นักวิเคราะห์ชี้อำนาจนิยมบูชาตั วบุคคลของ 'สีจิ้นผิง' เสี่ยงทำผู้นำจีนแพ้ภัยตัวเอง
Posted: 25 Apr 2016 10:41 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
บท บ.ก.อีสต์เอเชียฟอรัม เขียนถึงประเด็นการใช้ อำนาจของรัฐบาลกลางจีนที่ส่งอิ ทธิพลทั้งในด้านนโยบายความสัมพั นธ์ระหว่างประเทศและเศรษฐกิจโลก แต่ก็วิเคราะห์ว่าอำนาจนิ ยมในแบบของผู้นำอย่างสีจิ้นผิ งที่สร้างความเกลียดชังไปทั่วก็ อาจทำให้เขาแพ้ภัยตัวเอง
ภาพจาก Foreign and Commonwealth Office (CC BY 2.0)
25 เม.ย. 2559 บทบรรณาธิการของอีสต์เอเชียฟอรั มระบุว่า ทุกวันนี้ไม่ว่าจะในตลาดการค้ าหรือในแง่นโยบายการเมืองทั่ วโลกต่างก็ได้รั บผลกระทบจากการตัดสินใจของผู้ นำจีน มีการติดต่อสื่อสารกับคนในจีนทั ้งในแง่คู่ค้าทางธุรกิจ ผู้ร่วมวิชาชีพ เพื่อนหรือครอบครัวเป็ นจำนวนมากที่สุดเป็นประวัติ การณ์ เมื่อประชาชนจีนติดต่อสื่อสารกั บคนที่อื่นของโลกได้มากขึ้นแล้ วเรื่องมุมมองของประชาชนต่อรั ฐบาลจีนก็กลายเป็นเรื่องอ่ อนไหวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารระดับปั จจุบันนี้แม้แต่ฝ่ายความมั่ นคงของรัฐบาลจีนเองก็ คงทำใจลำบากถ้าจะปิดกั้นการสื่ อสารกันต่อไปถ้าหากพวกเขาต้ องการความมั่งคั่งทางเศรษฐกิ จโลก
มีการพยายามวิเคราะห์ประเทศจี นไปในทำนองว่าจีนจะต้องเผชิญกั บความท้าทายใหม่และต้องรับมือกั บอิทธิพลทางการเมืองภายนอกหลั งจากที่จีนมีแผนปฏิรูปเศรษฐกิ จที่จะเปิดประตูจีนสู่คนทั้งโลก โดยที่อีสต์เอเชียยกตัวอย่ างบทความในเว็บไซต์ตัวเองที่เขี ยนโดย คาร์ล มินซ์เนอร์ ศาตราจารย์ด้านกฎหมายจากวิทยาลั ยกฎหมายฟอร์ดแอม ที่อีสต์เอเชียฟอรัมระบุว่าเป็ นผู้ศึกษาด้านการบริ หารประเทศของจีน
ในบทความของมินซ์เนอร์ระบุว่าจี นกำลังอยู่ใน "ยุคที่มืดมนกว่าเดิม" ทั้งจากการที่มีการปราบปรามกลุ่ มนักกฎหมาย นักข่าว และนักกิจกรรมมากขึ้น ในขณะเดียวกันการปกครองแบบเผด็ จการอำนาจนิยมของจีนก็เริ่มผุพั งลงเรื่อยๆ จากปัญหาที่มาจากอำนาจนิ ยมของพวกเขาเอง
โดยนับตั้งแต่ประธานาธิบดีสีจิ้ นผิงขึ้นสู่อำนาจ เขาก็ใช้อำนาจหนักมือขึ้ นและพยายามรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ ตัวเอง โดยเคยมีคนวิเคราะห์ว่าเพื่อเป็ นการกลบจุดอ่อนของผู้นำคนก่อนคื อหูจิ่นเทา โดยสีจิ้นผิงยังได้พยายามสร้ างสถาบันการเมืองใหม่เพื่ อปกครองจีนซึ่งเป็นการลิ ดรอนเสรีภาพอย่างมากและเป็ นการเน้นเพิ่มอำนาจให้รัฐ แต่มินซ์เนอร์มองต่างออกไปว่าลั กษณะการใช้อำนาจของรัฐบาลจีนยุ คปัจจุบันกำลังดำเนิ นไปในแนวทางออกห่างจากสถาบั นการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จี น มีการเน้นสร้างลัทธิบูชาตัวบุ คคล (cult of personality) ห้อมล้อมสีจิ้นผิงและหันกลั บไปสู่แนวทางเชื้อชาตินิยม จักรวรรดินิยม ที่ผสมกับแนวคิดของขงจื้อ รวมถึงมีการฟื้นวิธีการ "ปกครองด้วยความหวาดกลัว" ในยุคเหมาเจ๋อตุงมาใช้
มินซ์เนอร์มองว่าการที่สีจิ้นผิ งรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ตั วเองคนเดียวอาจจะทำให้เขาได้ เปรียบในแง่การจัดการกับประเด็ นใหญ่ๆ แต่ก็สร้างความเสี่ยงให้เขาต้ องรับผิดชอบเป็นการส่วนตั วเวลาที่เกิดข้อผิดพลาด อีกทั้งบทความยังมีการอ้างแมกซ์ เวเบอร์ นักเศรษฐศาสตร์การเมืองและสั งคมวิทยาชาวเยอรมันที่ว่าการใช้ ความหวาดกลัว ประเพณี และบารมีส่วนบุคคล ไม่นับเป็นการปกครองด้วยสถาบั นทางการเมืองหรือระบบราชการ และอาจจะถือเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ าม
มินซ์เนอร์ระบุว่าการเมืองของสี จิ้นผิงทำลายความพยายามสร้ างระบอบการปกครองด้วยสถาบั นทางการเมือง และอาจจะทำให้ระบบ "กลืนกินตัวเอง" ได้
ในแง่ของการที่สีจิ้นผิ งพยายามสร้างลัทธิการเมืองแบบบู ชาตัวบุคคลโดยมีจุดศูนย์กลางอยู ่ที่ตัวเขาเองก็เคยมีการวิ เคราะห์ไว้ในนิตยสารดิอิโคโนมิ สต์เมื่อช่วงต้นเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ในบทความระบุว่าถึงแม้สีจิ้นผิ งที่อ้างว่าตัวเอง "ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน" พยายามเข้ามาเพื่อกำจัด ปราบปราม การทุจริตคอร์รัปชันในพรรค แต่กลับปล่อยปละละเลยให้เกิดปั ญหาอื่น เช่น ปัญหาอื้อฉาวเกี่ยวกั บการสาธารณสุขเรื่องวัคซีนที่ ไม่ปลอดภัย ทำให้การปราบปรามของสีจิ้นผิ งไม่ได้ทำให้วิถีชีวิ ตของประชาชนทั่วไปดีขึ้น เพราะคุณภาพชีวิตของพวกเขาถู กทำลายจากการทุจริตคอร์รัปชั นในอีกแบบหนึ่ง
ทั้งนี้บทความในดิอิโคโนมิสต์ยั งระบุอีกว่ากลุ่มชนชั้นนำในจี นเองก็เริ่มแสดงความไม่พอใจสีจิ ้นผิงมากขึ้น สื่อของรัฐตำหนิผู้นำอย่างเปิ ดเผยในเรื่องการจำกั ดการรายงานข่าว นักธุรกิจชื่อดังเขียนโจมตี เขาในไมโครบล็อก และบรรณาธิการอาวุ โสลาออกจากตำแหน่งด้วยความรั งเกียจ อีกทั้งการควบรวมอำนาจในภาคส่ วนต่างๆ ทั้งการเป็นหัวหน้าพรรค การเป็นประมุขรัฐ และการเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุ ดไว้ที่ตัวเขาคนเดียวก็เป็ นการบ่อนเซาะการนำแบบ "เป็นหมู่คณะ" ของพรรคลง
บทความในดิอิโคโนมิสต์ยังระบุถึ งการที่สีจิ้นผิงสร้างลัทธิบู ชาตัวเองแบบที่ถูกเปรียบเทียบกั บเหมาเจ๋อตุงว่า ถึงแม้ว่าลัทธิบูชาตัวบุ คคลของสีจิ้นผิงอาจจะไม่ถึงขั้ นทำให้เกิดความรุนแรงและความบ้ าคลั่งแบบเหมาเจ๋อตุงในยุคปฏิวั ติวัฒนธรรม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ าการพยายามยึดกุมอำนาจไว้ที่ตั วเองของสีจิ้นผิงจะไม่ก่ อความเสียหายเลย ความเสียหายที่ว่ามาจากการลิ ดรอนเสรีภาพและการปราบปรามผู้ คนอย่างหนักในระดับเดียวกับช่ วงเหตุการณ์เทียนอันเหมินปี 2532 แต่ประชาชนก็เริ่มต่อต้าน ไม่ว่าจะมีการปิดกั้นอินเทอร์ เน็ตเข้มงวดแค่ไหนก็ตามก็ยั งคงมีเสียงต่อต้านออกมาเรื่อยๆ
ดิอิโคโนมิสต์ระบุว่า ไม่ว่าจะปราบปรามมากแค่ไหนก็ ตามแต่สีจิ้นผิงก็ไม่ได้ทำให้ตั วเองมั่นคงปลอดภัยขึ้นหรือทำให้ จีนมีเสถียรภาพมากขึ้นเลย การใช้พนักงานสอบสวนที่เหมือนอั นธพาลจัดการเรื่องปราบปรามสิ นบนก็เป็นสิ่งที่พวกเขาทำไปเพื่ อสร้างคะแนนทางการเมืองมากกว่ าเพื่อเป็นการพิทักษ์กฎหมายอย่ างเท่าเทียมกัน และยังกลายเป็นการขัดขวางการบริ หารประเทศเพราะเจ้าหน้าที่รั ฐไม่กล้าใช้เงินเนื่องจากกลัวว่ าจะถูกหาเรื่องสอบสวน นอกจากนี้ความพยายาม "ปฏิรูป" แบบที่สีจิ้นผิงเคยสัญญาไว้ก็ดู ไม่มีความหวังว่าจะเกิดเป็นรู ปเป็นร่างใดๆ
"ยิ่งสีจิ้นผิงพยายามต่อกรกับศั ตรูด้วยวิธีการขู่ให้กลัวและใช้ กำลังมากเท่าใด เขาก็ยิ่งจะสร้างศัตรูมากขึ้ นเท่านั้น" ดิอิโคโนมิสต์ระบุในบทความ
เรียบเรียงจาก
Is China’s authoritarianism decaying into personalised rule?, Carl Minzner, East Asia Forum, 24-04-2016
http://www.eastasiaforum.org/ 2016/04/24/is-chinas- authoritarianism-decaying- into-personalised-rule/
http://www.eastasiaforum.org/
The limits to Chinese political power, East Asia Forum, 25-04-2016
http://www.eastasiaforum.org/ 2016/04/25/the-limits-to- chinese-political-power/
http://www.eastasiaforum.org/
Beware the cult of Xi, The Economist, 02-04-2016
http://www.economist.com/news/ leaders/21695881-xi-jinping- stronger-his-predecessors-his- power-damaging-country-beware- cult
http://www.economist.com/news/
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น