เครือข่ายนักวิชาการฯเตือนคสช. ทำประชามติแต่กั้นเสรีภาพ แม้ร่างรธน.ผ่านก็ไม่ชอบธรรม
Posted: 26 Apr 2016 09:58 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิ พลเมืองออกแถลงการณ์ยืนยันเสรี ภาพในการเผยแพร่เนื้อหาวิจารณ์ ร่างรัฐธรรมนูญว่า เป็นสิทธิที่กระทำได้ เตือนคสช. ทำประชามติแต่ปิดกั้ นคุกคามเสรีภาพ บังคับให้ ปชช.ได้รับข้อมูลด้านเดียว แม้ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่ านประชามติ แต่ไม่มีความชอบธรรม
ภาพ เมื่อวันที่ 25 เม.ย. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้ายึ ดเอกสาร 7 เหตุผลไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ของกลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ NDM และเตรียมเชิญตัว เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิฯ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งกำลังถือเอกสารดังกล่าวอยู่ ไปยัง สน.ปทุมวัน โดยแจ้งว่า ต้องการพูดคุยด้วย แต่เมื่อผู้สื่อข่าว และผู้ร่วมงาน เข้าไปดูเหตุการณ์ เจ้าหน้าที่ได้เปลี่ ยนใจจากการขอเชิญตัว เป็นขอนามบัตรแทน เพื่อที่จะติดต่อเพื่อเรียกไปคุ ยวันอื่น
26 เม.ย. 2559 เครือข่ายนักวิชาการเพื่ อสิทธิพลเมือง ได้ออกแถลงการณ์ยืนยันเสรี ภาพในการเผยแพร่เนื้อหาวิจารณ์ ร่างรัฐธรรมนูญว่า เป็นสิทธิที่กระทำได้ โดยระบุว่า 25 เม.ย. ที่ผ่านมา ได้มีเสวนาทางวิชาการว่าด้วยเนื ้อหาร่างรัฐธรรมนูญและได้มี การเผยแพร่เอกสารวิจารณ์ร่างรั ฐธรรมนูญใน 7 ประเด็น แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับเข้ายึ ดเอกสารและพยายามเชิญตัวนักวิ ชาการไปสถานีตำรวจ ต่อมา พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กล่าวว่า เอกสารดังกล่าวเข้าข่ายเป็นการ “ก่อความวุ่นวาย” ตามมาตรา 61 ของพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสี ยงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ และมีเนื้อหาผิดไปจากข้อเท็จจริ งที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ อีกทั้งยังชี้นำให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ดำเนินการเอาผิด และที่น่ากังวลยิ่งกว่าคือ คสช.และกกต.แสดงท่าทีชัดเจนว่า หลังจากนี้ จะดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ใดก็ ตามที่แสดงความคิดเห็นวิจารณ์ร่ างรัฐธรรมนูญ
เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิ พลเมือง ขอยืนยันในจุดยืนดังต่อไปนี้
1. การเผยแพร่เอกสารวิจารณ์เนื้ อหาร่างรัฐธรรมนูญในงานเสวนาดั งกล่าว และการวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนู ญในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะมีต่อไปอีกนั้น เป็นหนึ่งในสิทธิและเสรีภาพขั้ นพื้นฐานของประชาชนที่พึ งแสดงความคิดเห็นต่อร่างรั ฐธรรมนูญ ทั้งนี้ การแสดงความคิดเห็ นสามารถกระทำได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ อาทิ การพูด เขียน อภิปราย เผยแพร่เอกสาร งานศิลปะ ฯลฯ ตราบเท่าที่วิธีการเหล่านี้เป็ นไปอย่างสันติและไม่ละเมิดสิทธิ ของผู้อื่น
2. หาก คสช. เห็นว่า การวิจารณ์เหล่านั้นมีเนื้อหาที ่ผิดไปจากข้อเท็จจริง คสช. ก็ควรจะชี้แจงเหตุผลที่ตนเชื่ อว่าถูกต้อง หรือจัดเวทีให้ทั้งสองฝ่ายอภิ ปรายกันเพื่อเป็นประโยชน์ต่ อสาธารณชน แต่ไม่ควรใช้กฎหมายที่ไม่ ชอบธรรม เช่น พรบ.ประชามติ มาเป็นเครื่องมือคุกคามและปิดกั ้นการแสดงความคิดเห็นของประชาชน
3. ที่ผ่านมา เครือข่ายนักวิชาการฯได้เคยเรี ยกร้องไปแล้วว่า กระบวนการทำประชามติต้องเปิดกว้ าง และไม่ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็ นจากประชาชนทุกฝ่าย คสช.และกกต.ไม่ควรอ้างพรบ. ประชามติให้หน่วยงานรัฐและเจ้ าหน้าที่รัฐสามารถประชาสัมพันธ์ สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญได้อย่ างเต็มที่ แต่กลับใช้อำนาจปิดกั้น ข่มขู่ ดำเนินคดีกับผู้ที่แสดงความเห็ นวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ
4. เครือข่ายนักวิชาการฯ ใคร่ขอเตือนคสช. ว่า การทำประชามติภายใต้สภาพแวดล้ อมที่ปิดกั้นคุกคามเสรีภาพ และบังคับให้ประชาชนได้รับข้อมู ลแต่เพียงด้านเดียวนั้น ถึงแม้ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่ านประชามติในที่สุด แต่คสช.ก็ไม่อาจที่จะอ้ างความชอบธรรมใด ๆ ให้แก่ผลประชามติและร่างรั ฐธรรมนูญนี้ได้เนื่องจากเป็ นกระบวนการประชามติที่มีลั กษณะด้านเดียว ปิดกั้นความรับรู้ของประชาชน และจึงขาดความชอบธรรม
เครือข่ายนักวิชาการฯ ขอสนับสนุนการแสดงความคิดเห็ นของประชาชนทุกกลุ่มต่อร่างรั ฐธรรมนูญ และเรียกร้องให้ คสช.และ กกต.ยุติการคุกคามการแสดงความคิ ดเห็นของประชาชน
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น