จากเวบไซท์มติชน และ http://neurope.eu/…/thai-junta-appoints-new-constitutional…
“เว็บไซต์รัฐสภายุโรป เผยแพร่มติของสมาชิกสภายุโรป 4 ข้อ เรียกร้องให้หลายประเทศปรับปรุงสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย ไนจีเรีย สาธารณรัฐแอฟริกากลาง และประเทศไทย
ในส่วนของประเทศไทย รัฐสภายุโรปแสดงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่ตกต่ำลงในประเทศไทยภายหลังการรัฐประหารที่ผิดกฎหมายเมื่อเดือนพ.ค.2557 และเรียกร้องให้ทางการไทยยกเลิกการกำจัดสิทธิเสรีภาพและการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนอย่างสันติ
นอก จากนี้ รัฐสภายุโรปยังเรียกร้องให้ทางการไทยยกเลิกคำพิพากษา เพิกถอนข้อกล่าวหา เพื่อปล่อยตัวบุคคลและสื่อมวลชนที่ถูกตั้งข้อหาหรือถูกตัดสินให้มีความผิด เพราะการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุม
รัฐสภายุโรปยังกดดันให้ทางการไทยระงับโทษประหารชีวิต พร้อมเรียกร้องให้สำนักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหภาพยุโรปใช้มาตรการเท่าที่จำเป็น เพื่อให้ทางการไทยเคารพในสิทธิมนุษยชน และหลักนิติธรรม รวมถึงเดินหน้าสังเกตการณ์สอบสวน และการดำเนินคดีในชั้นศาลกับแกนนำฝ่ายตรงข้าม
สำหรับรัฐสภายุโรป หรือ European Parliament เป็นรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของสหภาพยุโรป หรืออียู โดยสภายุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปและคณะกรรมาธิการยุโรปร่วมกันทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติของสหภาพยุโรป ถือเป็นฝ่ายนิติบัญญัติที่ทรงอำนาจที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีสมาชิกจำนวน 751 คน”
กลับมาให้สัมภาษณ์คุยใหญ่คุยโตว่าประสบผลสำเร็จล้นหลาม ต่างชาติเข้าใจประเทศไทยมากขึ้น
จะบอกให้ว่า เขาไม่ได้เข้าใจประเทศไทยมากขึ้นหรอก เขารู้ลึกกันดีมาตลอดถึงเบื้องหลังของการเสือกทำรัฐประหารครั้งนี้ ไม่งั้นเขาไม่ใช้คำว่า "รัฐประหารที่ผิดกฎหมาย หรือ Thailand Illegal Coup" ในแถลงการณ์หรอก อ้อ ถ้าภาษาอังกฤษอยู่ในระดับชั่ว ก็ถามคนใกล้ชิดที่ภาษาอังกฤษดีดูนะ
มติชน
"รัฐสภาอียู"แถลงจี้ไทยคืนประชาธิปไตย หนุนกดดันทางเศรษฐกิจ-การเมืองต่อ
วันที่ 09 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เวลา 10:36:58 น.
รัฐสภาอียูแถลงจี้ไทยคืนปชต.
ที่รัฐสภายุโรปได้ออกแถลงการณ์ข้อมติของรัฐสภายุโรปเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย มีประเด็นสำคัญคือการเรียกร้องให้รัฐบาลทหารของไทยเคารพหลักสิทธิมนุษยชน และคืนกระบวนการประชาธิปไตยให้กลับคืนมาโดยเร็ว พร้อมทั้งสนับสนุนให้สหภาพยุโรป (อียู) คงมาตรการกดดันทางเศรษฐกิจและการเมืองกับไทยต่อไปจนกว่าไทยจะมีการปกครองกลับสู่ระบอบประชาธิปไตย
ทั้งนี้ แถลงการณ์มีรายละเอียดทั้งสิ้น 23 ข้อ โดยเนื้อหายังคงเรียกร้องอย่างต่อเนื่องให้ไทยหวนคืนกลับสู่ประชาธิปไตยโดยเร็ว แสดงความห่วงกังวลถึงสถานการณ์สิทธิมนุษยชน เรียกร้องให้ยกเลิกการควบคุมสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน รวมถึงสิทธิในการแสดงออกเพื่อสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงออกทางการเมือง ให้รัฐบาลไทยยกเลิกโทษ ถอนข้อกล่าวหา และปล่อยตัวบุคคลและสื่อสารมวลชนที่ถูกตั้งข้อหาจากการปฏิบัติตามสิทธิและเสรีภาพ ส่งต่ออำนาจในการตัดสินความผิดพลเมืองจากศาลทหารไปยังศาลพลเรือน อียูแสดงความสนับสนุนให้ยังคงมาตรการกดดันทางเศรษฐกิจและการเมือง ย้ำว่าจะยังไม่มีการเจรจาเรื่องเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) และข้อตกลงว่าด้วยหุ้นส่วนและ ความร่วมมืออย่างรอบด้าน (พีซีเอ) ระหว่างอียูและไทยตราบใดที่รัฐบาลทหารของไทยยังคงอยู่ในอำนาจ