เกย์ กองทัพ กับความจริงที่อัปลักษณ์..... จริงหรือ?
Posted: 24 Apr 2016 06:33 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
หลังจากที่ผมได้อ่านบทความเรื่ อง เกย์ กองทัพ กับความจริงที่อัปลักษณ์ โดย ดร.ปวิน ชัชวาลย์พงศ์พันธ์ ในประชาไทเมื่อวันเสาร์ ผมมีความรู้สึกว่ าวาทกรรมทางเพศที่ถูกนำมาใช้ให้ เป็นเครื่องมือทางการเมื องโดยบทความนั้นสมควรที่จะมี การวิพากษ์กันในกลุ่มผู้สนใจด้ านการเมือง สังคม และ อัตตลักษณ์ทางเพศ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเหล่ านี้สามารถนำไปสู่ข้อวิพากษ์เรื ่องบทบาททางสังคมของกองทั พไทยในสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี
การเปิดประเด็นโดยการกล่าวถึ งการซ่อนนัยแห่งเพศไม่ว่าจะเป็น ในความเป็นใหญ่แห่งชาย การจับอวัยวะเพศหรือเปิดเผยในจุ ดซ่อนเร้นของชาย รวมไปถึง การใช้เรื่องข่าวลือด้านการเป็ นชายรักร่วมเพศของผู้นำในกองทั พตามที่ ดร.ปวิน กล่าวในบทความนั้น ไม่สามารถสร้างจุดโต้แย้งที่ บอกว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ ‘น่าอัปลักษณ์’ ในกองทัพไทย ผมคิดว่านักสังคมศาสตร์หรือผู้ ที่ศึกษาวิจัยสังคมทั้งในเชิงรั ฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หรือ ภูมิศาสตร์ ย่อมเข้าใจถึงความสำคัญของ “พื้นที่” อันมีนัยต่อเพศวิถีในแต่ละชุ มชนและสังคม (Low, 2006) ในแต่ละพื้นทีนั้น วัตถุ บุคคล ความคิดล้วนมีความเกี่ยวข้องกัน ที่สำคัญ หากเราเพิ่มตัวแปร “เวลา” และ “ความคิด” เข้าไป เราจะยิ่งเห็นมิติแห่งความสัมพั นธ์ระหว่างเพศสภาพกับพื้นที่ (Fenster, 2004) การตีขลุมในบทความของ ดร. ปวินที่ว่า การล้อเลียนผู้ชายที่มีอัตตลั กษณ์ไม่ตรงกับเพศในการเกณฑ์ทหาร หรือการใช้ประเด็นความคิดที่ว่ าเพราะการไม่ใช่ชายแท้จึงไม่ สมควรเป็นทหาร มาวิเคราะห์นั้น ผมมองว่าเป็นการมองแบบตื้นเขิ นเพียงด้านเดียว
ประเด็นแรก ในพื้นที่ที่มีความเป็นชายสูง (ทั้งในเชิงจำนวนปริ มาณของเพศชาย และ การมีวัฒนธรรมแบบชาย) เช่น กองทัพ วัดในแทบจะทุกศาสนา เหมืองแร่ เวทีมวย หรือ สนามฟุตบอลนั้น ย่อมมีวิถีในการปฏิบัติเพื่ อปกป้องวิถีแห่งชาย ดังนั้นความแตกต่างทั้งในเชิ งความคิดและการปฏิบัตที่มี ผลกระทบต่อวิถีที่เป็นมาแห่งชาย เช่น การมีผู้ชายกระตุ้งกระติ้งเข้ ามาเป็นส่วนหนึ่งในสถาบันนั้น หรือ การมีจำนวนของเพศหญิงเข้ามาป้ วนเปี้ยนในพื้นที่แห่งเพศชาย ย่อมส่งผลสะเทือนต่อเพศชายในพื้ นที่เช่นกองทัพ ผมคิดว่าสิ่งนี้เป็นปรากฏการณ์ ทางสังคมที่น่าจะเข้าใจได้ไม่ ยากนัก หากใจเราปราศจากโมหาคติหรื อโทสาคติ
โดยนัยนะ หากเราเปลี่ยนสมการนี้ด้วยคำว่ าหญิง แล้วนึกถึงพื้นที่ที่มีความเป็ นวิถีแห่งหญิงสูง เช่น เวทีนางงาม โรงเรียนฝึกพยาบาล หรือ ห้องครัว เราก็จะมองเห็นความสัมพันธ์ ระหว่างพื้นที่กับเพศเช่นเดี ยวกัน ซึ่งความเข้าใจทางสังคมศาสตร์ ทำให้เราเข้าใจได้ว่ามันไม่ใช่ ‘ความอัปลักษณ์’
โดยนัยนะ หากเราเปลี่ยนสมการนี้ด้วยคำว่
ประเด็นที่สอง การเข้ามามีบทบาททางการเมือง (หรือการยึดอำนาจโดยทหาร) นั้น ไม่มีความสัมพันธ์กับเรื่ องการเหยียดเพศหรือการตีขลุมโดย ดร.ปวินที่ว่า “ไม่มีใครแก้ไขปัญหาทางการเมื องไทยได้ นอกจากชายชาติทหารที่พร้ อมทำงานหนักเพื่อผลประโยชน์ ของชาติเท่านั้น” ก็เป็นการสร้างประเด็นที่ไม่เข้ มแข็งนัก ในการยึดอำนาจโดยกองทัพไม่ว่ าจะครั้งนี้หรือครั้งที่ผ่ านมาในอดีต เราจะได้ยินวาทกรรมทำเพื่อชาติ หรือ การสร้างความสงบสุข มากกว่าการกล่าวอ้างความเป้นชาย หรือ ความเข้มแข็ง ที่สำคัญการให้มีทหารหญิงมามีส่ วนร่วมมากขึ้นในการยึดอำนาจแต่ ละครั้ง นับว่า สถาบันที่มีพื้นที่ความเป็ นชายสูงยังเข้าใจความเปลี่ ยนไปของดลกในมิติทางเพศพอสมควร
ประการสุดท้าย การกล่าวถึงในเชิงเปรียบเที ยบระหว่างกองทัพสหรัฐอเมริ กาและไทย โดยมีนัยว่า มีการยอมรับของเกย์ในกองทั พพอเมริกามากกว่าไทย ผมมองว่าการยอมรับในบริบทของ gay civil rights อาจจะเป็นสิ่งที่ตรงประเด็ นมากกว่า ดร ปวินก็คงจะทราบถึงความขมขื่ นใจของทหารเกย์ในอเมริกากั บนโยบาย Don’t ask Don’t tell ที่ฝังรากลึกมาตั้งแต่รุ่ นนายคลินตันและเพิ่งจะเลิกไปไม่ นาน ในสังคมไทยเรานั้นความประนี ประนอมมีนัยสำคัญอย่างชั ดเจนหากเรานำแนวคิดทางสั งคมศาสตร์ของงานวิจัยใหญ่ๆเช่น GLOBE Study (Houe et al, 2004) มาศึกษา ดังนั้น ความประนีประนอมระหว่าง ชาย กับ รักร่วมเพศในกองทัพไทยในพื้นที่ ที่ชายเป็นใหญ่ เช่น กองทัพ วัด หรือ สำนักบวชต่างๆในเมืองไทยจึงเป็ นเรื่องที่เข้าใจได้เช่นกัน
เราควรเข้าใจว่าเพศสภาพเป็นสิ่ งที่สร้างขึ้นและหล่อหลอมด้วยปั จจัยทางสังคมอันหลากหลาย แน่นอนครับ พื้นที่ และ เวลา (หรือในนัยแบบไทยคือกาละ เทศะ) มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ต่อความเข้าใจในบริบทความสำคั ญและความเปลี่ยนแปลงของเพศสภาพ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่ างเพศสภาพในกองทัพที่น่าจะมี ผลต่อนัยทางการเมืองจึงเป็นสิ่ งที่นักวิชาการทางสังคมศาสตร์ หลากแขนงควรถกกันเพื่ อความงอกงามทางปัญญา
อ้างอิง
Fenster, T. (2004). The Global City and the Holy City: Narratives on Planning, Knowledge and Diversity. London: Prentice Hall.
House, R., Hanges, P., Javidan, M., Dorfman, P., and Gupta, V. (2004), Culture, Leadership, and Organizations: The GLOBE Study of 62 Societies. London: Sage Publishing.
Low, M. (2006). The social construction of space and gender, European Journal of Women’s Studies, Vol. 13, No. 2, pp. 119-133.
Fenster, T. (2004). The Global City and the Holy City: Narratives on Planning, Knowledge and Diversity. London: Prentice Hall.
House, R., Hanges, P., Javidan, M., Dorfman, P., and Gupta, V. (2004), Culture, Leadership, and Organizations: The GLOBE Study of 62 Societies. London: Sage Publishing.
Low, M. (2006). The social construction of space and gender, European Journal of Women’s Studies, Vol. 13, No. 2, pp. 119-133.
เกี่ยวกับผู้เขียน: รศ.ดร. ณัฐวุฒิ พิมพา เป็นอาจารย์และนักวิจัยด้ านการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ ณ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอาร์เอ็มไอที (Royal Melbourne Institute of Technology) ประเทศออสเตรเลีย โดยเน้นงานวิจัยเรื่องธุรกิ จระหว่ างประเทศและความเสมอภาคระหว่ างชายและหญิงในออสเตรเลี ยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น