Posted: 28 Apr 2016 06:44 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
สถิติล่าสุดเกี่ยวกับความรุ นแรงในชายแดนใต้ในช่วง 12 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 ถึงเดือนมีนาคม 2559 แสดงให้เห็นว่ามีเหตุการณ์ ความรุนแรง 15,530 ครั้งทำให้มีผู้เสียชีวิ ตและบาดเจ็บรวมกันประมาณ 18,654 คน ในบรรดาผู้เสียชีวิต 6,613 คน ส่วนใหญ่เป็นมุสลิม 3,891 คน หรือคิดเป็น 58.81% ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด โดยเป็นผู้เสียชีวิตที่เป็ นชาวพุทธ 2,543 คนหรือประมาณ 38.45% ในทางตรงข้าม ในบรรดาผู้บาดเจ็บประมาณ 12,041 คน ส่วนใหญ่จะเป็นคนพุ ทธจำนวนประมาณ 7,154 คนหรือ 59.41% และเป็นคนมุสลิม 3,907 คน หรือ ประมาณ 32.45%[1] สะท้อนว่าโดยภาพรวมทั้งคนพุ ทธและมุสลิมต่างก็เป็นเป้ าหมายการใช้ความรุนแรง
จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์ความไม่ สงบในปี 2557-2559 มีลักษณะคงที่และบางครั้งดูคล้ ายกับว่าจะลดลง แต่สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ ‘ความผันผวนแปรปรวน (Variations)’ ความผันผวนไม่แน่นอนนี้ยังคงเป็ นลักษณะพิเศษของสถานการณ์ ความไม่สงบในจังหวั ดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบัน
นอกจากนี้ ข้อมูลยังชี้ให้เห็นแนวโน้มใหม่ ของปี 2558-2559 ซึ่งระดับความถี่ของความรุ นแรงยังคงที่เหมือนกับปี 2557 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปี 2558 มีเหตุการณ์สูงในเดื อนพฤษภาคมและกรกฎาคม 2558 แต่เดือนอื่นๆ มีแนวโน้มลดลงหรือมีค่าคงที่ ทำให้ปี 2558 เป็นปีที่มีเหตุการณ์ลดลงมากที่ สุดในรอบ 12 ปี แต่ดูเหมือนว่าสถานการณ์ได้เปลี ่ยนไปในตอนต้นปี 2559 โดยเริ่มตั้งแต่เดือนกุมพาพันธ์ และมีนาคม ซึ่งพบว่าเหตุการณ์ความไม่สงบมี แนวโน้มที่สูงขึ้นอีก ชี้ให้เห็นว่าพลังแห่งความรุ นแรง และพลังถ่วงดุลความรุนแรงกำลั งทำงานอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ ง โดยเฉพาะในช่วงที่มีการพูดคุยสั นติภาพ ซึ่งริเริ่มขึ้นอีกครั้งในรอบที ่สองตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2558 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งล้วนแล้วแต่ผ่านความไม่แน่ นอนมาโดยตลอด
ภาพที่ 1
ภาพที่ 2
แนวโน้มความรุนแรงที่กระตุกสู งขึ้นเป็นบางช่วงในปีที่ผ่านมา (2558) ได้เปลี่ยนเป็นลักษณะที่คล้ายกั บจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับขั้น เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งมีการระเบิดด้วยรถยนต์ที่ เมืองปัตตานีในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ตามมาด้วยเหตุการณ์ในวันที่ 13 มีนาคม ซึ่งมีการโจมตี 3 จุดในอำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส รวมทั้งการยึ ดโรงพยาบาลอำเภอเจาะไอร้องเพื่ อโจมตีค่ายทหารพรานที่อยู่ติดกั บโรงพยาบาลดังกล่าว นอกจากนี้ ยังมีการก่อเหตุระเบิ ดในเขตเทศบาลยะหริ่งเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ส่วนในเดือนเมษายนก็เกิดเหตุ ลอบวางระเบิดที่หน้าสถานี รถไฟอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ในช่วงเย็นวันที่ 11 เมษายน 2559 รวมทั้งเหตุระเบิดและยิงเจ้าหน้ าที่หลายจุดในช่วงเวลาดังกล่าว
ในที่นี้อาจจะสรุปการวิเคราะห์ แนวโน้มของเหตุการณ์ความไม่ สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในรอบ 12 ปี มาจนถึงปัจจุบันได้ดังต่อไปนี้
1. จากภาพรวมทั่วไป เหตุการณ์ความไม่สงบมีความถี่สู งในระยะแรกระหว่างปี 2547-2550 ประมาณ 160-200 ครั้งต่อเดือน นับตั้งแต่ปี 2551-2555 ความรุนแรงลดลงในระดับคงที่ ประมาณ 80-100 ครั้งต่อเดือน
2. แนวโน้มในช่วงปี 2551-2555 ระดับความรุนแรงต่อเดือนลดลง แต่จำนวนการบาดเจ็บและเสียชีวิ ตรายเดือนสูงขึ้นกว่าจำนวนเหตุ การณ์ความไม่สงบ แสดงว่าเกิดความรุนแรงเชิงคุ ณภาพขึ้นในช่วงนั้น
3. นับตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา เกิดแนวโน้มใหม่ที่ความรุนแรงมี ระดับคงที่และลดต่ำลงในบางช่วง ทำให้ทิศทางของความรุนแรงดูเหมื อนจะลดลง โดยเฉพาะในปี 2558 ระดับความรุนแรงลดลงต่ำที่สุ ดในรอบ 12 ปีนับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา
4. อย่างไรก็ตาม น่าสังเกตว่านับตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมาเช่นกันที่เกิ ดสภาวะความแปรปรวน (Variances) ของความรุนแรงรายเดือนมากขึ้ นอย่างชัดเจน ความแปรปรวนของเหตุการณ์ความไม่ สงบเป็นปรากฏการณ์ที่ซ้อนอยู่ ในระดับของความนิ่ งและลดลงของเหตุการณ์รายเดือน เหตุการณ์ความไม่สงบในเดือนหนึ่ งที่ลดลงอาจจะตามมาด้วยเหตุ การณ์ที่สูงโด่งขึ้นในเดือนถั ดไป หรือเหตุการณ์ที่ดูเหมือนจะสู งขึ้นในเดือนหนึ่งๆ อาจจะตามมาด้วยการลดลงอย่ างมากในอีกเดือนหรือสองเดือนถั ดไป เรายังไม่สามารถหาความแน่ นอนของแบบแผนดังกล่าวได้เลย
5. แต่ผลของความแปรปรวนก็คื อความสามารถในการรักษาระดั บความต่อเนื่อง และความยืดเยื้อเรื้อรั งของการใช้ความรุนแรง และอาจจะเร่งให้สถานการณ์สูงขึ้ นอีกในอนาคต ถ้าสถานการณ์อื่นๆ หรือตัวแปรอื่นที่ทำให้เกิ ดการนิ่งหรือตัวคงที่ (Constance) เกิดการเปลี่ยนแปลง
6. ในทางยุทธวิธี ฝ่ายทหารใช้วิธีการเสริมกำลั งให้มากขึ้น เพิ่มกองกำลังมากถึงประมาณ 70,000 กว่านาย มีมาตรการนโยบายและแผนในการเพิ่ มเอกภาพ บูรณาการ และประสิทธิภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command and Control) เช่น การจัดระบบการขับเคลื่ อนนโยบายโดยใช้แผนปฏิบัติ การการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวั ดชายแดนภาคใต้ซึ่งดำเนินการให้ เป็นไปตามประกาศ คสช. ที่ 98/2557 และใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญชั่ วคราว มาตราที่ 44 โดยออกคำสั่งที่ 14/2559 กำหนดให้ ศอ.บต. ขึ้นกับ กอ.รมน. และเข้มงวดในการติดตามจับกุมผู้ ต้องสงสัยหลังปฏิบัติการด้ วยการใช้เทคโนโลยี เช่น การจับภาพด้วยกล้องซีซีทีวี การใช้หลักฐานจากนิติวิ ทยาศาสตร์ และการใช้การข่าวเชิงลึกไล่ติ ดตามจากบัญชีผู้ต้องสงสัย เป็นต้น
ภาพที่ 3
7. บีอาร์เอ็นฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกั บมาราปาตานีใช้ปฏิบัติการสองอย่ าง คือ เร่งการโจมตีต่อกองกำลังฝ่ายรั ฐสลับกับการก่อเหตุในวงกว้ างในลักษณะประสานการโจมตี (Coordination of Attacks) เว้นวรรคเป็นช่วงๆ มีระยะห่างเป็นจังหวะหรือเป็ นคลื่นการโจมตีที่คาดเดาจุดปฏิ บัติการได้ยาก เพื่อต้านและรบกวนตัวชี้วั ดของแผนบูรณาการของรัฐที่ต้ องการให้ ‘จำนวนเหตุการณ์ลดลง’
8. เป็นที่น่าสังเกตด้วยว่าการก่ อเหตุโจมตีในลักษณะประสานพร้ อมกันในระยะหลังตั้งแต่ปี 2557 การใช้ระเบิดจะมีอัตราที่สูงขึ้ นถึงประมาณ 45-60 จุดพร้อมกันในบางเดือนที่มีเหตุ การณ์สูงมากเป็นพิเศษ ผลที่ตามมาก็คือการเร่ งความแปรปรวนของเหตุการณ์ และผลกระทบต่อเป้าหมายที่เป็ นพลเรือน
ภาพที่ 4
9. ผลกระทบจากความแปรปรวนดังกล่ าวก็คือความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุ การณ์ที่สร้างความตื่นกลั วและเหตุการณ์ที่เหนื อความคาดหมาย (Shock and Surprise Incident) ในขณะเดียวกันก็เสี่ยงที่จะเกิ ดการปฏิบัติการซึ่งมีความรุ นแรงที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนจากทั ้งสองฝ่ายและยังเกิดความเสี่ ยงที่จะมีการทำลายพื้นที่กลาง และส่งผลให้กระบวนการสันติ ภาพหยุดชะงัก ซึ่งผลที่ตามมาก็จะเกิดแรงเหวี่ ยง (Momentum) ของความรุนแรงในพื้นที่ขึ้นมาอี ก
10. อย่างไรก็ตาม แม้การก่อเหตุความไม่สงบจะมีปั จจัยของความแปรปรวน แต่ในระยะเฉพาะหน้านี้ (เหตุการณ์จนถึงก่อนเดือนเมษายน 2559) ระดับของความรุนแรงโดยทั่วไปยั งอยู่ในระดับและขอบเขตที่จำกั ดอยู่เช่นกัน ทั้งนี้ การเร่งก่อเหตุตามสถานการณ์ เฉพาะหน้า แม้ฝ่ายขบวนการฯ จะมีศักยภาพที่สามารถทำได้ แต่ฝ่ายที่ก่อเหตุก็ยังตกอยู่ ภายใต้แรงกดดัน ทั้งในทางการเมื องและในทางการทหาร
11. ในทางการเมือง กระบวนการพูดคุยสันติภาพยั งคงเดินหน้าไป แม้ความก้าวหน้าของการพูดคุ ยจะช้า แต่ก็ยังคงความต่อเนื่อง มีรูปธรรม และคืบหน้า จะเห็นได้จากการมีการพูดคุ ยของคณะประสานงานทางเทคนิคที่ผ่ านมา 3 ครั้งระหว่างคณะพูดคุยสันติสุ ขของรัฐบาลและมาร่าปาตานี จนกระทั่งบรรลุร่างกติกาในการพู ดคุย หรือ TOR (Term of Reference) แต่ล่าสุด การหาข้อตกลงไม่ได้เรื่อง TOR อาจจะเป็น 'การสับไก' (Trigger Event) ความแปรปรวนที่เป็นพิษได้ หากไม่ยึดแนวทางสันติ และการหาทางออกทางการเมืองที่ เหมาะสม ในแง่นี้ก็จะเป็นการเพิ่ มความเสี่ยงที่พลังถ่วงดุ ลภายในบังเกิดการพลิกผั นและนำไปสู่การเสียดุลในที่สุด
ในทำนองเดียวกัน การก่อเหตุความไม่สงบที่กระทบต่ อเป้าหมายพลเรือนและผู้บริสุทธิ ์ เช่น การก่อเหตุระเบิดที่ทำให้เด็ กเสียชีวิต การยิงผู้บริสุทธิ์ และการยึดโรงพยาบาล ก็เป็ นการทำลายความชอบธรรมของการปฏิ บัติการในสายตาประชาชนในท้องถิ่ นเช่นเดียวกัน การรักษาแนวทางเจรจาสันติภาพและ ‘พื้นที่ทางการเมือง/พื้นที่ ปลอดภัย’ ของเครือข่ายประชาสังคม จึงเป็นแนวทางที่จะช่วยรั กษาความสมดุลของพลังฝ่ายต่างๆ ในสนามความขัดแย้งเอาไว้ และเป็นแรงกดดันทางการเมืองให้ การใช้ความรุ นแรงลดลงในอนาคตบนฐานคติที่ว่ าการพูดคุยสันติสุข/สันติภาพมี รูปธรรมที่เป็นจริงและมีผลลัพธ์ ที่ก้าวหน้ามากขึ้นกว่านี้
12. ในทางการทหาร ยุทธวิธีการป้องกันตาม ’โครงการรักษาความปลอดภั ยในเขตเมือง 7 เมืองหลัก’ ยังคงสามารถป้องกันและสร้ างความกดดันทางการทหารให้กับฝ่ ายขบวนการฯ ได้พอสมควร นอกจากนี้การระดมสรรพกำลั งมากกว่า 70,738 นายมาป้องกันและควบคุมพื้นที่ ประกอบกับการสร้างแผนปฏิบัติ การเชิงบูรณาการพร้อมทั้งเม็ ดเงินงบประมาณอีกประมาณ 30,176 ล้านบาท และสั่งการให้ศูนย์ปฏิบัติ การอำเภอ (ศปก.อ.) ออกสำรวจความต้ องการของประชาชนในขนาดใหญ่ โตมโหฬารโดยเอานักวิ ชาการบางคนไปช่วย ก็เป็นความพยายามอุดช่องโหว่ และสร้างแรงต้านต่ออีกฝ่ายหนึ่ งได้มากขึ้นเช่นกัน
ภาพที่ 5
13. ถ้าการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ข้ างต้นของรัฐเป็นไปตามสมมติฐานที ่ว่าฝ่ายตรงข้ามคือกองกำลั งของบีอาร์เอ็น (Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani) และฝ่ายรัฐต้องเอาชนะทั้ งทางการเมืองและในทางการทหาร จึงต้องประคองสถานการณ์ไว้ด้ วยยุทธศาสตร์การเจรจา ซึ่งดูเหมือนจะเป็นวิธีการที่ศิ วิไลซ์ แต่มีการปรับเปลี่ยนชุ ดวาทกรรมให้เป็น ‘การพูดคุยสันติสุข’ ซึ่งเน้นว่าเป็น ‘ปัญหาภายในประเทศ’ จึงยอมรับให้มีการพูดคุยกันได้ อย่างสันติ พร้อมทั้งการบังคับใช้กฎหมาย ในทางปฏิบัติ กระบวนการเหล่านี้เป็นการสร้ างสันติสุขก็จริง แต่ก็เป็นการยืดเวลาสันติ ภาพออกไปด้วยการสร้ างกระบวนการและกำหนดเงื่ อนไขใหม่ๆ ทำให้การสร้างข้อตกลงยากขึ้ นในทางปฏิบัติ เช่น การกำหนดให้การพูดคุยสันติสุขมี 3 ระยะ 9 ขั้นตอน คือระยะของการสร้างความเชื่อมั่ นไว้วางใจ ระยะของการลงสัตยาบั นและระยะการสร้าง Roadmap ในขั้นตอนนี้รัฐบาลยังมีเงื่ อนไขให้ทุกกลุ่มของขบวนการต่อสู ้รวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว โดยนัยคือการไม่ยอมรับ 5 ข้อเรียกร้องเดิมของฝ่ายบีอาร์ เอ็น และไม่ยอมรับเรื่ องกระจายอำนาจแบบพิเศษ สาระของยุทธศาสตร์ดังกล่าว โดยความหมายก็คือการดึงเวลาเพื่ อให้รัฐบาลจัดการควบคุ มทางการทหารให้ได้มากที่สุดเท่ าที่จะทำได้ จนกระทั่งฝ่ายกองกำลังของบีอาร์ เอ็นอ่อนแอลง ทำให้พวกเขาไม่สามารถขยายกำลั งคนระลอกใหม่หรือสร้างสมาชิ กใหม่ด้วยการบ่มเพาะอุดมการณ์ และเป้าหมายทางยุทธศาสตร์คือ ‘เพื่อสลายโครงสร้างการจัดตั้ งฐานมวลชนในลักษณะหมู่บ้านจัดตั ้ง (AJAK: AhliJawatan Kampong) เพื่อสลายแนวความคิดสนับสนุน 'กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง' (ผกร.) หรือขบวนการบีอาร์เอ็น
14. จุดเน้นทางยุทธศาสตร์นี้ได้ถู กนำมาแปลงเป็นโครงการสำคั ญในกรอบแผนปฏิบัติการฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ซึ่งเรือธง (Flagship Projects) ของแผนดังกล่าวคือโครงการรั กษาความปลอดภัยในเขตเมือง 7 เมือง หลักการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ประชาชาชนมีส่วนร่วม การดำเนินงานในหมู่บ้านเสริมสร้ างความมั่นคง การพาคนกลับบ้าน การเสริมสร้างความเข้ าใจในสถานศึกษาและโครงการบูโดรั กษ์สันติสุข โดยใช้งบประมาณรวมกัน ถึงกว่า 7,501 ล้าน จากงบประมาณบูรณาการการแก้ไขปั ญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2559 ซึ่งจำนวนเม็ดเงินสูงถึง 30,176 ล้านบาท
15. แต่แนวโน้มความรุนแรงรอบใหม่ที่ กำลังทะยานขึ้นในระยะหลัง โดยเฉพาะในช่วงต้นปี 2559 ก็อาจจะชี้ให้เห็นว่าฝ่ ายขบวนการต่อสู้ โดยเฉพาะขบวนการบีอาร์เอ็นเองก็ มีการปรับยุทธวิธี ทางการทหารและพยายามเร่ งกระแสความรุนแรงกลับขึ้นมาอี กเช่นกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ายุทธศาสตร์ ใช้การทหารนำและเน้นที่ความมี เอกภาพและประสิทธิภาพนั้นยังมี จุดอ่อน แม้จะมีประสิทธิภาพแต่หลายจุดยั งมีความไม่แน่นอนและไม่มีประสิ ทธิผล นี่อาจจะเป็นตัวอย่างคลาสสิ กในวิชาการนโยบายสาธารณะ หลักที่สำคัญก็คื อการกำหนดและการวิเคราะห์ นโยบายสาธารณะโดยทั่วไปนั้น ผู้วางแผนให้รัฐบาลทหารจะต้ องคำนึงถึงผลตอบแทนทั้งตามที่ คาดหมายและที่ไม่เป็ นไปตามความคาดหมาย (Expected and Unexpected Consequences) นอกจากนี้ ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ ยวข้องกับปัจจัยนำเข้า (Inputs) ของประเด็นทางนโยบายก็ต้องคำนึ งถึงทั้งตัวแปรที่อธิบายได้ และตัวแปรที่อธิบายไม่ได้ (Explained and Unexplained Variables) ในตัวแบบการวิเคราะห์ทางนโยบาย (Policy Model) เพราะพลวัตของสิ่งเหล่านี้จะเป็ นสิ่งรบกวน (Noise) ซึ่งจะนำมาสู่พลวั ตและความแปรปรวน (Variances) ของผลลัพธ์ที่ตามมา (Outcomes) จากระบบทางนโยบายดังกล่าว
ภาพที่ 6
ภาพที่ 7
16. นอกจากนี้ ตัวแปรภายนอกที่ควรต้องให้ ความสนใจคืออิทธิ พลจากประชาคมนานาชาติที่มีต่ อการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวั ดชายแดนภาคใต้ ซึ่งรัฐมองว่าเป็นเรื่องของ ‘การสร้างความเข้าใจทั้งในและต่ างประเทศ’ เป็นการป้องกันไม่ให้ประเด็นจั งหวัดชายแดนภาคใต้ถูกหยิบยกเป็ นวาระระหว่างประเทศ พยายามทำให้ประชาชนในโลกมุสลิ มและต่างประเทศรวมทั้งองค์ การระหว่างประเทศมีความเข้ าใจและให้การสนับสนุ นแนวทางการดำเนินงานของภาครัฐ
น่าสนใจว่าจุดที่อ่อนไหวที่สุ ดในเรื่องนี้คือมติของที่ประชุ มโอไอซีหรือ Organization of Islamic Cooperation อย่างไรก็ดี โอไอซีได้ออกแถลงการณ์เมื่อวั นที่ 15 เมษายน 2559 ในที่ประชุมอิสตันบูล ประเทศตุรกี โดยมีการขานรับรูปแบบการจัดตั้ง ‘กลุ่มตัวแทนชุมชนมุสลิ มในภาคใต้’ ของประเทศไทยและการตัดสินใจเดิ นหน้ากระบวนการสันติภาพของรั ฐบาลไทยภายใต้ การอำนวยความสะดวกของมาเลเซีย โอไอซียังได้เรียกร้องทั้งฝ่ ายไทยและขบวนการมลายูมุสลิม ซึ่งเป็นตัวแทนของมุสลิ มในภาคใต้เปิดให้ทุกฝ่ายมีส่ วนร่วม และร่วมมือทำงานด้วยเจตนาบริสุ ทธิ์ ในขณะเดียวกันก็เรียกร้องให้รั ฐบาลไทย ‘รับประกันความปลอดภัยในการเดิ นทางของสมาชิกกลุ่มดังกล่ าวและคุ้มครองไม่ให้พวกเขาถูกคุ มตัวและดำเนินคดีระหว่างเข้าร่ วมกระบวนการสันติภาพ’ ข้อมติของโอไอซีเป็นผลดีต่ อกระบวนการสันติภาพที่กำลังเดิ นไปอยู่โดยมีนัยที่สนับสนุ นสถานะของมาราปาตานีและอาจจะมี ผลในทางบวกต่อการร่วมมือกั นระหว่างมาราปาตานีกับกลุ่มอื่ นๆ ในพื้นที่ในอนาคตอันใกล้ แต่ก็อาจจะเพิ่มแรงกดดั นในทางการเมืองให้รัฐบาลไทยด้ วยเช่นกัน ดูเหมือนว่าภารกิจการป้องกันไม่ ให้ประเด็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถูกหยิบยกเป็นวาระระหว่ างประเทศนั้นจะไม่เข้าเป้าตามตั วชี้วัด
17. กล่าวโดยสรุป สภาวะเสถียรของความรุนแรงระหว่ างปี 2555-2558 ทำให้แนวโน้มของเหตุความไม่ สงบดูเหมือนจะคงที่และลดต่ ำลงเล็กน้อย ตัวคงที่ยังมีอิทธิพลค่อนข้ างมากด้วยการคง ‘นโยบายสันติภาพ/สันติสุข’ และการเปิดพื้นที่ทางการเมื องภาคประชาชน ประกอบกับปัจจัยทางการทหาร การสร้างเอกภาพและประสิทธิ ภาพในการดำเนินรัฐประศาสโนบายนั บแต่ช่วงหลังปี 2557 ทำให้ปี 2557-2558 เป็นช่วงที่ระดับความรุนแรงมี ขอบเขตและแนวโน้มลดลงในบางช่วง แต่ปัจจัยที่ทำให้เกิดตัวคงที่ ก็เป็นประเภทหนึ่ง ปัจจัยที่ทำให้เกิ ดความแปรปรวนก็เป็นตัวแปรอี กประเภทหนึ่ง ในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นที่น่ าสังเกตว่าความแปรปรวนของเหตุ การณ์ก็เกิดขึ้นเป็นช่วงๆ อยู่ตลอดเวลา ความแปรปรวนอาจจะทำให้เกิ ดความไร้เสถียรภาพ ถ้าไม่มีการวิเคราะห์ และทำความเข้าใจอย่างถูกต้อง ดังนั้น ในตอนต้นปี 2559 อัตราเร่งแห่งความแปรปรวนนี้เริ ่มแผลงฤทธิ์ แม้ว่าเหตุการณ์ในรอบเดือนที่ผ่ านมาจะค่อนข้างสูงขึ้น แต่ระดับความถี่ของเหตุการณ์ก็ ยังไม่ถึงระดับที่เลยเพดานเกิ นกว่าหนึ่งร้อยเหตุการณ์ต่อเดื อนเหมือนเช่นช่วงที่เคยเกิดเหตุ รุนแรงสูงในรอบหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ ความแปรปรวนอาจจะมีระดับความถี่ ขึ้นได้เช่นกัน ต้องสังเกตว่าในช่วงเดือนที่เกิ ดความรุนแรงสูง ในรอบสามปีที่ผ่านมา มักจะมีการก่อเหตุโดยใช้ระเบิ ดสูงมากเป็นพิเศษโดยเฉพาะเดื อนพฤษภาคม 2557 และเดือนพฤษภาคม 2558
สิ่งที่ควรระวังคื อความแปรปรวนจะเป็นพิษร้ายทำให้ ภาวะคงที่และความสมดุ ลของสถานการณ์เสียไปหากมีความถี ่และมีระดับสูงมากขึ้นตลอดทั้ งปี 2559 นี้ ซึ่งจะทำให้เส้นแนวโน้มระดั บความรุนแรงโดยรวมแลดูเสมือนรู ปเส้นเชือกตกท้องช้างที่มีระดั บสูง-ต่ำลง-สูงขึ้นอีก
สิ่งที่ควรระวังคื
18. ความท้าทายก็คือความรุนแรงปกติ เป็นการสะท้อนสัญลักษณ์ของการต่ อสู้ที่มีความหมายทางการเมื องหรือเป็นภาพตัวแทน (Representation) ของการต่อสู้ทางการเมื องในกระบวนการสันติภาพ ถ้ามันหยุดอยู่ ในกรอบความหมายเพียงแค่นี้ แต่หากถูกจัดการไม่ถูกต้อง ความรุนแรงจะเป็นตั วแทนของความรุนแรงในตัวของมั นเองหรือมีชีวิตของมันเอง ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพไปอี กแบบหนึ่ง ซึ่งยากที่จะคาดคะเน จึงต้องระวังพิ ษของความแปรปรวนเช่นนี้ด้วย
19. จุดศูนย์ถ่วงของการเปลี่ ยนแปลงสถานการณ์คือการมีพื้นที่ กลางทางการเมือง มีภาคประชาสังคมที่มีอิ สระและการใช้เหตุผลอย่างสันติ ในสนามของความขัดแย้ง ความเปลี่ยนแปลงไปสู่การไม่ใช้ ความรุนแรงเป็นสารทางการเมืองที ่ต้องผ่านพื้นที่สาธารณะที่เป็ นกลางและไม่ใช้ความรุนแรง มีแต่พลังส่วนนี้เท่านั้นที่เป็ นสัญลักษณ์ซึ่งแสดงความเป็นตั วแทนอันชอบธรรม ที่สามารถถ่วงดุลกับการใช้ ความรุนแรงทุกแบบและสร้างสันติ ภาพที่ยั่งยืน
ชุดภาพประกอบ: การกระจายความรุนแรงในพื้นที่ภู มิศาสตร์ในช่วงเดือนที่มีความรุ นแรง 2556-2558
ภาพที่ 8
ภาพที่ 9
ภาพที่ 10
ภาพที่ 11
[1] ข้อมูลจาก “ฐานข้อมูลเหตุการณ์ความไม่ สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้” (Deep South Incident Database) ศูนยเฝ้าระวัง สถานการณ์ภาคใต้ สถานวิจัยความขัดแย้ งและความหลากหลายทางวั ฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี, เมษายน 2559
หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกที่ http://www.
ชื่อบทความเดิม: 19 ประเด็นกับความแปรปรวนที่เป็นพิ
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น