ภาพจากแฟ้มภาพ
คุยกับ‘สุณัย ผาสุข’ นัยยะคำสั่งที่13 ปราบผู้มีอิทธิพล ทำไมต่างประเทศประสานเสียงค้าน-
Posted: 24 Apr 2016 10:48 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
ประชาไทคุยกับ สุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาประจำประเทศไทยของฮิ วแมนไรท์วอทช์ (Human Rights Watch) ถึงนัยยะของคำสั่งคสช.ที่ 13/2559 การป้องกั นและปราบปรามการกระทำความผิ ดบางประการที่เป็นภยันตรายต่ อความสงบเรียบร้อยหรือบ่ อนทำลายระบบเศรษฐกิจและสั งคมของประเทศ
ประชาไท: คำสั่งที่ 13 มีความสำคัญอย่างไร เหตุใดต่างชาติถึงออกมาวิพากษ์
สุณัย: หากเราดูปฏิกิริยาจากต่างประเทศ เราจะเห็นปรากฏการณ์ที่เราไม่ ได้พบเจอบ่อยนัก คือการที่ตัวแทนของรั ฐบาลประเทศในสหภาพยุโรปทั้งหมด กระทรวงต่างประเทศสหรัฐ รัฐบาลแคนนาดา OHCHR รวมถึงองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่ างประเทศ 6 องค์กร มีจุดยืนในเรื่องนี้ร่วมกันว่ าคำสั่งที่ 13/2559 เป็นคำสั่งที่ ขยายอำนาจของทหารเพิ่มเติ มออกไปจากคำสั่งที่ 3/2558 ที่ออกมาก่อนหน้านี้ ซึ่งทั้งสองคำสั่งออกมาด้ วยอำนาจของมาตรา 44
อันที่จริงคำสั่งที่ 3 ก็แย่มากพออยู่แล้ว แต่คำสั่งที่ 13 ได้ขยายอำนาจของทหารมากยิ่งขึ้ นไปอีก ทำให้เราไม่สามารถตรวจสอบการใช้ อำนาจของเจ้าหน้าที่ทหารได้ เลยในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิ มนุษยชน ทั้งทางอาญา แพ่ง และวินัย
เมื่อเราดูในรายละเอียดเราจะเห็ นว่าคำสั่งที่ 13 เป็นการขยายอำนาจของคำสั่งที่ 3 โดยให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารจั บกุม สอบสวน คุมขังบุคคลใดๆ ก็ได้ โดยที่ไม่มี มาตราการตรวจสอบจากฝ่ายตุ ลาการหรือนิติบัญญัติ คำสั่งที่ 3 ยังพูดถึงแค่ความผิดด้านความมั่ นคง การพกพาอาวุธ การหมิ่นสถาบันกษัตริย์ การขัดคำสั่ง คสช. ซึ่งก็มีการตีความอย่างกว้ างขวางอยู่แล้ว ที่ผ่านมาเราก็จะเห็นการอ้ างคำสั่งดังกล่าวในการจับกุมผู้ ที่เห็นต่างทางการเมืองอยู่บ่ อยครั้ง แต่พอมาเป็นคำสั่งที่ 13 มันขยายขอบเขตไปถึงความผิ ดทางอาญาแทบทุกประเภท ทำให้ตอนนี้สภาพของรั ฐไทยกลายเป็นรัฐทหารอย่างเข้มข้ นมากขึ้น กลไกและกระบวนการยุติ ธรรมแบบปกติทั้งตำรวจ และตุลาการถูกแทนที่ด้ วยกลไกของฝ่ายทหารมากขึ้นเรื่ อยๆ
เหตุใดต่างชาติจึงให้ความสำคั ญกับเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ
สุณัย: จริงๆ ปฏิกิริยาจากต่างชาติมีมาอย่ างต่อเนื่อง ตั้งแต่การยกเลิกกฎอัยการศึ กและแทนที่ด้วยคำสั่งที่ 3/2558 ซึ่งระบุว่าการขัดขวางการพั ฒนาของประเทศถือว่าเป็นสิ่งผิ ดกฎหมาย เมื่อออกคำสั่งที่ 13 มาจึงเทียบเท่ากับว่ าประเทศไทยกลับเข้าสู่กฎอั ยการศึกอีกครั้งหนึ่ง ปฏิกิริยาจากต่างประเทศที่เขามี ความกังวลอยู่แล้วจึงทวีความเข้ มข้นขึ้น ด้วยกลัวว่ามันจะนำไปสู่ การละเมิดสิทธิ์ที่กว้ างขวางมากยิ่งขึ้น โดยไม่มีการตรวจสอบ
อันที่จริงกฎอัยการศึกก็ไม่ได้ หายไปจากประเทศไทยเลย เพราะมันถูกแทนที่ด้วย คำสั่งที่ 3 ซึ่งเปรียบเหมือนเป็นราก ส่วนคำสั่งที่ 13 เป็นส่วนต่อขยายลงไปอีกทีหนึ่ง
ปรากฎการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่ ไม่เคยเกิดที่ไหนในประเทศเอเชี ยตะวันออกเฉียงใต้ สิ่งที่ต่างชาติกังวลคือในอาคต หัวหน้า คสช. จะออกคำสั่งอะไรเพิ่มเติมอีก เพราะดูเหมือนกับว่าเขาใช้ อำนาจอย่างไม่มีขีดจำกัด และขาดการตรวจสอบใดๆ
คิดอย่างไรกับข้ออ้างของ คสช. ที่ว่าคำสั่งที่ 13/2559 มีเป้าหมายเพื่อขจัดกลุ่มมาเฟีย และผู้มีอิทธิพล
สุณัย: ปัญหาเรื่องมาเฟียมันอยู่ที่ การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่โปร่ งใสและไม่เคร่งครัด ซึ่งมันแก้ไขได้ด้วยโดยไม่จำเป็ นต้องใช้กลไกของฝ่ายทหาร แม้แต่สถานการณ์แบบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่มีเหตุการณ์ ความรุนแรงเกิดขึ้ นตลอดเวลาเขายังไม่เคยใช้ อำนาจศาลทหาร หรือเครื่องมือพิเศษแบบนี้เลย ในเมื่อมันเป็นเรื่องของการบั งคับใช้กฎหมาย ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยกลไกปกติ เหตุใดจึงต้องไปสร้างกลไกแบบพิ เศษซึ่งเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิ มนุษยชนขึ้นมาด้วย มันเหมือนการรักษาโรคด้วยยาที่ ผิด และมันจะเป็นยาพิษที่ทำลายทั้ งประเทศได้
ทุกวันนี้ เจ้าหน้าที่รัฐในปัจจุบันก็มี การใช้อำนาจที่เกิ นขอบเขตมากพออยู่แล้ว การยิ่งเพิ่มอำนาจให้เจ้าหน้าที ่รัฐเช่นนี้ มันทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า กลไกตำรวจและกระบวนการยุติ ธรรมที่เป็นอยู่มันล้ มเหลวขนาดนั้นแล้วเชียวหรือ ซึ่งแน่นอนว่ามันไม่ใช่ มันจึงไม่แปลกที่สั งคมและประชาคมระหว่างประเทศตั้ งคำถามถึงความโปร่งใส และความจริงใจในการทำงานของรั ฐบาล คสช.
หาก คสช. มีอำนาจมากพออยู่แล้ว มีความจำเป็นอะไรที่จะต้ องออกคำสั่งที่ 13
สุณัย: มันนำไปสู่ความแคลงใจ ว่านี่คือการกระชับอำนาจ เป็นความพยายามที่จะสร้ างระบอบใหม่ หรือ New Normal ให้กับระบบการเมือง ระบบยุติธรรม และระบบกฎหมายไทยโดยการโยกย้ ายกระบวนการยุติธรรมของฝ่ ายพลเรือนมาอยู่กับฝ่ายทหารทั้ งหมด ซึ่งมันสะท้อนถึงการหยั่งรากลึ กของระบอบเผด็จการทหาร
นี่ไม่ใช่การปูทางสู่ประชาธิ ปไตย แต่มันคือการปูทางสู่ ระบอบทหารที่นับวันจะยิ่งมี การกระชับอำนาจมากยิ่งขึ้น
ทาง HRW ได้ติ ดตามผลกระทบของประชาชนจากคำสั่ งดังกล่าวหรือไม่ และได้ผลเป็นอย่างไร
สุณัย: จนถึงตอนนี้ เรายังไม่เห็นผลของการใช้ตั วคำสั่งที่ 13 ชัดเจนนัก แต่การขึ้นบัญชีผู้มีอิทธิ พลตามคำสั่งฉบับนี้มันได้สร้ างความกังวลว่าผู้ที่ไม่เห็นด้ วยกับนโยบายของฝ่าย คสช. จะถูกจัดเป็นพวกขัดขวางการพัฒนา เราจะเห็นแกนนำชุมชนชาวประมงท่ านหนึ่งที่ไปยื่นเรื่องร้องเรี ยนกับ กสม. ถูกขึ้นบัญชีเป็นผู้มีอิทธิพล คนที่เป็นตัวแทนของชุมชน หรือเป็นผู้เรียกร้องสิทธิทำกิน ก็ถูกขึ้นบัญชีด้วยเช่นกัน มันจึงน่าตั้งคำถามว่านี่ อาจจะเป็นการเหวี่ยงแห และเหมารวมว่าผู้ที่เห็นต่ างจากแนวทางของ คสช. ทั้งในด้านการเมือง และเศรษฐกิจ จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มของผู้มีอิ ทธิพล และถูกจัดการด้วยคำสั่งฉบับนี้
ผนวกกับการทำประชามติที่กำลั งจะเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม ก็ยิ่งทำให้เกิดความกังวลต่อเนื ่องว่า คำสั่งฉบับนี้จะถูกใช้เพื่อขจั ดผู้เห็นต่างทางการเมืองของ คสช. อีกหรือไม่
คิดว่ากระแสกดดันจากต่ างประเทศจะทำให้ คสช. ปรับตัวไหม
สุณัย: ผมอยากจะย้อนถามไปหา คสช. มากกว่า ว่า “จะฟังได้หรือยัง?” ทุกวันนี้มันชัดเจนแล้วว่า ยิ่ง คสช. อยู่นานเท่าไหร่ ประเทศไทยยิ่งออกห่างจากการเป็ นประเทศที่เคารพกติกาด้านสิทธิ มนุษยชนมากขึ้นเรื่อยๆ เราหวังว่าท่าทีที่ประสานเป็ นเสียงเดียวกันขององค์กรสิทธิ และรัฐบาลต่างชาติจะช่วยทำให้ คสช. ตระหนักได้ว่าตนควรทำอะไร ประเทศที่ออกมาแสดงความกังวลล้ วนแต่เป็นมิตรประเทศกับไทยทั้ งสิ้น ทั้งในมิติทางการเมือง การทูต และเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นประเทศผู้ นำของสหภาพยุโรป สหรัฐ หรือแคนาดา ประเทศเหล่านี้มีความสัมพันธ์กั บไทยมาเป็นร้อยปี เขายังเป็นห่วง แต่คำถามคือ คสช. จะฟังไหม
ท่าทีของ คสช. ทุกวันนี้คือมองว่าต่างชาติเข้ าใจข้อมูลไม่ครบถ้วน มัวแต่ฟังลอบบี้ยิสต์ คสช. ไม่ยอมฟังเสียงท้วงติงของมิ ตรประเทศ ถ้ามีแค่ประเทศสองประเทศออกมาพู ดก็ว่าไปอย่าง แต่นี่ทุกประเทศออกมาพูดเป็นเสี ยงเดียวกันแบบนี้ แล้วแบบนี้ยังจะไม่ฟังกันอีกหรื อ
ไทยเราควรจะเรียนรู้จากพม่า เรามีบทเรียนแล้วว่าถ้าปล่อยให้ เผด็จการถลำลึกไปเรื่อยๆ ปล่อยให้มีการละเมิดสิทธิมนุ ษยชนมากขึ้นเรื่อยๆ ประเทศเราจะเป็นยังไง เราจะยอมให้ประเทศของเรายืนอยู่ จุดเดียวกับที่พม่าเคยยืนคือถู กคว่ำบาตรจากนานาชาติหรือ ในเมื่อทุกวันนี้เรายังไม่เลวร้ ายถึงขั้นนั้น คสช. ก็ควรจะรีบคืนประชาธิปไตยให้เร็ วที่สุด นั่นน่าจะดีกว่าการรอให้ถู กลงโทษแบบพม่า
ต่างประเทศจะยกระดับการกดดั นจากการออกแถลงการณ์ไปเป็ นมาตรการที่เข้มข้นขึ้นหรือไม่
สุณัย: เท่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ไทยก็ พลาดความร่วมมือระหว่ างประเทศไปหลายเรื่องแล้วนับตั้ งแต่การทำรัฐประหาร เพราะต่างชาติเขาก็รออยู่ว่าเมื ่อไหร่ไทยจะกลับสู่ประชาธิ ปไตยเสียที เช่นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิ จการเมืองกับสหภาพยุโรปทั้งหมด กระบวนการเจรจาถูกพักไว้เลย รวมไปถึงกรอบความร่วมมือ TPP ที่ประเทศอาเซียนหลายประเทศเข้ าร่วมไปแล้ว ไทยก็ตกรถไฟ อันนี้เห็นผลชัดเจนเลยว่าเราเสี ยโอกาสทางเศรษฐกิจไปอย่ างมหาศาลเพราะเราไม่เป็นประชาธิ ปไตย ยิ่งทอดเวลานานไปเรื่อยๆ โอกาสเหล่านี้ก็จะถูกแทนที่ด้ วยประเทศอื่นๆ เราก็จะตกรถไฟและถูกประเทศอื่ นทิ้งห่างออกไปเรื่อยๆ ยิ่งสภาพเศรษฐกิจตกต่ำแบบนี้ ไทยยิ่งจำเป็นต้องรีบเข้าสู่ กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ แต่เรากลับยิ่งเอาตัวออกห่าง เพราะเราปฏิเสธประชาธิปไตย
แรงกดดันเหล่านี้มันมีมาตั้ งนานแล้ว แต่ถามว่า คสช. ฟังไหม ยอมพูดความจริงกับประชาชนไหมว่ าไทยต้องสูญเสียอะไรไปบ้ างจากการทำรัฐประหาร ที่ผ่านมาสิ่งที่เราเห็นคือรั ฐบาลไม่ได้บอกความจริงกั บประชาชน
HRW ประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษย์ ชนภายใต้ คสช. อย่างไร
สุณัย: HRW เคยมีรายงานออกมา โดยเราประเมินว่าสถานการณ์สิทธิ มนุษยชนของไทยถดถอยอย่างไม่สิ้ นสุด นับตั้งแต่การทำรัฐประหารเป็นต้ นมา คือมันตกไปเรื่อยๆ ยิ่งตอนนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู ่การทำประชามติ เราก็คาดว่าการละเมิดสิทธิจะยิ่ งยกระดับมากขึ้น โดยมุ่งไปที่การคุกคามละเมิดผู้ เห็นต่างทางการเมือง
แม้แต่ทาง HRW เองก็ถูกคุกคาม ที่ชัดเจนที่สุดคือเพจ Human Rights Watch Thailand ของเราถูกปิด โดยให้เหตุผลว่าเป็นภัยคุกคามต่ อความมั่นคง การเผยแพร่รายงานสิทธิมนุ ษยชนประจำปีของ HRW ที่เราทำเป็นประจำทุกปี ทุกรัฐบาลก็ถูกระงับการเผยแพร่ และไม่ใช่แค่เราคนเดียว องค์กรสิทธิ์อื่นๆ ก็ถูกคุกคุมในลักษณะเดียวกัน นี่หมายความว่ารัฐบาลกำลังมองว่ าสิทธิมนุษยชนเป็นภัยคุกคาม ระบอบการปกครองอะไรกันที่มองว่ าสิทธิมนุษยชนเป็นภัยคุกคาม
คสช. กำลังทำลายหลักการสิทธิและเสรี ภาพขั้นพื้นฐาน ทุกวันนี้เราไม่เห็ นรากฐานของความเป็นประชาธิ ปไตยหลงเหลืออยู่เลย เพราะนอกจาก คสช. จะไม่เปิดช่องให้กับประชาธิ ปไตยแล้ว ยังทำลายอย่างต่อเนื่อง นี่ไม่ใช่สภาวะที่ประชาธิ ปไตยเป็น 0 แต่เป็นสภาวะที่ติดลบลงไปทุกวัน
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น