เอ็นจีโอด้านสุขภาพอัดร่างรธน. ประเด็นสุขภาพล้าหลัง ลดจากสิทธิเหลือแค่สงเคราะห์ กีดกันปชช.
Posted: 25 Apr 2016 05:24 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
นิมิตร์ เทียนอุดม แกนนำภาคประชาชนด้านสุขภาพ ประกาศไม่รับร่าง รธน. เหตุเนื้อหาสุขภาพแย่สุดล้ าหลัง ไม่ศึกษารากเหง้าระบบสุขภาพ คงแนวคิดจัดแบบสงเคราะห์ผู้ยากไ ร้ ลิดรอนสิทธิภาคเอกชนและประชาชน ไม่ให้มีส่วนร่วมจัดบริการสุขภา พ ไม่สนใจการปฏิรูประบบสุขภาพลดคว ามเหลื่อมล้ำ พร้อมเสนอร่าง รธน.ฉบับใหม่ สู่การพัฒนาระบบสุขภาพประเทศ
นิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์
25 เม.ย. 2559 นิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และอดีตกรรมการหลักประกันสุขภาพ สัดส่วนภาคประชาชน กล่าวถึงสิทธิการรักษาพยาบาลและ บริการสุขภาพในร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2559 ฉบับ มีชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมลงประช ามติทั่วประเทศ ว่า ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เมื่อดู ในส่วนด้านสุขภาพ ต้องบอกว่าแย่ที่สุดเมื่อเปรียบ เทียบกับรัฐธรรมนูญ ปี 2540 และ 2550 รวมถึงร่างของ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ที่ตกไปก่อนหน้านี้ เพราะเป็นฉบับที่ผู้ร่างนอกจากไ ม่สนใจเรื่องระบบสุขภาพของประเท ศแล้ว ยังสนับสนุนความเหลื่อมล้ำในระบ บหลักประกันสุขภาพ โดยยังคงพูดถึงเรื่องความยากจน ซึ่งคนยากไร้เท่านั้นที่ได้รับบ ริการจากรัฐ เรียกว่ายังคงใช้วิธีคิดสงเคราะ ห์แบบเดิมๆ
ทั้งนี้เมื่อดูเนื้อหาเพิ่มเติม ยังมีสิ่งที่น่ากังวลมากที่สุด คือมีการลิดรอนสิทธิของภาคเอกชน และประชาชนในการเข้ามีส่วนร่วมจ ัดบริการสุขภาพ ซึ่งเดิมรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้เคยระบุได้ชัดเจนในมาตรา 80 (2) ที่สนับสนุนและส่งเสริมให้ให้เอ กชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒน าสุขภาพและการจัดบริการสาธารณสุ ข แต่ร่างรัฐธรรมนูญของนายมีชัย กลับมีการตัดเรื่องเหล่านี้ออกห มด เท่ากับว่าการร่างรัฐธรรมนูญฉบั บนี้ไม่ได้มุ่งไปสู่การปฎิรูปรั ฐธรรมนูญเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ อีกทั้งระบบสุขภาพไม่ใช่แค่เรื่ องของหมอและกระทรวงสาธารณสุขเท่ านั้น ตรงนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเส ียดายมาก
“เราเริ่มปฏิรูปประเทศตั้งแต่ปี 2540 และต่อมาได้เกิดระบบหลักประกันส ุขภาพถ้วนหน้าในปี 2545 โดยในรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้มีการระบุถึงการจัดบริการและ การเปิดให้มีส่วนร่วมทั้งจากภาค เอกชน ประชาชน และชุมชน ซึ่งมีรัฐบาลคอยสนับสนุนและส่งเ สริม เป็นการดึงทรัพยากรทุกอย่างเข้า มาร่วมและช่วยกันในระบบสุขภาพขอ งประเทศ นับเป็นวิวัฒนาการของระบบสุขภาพ ประเทศ แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้นอกจากริดร อนสิทธิประชาชนด้านสุขภาพ ยังถอยหลังกลับไปก่อนปี 2540 ซึ่งล้าหลังมาก” ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าว
ต่อข้อซักถามว่า ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่เตรี ยมลงประชามตินี้ ภาคประชาชนได้เข้ามีส่วนร่วมหรื อไม่ นายนิมิตร์ กล่าวว่า ฉบับของนายมีชัยต้องบอกว่าภาคปร ะชาชนเกือบไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่ วม แม้ว่าที่ผ่านมาเราจะได้เข้าไปใ ห้ความเห็นไว้ แต่ความเห็นเหล่านั้นไม่ได้ถูกน ำมาใส่ในฉบับสุดท้ายที่กำลังจะล งมตินี้ ต่างจากฉบับของนายบวรศักดิ์ที่ เขียนเรื่องนี้ไว้ดีมาก มองการเข้าถึงระบบสุขภาพของประช าชนเป็นเรื่องของสิทธิ ไม่ใช่ยากไร้ ดังนั้นในด้านสุขภาพควรใช้เนื้อ หาร่างของนายบวรศักดิ์มากกว่า
“เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายม ีชัยมีแนวโน้มที่น่ากังวล เพราะมีเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญที่ไ ม่เคารพต่อสิทธิประชาชนที่ต้องไ ด้รับการดูแลจากรัฐทั่วถึงและเท ่าเทียม เพราะการที่ระบุไว้ว่า บุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รั บบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เส ียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญั ติ เท่ากับเป็นการเขียนเช็คเปล่าให ้กับระบบ ให้กับนักการเมืองที่จะก้าวขึ้น หากเมื่อไหร่กังวลว่างบประมาณขอ งประเทศว่าจะถูกใช้ด้านการรั กษาพยาบาลมากไป ก็ไม่ต้องมีพันธะผูกพันการจัดสว ัสดิการรักษาพยาบาลให้กับประชาช น และอาจให้มีการเรียกเก็บเงินได้ ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่น่ากลัว และระบบจะกลับไปสู่การสงเคราะห์ หรือไม่สงเคราะห์ก็ได้” นิมิตร์ กล่าวและว่า ทั้งนี้สิทธิการรักษาพยาบาลต้อง เป็นสิทธิของประชาชนที่ต้องได้ รับการดูแลตั้งแต่เกิด
นิมิตร์ กล่าวว่า ขณะนี้ทั่วโลกต่างชื่นชมระบบหลั กประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศ ไทย แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้กลับมี เส้นแบ่งของสิทธิที่ระบุถึงความ ยากไร้ เป็นการร่างรัฐธรรมนูญโดยไม่ยึด โยงกับประชาชน และไม่ได้ศึกษารากเหง้าของระบบส ุขภาพที่ได้มีการพัฒนามาอย่างต่ อเนื่อง ทั้งที่รัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นให ม่นี้ควรเป็นส่วนหนึ่งในการลดคว ามเหลื่อมล้ำ แต่กลับทำให้การปฏิรูประบบสุขภา พของประเทศเกิดการชะงักแทน
ต่อกรณีคำถามที่ว่าเป็นไปได้หรื อไม่ว่าเป็นการเปิดไว้เพื่ อรองรับกรณีที่ต้องมีการร่วมจ่ าย นิมิตร์ กล่าวว่า เรื่องการร่วมจ่ายเป็นการมโนที่ คิดเองว่าระบบหลักสุขภาพของประเ ทศจะต้องใช้เงินมาก และคิดว่ารัฐบาลจะต้องแบบรับภาร ะงบประมาณ เป็นวิธีคิดที่ถูกครอบงำโดยชนชั ้นนำในสังคมที่คิดว่าตนเองถูกรี ดภาษีไปเพื่อช่วยคนจน และระบบวิธีคิดนี้ได้ไปครอบงำกา รร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่ผู้ร่ างขาดความเข้าใจในระบบสุขภาพ ทั้งที่งบประมาณประเทศเป็นความช อบธรรมที่จะนำมาเพื่อดูแลรั กษาพยาบาลให้กับประชาชน ซึ่งไม่เกินกำลังการจัดเก็บรายไ ด้ภาครัฐที่จะนำมาสนับสนุนได้ ทำให้เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญออกม าแบบนี้
“ต้องบอกว่าเราไม่รับร่างรัฐธรร มนูญฉบับนี้ และคงต้องสู้กัน โดยเฉพาะประเด็นที่ระบุว่าคนจนม ีสิทธิรับบริการจากรัฐ เนื่องจากเรายังมี พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การร่างรัฐธรรมนูญจึงต้องยึดโยง กับกฎหมายที่มีด้วย รวมไปถึงกฎหมายฉบับอื่นๆ ที่ระบุถึงความเท่าเทียมด้านสุข ภาพ ซึ่งต้องยืนยันว่าทุกคนมีสิทธิเ สมอภาคเท่าเทียมกันที่จะได้รับบ ริการสุขภาพจากรัฐ ดังนั้นเมื่อร่างรัฐธรรมนูญเขีย นไว้ไม่ดี เราต้องไม่ยอมจำนนต่อร่างรัฐธรร มนี้ฉบับนี้”
ต่อข้อซักถามว่า มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเนื้อหาร ่างรัฐธรรมนูญนี้ ยังขัดแย้งกับแนวทางการปฏิรูประ บบสุขภาพเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ 3 กองทุน ที่ดำเนินไปก่อนหน้านี้ นิมิตร์ กล่าวว่า นอกจากผู้ร่างไม่ได้สนใจการปฏิร ูประบบสุขภาพแล้ว ยังเขียนเนื้อหาแบบแนวอนุรักษ์น ิยมเก่าๆ ที่มองเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องสง เคราะห์ ผู้ยากไร้เท่านั้นจึงมีสิทธิรับ บริการฟรีจากรัฐ ซึ่งยอมรับว่าเราคงต้องเหนื่อยอ ีกมาก แต่เนื้อหาแบบนี้คงไปเข้าทางกับ ฝ่ายที่ไม่อยากเห็นประเทศมีระบบ สุขภาพที่มั่นคง และไม่อยากเห็นการลดความเหลื่อม ล้ำในระบบสุขภาพ ดังนั้นทางออกที่ดีคือเราต้องไม ่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และต้องสนับสนุนให้มีการร่างรัฐ ธรรมนูญฉบับใหม่ที่นำไปสู่การลด ความเหลื่อมล้ำในประเทศให้ได้
นิมิตร์ กล่าวต่อว่า ส่วนที่ในมาตรา 258 (4) ที่ระบุว่า ปรับระบบหลักประกันสุขภาพให้ประ ชาชนได้รับสิทธิและประโยชน์จากก ารบริหารจัดการ และการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ และสะดวกทัดเทียมกัน มองว่า เป็นการเขียนถึงระบบหลักประกันส ุขภาพที่กว้างมาก ไม่มีเป้าหมายและความชัดเจน ไม่ได้มีเป้าหมายว่าจะลดความเหล ื่อมล้ำในระบบสุขภาพแต่อย่างใด แม้ว่าจะมีการระบุว่าให้มีการปร ับระบบสุขภาพ ไม่ได้ลงรายละเอียดว่าให้ปรับอย ่างไร ให้เหลือระบบเดียวหรือไม่ หรือบริหารจัดการอย่างไร เป็นการเขียนแบบขอไปที
ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับร่าง รัฐธรรมนูญ ปี 2559 ฉบับของนายบวรศักดิ์ ยังมีความก้าวหน้ามากกว่า เพราะผู้ร่างได้ศึกษาปัญหาระบบส ุขภาพของประเทศ ซึ่งนอกจากมีการระบุชัดเจนในรัฐ ธรรมนุญว่าทุกคนในประเทศต้องได้ รับบริการทั่วถึงและเท่าเทียมกั นแล้ว ยังมีเนื้อหา 5 ข้อ ที่เป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินร ะบบสุขภาพประเทศ คือ
1.การพัฒนาระบบที่เน้นไปที่ระบบ ปฐมภูมิ เพื่อให้เป็นฐานในการรองรับบริก ารประชาชน ครอบคลุมทั้งการรักษาและป้องกัน พร้อมกันนี้ยังเปิดให้ประชาชนเข ้ามีส่วนร่วมในการจัดการระบบ
2.เรื่องการบริหารการเงินการคลั งของทุกกองทุนสุขภาพที่ต้องมีมา ตรฐานที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งจะช่วยสร้างเสมอภาค เป็นธรรม และยั่งยืนได้ และต้องให้มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ซึ่งถือที่เป็นหัวใจสำคัญ โดยยึดหลักที่นำไปสู่ประสิทธิภา พและประสิทธิผลของระบบ เพราะปัจจุบันความเหลื่อมล้ำของ กองทุนสุขภาพที่เกิดขึ้นมาจากงบ ประมาณที่ไม่เท่ากัน
3.การควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสุขภา พ โดยต้องสนับสนุนข้อมูลพื้นฐานเพ ื่อให้ประชาชนสามารถดูแลสุ ขภาพตนเอง
4.มีระบบการกำกับเพื่อให้เกิดคว ามเป็นธรรมในระบบสุขภาพ ใช้เศรษฐกิจการตลาดที่เป็นธรรม โดยสามารถควบคุมราคายาและค่าบริ การทางการแพทย์ให้มีค่าใช้จ่ายท ี่เหมาะสม และเป็นธรรมต่อผู้รับบริการ ซึ่งปัจจุบันไม่มีใครคุมราคาของ เอกชนเลย
และ 5.เน้นการกระจายบุคลากรไปสู่ชนบ ท โดยส่งเสริมผลิตบุคลากรผ่านสถาบ ันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ซึ่งในเรื่องเหล่านี้จะนำไปสู่ก ารปฏิรูปและลดความเหลื่อมล้ำได้ ต่างจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่กำ ลังลงจะประชามตินี้
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น