ข้อเสนอปฏิรูปกองทัพ
Posted: 22 Sep 2016 07:29 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ไทยเกิดการรัฐประหารที่ ประสบความสำเร็จ 13 ครั้ง และไม่ประสบความสำเร็จ 11 ครั้ง สิ่งนี้สร้างผลกระทบต่อพั ฒนาการของประชาธิปไตยของไทยอย่ างยิ่ง
นอกจากนี้หากนับรวมร่างรั ฐธรรมนูญที่ผ่านการลงประชามติ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา ไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 20 ฉบับ แต่ประชาธิปไตยไทยยังคงไม่ไปไหน
การรัฐประหารทุกครั้งล้วนมี กองทัพเป็นผู้กระทำ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลพลเรีอน หรือรัฐบาลทหารด้วยกันก็ไม่มี ละเว้น
หากมองย้อนประวัติศาสตร์ไทยตั้ งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมาจะเห็ นได้ว่า ผู้ใดกุมอำนาจไพล่พลมากกว่าย่ อมมีโอกาสยึดอำนาจมากกว่า
กองทัพเป็นผู้รักษาอำนาจให้กั บกลุ่มอำนาจแอบแฝงในสังคมมาตั้ งแต่ในอดีต หากการปฏิรูปประชาธิปไตยครั้ งใดมีผลกระทบต่อกลุ่ มอำนาจแอบแฝงเหล่านี้ กองทัพจะไม่รอช้าที่จะก่อรั ฐประหาร
กองทัพไทยแบ่งออกเป็น 3 เหล่าทัพคือ กองทัพบก, กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ รวมทั้งกองบัญชาการกองทัพไทยที่ คอยกำกับ 3 เหล่าทัพนี้
แม้กองทัพไทยจะเป็นหน่วยงานในสั งกัดกระทรวงกลาโหม แต่กองทัพไทยกลับมีอำนาจมากกว่ ากระทรวงกลาโหมเสียอีก
ด้วยเหตุนี้กองทัพจึงเป็นศัตรู ตัวฉกาจของความมั่นคงของประชาธิ ปไตย ดังนั้นการปฏิรูปประชาธิปไตยจึ งจำเป็นต้องปฏิรูปกองทัพควบคู่ กัน เพื่อป้องกันการรั ฐประหารในอนาคตดังนี้
1. ยกเลิก พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 และ พรบ.ส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2503 เนื่องจาก พ.ร.บ. เหล่านี้ให้อำนาจแก่กองทั พในการเกณฑ์-ฝึกทหาร ซึ่งนอกจากจะสิ้นเปลื องงบประมาณแล้ว กองทัพใช้ทหารเหล่านี้เป็ นกองกำลังในการก่อรัฐประหาร
ปัจจุบันประเทศที่เป็ นมหาอำนาจทางการทหารของโลกมีเพี ยงรัสเซียเท่านั้นที่ยังมี การเกณฑ์ทหาร ขณะที่อเมริกา, จีน, อังกฤษ, ฝรั่งเศส และอินเดียใช้วิธีรับสมัครทหาร ไทยไม่อยู่ในสภาวะสงครามจึงไม่ มีความจำเป็นต้องใช้ พ.ร.บ. เหล่านี้ แต่ควรใช้วิธีการรับสมั ครทหารแทน
2. ยุบกองบัญชาการกองทัพไทย และตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุ ด เนื่องจากหน่วยงานและตำแหน่งดั งกล่าวมีอำนาจหน้าที่ เฉพาะในยามสงครามเท่านั้น
ดังนั้นรัฐบาลควรกำหนดให้ รมว.กลาโหม เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุ ดในยามปกติ และให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บั ญชาการทหารสูงสุดในยามสงคราม
3. ปรับเปลี่ยนพื้นที่รับผิ ดชอบของกองทัพภาคใหม่ โดยกำหนดให้กองทัพภาคที่ 1 รับผิดชอบภาคตะวันตก และตั้งกองทัพภาคที่ 5 รับผิดชอบภาคตะวันออก
ส่วนกองทัพภาคที่ 2-4 รับผิดชอบพื้นที่เหมือนเดิม ขณะที่ภาคกลางให้อยู่ในความรั บผิดชอบ รมว.กลาโหม โดยไม่มีกองกำลังทหาร เพื่อป้องกันการเคลื่อนทหารเข้ ายึดอำนาจใจกรุงเทพ
นอกจากนี้รัฐบาลต้องย้ายกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ และหน่วยงานทหารอื่นในกรุงเทพ- ปริมณฑลออกไปอยู่ที่อื่น เพื่อป้องกันการใช้สถานที่เหล่ านี้เป็นสถานที่ซ่องสุมกำลั งทหารก่อการรัฐประหาร
4. กำหนดอำนาจของผู้บั ญชาการทหารบก-เรือ-อากาศให้มี อำนาจเฉพาะธุรการเท่านั้น ส่วนอำนาจการบังคับบัญชากองทั พให้ขึ้นกับ รมว.กลาโหม หรือคณะกรรมการกลาโหมในยามปกติ และให้ขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี ในยามสงคราม
5. ปรับลดกำลังทหารจากปัจจุบันที่ มีกว่า 400,000 คนให้เหลือไม่เกิน 200,000 คน เพื่อประหยัดงบประมาณ และป้องกันการที่ทหารชั้นผู้น้ อยต้องทำงานส่วนตัวให้กับทหารชั้ นผู้ใหญ่
6. ยุบศาลทหาร, อัยการทหาร และเรือนจำทหาร โดยโอนคดีไปยังศาลอาญาพลเรือนพิ จารณาแทน เนื่องจากใช้บทกฎหมายเดียวกัน และป้องกันการใช้ศาลทหารพิ จารณาคดีพลเรือน
นอกจากนี้รัฐบาลควรจัดตั้ง "ตุลาการทหาร" เพื่อพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกั บระเบียบทหาร โดยใช้อัยการพลเรือน และเรือนจำพลเรือนแทน
การปฏิรูปนี้จะทำให้ อำนาจในการควบคุมกองทัพไม่ได้ อยู่ในมือของผู้บัญชาการกองทั พเหล่านี้ รวมทั้งไม่มีกองกำลังทหารอยู่ ในกรุงเทพ-ปริมณฑล วิธีนี้จึงเป็นการป้องกันการรั ฐประหารของกองทัพได้ดีกว่า
0000
หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกใน เฟซบุ๊ก เอกชัย หงส์กังวาน
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น