นักวิชาการ ชี้สังคมไทยไม่ใช่ห้องทดลอง หาก รธน.+คำถามพ่วง ผ่านก็ยากต่อการควบคุม
Posted: 25 Apr 2016 08:53 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
สถาบันวิชาการจับมือจั ดงานถกแถลง ‘คำถามพ่วงท้ายมีนัยอย่างไร’ ผู้เข้าร่วมชี้ส่อแวดสื บทอดอำนาจ ด้าน ‘กลุ่มพลเมืองผู้ห่วงใย’ จี้ให้ผู้มีอำนาจระบุทางเลื อกให้ชัดเจน หาก รธน. ถูกตีตก ด้าน ‘เบญจรัตน์’ เกือบถูกรวบไป สน. หลังถือเอกสาร 7 เหตุผลโหวตโนในงาน
เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2559 เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุมมาลัยหุวะนันท์ ชั้น 12 อาคารเกษมอุทยานิน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการจัดงานถกแถลงในหัวข้อ ‘คำถามพ่วงท้ายมีนัยอย่างไร’ ซึ่งจัดโดย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึ กษามหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชนศึ กษา (สสส.), ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขั ดแย้ง, ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคมจุ ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้มีผู้ร่วมถกแถลงประกอบด้ วย รศ.ตระกูล มีชัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผศ.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ฐิติพล ภักดีวาณิช คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึ กษา มหาวิทยาลัยมหิดล และไพโรจน์ พลเพชร สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ตระกูล เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามว่า ทำไมต้องมีคำถามพ่วง ในการออกเสียงประชามติรับไม่รั บร่างรัฐธรรมนูญ โดยเขาวิเคราะห์ว่า อาจจะมีความเป็นไปได้ 4 เหตุผลคือ 1.ร่างรัฐธรรมนูญที่ปรับแก้ ตามข้อเสนอของแม่น้ำ 4 สาย ยังไม่ได้เขียนตามเจตนารมณ์ ของผู้มีอำนาจอย่างเต็มที่ 2.ผู้ที่เสนอคำถามพ่วงนั้ นอาจจะมองว่า โครงสร้างกลไก เนื้อหาของรัฐธรรมนูญไม่เป็นหลั กประกันที่เพียงพอต่อการสร้ างเสถียรภาพและความมั่นคงของกลุ ่มที่มีอำนาจอยู่ในปัจจุบัน 3.คำถามพ่วงอาจจะเกิ ดจากความเกรงกลัวว่าฝ่ายการเมื อง จะเข้ามาคุมกลไกอำนาจ และอาจจะรื้อโครงสร้ างกลไกอำนาจที่ดำเนินการมาในช่ วง 2 ปีที่ผ่านมา หรือ4.คำถามพ่วงเกิดจากการที่ผู ้มีอำนาจ ยังไม่อยากลงจากอำนาจ อยากจะอยู่ต่อไปเรื่อยๆ
ตระกูลกล่าวต่อว่า ตัวเหตุผลที่ใช้อ้างในคำถามพ่ วงที่บอกว่า เพื่อการปฎิรูปประเทศ และเพื่อการเดินตามแผนยุ ทธศาสตร์ชาติ ยังมีปัญหาในตัวเองกล่าวคือ การปฏิรูปที่ผ่านมาแล้ว 2 ปี ยังไม่มีเห็นมีสิ่งใดเป็นรูปเป็ นร่าง เป็นแก่นสารที่จะทำให้ ประชาชนเชื่อมั่นได้
“ถ้าผมไปออกเสียงประชามติ ในคำถามนี้ ผมก็ต้องพิจารณาจากเหตุผลที่คุ ณอ้างมา เพื่อการปฎิรูปประเทศ ปฏิรูปอะไร ผมยังไม่เห็นนะว่าจะปฏิรูปอะไร หรือตามที่สื่อพูดกัน ปฏิรูปตำรวจ ปฏิรูปข้าราขการ มันมีประเด็นอะไรบ้างมั้ย แม้แต่สปช.เดิมที่ถูกยุบไป มันมีประเด็นอะไรบ้างที่เป็นแก่ นสารที่ประชาชนเห็นแล้วต้องการ ฉันต้องการแบบนี้ อยู่ต่อหน่อยเถอะ ขอร้องช่วยอยู่ต่อหน่อย ก็ยังไม่เห็น” ตระกูลกล่าว
ตระกูลกล่าวต่อว่า การปฏิรูปถูกนำมากล่าวอ้าง และถูกนำไปอยู่รวมกับคำว่า แผนยุทธศาสตร์ชาติ คำถามที่ต้องคิดคืออะไรคือ แผนยุทธศาสตร์ชาติ เพราะเท่าที่ติดตามดูแผนยุ ทธศาสตร์ถูกจัดทำโดยหน่วยงานต่ างๆ กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งนั่นยังไม่เพียงพอที่จะเรี ยกว่า แผนยุทธศาสตร์ชาติ โดยตลอดเวลาที่ผ่านมาก็ยังเห็ นไม่ชัดว่าอะไรคือยุทธศาสตร์ ชาติที่สำคัญ
“การปฏิรูป กับแผนยุทธศาสตร์ มันเป็นการอ้างมาโดยมีเหตุมี ผลหรือไม่ หรือว่าไม่กล้าที่จะใช้เหตุผลอื ่น จึงใช้เหตุผลนี้” ตระกูลกล่าว
ตระกูลทิ้งประเด็นสุดท้ายให้คิ ดต่อไปว่า ภายใต้คำถามพ่วงที่ขอเวลา 5 ปี ให้ ส.ว. มีส่วนในการเลือกนายกรัฐมนตรี หากคำถามดังกล่าวผ่ านการทำประชามติ ภายในเวลา 5 ปี สังคมไทยอาจจะไม่อยู่ภายใต้ การควบคุมอย่างที่ผู้มี อำนาจคาดหวัง สังคมไทยไม่ได้อยู่ในห้ องทดลองที่สามารถควบคุมปัจจัยต่ างๆได้ สังคมมีความเคลื่อนไหวเปลี่ ยนแปลงตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ ประชาชนตื่นรู้ ทางการเมือง ทุกสิ่งทุกอย่างจะไม่ได้ง่ ายตามที่ฝ่ายผู้มีอำนาจคิด และ 5 ปีต่อจากนั้นจะเป็นวิบากกรรมครั ้งใหญ่ของรัฐบาลที่เกิดจาก บทเฉพาะกาลในร่างรัฐธรรมนูญมีชั ย และที่เกิดจากคำถามพ่วงของ สนช.
ด้านไพโรจน์ เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามว่า การจะให้วุฒิสมาชิกเลือกตั้ งนายกรัฐมนตรีได้หรือไม่นั้น ผู้มีอำนาจกำลังตั้งคำถามดังกล่ าวเพื่อตอบโจทย์อะไร เขาเห็นว่าคำถามดังกล่าวเป็ นไปเพื่อการเปลี่ยนผ่าน ในความหมายว่าเป็นการเปลี่ยนผ่ านซึ่งจะรักษาอำนาจของสถาบั นทหารเอาไว้ โดยผ่องถ่ายอำนาจจาก คสช. ไปอยู่ใน ส.ว. 250 คน ซึ่ง คสช. จะเป็นผู้เลือก และ ส.ว. จะมีส่วนในการเลือกตัวนายกรั ฐมนตรี และพยายามจะให้ความชอบธรรมกั บอำนาจผ่านการลงประชามติ จากประชาชน
“โครงสร้างรัฐธรรมนู ญเขาออกแบบมาให้ ส.ว. มีอำนาจสูงอยู่แล้ว สิ่งที่เขาอยากได้ ในการลงประชามติก็คือ แค่ให้เลือกนายกฯ เพิ่มขึ้นมา แท้จริงของเดิมก็มีอำนาจมากกว่ าวุฒิสมาชิกปกติอ นี่คือสิ่งเขาเรียกว่าช่วงเปลี่ ยนผ่าน ทีนี้ถามว่า คำถามเรื่องให้วุฒิเลือกนายกฯ มาจากไหน ก็มาจาก สนช. สนช. ก็มาจาก คสช. ส่วน ส.ว. 5 ปีแรกมาจากไหน ก็มาจาก คสช. ดังนั้นคนที่ สามารถสถาปนาอำนาจของวุฒิสมาชิ กขึ้นมาก็คือ คสช.” ไพโรจน์กล่าว
ไพโรจน์กล่าวต่อไปว่า ส.ว. จะกลายเป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ และจะเป็นตัวแปรสำคัญที่สุด ซึ่งจะร่วมกันเลือกตัวนายกรั ฐมนตรี เมื่อดูจากโครงสร้างทั้งหมดนั้ นทำให้เห็นว่าเป็นการเปลี่ยนผ่ านให้ สถาบันทหาร มีอำนาจอยู่ต่อไป
00000
ทั้งนี้ภายหลังจากการถกแถลงได้ เสร็จสิ้นไปนั้น ‘กลุ่มพลเมืองผู้ห่วงใย’ ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ กระบวนการประชามติต้องมีเสรี ภาพในการแสดงออกและเป็นไปอย่ างโปร่งใส ร่วมแถลงโดย นฤมล ทับจุมพล, บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์, โคทม อารียา, สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง และไพโรจน์ พลเพชร โดยมีผู้ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์ อีกกว่า 100 คน และมีองค์กรที่ร่วมลงนามสนับสนุ นอีก 4 องค์กร ได้แก่กลุ่มคนรักหลักประกันสุ ขภาพ, คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35, มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
และมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุ ษยชนและการพัฒนา ในแถลงการณ์ว่าด้ วยการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7 สิงหาคม 2559 นั้นมีหลักการและข้อเสนอต่ อการทำประชามติว่า
และมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุ
1) กระบวนการทำประชามติต้องเป็ นไปอย่างโปร่งใส สุจริตและเที่ยงธรรมในทุกขั้ นตอน
2) ในกระบวนการประชามติต้องเปิดให้ มีการมีส่วนร่วมจากประชาชนทุ กกลุ่มทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายที่เห็นและไม่เห็นด้วย ในการถกแถลงด้วยข้อมูลที่ถูกต้ อง ครบถ้วน และรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีพื้นที่ สาธารณะที่ปลอดภัยสำหรับทุกฝ่ ายในการแสดงความ เห็นตามกรอบของกฎหมาย
3) ประชาชนมีสิทธิ ชอบธรรมในการแสดงความคิดเห็ นโดยสุจริตและอย่างสร้างสรรค์ เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญซึ่งเป็ นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และถือเป็นสิทธิพื้ นฐานทางการเมืองในระบอบประชาธิ ปไตยที่ต้องได้รับการปก ป้องคุ้มครอง ดังนั้น การปิดกั้นสิทธิเสรี ภาพในการแสดงออกด้วยเหตุ ผลและมาตรการทางความมั่นคง รวมถึงการนำผู้ที่มีความคิดเห็ นต่างไปปรับทัศนคติ นอกจากจะเป็นการละเมิดสิทธิมนุ ษยชนขั้นพื้นฐาน ยังเป็ นการลดความชอบธรรมของกระบวนการท ำประชามติอีกด้วย
4) ต้องมีการกำหนดให้ชัดเจนก่ อนการทำประชามติว่าจะมีทางเลื อกและกระบวนการอย่าง ไรต่อไปในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนู ญไม่ผ่านการทำประชามติ เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่ คนไทยทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันได้ มากที่สุด โดยต้องให้ประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ ายสามารถถกแถลงและเสนอทางเลื อกต่างๆ ได้อย่างเสรีและสร้างสรรค์
00000
ขณะเดียวกัน เมื่อเวลา 16.00 น. หลังจากงานถกแถลง "คำถามพ่วงท้ายมีนัยอย่างไร" และการแถลงข่าวของกลุ่ม ‘กลุ่มพลเมืองผู้ห่วงใย’ เสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้ายึ ดเอกสาร 7 เหตุผลไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ของกลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ NDM และเตรียมเชิญตัว เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิฯ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งกำลังถือเอกสารดังกล่าวอยู่ ไปยัง สน.ปทุมวัน โดยแจ้งว่า ต้องการพูดคุยด้วย แต่เมื่อผู้สื่อข่าว และผู้ร่วมงาน เข้าไปดูเหตุการณ์ เจ้าหน้าที่ได้เปลี่ ยนใจจากการขอเชิญตัว เป็นขอนามบัตรแทน เพื่อที่จะติดต่อเพื่อเรียกไปคุ ยวันอื่น
ทั้งนี้ เบญจรัตน์ เป็นหนึ่งในผู้ร่ วมถกแถลงในงานที่จัดขึ้น โดยประเด็นหลักที่เธอกล่าวถึงวั นนี้คือ การเรียกร้องให้เปิดพื้นที่ให้ ทุกฝ่ายได้แสดงความเห็นต่อร่ างรัฐธรรมนูญได้อย่างอิสระ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้การปิดกั้ นจากผู้มีอำนาจ
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น