน้าที่
พยานหลักฐานผู้ร้องเบิกความเชื่ อมโยงสอดคล้องตรงกันเป็นลำดับขั ้นตอน ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ปรากฏว่าพยานผู้ร้องมีสาเหตุ โกรธเคืองกับผู้ตายทั้งสิบเก้า เชื่อว่า เบิกความไปตามความจริง ส่วนพยานหลักฐานผู้ซักถามที่ 1 ถึงที่ 19 ไม่สามารถนำสืบหักล้างให้ศาลเห็ นเป็นอย่างอื่น
000
การไต่สวนการตายอันเป็นเหตุ มาจากเจ้าหน้าที่รัฐ ในเหตุการณ์วันที่ 28 เมษายน 2547 เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากเกี่ ยวกับปัญหาของกระบวนการยุติธรรม ซึ่งส่งผลถึงความรู้สึกไม่เป็ นธรรมที่ชาวบ้านได้รับ
พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ จากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ยกตัวอย่างถึงกรณีมัสยิดกรื อเซะว่า มีผู้เสียชีวิต 32 ราย และเหตุการณ์ที่ป้อมตำรวจ สภ.สะบ้าย้อย ซึ่งมีเยาวชนนักฟุตบอลเสียชีวิต 19 ราย มีพยานหลักฐานที่น่าเชื่อได้ว่ าเกิดจากการกระทำเกินกว่าเหตุ ของเจ้าหน้าที่ชุดที่ปฏิบัติ งานอยู่ในขณะนั้น และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิ ดการเสียชีวิต แต่กระบวนการต่อเนื่องจากการไต่ สวนการตายกลับไม่เดินหน้า
"ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดก็ คือ ในเหตุการณ์ที่สะบ้าย้อยมีหลั กฐานว่าบาดแผลเกิดจากการยิ งระยะเผาขนในลักษณะที่ เยาวชนบางส่วนยอมแล้วและอยู่ ระหว่างการถูกควบคุมตัว แต่หลังคดีไต่สวนการตาย พนักงานอัยการซึ่งเป็นผู้มี อำนาจในการพิจารณาว่าเห็นควรสั่ งฟ้องเจ้าหน้าที่ผู้ที่ทำให้เกิ ดการเสียชีวิตหรือไม่ กลับมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง ทั้งๆ ที่เป็นการวิสามัญฆาตกรรม เมื่อเป็นแบบนี้ทางญาติผู้เสี ยชีวิตก็ไม่มีกำลังจะไปดำเนิ นการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรื อฟ้องคดีอาญาเองได้ จึงเป็นข้อจำกัดในการเข้าถึ งความยุติธรรมของประชาชน" พรเพ็ญ กล่าว
ในวาระครบรอบ 12 ปี พรเพ็ญกล่าวว่า การรำลึกถึงเหตุการณ์มัสยิดกรื อเซะค่อนข้างเป็นไปอย่างเงี ยบเหงา ถึงแม้ว่ากลุ่มภาคประชาสั งคมจะพยายามจัดงานในด้านการรำลึ ก แต่ระยะหลังเมื่อครบรอบเหตุ การณ์กรือเซะหลายคนจะพุ่งเป้ าไปที่เหตุการณ์ความรุนแรงที่ จะเกิดขึ้นในแต่ละปี จนทำให้การกิจกรรมแบบสันติวิธี เกือบจะหายไป ทางราชการมักบอกให้ระวังการโต้ ตอบกลับในวันที่ 28 ซึ่งบางปีก็มี บางปีก็ไม่มี ซึ่งความรุนแรงดังกล่าวทำให้กลุ ่มผู้เสียหายมีพื้นที่น้ อยลงในการจะจัดกิจกรรมในวันนั้ นเพราะกลัวว่าจะถูกเหมารวมเข้ ากับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
เมื่อถามความเห็นในประเด็ นของคดีความ พรเพ็ญกล่าวว่า เหตุการณ์วันที่ 28 เมษายนนั้น มีทั้งการเอาผิดกับผู้กระทำผิ ดที่รอดชีวิต และการไต่สวนการตายว่าเจ้าหน้ าที่ได้ใช้อาวุธโดยชอบหรือไม่ มีการกระทำการอันเกินกว่าเหตุ หรือไม่ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวสิ้ นสุดแล้วหมดทุกคดี ไม่มีใครได้รับการลงโทษ
"แม้ว่าข้อเท็จจริงที่เราได้ อย่างกรณีนักฟุตบอล 19 คนที่สะบ้าย้อยก็มีความชัดเจนว่ าเป็นการใช้ความรุนแรงภายหลังที ่มีการจับกุมกลุ่มบุคคลนั้นแล้ว อยู่ในการควบคุมแล้วก็มีการยิ งจนเสียชีวิตในร้านอาหารสวยน๊ะ หรือในกรณีในมัสยิดกรือเซะที่มี ประชาชนทั่วไปที่อยู่ที่นั่ นโดยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องร่ วมกับกลุ่มบุคคลที่บุกเข้าไป แต่ก็มีการกราดยิงด้วยอาวุ ธสงครามโดยไม่สามารถหลบหนีได้ เลยหากไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ก็ถือว่าเป็นการใช้ความรุ นแรงโดยไม่เลือกหน้า เหตุการณ์นั้นไม่มีการประกาศว่ าให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องออกมาก่ อน”
“ที่จริงแล้วเกือบทุกคดีมี การไต่สวนดำเนินการ เพียงแต่ว่ากลุ่มของญาติเองในห้ วงเวลานั้นไม่มีกำลังมากพอที่ จะต่อสู้ ไม่เหมือนที่ทุกวันนี้ที่มีศู นย์ทนายความมุสลิม มีคนให้ความช่วยเหลือทางคดี และชาวบ้านมีความรู้มากขึ้นว่ ามีขั้นตอนใดบ้างหลังจากมี การตายเกิดขึ้น เมื่อความเข้าใจและความช่วยเหลื อในห้วงเวลานั้นมีจำกัด ทำให้การไต่สวนการตายนั้นเป็ นไปโดยฝ่ายเดียว นั่นคือเจ้าหน้าที่รั บทำสำนวนให้อัยการส่งศาล แต่ไม่มีใครมาค้านมาตั้งคำถาม มันก็จบไป”
“อายุความคดีกรือเซะคือ 20 ปี หากผู้เสียหายมีหลักฐานเพี ยงพอว่าใครทำให้ตาย และเป็นการกระทำที่มีหลั กฐานและพยานมากพอก็สามารถที่ จะดำเนินคดีได้ เพียงแต่มันยากมากๆ สำหรับญาติที่จะไปหาทีมให้ ความช่วยเหลือที่จะสืบได้ขนาดนั ้น”
นอกจากนี้ พรเพ็ญยังกล่าวเสริมอีกว่า มีหลายคดีที่จบในลักษณะนี้ ผู้ที่กระทำความรุนแรงไม่ได้เข้ าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อชี้ ขาดว่าเขาใช้ความรุนแรงเกินกว่ าเหตุหรือเปล่า เพราะหากเขาใช้ความรุนแรงเกิ นกว่าเหตุก็ต้องมีบทลงโทษว่าฆ่ าคนตายโดยเจตนาหรืออย่างไร แต่เหตุปะทะลักษณะเช่นนี้ไม่ เคยมีกระบวนการยุติธรรมที่ ไปไกลกว่านั้น ทุกวันนี้เหตุการณ์ปะทะกันในพื้ นที่ภาคใต้ก็ยังมีอยู่เรื่อยๆ เพียงแต่ไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ เท่ากับเหตุการณ์มัสยิดกรื อเซะและตากใบเท่านั้นเอง
สิ่งที่พอเป็นรูปธรรมที่เกิดขึ้ นภายหลังเหตุการณ์ความรุ นแรงในวันที่ 28 เมษายน 2547 คือ ญาติผู้เสียชีวิตได้รับเงินเยี ยวยาเป็นจำนวน 302 ล้านบาทเศษ โดยผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ ในมัสยิดกรือเซะ 34 ราย ได้รับเงินเยียวยา รายละ 4 ล้านบาท ผู้เสียชีวิตนอกมัสยิด 54 ราย รายละ 5 แสนบาท เจ้าหน้าที่ 2 ราย รายละ 4 ล้านบาท เหตุการณ์ที่อำเภอสะบ้าย้อย 19 ราย รายละ 7.5 ล้านบาท
แหล่งที่มาของข้อมูล:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น