นิธิ เอียวศรีวงศ์: ปัญหาของยักษ์นอกตะเกียง
Posted: 26 Apr 2016 03:18 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
อาจารย์เกษียร เตชะพีระ นำเอาบทความในหนังสือพิมพ์ฝรั่ งฉบับหนึ่งมาแชร์ในเฟซบุ๊กของท่ าน อ่านแล้วน่าตกใจพอสมควร
บทความนั้นพูดถึงผู้สมัครรับเลื อกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐที่ น่าจะเป็นตัวแทนของสองพรรคใหญ่ ว่า เป็นผู้สมัครที่มีคนเกลียดมากที ่สุด (คือเกินครึ่ งของผลสำรวจของสถานีโทรทัศน์ซี บีเอส) แปลว่าคนที่จะได้รับเลือกเป็ นประธานาธิบดีในปลายปีนี้ คือคนที่ชาวอเมริกันเกลียดน้ อยกว่า ระหว่างคนน่าเกลียดสองคน
นี่เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิ ดขึ้นมาก่อน แม้แต่ประธานาธิบดีที่ คนหมดความนิยม เช่นประธานาธิบดีคลินตั นในการลงสมัครแข่งขันสมัยที่สอง ก็ไม่ได้มีคะแนนเกลียดสูงเท่านี ้
ผู้เขียนบทความ (Andrew O’Hehir) ชี้ว่า ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นจากความล่ มสลายของระบบพรรคการเมื องและระบบเลือกตั้งของสหรัฐ เช่นในการลงคะแนนเสียงเลือกตั วแทนพรรค ความเห็นของผู้มีสิทธิออกเสี ยงเลือกตั้งมีน้ำหนักน้อยกว่ าความเห็นของขาใหญ่ในพรรค ดังนั้นผู้ที่ได้รับเลือกเป็นตั วแทนพรรค คือคนที่สามารถไปกันได้กั บขาใหญ่ของพรรค มากกว่าคนที่พูดถึงปัญหาที่ ประชาชนคิดว่าเป็นเรื่องใหญ่ ในชีวิตของตน หรืออีกกรณีหนึ่งผู้เขี ยนบทความกล่าวว่า แท้จริงแล้วส่วนใหญ่ของคนอเมริ กันที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ไม่ได้ลงทะเบียนกับพรรคการเมื องใดทั้งสิ้น แต่เป็นผู้เลือกตั้ง “อิสระ” (ประมาณ 40 กว่าเปอร์เซ็นต์) นี่คือคะแนนตัดสินที่แท้จริง แต่เขาไม่ได้เลือกผู้สมั ครของพรรคใด ได้แต่เลือกเอาผู้สมั ครคนใดคนหนึ่งในสองคนที่พรรคส่ งเข้ามาเท่านั้น (หากพรรคส่งคนที่เขาเกลียดมาทั้ งคู่ เขาก็ไม่ไปเลือกตั้งเท่านั้นเอง จบ)
และนี่คือเหตุผลที่ ขาใหญ่ของพรรคการเมืองต้องเลื อกสนับสนุนคนที่เสียงอิ สระพอจะรับได้ คนจืดๆ ย่อมปลอดภัยกว่าคนเข้มๆ เพราะแม้ว่าคนเข้มๆ อาจสร้างคนรักได้ แต่ก็ไม่มากไปกว่าสร้างศัตรูที่ ต่อต้านคัดค้านนโยบายเข้มๆ อย่างเอาเป็นเอาตาย จึงต้องออกไปลงคะแนนให้แก่คู่ แข่งของคนเข้มๆ แต่คนจืดๆ ถึงไม่มีติ่งเลย ก็ยังดี เพราะความไม่ศรัทธาไม่เป็ นแรงกระตุ้นให้ลุกขึ้นไปโหวตให้ ใครทั้งสิ้น ไม่ได้คะแนนเลย ยังดีกว่าเอาคะแนนไปให้คู่แข่ง
การเลือกตั้งจึงเป็นเพี ยงการลงคะแนนให้แก่คนที่เราเกลี ยดน้อยหน่อยเท่านั้น ไม่มีความหมายทางการเมืองซึ่ งจะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงที่ เราเห็นว่าเป็นธรรม และเป็นคุณประโยชน์แก่ส่ วนรวมอย่างใดทั้งสิ้น
(ในประเทศคอมมิวนิสต์ อาจมีผู้สมัครหลายคนแข่งขันกั นให้ประชาชนเลือก แต่ไม่ว่าจะลงคะแนนให้ใคร ก็ล้วนเป็นผู้สมัครของพรรคทั้ งสิ้น … มันต่างอย่างไรกับการเลือกตั้ง “เสรี” ในสหรัฐ)
ผมอยากจะย้ำไว้ก่อนว่า ทั้งนี้มิได้หมายความว่าการเมื องอเมริกัน ไม่สามารถปรับเปลี่ยนอะไรได้เลย ก็พอปรับเปลี่ยนได้อยู่ เช่นนโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้ าซึ่งประธานาธิบดีเดโมแครตผลั กดันต่อเนื่องกันมา แม้ยังไม่สำเร็จตามเป้าหมาย แต่โอกาสที่นโยบายสาธารณะนี้ จะถูกขับเคลื่อนจนเป็นผลมากขึ้ นในภายหน้า ก็พอจะมองเห็นได้ อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนที่เกิดจากการเมื องทำได้ในกรอบแคบๆ อันหนึ่งเท่านั้น มากกว่านี้เกิดขึ้นได้ยาก
มากกว่านี้คืออะไร
นับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา เศรษฐกิจอเมริกันสร้างความเหลื่ อมล้ำทางเศรษฐกิจขึ้นทั้งอย่ างรวดเร็ว และอย่างมาก คน 10% ระดับบนครอบครองทรัพย์สิ นและทำรายได้ต่อปีมากกว่าคน 10% ระดับล่างเป็นจำนวนหลายเท่าตั วเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิ จอาจไม่ใช่สาเหตุทั้ งหมดของความเหลื่อมล้ำด้านอื่นๆ แต่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิ จเป็นเหตุให้เกิดความเหลื่อมล้ ำอีกหลายด้าน รวมทั้งช่วยเร่งเร้าให้ความเหลื ่อมล้ำด้านอื่นดำรงอยู่ หรือยิ่งเลวร้ายลง
Thomas Piketty (Capital in the Twenty-First Century) ยกตัวอย่างการเพิ่มขึ้นของค่ าตอบแทนของนักบริหารว่าเพิ่มขึ้ นทั้งเร็วและมาก ในขณะที่ค่าแรงของแรงงานไม่ได้ เพิ่มขึ้นในสัดส่วนเดียวกัน โดยที่นักบริหารไม่ต้องพิสูจน์ ผลิตภาพของตนเองด้วย เพราะถึงอย่างไร การวัดผลิตภาพของผู้บริหารในหน่ วยงานเอกชนหนึ่งๆ ก็ทำได้ยากหรือทำแทบไม่ได้อยู่ แล้ว (ในขณะที่วัดผลิ ตภาพของแรงงานได้ง่ายกว่า)
นี่คือเหตุผลที่ผู้สมัครอย่ างเบอร์นี่ แซนเดอร์ส์ได้รับคะแนนเสียงท่ วมท้นกว่าที่ใครคาดคิดมาก่อน เพราะเขาพูดถึงปัญหาระดั บรากฐานของสังคม ที่คนทั่วไปรู้สึ กมานานโดยพรรคการเมืองไม่เคยพู ดถึง (หรืออย่างน้อยก็ไม่กล้าพูดถึ งตรงๆ)
คู่แข่งของแซนเดอร์ส์จำเป็นต้ องพูดถึงความเหลื่อมล้ำบ้าง ฮิลลารี คลินตัน โจมตีคู่แข่งของเธอว่าแซนเดอร์ ส์ได้แต่พูดถึงปัญหา ไม่เคยพูดถึงทางออกว่าจะต้องแก้ อย่างไร (เช่นเธอสัญญาเหมือนกันว่ าเธอจะสนับสนุนการเพิ่มค่ าแรงเป็น 15 เหรียญต่อชั่วโมง)
แต่ผมอยากเตือนด้วยว่า เมื่อเราเสนอทางออกโดยไม่พูดถึ งต้นตอของปัญหาให้ชัด บางทีทางออกของเราก็เป็นเพี ยงอะไรที่มาเคลือบปัญหาที่แท้ จริงเท่านั้น (เช่น 30 บาท, กองทุนหมู่บ้าน, ค่าแรง 300 บาท, หรือแม้แต่รถคันแรก ฯลฯ ก็ดีทั้งนั้นแหละครับ แต่มาตรการทั้งหมดเหล่านี้ ทำให้เราไม่ต้องถามไปถึงต้ นตอของความเหลื่อมล้ำ ช่วยเบื อนสายตาเราจากอำนาจและอภิสิทธิ์ ของอภิชน)
ผมกลับไปอ่าน Piketty ใหม่ว่า เขาพูดถึงต้นตอของความเหลื่อมล้ ำในเศรษฐกิจสหรัฐอะไรไว้บ้าง เขาพูดไว้หลายอย่างมาก นับตั้งแต่ระบบการจ้างงาน, เงินเฟ้อส่งผลกระทบต่อกลุ่มคนต่ างๆ อย่างไร, ทุนและทรัพย์สินต่ างประเทศในสหรัฐ, ระบบภาษี, ภาษีทรัพย์สิน, การสืบมรดก, ระบบอุดมศึกษา, ไปจนถึงคติคุณาธิปไตยล้นเกิน (meritocracy – ซึ่งมักจะแปลว่าระบบคุณธรรม แต่ไม่เกี่ยวอะไรกับคุณธรรมทั้ งสิ้น) ฯลฯ
แต่ละเรื่องมีข้อมูลเชิงประจั กษ์มาพิสูจน์จำนวนมาก แต่ที่สำคัญคือลงลึกไปถึงระดั บแนวคิดที่ครอบงำอยู่เบื้องหลั งการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม ผมขอยกตัวอย่างเพียงเรื่องเดี ยวคือระบบคุณาธิปไตยล้นเกิน
นับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 และต้นศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา รัฐตะวันตกให้ค่าตอบแทนแก่ ความรู้ความสามารถของบุคคลมากขึ ้น โดยเฉพาะที่ทำงานสาธารณะ เช่นเป็นข้าราชการระดับสูงหรื อผู้บริหาร และนักการเมือง โดยอ้างว่าเพื่อให้ดำรงชีวิตอย่ างทัดเทียมได้กับชนชั้นสูงเดิม (ซึ่งเคยทำงานเช่นนี้มาก่อน) ดังนั้นระบบคุณาธิปไตยจึงเข้ ามาแข่งขันกับระบบสืบทอดมรดก และยิ่งนับวันก็ยิ่งเน้นระบบคุ ณาธิปไตยจนล้นเกิน ไม่ใช่เพียงแค่คุณาธิปไตยเป็นรู ปแบบความสัมพันธ์ทางสังคมเท่านั ้น แต่มันซึมลึกลงไปในวิธีคิดและวิ ธีรู้สึกของคนชั้นกลางระดับบนด้ วย
Piketty อ้างงานวิจัยของนักวิจัยสตรีท่ านหนึ่งในทศวรรษ 1980 ที่สัมภาษณ์ลงลึกคนชั้นกลาง ทั้งระดับบนและระดับล่ างในเขตเมืองของฝรั่งเศสและสหรั ฐ เธอพบว่าแม้ในเมืองที่ไม่ใหญ่ เท่านิวยอร์ก คนชั้นกลางที่มีการศึกษาทั้ งในฝรั่งเศสและสหรัฐ มองว่าตนเป็นกลุ่มคนที่แตกต่ างจากคนกลุ่มอื่นตรงความรู้ ความสามารถส่วนตน และ (น่าสนใจมากนะครับ) คุณธรรมความดีของตนเอง ด้วยเหตุดังนั้นจึงควรได้ค่ าตอบแทนที่สูงกว่าคนอื่นๆ หลายเท่าตัว
คติคุณาธิปไตยเช่นนี้ซึมลึ กลงไปในวิธีคิดของผู้คน แม้แต่ที่อยู่ในกลุ่มคนทางสั งคมกลุ่มอื่นด้วย และช่วยจรรโลงความเหลื่อมล้ำด้ านรายได้ที่เห็นได้ชัดจนน่าเกลี ยดนี้เอาไว้อย่างมั่นคง
ในสังคมไทยซึ่งไม่เคยผ่านการปฏิ วัติที่ลงถึงฐานรากของสังคม ระบบคุณาธิปไตยรวมตัวเข้ากั บระบบสืบทอดมรดก (และเพื่อให้เหมาะกับสังคมไทย ผมขอเรียกว่าระบบสุขุมาลชาติ) ได้สนิทแนบเนียน ทำให้ความเหลื่อมล้ำในสั งคมไทยมีลักษณะชนชั้นอย่างชั ดเจน คนชั้นกลางที่มีการศึกษาของไทย ซึ่งเป็นทั้งสุขุมาลชาติและมี “ความรู้ความสามารถเป็นคุณ” ย่อมรับไม่ได้กั บมาตรการลดความเหลื่อมล้ำทุกชนิ ด พวกเขาไม่มีทางจะเข้าใจได้ว่า เหตุใดคนที่ไม่เก่งและไม่ดีจึ งควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากรั ฐ เพื่อยืดคอขึ้นมาให้ใกล้เคียงกั บพวกเขา เพียงเพราะคนพวกนั้นมี จำนวนมากต่อมากเท่านั้นหรือ ถ้าเพียงเท่านั้นระบอบที่ให้น้ ำหนักแก่เสียงส่วนมาก จึงเป็นระบอบที่ปฏิเสธความเก่ งและความดี อันเป็นธรรมะขั้นพื้นฐานเลยที เดียว
ผมตกใจกับบทความที่อาจารย์เกษี ยรนำมาเผยแพร่ ไม่ได้ตกใจกับเนื้อหาของบทความ แต่ตกใจกับความรู้สึกของตนเอง เมื่อได้เห็นภาพคุณมีชัย ฤชุพันธุ์ และสมัครพรรคพวกที่นั่งหัวโต๊ะ กรธ. ยกร่างรัฐธรรมนูญของตนขึ้ นเสนอต่อสังคมไทย
ในโลกที่เราได้ความรู้ความเข้ าใจจากประสบการณ์ของมนุษย์ในสั งคมต่างๆ ได้อย่างลึกซึ้งขึ้นเช่นนี้ คนเหล่านี้มาจากโลกชนิดไหนกัน ไม่ใช่เพราะพวกเขาเป็นคนแก่ แต่จากสิ่งที่พวกเขาพูด, เขียน, และรัฐธรรมนูญที่เขาร่าง ล้วนส่อให้เห็นว่าโลกของเขาได้ ตายไปนานแล้ว อาจตายไปตั้งแต่พวกเขายังไม่เกิ ดด้วยซ้ำ
ไม่มีใครปฏิเสธว่าประชาธิปไตยนั ้นมีปัญหา เช่นเดียวกับไม่มีใครปฏิเสธว่ าทุนนิยมก็มีปัญหา ยิ่งสองอย่างนี้ถูกใช้เป็นเครื่ องมือของกันและกันในการปิดกั้ นการมีส่วนร่วมทางการเมื องของประชาชน ก็ยิ่งเป็นปัญหาที่น่ากลัวมากขึ ้น แต่ประชาธิปไตยไม่ใช่เป็ นระบอบที่เปิดให้เกิดการโกง เพราะการโกงมีในทุกระบอบปกครอง ประชาธิปไตยไม่ใช่เผด็จการของรั ฐสภา เพราะเสียงข้างมากในสภาอาจกลั บกลายเป็นเสียงข้างน้อยได้เสมอ อย่างน้อยก็ในทุกวาระที่มี การเลือกตั้ง (แท้จริงอาจเปลี่ยนก่อนหน้านั้ นก็ได้) ประชาธิปไตยไม่ใช่ ระบอบปกครองเดียวที่เรียกร้ องการสนับสนุนจากประชาชนโดยไม่ รับผิดชอบ (ซึ่งเรียกกันว่าประชานิยม) ตรงกันข้ามด้วยซ้ำ ประชาธิปไตยเท่านั้นที่ทำให้ คนกลุ่มต่างๆ สามารถตรวจสอบนโยบายรัฐได้ (มากเสียกว่าข้อเสนอของสถาบันวิ จัยเพื่อการพัฒนาเสียด้วยซ้ำ) จนทำให้นโยบายที่ไม่รับผิ ดชอบดำเนินไปได้ยาก
การหมาย (identify) ว่าอะไรคือปัญหาของประชาธิ ปไตยของ กรธ. ไม่เพียงแต่เป็นการหมายที่ล้ าสมัยเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการหมายของคนที่ไม่รู้จั กประชาธิปไตยเลย ซ้ำไม่เข้าใจหรือแสร้งไม่เข้ าใจว่า ปัญหาจริงๆ ของประชาธิปไตยที่โลกสมัยปัจจุ บันเผชิญอยู่คืออะไร เช่นจะทำอย่างไรให้ประชาชนควบคุ มพรรคการเมืองได้รัดกุมมากขึ้น ไม่ใช่ให้คนนอก (ไม่ว่าจะเป็นทหาร, วุฒิสภาจากการแต่งตั้ง, หรือสภาคนนอกทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นนายทุน, วิชาชีพ, แพทย์ หรือผู้อ้างตนเป็นสัตบุรุษต่ างๆ) เข้ามาควบคุมพรรคการเมื องแทนประชาชน เพราะแม้แต่พรรคการเมืองต้องถู กบังคับให้เปิดตัวเองแก่ การควบคุมของประชาชนอย่างสหรัฐ ในที่สุดประชาชนก็สูญเสี ยอำนาจควบคุมของตนไปแก่ขาใหญ่ ของพรรค ซึ่งสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนส่วนน้ อยที่ถือส่วนแบ่งของรายได้ ประชาชาติไปเป็นส่วนใหญ่
ปัญหาของประชาธิปไตยในโลกปัจจุ บันก็คือ ประชาธิปไตยกำลังถูกควบคุมด้ วยอำนาจที่ประชาชนควบคุ มตรวจสอบไม่ได้ จนแม้แต่การเลือกตั้งก็ไร้ ความหมายในชีวิตจริงของผู้คน ในขณะที่โจทย์ของนักร่างรั ฐธรรมนูญของไทยกลับเป็นตรงกันข้ าม นั่นคือจะให้ อำนาจนอกระบบนานาชนิด เข้ามาควบคุมประชาธิปไตยได้อย่ างไร
ในโลกนอกประเทศไทย ปัญหาของประชาธิปไตยคือจะจั ดการให้ยักษ์นอกตะเกียงทำตัวเป็ นประโยชน์แก่ประชาชนตามสัญญาได้ อย่างไร แต่ในประเทศไทย ปัญหาของประชาธิปไตยคือจะจับยั กษ์ยัดกลับไปอยู่ในตะเกียงได้ อย่างไร
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น