Yellowing สารคดี 'ปฏิวัติร่ม' ในฮ่องกง ถูกกีดกันไม่ให้ฉายในโรงใหญ่
Posted: 26 Sep 2016 11:09 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
เฉินจื่อหวน ผู้บันทึกภาพการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงเมื่อ 2 ปีก่อน รวบรวมทำเป็นสารคดีเพื่อเป็นอนุสรณ์การต่อสู้ แต่ภาพยนตร์ของเขาไม่ได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ใหญ่ๆ ในบ้านตัวเองแม้ว่าจะเคยฉายในเทศกาลภาพยนตร์ในหลายประเทศรวมถึงในฮ่องกงเอง เขาสงสัยว่าเป็นเพราะบรรยากาศการเซ็นเซอร์ตัวเองของธุรกิจในฮ่องกงที่หวั่นเกรงทางการจีนหรือไม่
27 ก.ย. 2559 ในยามที่ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุมที่เป็นนักศึกษา เฉินจื่อหวน คนหนุ่มนักทำภาพยนตร์ก็คว้ากล้อง Canon 50D ออกไปที่แนวหน้า ในคืนนั้นเป็นคืนวันที่ 28 ก.ย. 2557 ที่เกิดเหตุตำรวจปะทะกับขบวนการปฏิวัติร่มในฮ่องกงซึ่งเรียกร้องให้พวกเขาสมัครเป็นผู้แทนลงเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐได้โดยไม่ต้องมาจากการคัดเลือกของทางการจีน เป็นคืนนั้นเองที่คนหนุ่มนักทำภาพยนตร์อายุ 29 ปีตัดสินใจว่ามันเป็นภารกิจของเขาที่จะต้องบันทึกเหตุชุลมุนทางการเมืองที่เป็นประวัติศาสตร์นี้ไว้
"ผมเชื่อว่าบางครั้งคำพูดก็ไม่สามารถอธิบายทุกอย่างได้ ... ภาพจะสามารถจะแสดงให้เห็นได้ว่าการอารยะขัดขืนมีความหมายที่แท้จริงอย่างไร" เฉินจื่อหวนให้สัมภาษณ์ต่อเดอะการ์เดียน
เฉินจื่อหวนย้อนกลับไปที่สถานที่ปักหลักชุมนุมซ้ำๆ อีกหลายครั้งในช่วง 79 วันถัดจากนั้น เขาคอยติดตามผู้ชุมนุม ซึ่งประกอบด้วยประชาชนทั่วไป ครู และนักเรียนชั้นมัธยมฯ รวมถึงเหตุการณ์การปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับตำรวจ จนกระทั่งมีอยู่ครั้งหนึ่งที่เขาตกกระไดพลอยโจนถูกตำรวจตีเข้าที่ใบหน้า
ความพยายามของเฉินจื่อหวนทำให้เกิดสารคดีที่ชื่อ "Yellowing" ความยาว 133 นาที ที่นำมาฉายครั้งแรกเมื่อต้นปีที่ผ่านมาในเทศกาลภาพยนตร์อิสระฮ่องกง นอกจากนี้ยังมีการฉายในเทศกาลภาพยนตร์ที่แวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดาและไต้หวันด้วย ชื่อสารคดีในภาษาจีนจะหมายถึง "บันทึกช่วงเวลาวุ่นวาย" ขณะที่ชื่อสารคดีภาษาอังกฤษสื่อถึงสีเหลืองที่ชาวฮ่องกงนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย
เฉินจื่อหวนกล่าวว่า ภาพยนตร์ของเขาเป็น "บันทึกที่สำคัญ" ที่สื่อถึงมุมมองคนในเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญอย่างการประท้วงของชาวฮ่องกง เฉินจื่อหวนบอกว่าสื่อท้องถิ่นมักจะเซ็นเซอร์ตัวเองและเน้นในแง่ผู้นำการเคลื่อนไหวมากเกินไปโดยไม่มีการรายงานมุมมองจากผู้ชุมนุมที่เป็นประชาชนทั่วไป รวมถึงมีการรายงานความรุนแรงของการประท้วงเกินความจริง ในฐานะที่เขาเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์อิสระเขาจึงมีหน้าที่นำเสนอมุมมองที่สื่อกระแสหลักไม่ได้รายงาน
อย่างไรก็ตามในช่วงใกล้ครบรอบเหตุการณ์ประท้วงปฏิวัติร่มในปีที่ 2 เฉินจื่อหวนก็บอกว่าโรงภาพยนตร์ใหญ่ๆ ในฮ่องกงปฏิเสธจะฉายภาพยนตร์ของเขาซึ่งเขาสงสัยว่าอาจจะมาจากบรรยากาศการเซ็นเซอร์ตัวเองในฮ่องกงเมื่อกลุ่มธุรกิจต่างๆ พยายามหลีกเลี่ยงไม่สร้างความขุ่นเคืองให้กับทางการจีนแผ่นดินใหญ่ ขณะเดียวกันเฉินจื่อหวนก็ไม่แน่ใจว่าที่โรงภาพยนตร์ใหญ่ๆ ไม่ยอมฉายเป็นเพราะภาพยนตร์ของเขายังมีคุณภาพไม่พอหรือเพราะมีเนื้อหาทางการเมืองกันแน่
ในเรื่องนี้วินเซนต์ สุย ผู้อำนวยการฝ่ายศิลปะขององค์กรภาพยนตร์อิสระที่เป็นผู้แทนจำหน่าย Yellowing กล่าวว่าสารคดีเรื่องนี้ได้รับคำวิจารณ์ทางบวก ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นเครื่องการันตีให้ได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์อย่างแน่นอน แต่โรงภาพยนตร์ในฮ่องกงก็ยืนยันไม่ยอมฉายโดยไม่อธิบายเหตุผลใดๆ สุยสงสัยเช่นกันว่าเป็นไปได้ที่โรงภาพยนตร์พยายามเซ็นเซอร์ตัวเอง แต่ตัวเขาก็ไม่แน่ใจว่าโรงภาพยนตร์ได้รับคำสั่งโดยตรงในเรื่องนี้ด้วยหรือไม่
สาเหตุหนึ่งที่เฉินจื่อหวนสงสัยเรื่องการเซ็นเซอร์ตัวเองเนื่องจากก่อนหน้านี้เคยมีกรณีคล้ายกันเกิดขึ้นกับภาพยนตร์ที่ชื่อ Ten Years ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่แต่งเรื่องขึ้นเนื้อหาเกี่ยวกับโลกอนาคตที่เลวร้ายหลังจากฮ่องกงตกอยู่ใต้การครอบงำของจีนแผ่นดินใหญ่มากขึ้น โดยในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากฮ่องกงฟิล์มอวอร์ดทำให้สื่อใต้การควบคุมของพรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่พอใจ เช่นสื่อโกลบอลไทม์วิจารณ์ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็น "ไวรัสทางความคิด" หลังถูกวิจารณ์ Ten Years ก็ค่อยๆ หายไปจากจอภาพยนตร์ในฮ่องกง
เฉินจื่อหวนเชื่อว่าที่โรงภาพยนตร์เซ็นเซอร์ตัวเองกันมากขึ้นเป็นเพราะสิ่งที่เกิดขึ้นกับภาพยนตร์ Ten Years เรื่องนี้ทำให้โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ Yellowing โต้กลับการผลักพวกเขาให้ไปอยู่ชายขอบด้วยการจัดฉายแบบไม่เป็นทางการตามสถานที่ต่างๆ เช่น ห้องปาฐกถาของโรงเรียนหรือในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นแบบเดียวกับที่ Ten Years เคยทำไว้ แต่เฉินจื่อหวนก็บอกว่าเขายังมีเป้าหมายปลายทางคือการฉายในโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่
"ผมไม่ต้องการให้ (การเซ็นเซอร์ตัวเอง) กลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญแบบในจีนแผ่นดินใหญ่ มันไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่ดีเลยที่ผู้ชมภาพยนตร์จะเริ่มแบ่งแยกกีดกันภาพยนตร์อิสระออกจากสิ่งที่เรียกว่าภาพยนตร์เพื่อการค้า" เฉินจื่อหวนกล่าว
อย่างไรก็ตามเมื่อเดอะการ์เดียนสอบถามบริษัทโรงภาพยนตร์หลายสาขาที่ใหญ่ที่สุดในฮ่องกง ยูเอ ซีนิมา ถึงสาเหตุที่ไม่ฉาย Yellowing พวกเขาตอบว่าไม่ได้ต้องการเซ็นเซอร์ด้วยเหตุผลทางการเมือง
ถึงแม้จะไม่ได้ฉายในโรงภาพยนตร์ใหญ่ๆ ในบ้านตัวเอง แต่ Yellowing ก็จะมีการนำไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติยีห์ลาวาที่สาธารณรัฐเช็กในเดือน ต.ค. และมีการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลภาพยนตร์ไต้หวันโกลเดนฮอร์ส
เฉินจื่อหวนบอกอีกว่าเขาหวังว่าผลงานของเขาจะเป็นอนุสรณ์ของการต่อสู้ทางการเมืองของชาวฮ่องกง ฮ่องกงเปลี่ยนไปมากหลังจากการประท้วง ผู้ชมบางคนอาจจะเข้าร่วมขบวนการด้วยใจเต็มร้อยแต่ก็ไม่อยากกลับไปมองความทรงจำนั้นเพราะจะเกิดอารมณ์ด้านลบจากการคิดว่าการเคลื่อนไหวของพวกเขาล้มเหลว แต่ภาพยนตร์สารคดีของเขาจะเป็นโอกาสที่จะทำให้คนได้มองย้อนกลับไปในช่วงการประท้วงเพื่อที่จะเก็บกวาดและจัดการกับความคิดและอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองได้
เรียบเรียงจาก
Screened out? Film charting Hong Kong's umbrella movement struggles to be seen, The Guardian, 26-09-2016
https://www.theguardian.com/world/2016/sep/26/yellowing-film-hong-kong-umbrella-movement-struggles-to-be-seen-cinema
Posted: 26 Sep 2016 11:09 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
เฉินจื่อหวน ผู้บันทึกภาพการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงเมื่อ 2 ปีก่อน รวบรวมทำเป็นสารคดีเพื่อเป็นอนุสรณ์การต่อสู้ แต่ภาพยนตร์ของเขาไม่ได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ใหญ่ๆ ในบ้านตัวเองแม้ว่าจะเคยฉายในเทศกาลภาพยนตร์ในหลายประเทศรวมถึงในฮ่องกงเอง เขาสงสัยว่าเป็นเพราะบรรยากาศการเซ็นเซอร์ตัวเองของธุรกิจในฮ่องกงที่หวั่นเกรงทางการจีนหรือไม่
ภาพจาก Yellowing
27 ก.ย. 2559 ในยามที่ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุมที่เป็นนักศึกษา เฉินจื่อหวน คนหนุ่มนักทำภาพยนตร์ก็คว้ากล้อง Canon 50D ออกไปที่แนวหน้า ในคืนนั้นเป็นคืนวันที่ 28 ก.ย. 2557 ที่เกิดเหตุตำรวจปะทะกับขบวนการปฏิวัติร่มในฮ่องกงซึ่งเรียกร้องให้พวกเขาสมัครเป็นผู้แทนลงเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐได้โดยไม่ต้องมาจากการคัดเลือกของทางการจีน เป็นคืนนั้นเองที่คนหนุ่มนักทำภาพยนตร์อายุ 29 ปีตัดสินใจว่ามันเป็นภารกิจของเขาที่จะต้องบันทึกเหตุชุลมุนทางการเมืองที่เป็นประวัติศาสตร์นี้ไว้
"ผมเชื่อว่าบางครั้งคำพูดก็ไม่สามารถอธิบายทุกอย่างได้ ... ภาพจะสามารถจะแสดงให้เห็นได้ว่าการอารยะขัดขืนมีความหมายที่แท้จริงอย่างไร" เฉินจื่อหวนให้สัมภาษณ์ต่อเดอะการ์เดียน
เฉินจื่อหวนย้อนกลับไปที่สถานที่ปักหลักชุมนุมซ้ำๆ อีกหลายครั้งในช่วง 79 วันถัดจากนั้น เขาคอยติดตามผู้ชุมนุม ซึ่งประกอบด้วยประชาชนทั่วไป ครู และนักเรียนชั้นมัธยมฯ รวมถึงเหตุการณ์การปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับตำรวจ จนกระทั่งมีอยู่ครั้งหนึ่งที่เขาตกกระไดพลอยโจนถูกตำรวจตีเข้าที่ใบหน้า
ความพยายามของเฉินจื่อหวนทำให้เกิดสารคดีที่ชื่อ "Yellowing" ความยาว 133 นาที ที่นำมาฉายครั้งแรกเมื่อต้นปีที่ผ่านมาในเทศกาลภาพยนตร์อิสระฮ่องกง นอกจากนี้ยังมีการฉายในเทศกาลภาพยนตร์ที่แวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดาและไต้หวันด้วย ชื่อสารคดีในภาษาจีนจะหมายถึง "บันทึกช่วงเวลาวุ่นวาย" ขณะที่ชื่อสารคดีภาษาอังกฤษสื่อถึงสีเหลืองที่ชาวฮ่องกงนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย
เฉินจื่อหวนกล่าวว่า ภาพยนตร์ของเขาเป็น "บันทึกที่สำคัญ" ที่สื่อถึงมุมมองคนในเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญอย่างการประท้วงของชาวฮ่องกง เฉินจื่อหวนบอกว่าสื่อท้องถิ่นมักจะเซ็นเซอร์ตัวเองและเน้นในแง่ผู้นำการเคลื่อนไหวมากเกินไปโดยไม่มีการรายงานมุมมองจากผู้ชุมนุมที่เป็นประชาชนทั่วไป รวมถึงมีการรายงานความรุนแรงของการประท้วงเกินความจริง ในฐานะที่เขาเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์อิสระเขาจึงมีหน้าที่นำเสนอมุมมองที่สื่อกระแสหลักไม่ได้รายงาน
อย่างไรก็ตามในช่วงใกล้ครบรอบเหตุการณ์ประท้วงปฏิวัติร่มในปีที่ 2 เฉินจื่อหวนก็บอกว่าโรงภาพยนตร์ใหญ่ๆ ในฮ่องกงปฏิเสธจะฉายภาพยนตร์ของเขาซึ่งเขาสงสัยว่าอาจจะมาจากบรรยากาศการเซ็นเซอร์ตัวเองในฮ่องกงเมื่อกลุ่มธุรกิจต่างๆ พยายามหลีกเลี่ยงไม่สร้างความขุ่นเคืองให้กับทางการจีนแผ่นดินใหญ่ ขณะเดียวกันเฉินจื่อหวนก็ไม่แน่ใจว่าที่โรงภาพยนตร์ใหญ่ๆ ไม่ยอมฉายเป็นเพราะภาพยนตร์ของเขายังมีคุณภาพไม่พอหรือเพราะมีเนื้อหาทางการเมืองกันแน่
ในเรื่องนี้วินเซนต์ สุย ผู้อำนวยการฝ่ายศิลปะขององค์กรภาพยนตร์อิสระที่เป็นผู้แทนจำหน่าย Yellowing กล่าวว่าสารคดีเรื่องนี้ได้รับคำวิจารณ์ทางบวก ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นเครื่องการันตีให้ได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์อย่างแน่นอน แต่โรงภาพยนตร์ในฮ่องกงก็ยืนยันไม่ยอมฉายโดยไม่อธิบายเหตุผลใดๆ สุยสงสัยเช่นกันว่าเป็นไปได้ที่โรงภาพยนตร์พยายามเซ็นเซอร์ตัวเอง แต่ตัวเขาก็ไม่แน่ใจว่าโรงภาพยนตร์ได้รับคำสั่งโดยตรงในเรื่องนี้ด้วยหรือไม่
สาเหตุหนึ่งที่เฉินจื่อหวนสงสัยเรื่องการเซ็นเซอร์ตัวเองเนื่องจากก่อนหน้านี้เคยมีกรณีคล้ายกันเกิดขึ้นกับภาพยนตร์ที่ชื่อ Ten Years ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่แต่งเรื่องขึ้นเนื้อหาเกี่ยวกับโลกอนาคตที่เลวร้ายหลังจากฮ่องกงตกอยู่ใต้การครอบงำของจีนแผ่นดินใหญ่มากขึ้น โดยในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากฮ่องกงฟิล์มอวอร์ดทำให้สื่อใต้การควบคุมของพรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่พอใจ เช่นสื่อโกลบอลไทม์วิจารณ์ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็น "ไวรัสทางความคิด" หลังถูกวิจารณ์ Ten Years ก็ค่อยๆ หายไปจากจอภาพยนตร์ในฮ่องกง
เฉินจื่อหวนเชื่อว่าที่โรงภาพยนตร์เซ็นเซอร์ตัวเองกันมากขึ้นเป็นเพราะสิ่งที่เกิดขึ้นกับภาพยนตร์ Ten Years เรื่องนี้ทำให้โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ Yellowing โต้กลับการผลักพวกเขาให้ไปอยู่ชายขอบด้วยการจัดฉายแบบไม่เป็นทางการตามสถานที่ต่างๆ เช่น ห้องปาฐกถาของโรงเรียนหรือในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นแบบเดียวกับที่ Ten Years เคยทำไว้ แต่เฉินจื่อหวนก็บอกว่าเขายังมีเป้าหมายปลายทางคือการฉายในโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่
"ผมไม่ต้องการให้ (การเซ็นเซอร์ตัวเอง) กลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญแบบในจีนแผ่นดินใหญ่ มันไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่ดีเลยที่ผู้ชมภาพยนตร์จะเริ่มแบ่งแยกกีดกันภาพยนตร์อิสระออกจากสิ่งที่เรียกว่าภาพยนตร์เพื่อการค้า" เฉินจื่อหวนกล่าว
อย่างไรก็ตามเมื่อเดอะการ์เดียนสอบถามบริษัทโรงภาพยนตร์หลายสาขาที่ใหญ่ที่สุดในฮ่องกง ยูเอ ซีนิมา ถึงสาเหตุที่ไม่ฉาย Yellowing พวกเขาตอบว่าไม่ได้ต้องการเซ็นเซอร์ด้วยเหตุผลทางการเมือง
ถึงแม้จะไม่ได้ฉายในโรงภาพยนตร์ใหญ่ๆ ในบ้านตัวเอง แต่ Yellowing ก็จะมีการนำไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติยีห์ลาวาที่สาธารณรัฐเช็กในเดือน ต.ค. และมีการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลภาพยนตร์ไต้หวันโกลเดนฮอร์ส
เฉินจื่อหวนบอกอีกว่าเขาหวังว่าผลงานของเขาจะเป็นอนุสรณ์ของการต่อสู้ทางการเมืองของชาวฮ่องกง ฮ่องกงเปลี่ยนไปมากหลังจากการประท้วง ผู้ชมบางคนอาจจะเข้าร่วมขบวนการด้วยใจเต็มร้อยแต่ก็ไม่อยากกลับไปมองความทรงจำนั้นเพราะจะเกิดอารมณ์ด้านลบจากการคิดว่าการเคลื่อนไหวของพวกเขาล้มเหลว แต่ภาพยนตร์สารคดีของเขาจะเป็นโอกาสที่จะทำให้คนได้มองย้อนกลับไปในช่วงการประท้วงเพื่อที่จะเก็บกวาดและจัดการกับความคิดและอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองได้
เรียบเรียงจาก
Screened out? Film charting Hong Kong's umbrella movement struggles to be seen, The Guardian, 26-09-2016
https://www.theguardian.com/world/2016/sep/26/yellowing-film-hong-kong-umbrella-movement-struggles-to-be-seen-cinema
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น