รายงาน: เมื่อพุทธไทยขันติธรรมลด ม.67 ร่าง รธน.ซุกระเบิดเวลา
Posted: 26 Apr 2016 04:13 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
“แล้วต่อมาที่ผมโพสต์บอกว่า หากมีพระภิกษุในสามจังหวั ดชายแดนภาคใต้ถูกระเบิดหรือถู กสังหารหนึ่งรูปต้องแลกกั บการไปเผามัสยิดทิ้งไปหนึ่งมั สยิด โดยเริ่มตั้งแต่เชียงใหม่ ลงมาเลย ผมยอมรับว่าผมโพสต์ เองและเจตนาโพสต์อย่างนั้นจริงๆ เหตุผลที่โพสต์ เพราะอะไรครับ มันเป็นยุทธวิธีหนึ่งในการข่มขู ่ บอกว่าถ้าคุณไม่อยากถูกเผา คุณก็อย่าฆ่าพระอีก ถ้าคุณฆ่าพระอีก ฉันเผาแน่ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนถึงวั นนี้ยังไม่มีข่าวพระถูกทำลายนะ ตั้งแต่ผมโพสต์บทความนี้ออกไป แล้วก็มีการตีพิมพ์ออกทีวี หนังสือพิมพ์นะครับ ก็ยังไม่มีพระตาย แต่ถ้าหากว่าพระตายเมื่อไหร่ ท่านจะเผาหรือเปล่าครับ (เสียงตอบจากที่ประชุม “เผา”) ขอบคุณครับ”
คำพูดของพระมหาอภิชาติ ปุณฺณจนฺโท หัวหน้าพระวิ ทยากรประจำพระอารามหลวง วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ที่มีผู้นำมาเผยแพร่ในยูทูบ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 www.youtube.com/watch?v= tIvV9D4fRMo ก่อนหน้านี้ พระมหาอภิชาติได้โพสต์ในเฟซบุ๊ กของตนโดยมีเนื้อหาลักษณะนี้ มาก่อน ทำให้ถูกหลายฝ่ายโจมตีจนต้ องประกาศปิดเฟซบุ๊กชั่วคราว ถึงกระนั้น ก็มีพุทธศาสนิกจำนวนหนึ่งเห็นด้ วยกับความคิดของพระมหาอภิชาติ
ก่อนเกิดกรณีพระมหาอภิชาติ ยังมีเหตุการณ์ที่ชาวจังหวัดน่ านออกมาคัดค้านการก่อสร้างมัสยิ ดในจังหวัด มีการสร้างเพจบนเฟซบุ๊ก พร้อมภาพปกที่มีเนื้อหาว่า น่านเป็นที่มั่นแห่งสุดท้ ายของพุ ทธศาสนาในประเทศไทยและจะไม่ ยอมให้ใครมาย่ำยี หรือกรณีคลิปในยูทูบที่มีพระรู ปหนึ่งจากวัดพระมหาธาตุวรมหาวิ หาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ออกมาคัดค้านการสร้างศูนย์จำหน่ ายของที่ระลึกภายในวัด เนื่องจากอ้างว่าศูนย์จำหน่ายฯ แห่งนี้ใช้แบบแปลนเดียวกันกั บการสร้างมัสยิด
คำพูดของพระมหาอภิชาติ ปุณฺณจนฺโท หัวหน้าพระวิ
ก่อนเกิดกรณีพระมหาอภิชาติ ยังมีเหตุการณ์ที่ชาวจังหวัดน่
พุทธไทยไม่ขัดแย้งศาสนาอื่ นเพราะกุมอำนาจรัฐ-ผลประโยชน์ ได้
เมื่อตรวจดูความเคลื่ อนไหวบนโลกโซเชียลมีเดีย จะพบว่า มีเพจและคลิปที่มีเนื้อหาต่อต้ านศาสนาอิสลามหรือมีเนื้อหาว่ าศาสนาอิสลามกำลังบ่อนทำลายพุ ทธศาสนา แต่ก็มีเนื้อหาที่ต้องการสร้ างความเข้าใจระหว่างศาสนาไม่น้ อยเช่นกัน
แต่อาจกล่าวได้ว่า การแสดงความเห็นของพระมหาอภิ ชาติดูเหมือนจะเป็นการเรียกร้ องให้ใช้ความรุนแรงที่ชั ดเจนและเป็นที่รู้กันอย่างกว้ างขวางในสังคมกว่าที่เคยเกิดขึ้ นในอดีต ถ้าไม่นับกรณีวาทกรรมฆ่าคอมมิ วนิสต์ไม่บาปในยุคสงครามเย็น
ย้อนดูประวัติศาสตร์ศาสนาพุ ทธในสยาม-ไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย แม้ว่าพระสงฆ์จะมี บทบาททางการเมืองมาตลอด อย่างการสนับสนุนการแย่งชิ งราชบัลลังก์ การเป็นฐานอำนาจให้แก่พระมหากษั ตริย์ หรือการที่กษัตริย์ใช้พุ ทธศาสนาเป็นข้ออ้ างในการทำสงคราม เช่นการแย่งชิงพระไตรปิฎก แต่ก็ไม่เคยพบเอกสารบันทึ กความขัดแย้งและความรุนแรงระหว่ างพุทธศาสนากับศาสนาอื่น
สุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการด้านศาสนา วิเคราะห์สาเหตุที่สยาม- ไทยในอดีตไม่เคยมีความขัดแย้งรุ นแรงระหว่างศาสนาพุทธกับศาสนาอื ่นว่า เพราะพุทธศาสนาที่ผสมพราหมณ์ผี มักเป็นส่วนหนึ่งของกลไกอำนาจรั ฐอยู่แล้ว ขณะที่คริสต์และอิสลามที่ สามารถอยู่ร่วมกันได้ เนื่องจากไม่มีกลุ่มศาสนาอื่ นสามารถสร้างกลุ่มก้อนเข้ามาชิ งอำนาจรัฐทาบรัศมีกับพุ ทธผสมพราหมณ์หรือมีส่วนแบ่ งอำนาจผลประโยชน์ใกล้เคียงกั นได้ จึงไม่มีเงื่อนไขให้เกิดความขั ดแย้งและความรุนแรงทางศาสนา
ความกลัวอิสลาม ทำพุทธไทยขันติธรรมลดลง
ขณะที่ปัจจุบัน ศาสนากลายเป็นปมความขัดแย้งที่ รอวันปะทุในหลายภูมิภาคของโลก การแสดงความคิดเห็นอย่างโจ่งแจ้ งของพระมหาอภิชาติฯ สร้างทั้งความสะใจสำหรับชาวพุ ทธจำนวนหนึ่ง พอๆ กับที่สร้างความวิตกกังวลว่ าจะเป็นต้นทางของความรุ นแรงในอนาคต
คำถามคือขันติธรรมที่ลดลงของพุ ทธไทย โดยเฉพาะกับศาสนาอิสลาม มีสาเหตุจากอะไร สุรพศ อธิบายว่า “ผมคิดว่ามีปัจจัยที่ ซับซ้อนหลายอย่าง ที่พุทธสมัยก่อนไม่มีปั ญหาทำนองนี้มาก อาจไม่ใช่เพราะชาวพุทธสมัยก่ อนยึดมั่นในคำสอนของพุ ทธศาสนามากกว่า แต่เงื่อนไขทางสังคมการเมืองสมั ยนั้นๆ ที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งกั บศาสนาอื่นอาจมีน้อยกว่า ปัจจุบันเราเห็นความหวาดระแวงมุ สลิมมากขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากปัญหาสามจั งหวัดภาคใต้ การขยายการสร้างมัสยิดไปยังจั งหวัดต่างๆ กระแสแอนตี้มุสลิมในพม่า หรือในโลกตะวันตกก็อาจจะมีอิทธิ พลด้วย เพราะบ้านเรามักรับข่าวสารข้อมู ลจากตะวันตกมากกว่า อีกอย่างกลุ่มพระสงฆ์และนักวิ ชาการพุทธฆราวาสบางกลุ่มเริ่มรู ้สึกมากขึ้นว่า ศาสนาอิสลามเข้ามาแชร์ อำนาจและงบประมาณรัฐมากขึ้น หรือเข้ามาแชร์พื้นที่การเมื องระดับชาติมากขึ้น”
สุรพศ ขยายความว่า การพยายามเพิ่มอำนาจต่ อรองทางการเมืองระดับชาติที่ มากขึ้นโดยลำดับของชาวมุสลิม เช่นให้สภาผ่านกฎหมายอิ สลามหลายฉบับในรัฐบาลหลังรั ฐประหาร 2549 การเพิ่มงบประมาณอุดหนุนศาสนาอิ สลามมากขึ้น เป็นต้น ทำให้พระสงฆ์และชาวพุทธบางส่ วนมองว่าศาสนาอิสลามกำลังเป็นคู ่แข่งที่น่ากลัว การรื้อฟื้นประวัติศาสตร์ บาดแผลที่กองทัพมุสลิมบุ กทำลายพุทธในอินเดีย และการเรียกร้องให้บัญญัติพุ ทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรั ฐธรรมนูญ ส่วนหนึ่งก็เกิดจากการสร้ างกระแสความกลัวอิสลาม
สอดคล้องกับความเห็นของพระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต และเพิ่มเติมว่า ขณะที่อีกส่วนหนึ่งเกิ ดจากความเชื่อว่าศาสนาอิ สลามกำลังบ่อนทำลายพุทธศาสนา ซึ่งเป็นความเชื่อที่ฝังอยู่ ในสังคมไทยมานานพอสมควร โดยเฉพาะเมื่อครั้งที่วันมู หะหมัดนอร์ มะทา ได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ก็มีข่าวลือว่าอิสลามจะครอบงำพุ ทธศาสนา ประกอบกับช่วงนั้นมีข่าวการเรี ยกร้องสิทธิหลายประการของชาวมุ สลิม เช่น การขอให้มีห้องทำละหมาดในสนามบิ นและสถานที่สาธารณะ แต่ชาวพุทธไทยไม่คุ้นเคยกั บการเคลื่อนไหวของชาวมุสลิม จึงเริ่มมองมุสลิมในแง่ลบ ยิ่งเมื่อชาวมุสลิมให้ความสำคั ญกับหลักศาสนาของตนอย่างเคร่ งครัด รวมทั้งยืนยันในอัตลักษณ์มุสลิ มอย่างชัดเจนมากขึ้น โดยที่ส่วนหนึ่งเริ่มปฏิเสธพิธี กรรมบางอย่างของพุทธศาสนาหรื อไม่ยอมรับธรรมเนียมบางอย่างที่ ชาวพุทธเห็นเป็นเรื่องธรรมดา เช่น การไหว้พระ ความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อชาวมุ สลิมจึงมีมากขึ้นในหมู่ชาวพุทธ และปฏิเสธไม่ได้ว่าปฏิกิริยาดั งกล่าวส่วนหนึ่งก็เกิดจากการที่ มุสลิมจำนวนหนึ่งที่เป็นสายแข็ งกร้าว ซึ่งระยะหลังมีอิทธิพลในหมู่ ชาวมุสลิมมากขึ้น มีความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่ อชาวพุทธและพุทธศาสนา
ในอีกด้านหนึ่ง พระไพศาล เห็นว่ารากเหง้าของความรู้สึ กเป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนาอื่นในหมู ่ชาวพุทธจำนวนไม่น้อยเกิ ดจากความหวั่นวิตกว่าพุ ทธศาสนากำลังตกต่ำเสื่อมถอย ซึ่งแท้จริงเกิดจากความย่อหย่ อนของชาวพุทธเอง ทั้งในด้านการศึกษาและปฏิบัติ โดยเฉพาะพระสงฆ์ซึ่งมีคุ ณภาพลดน้อยถอยลง จนทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธา นำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์พุ ทธศาสนาและสถาบันสงฆ์อย่างไม่ เคยมีมาก่อน
“แต่แทนที่จะยอมรับว่าความเสื่ อมถอยนั้นมีสาเหตุจากภายใน ชาวพุทธจำนวนหนึ่งกลับหั นไปโทษคนภายนอกว่าทำให้พุ ทธศาสนาตกต่ำ และคนภายนอกที่มาสอดรับกั บความคิดดังกล่าวก็คือชาวมุสลิ ม”
แต่อาจกล่าวได้ว่า การแสดงความเห็นของพระมหาอภิ
ย้อนดูประวัติศาสตร์ศาสนาพุ
สุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการด้านศาสนา วิเคราะห์สาเหตุที่สยาม-
ความกลัวอิสลาม ทำพุทธไทยขันติธรรมลดลง
ขณะที่ปัจจุบัน ศาสนากลายเป็นปมความขัดแย้งที่
คำถามคือขันติธรรมที่ลดลงของพุ
สุรพศ ขยายความว่า การพยายามเพิ่มอำนาจต่
สอดคล้องกับความเห็นของพระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต และเพิ่มเติมว่า ขณะที่อีกส่วนหนึ่งเกิ
ในอีกด้านหนึ่ง พระไพศาล เห็นว่ารากเหง้าของความรู้สึ
“แต่แทนที่จะยอมรับว่าความเสื่
พุทธ=ชาติ สร้างปัญหา แนะแยกศาสนาออกจากรัฐ
นอกจากความกลัวอิสลามแล้ว รากเหง้าความเปราะบางของพุ ทธไทยยังอยู่ที่การนำ ‘ความเป็นพุทธ’ กับ ‘ความเป็นชาติไทย’ มาผูกโยงกัน ความเป็นชาติไทยจึงเท่ากั บความเป็นพุทธ เมื่อมีเหตุการณ์ที่กระทบต่ อศาสนาพุทธ มันย่อมกระทบต่อความมั่ นคงของชาติไปโดยปริยาย
“พุทธศาสนาแบบปัจจุบันคือพุ ทธศาสนาไทยที่มีโครงสร้างเป็นพุ ทธศาสนาของรัฐ เช่น มีการตีความคำสอนพุทธสนับสนุนอุ ดมการณ์ชาตินิยมทั้งโดยชนชั้ นปกครอง คณะสงฆ์ ปราชญ์ชาวพุทธทั้งที่เป็ นพระและฆราวาส ถึงขนาดอ้างกันว่าประวัติศาสตร์ ชนชาติไทยคือประวัติศาสตร์ ของชนชาติที่นับถือพุทธหรือพุ ทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยทั ้งในทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการเป็นศาสนาของคนส่วนใหญ่ สมควรรับรองว่าพุทธเป็ นศาสนาประจำชาติโดยรัฐธรรมนู ญเป็นต้น พุทธศาสนาที่ผูกกับความเป็นชาติ นิยมแบบนี้มันสัมพันธ์กับอำนาจ ผลประโยชน์ และการมีทัศนคติเชิงกีดกั นศาสนาอื่นๆ อยู่แล้ว แม้ว่าธรรมชาติของศาสนาโดยตัวมั นเองก็มีลักษณะกีดกันอยู่ แต่อาจไม่มีปัญหาอะไรมากนัก ถ้าศาสนาไม่เข้ามาแชร์อำนาจรัฐ ศาสนาก็จะไม่มีอำนาจหรือเครื่ องมือไปกีดกันศาสนาอื่นได้” สุรพศกล่าว
สุรพศเสนอว่าควรสร้างรั ฐฆราวาสที่แยกศาสนาออกจากรัฐ แปรองค์กรศาสนาทุกศาสนาเป็ นเอกชน รัฐมีความเป็นกลางทางศาสนาและมี หน้าที่รักษาเสรีภาพทางศาสนาเท่ านั้น แต่ไม่มีอำนาจเข้ าไปแทรกแซงศาสนา รัฐจะเข้าไปจัดการเมื่อมีการใช้ ศาสนาในทางละเมิดสิทธิพลเมื องเท่านั้น ทุกศาสนามีสถานะเสมอภาคกันและมี เสรีภาพในการเผยแพร่ภายใต้ การเคารพกติกาประชาธิปไตยและหลั กสิทธิมนุษยชน
“เมื่อศาสนาเป็นอิสระจาการเป็ นกลไกอำนาจรัฐ ธรรมชาติของศาสนาที่มีลักษณะเป็ นความเชื่อส่วนบุคคล เป็นเสรีภาพของปัจเจกบุคคลโดยพื ้นฐานก็จะกลับมีชีวิตชีวา มีการศึกษาตีความและประยุกต์ใช้ อย่างสอดคล้องกั บความหลากหลายของวิถีชีวิ ตในโลกสมัยใหม่ ไม่เป็นศาสนาที่ตายซาก แข็งทื่อไร้ชีวิตชีวา ไร้ความรู้สึกอ่อนไหวต่อความทุ กข์ของเพื่อนร่วมสังคมที่ถู กกดขี่ด้วยโครงสร้างอำนาจที่อยุ ติธรรมในรูปแบบต่างๆ อย่างศาสนาแห่งรัฐที่เป็นกลไกวั ฒนธรรมอำนาจนิยมแบบปัจจุบัน”
“พุทธศาสนาแบบปัจจุบันคือพุ
สุรพศเสนอว่าควรสร้างรั
“เมื่อศาสนาเป็นอิสระจาการเป็
ที่มา เว็บไซต์วิทยุรัฐสภา
หวั่นรัฐธรรมนูญมีชัยสร้ างชนวนขัดแย้งระหว่างศาสนา
แต่ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับมีชัย ฤชุพันธุ์ กลับยืนกรานไปในทางตรงกันข้ ามและถูกมองว่าในระยะยาวจะทำให้ ความขัดแย้งระหว่างศาสนามี แนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยในหมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 67 ระบุว่า
‘รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้ มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น’
‘ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุ ทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถื อมาช้านาน รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึ กษาและการเผยแผ่หลั กธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่ อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และต้องมีมาตรการและกลไกในการป้ องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุ ทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิ กชนมีส่วนร่วมในการดำเนิ นมาตรการหรือกลไกดังกล่าว’
สุรพศ แสดงทัศนะว่า คำว่า บ่อนทำลาย สามารถตีความได้ครอบจั กรวาลและอาจสร้างเงื่อนไขให้เกิ ดการล่าแม่มดระหว่างชาวพุทธด้ วยกันเอง เช่น กรณีธรรมกายที่ถูกล่าวหาว่ าสอนผิดพระไตรปิฎก การวิจารณ์คำสอนพุทธศาสนา คณะสงฆ์ เสนอให้ยกเลิกระบบสมณศักดิ์ ก็อาจถูกตีความว่าเป็นการบ่ อนทำลายศาสนา และยังอาจเป็นข้ออ้างในการจำกั ดเสรีภาพในการเผยแพร่ศาสนาอื่นๆ เช่น การสร้างมัสยิดในบางพื้นที่ก็ อาจตีความว่าเป็นการบ่อนทำลายพุ ทธได้ กล่าวคือจะเป็นเงื่อนไขให้เกิ ดความขัดแย้งระหว่างศาสนาได้ง่ ายขึ้น อีกทั้งร่างรัฐธรรมนูญยังดูเหมื อนจะให้ความสำคัญกับพุทธนิ กายเถรวาทไทยมากกว่าพุทธนิกายอื ่นและศาสนาอื่นๆ
ด้วยสถานการณ์ที่เปราะบางต่ อความขัดแย้งระหว่างศาสนา การแยกรัฐและศาสนาออกจากกั นคงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ในระยะเวลาอันใกล้ ขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชั ยก็ดูเหมือนจะสร้างชนวนปั ญหาในระยะยาวมากกว่าที่จะสร้ างความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนิก สังคมไทยจึงต้องแบกรับความเสี่ ยงนี้ต่อไป เป็นความเสี่ยงที่ซุกอยู่ ในกฎหมายสูงสุดของประเทศ
‘รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้
‘ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุ
สุรพศ แสดงทัศนะว่า คำว่า บ่อนทำลาย สามารถตีความได้ครอบจั
ด้วยสถานการณ์ที่เปราะบางต่
Islamophobia ความขัดแย้งพุทธ-อิสลามที่รอวั นปะทุ
ความไม่ลงรอยระหว่างพุทธและอิ สลามในสังคมไทยเวลานี้เกิดจากปั จจัยซับซ้อนหลายประการ ก่อตัวเป็นอาการกลัวอิสลามหรือ Islamophobia ซึ่ง ผศ.สุชาติ เศรษฐมาลินี หัวหน้าสาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพ ให้ข้อมูลว่า Islamophobia เป็นแนวคิดที่มีพัฒนาการตั้งแต่ ปลายทศวรรษ 1990 และต้น 2000 โดยนักการเมือง องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิจารณ์เกี่ยวกับประเด็ นสาธารณะ และองค์การระหว่างประเทศ แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีคำนิยามที ่ชัดเจนและลงตัวในหมู่นักวิ ชาการว่าหมายถึงอะไร แต่ก็พอจะเห็นนัยสำคัญๆ ของแนวคิดอิสลามโมโฟเบียว่า เป็นภาวะความสะพรึงกลัวต่อมุสลิ มและศาสนาอิสลาม จนตัดสินโดยลอยๆ อย่างเหมารวมว่าอิสลามมีฐานะเป็ น ‘ศัตรู’ ‘เป็นคนอื่น’ ‘เป็นตัวอันตราย’ ต่อโลกตะวันตก ดังนั้น อิสลามโมโฟเบีย จึงเป็นอาการปฏิเสธต่อศาสนาอิ สลาม กลุ่มคนมุสลิม หรือมุสลิมที่เป็นปัจเจกชน โดยพื้นฐานของอคติและการเหมารวม
“ผมมองว่ามูลเหตุความกลัวอิ สลามมาจากทั้งปัจจัยภายนอกและปั จจัยภายใน ที่ว่าปัจจัยภายนอกคือ เราได้เห็นงานที่มีพลังทางวิ ชาการอย่างของ Edward Said ที่ได้สืบสาวเรื่องราวให้เห็นว่ าโลกตะวันตกได้มี ความพยายามจงใจสร้างความเป็นอื่ นโดยผ่านชุดองค์ความรู้ที่เป็ นอุตสาหกรรมทางวิชาการ เพื่อเขียนภาพอิสลามให้เป็ นไปตามจินตนาการของโลกตะวันตก วัฒนธรรมอาหรับและอิสลามจึงถู กฉายภาพในลักษณะเป็นสิ่ งแปลกประหลาด ล้าหลัง ไร้อารยะธรรม และอันตราย”
นอกจากอคติในงานวิชาการแล้ว สิ่งเหล่านี้ยังถูกผลิตซ้ำในสื่ อแทบทุกแขนงในโลกตะวันตก ในรายงานการติดตามเกี่ยวกับอิ สลามโมโฟเบียในที่ต่างๆ ขององค์กรความร่วมมืออิสลามหรื อโอไอซี (OIC) แสดงให้เห็นชัดเจนว่ าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจวบจนปั จจุบัน สื่อในโลกตะวันตกมีความพยายามบิ ดเบือนเพื่อสร้างภาพลักษณ์ในเชิ งลบเกี่ยวกับอิสลามอย่างชัดเจน แม้ว่าในหลายประเทศเริ่มจะมี การใช้มาตรการทางกฎหมายจัดการกั บความบิดเบือนและการทำร้ายหรื อเลือกปฏิบัติต่อชาวมุสลิมแล้ วก็ตาม
“สำหรับปัจจัยภายใน ต้องยอมรับว่าในหมู่มุสลิมเอง ซึ่งมีคนบางกลุ่มที่นิยมการใช้ ความรุนแรงและสร้างความเสี ยหายอย่างมากมายแม้จะเป็นเพี ยงคนกลุ่มน้อยก็ตาม เมื่อปรากฏเป็นข่าวตามสื่ อกระแสหลักต่างๆ ย่อมสร้างความหวาดกลัวให้แก่ คนโดยทั่วไปที่ไม่มีความรู้ ความเข้าใจในอิสลาม และสำหรับในประเทศไทยตอกย้ำด้ วยสถานการณ์ความรุนแรงในสามจั งหวัดภาคใต้ที่มีมายาวนานจึ งทำให้ชาวไทยในที่อื่นๆ เกิดความหวาดกลัวต่อชาวมุสลิม”
ดังนั้น ในหมู่ชนที่ไม่ใช่มุสลิมจึงมี คำถามที่ค้างคาใจหรือมีภาพเกี่ ยวกับอิสลามหลายประการที่เป็ นไปในลักษณะการวาดภาพอิสลามอย่ างแข็งกระด้างมีความเป็นเนื้ อเดียวกันทั้งหมดในโลกอิสลาม ซึ่งในความเป็นจริงโลกอิสลามยั งคงมีความแตกต่างหลากหลายมากมาย มองว่าอิสลามมีคุณค่าที่แตกต่ างไปโดยสิ้นเชิงจนเข้ากันไม่ได้ กับศาสนาและวัฒนธรรมอื่นๆ คำสอนของศาสนาอิสลามสนับสนุ นการใช้ความรุนแรงในสังคม และมองศาสนาอิสลามเป็นอุดมการณ์ ความรุนแรงในปริมณฑลทางการเมือง
ขณะที่สังคมไทยยังคงมีอคติ และวนเวียนกับอาการหวาดกลัวอิ สลามผ่านการกล่อมเกลาและผลิตซ้ ำผ่านช่องทางต่างๆ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยก็กำลั งจะสร้างชนวนปัญหาขึ้นใหม่
“การระบุถ้อยคำแบบนี้ในรั ฐธรรมนูญจะมีผลต่อความขัดแย้ งอย่างแน่นอน เพราะเป็นข้อความที่มองศาสนาอย่ างคับแคบ โดยความขัดแย้งแรกที่จะเกิดขึ้ นก็คือในระหว่างชาวพุทธด้วยกั นเอง เพราะศาสนาพุทธในสังคมไทยก็ไม่ ได้มีแค่นิกายเถรวาท แล้วทำไมต้องระบุการสนับสนุ นของรัฐแก่พุ ทธศาสนาแบบเถรวาทเท่านั้น และยิ่งถ้อยคำที่ว่า ต้องมีมาตรการและกลไกในการป้ องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุ ทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใดนั้น แสดงถึงเป็นการให้ใบอนุ ญาตในการใช้อำนาจอย่างไร้ ขอบเขตจนเกินไปที่จัดการพุ ทธศาสนาแบบไม่ใช่เถรวาท รวมถึงศาสนาอื่นๆ ด้วยหรือไม่ ย่อมสามารถตีความเป็นอย่างนั้ นได้ใช่หรือไม่ อะไรคือ คำนิยามความหมายของการบ่อนทำลาย มีขอบเขตแค่ไหน
“ผมคิดว่าสิ่งที่น่ากังวลใจที่ สุดสำหรับถ้อยคำแบบนี้คือ มันอาจถูกนำไปใช้ในการทำลายผู้ มีความคิดหรือวิถีความเชื่อ ความศรัทธา และการปฏิบัติที่ต่างไปจากพุ ทธกระแสหลักหรือพุทธเถรวาท ซึ่งไม่น่าจะเป็นผลดีต่อการอยู่ ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคม
“ผมอยากพูดรวมๆ โดยยกตัวอย่างจากประสบการณ์ ตรงในภาคเหนือที่ผมเติบโตมา ได้เห็นถึงพัฒนาการความสัมพันธ์ ระหว่างชาวพุทธและมุสลิมที่เปลี ่ยนไปจนน่าตกใจ ในอดีตเมื่อหลายสิบที่ผ่านมานั้ น ชาวมุสลิมค่อนข้างได้รับการต้ อนรับอย่างดีจากพี่น้องชาวพุ ทธในภาคเหนือ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้เกิดกระแสการต่อต้านการสร้ างมัสยิดไม่ว่าจะเป็นที่เชี ยงราย น่าน รวมทั้งเชียงใหม่ โดยมีการใช้ข้อมูลทั้งที่ ขาดความเข้าใจและข้อมูลที่บิ ดเบือนเพื่อจงใจสร้างความเกลี ยดชังในหมู่มุสลิม ดังนั้น จากพัฒนาการดังกล่าว หากสังคมทุกฝ่ายต่างนิ่ งเฉยและปล่อยให้เป็นไปเช่นนี้ โดยไม่ช่วยกันหาทางสร้างความเข้ าใจที่ดีระหว่างกันแล้ว ผมประเมินว่าในอีกไม่นาน อาจในช่วง 20-30 ปี ข้างหน้าหรืออาจจะเร็วกว่านั้ นย่อมมีแนวโน้มที่จะเกิดความขั ดแย้งระหว่างชาวพุทธและมุสลิมที ่รุนแรงดังเช่นที่เกิดขึ้ นในประเทศพม่าได้”
“ผมมองว่ามูลเหตุความกลัวอิ
นอกจากอคติในงานวิชาการแล้ว สิ่งเหล่านี้ยังถูกผลิตซ้ำในสื่
“สำหรับปัจจัยภายใน ต้องยอมรับว่าในหมู่มุสลิมเอง ซึ่งมีคนบางกลุ่มที่นิยมการใช้
ดังนั้น ในหมู่ชนที่ไม่ใช่มุสลิมจึงมี
ขณะที่สังคมไทยยังคงมีอคติ
“การระบุถ้อยคำแบบนี้ในรั
“ผมคิดว่าสิ่งที่น่ากังวลใจที่
“ผมอยากพูดรวมๆ โดยยกตัวอย่างจากประสบการณ์
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น